เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
RacingWeb Community
>
Racing Forum (Cars Forum)
>
fiat ferrari !!! ไปดูกัน
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="superchamp, post: 1419486, member: 694"]Ferrari History </p><p><br /></p><p>เอนโซ เฟอร์รารี่ (Enzo Ferrari) เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1898 ในเมือง Modena เป็นลูกชายคนเล็กของครอบครัว (พี่ชายคนโตชื่อ อัลเฟรโด (Alfredo) เช่นเดียวกับบิดา) ในวัยเด็ก ฐานะของครอบครัวไม่มีอะไรน่าวิตกมากนัก จนพ่อของเขาเป็นเจ้าของบริษัทเกี่ยวกับเหล็ก และ โครงสร้างเหล็ก ชีวิตในวัยเด็กของเอนโซ FERRARI ไม่มีอะไรน่า ตื่นเต้น จนกระทั่งพ่อพาเขาไปดูการแข่งรถเป็นครั้งแรกในชีวิต </p><p><br /></p><p>ไม่นานนักก็ถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไปมาก พ่อและพี่ชายเสียชีวิต FERRARI จำเป็นต้องขายธุรกิจครอบครัว และเดินทางไปหางานทำและใช้ชีวิตอยู่ใน Turin เรื่อยมา หลังจากที่ทำงานหลายอย่าง กระทั่งในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับรถยนต์ ในที่สุดเขาก็ได้เข้าทำงานอย่างจริงจังในบริษัทผลิตรถยนต์ของอัลฟา โรมีโอ (Alfa Romeo) และที่นี่เองความสามารถเกี่ยวกับเครื่องยนต์ของเขาได้ฉายแววออกมาอย่างเด่นชัด ในตอนแรก FERRARI ทำหน้าที่เป็นช่างซ่อมเครื่องยนต์ ต่อมาก็เลื่อนตำแหน่งเป็นนักขับรถทดสอบเครื่องยนต์ จากนั้นไม่นานเขาก็สามารถก้าวขึ้นมายืนอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด พร้อมทั้งเป็นเอเยนต์ขายรถยนต์อัลฟา โรมีโอ ในแคว้นเอมีเลียม-โรมานยา (Emilia-Romagna) ในเวลาเดียวกัน </p><p><br /></p><p>ในช่วงที่ FERRARI เป็นนักขับรถเพื่อทดสอบเครื่องยนต์เขาก็เข้าแข่งขันรถหลายครั้งจนในวันที่ 1 ธันวาคม 1929 เขาก็ได้ตั้งทีมแข่งรถของตัวเองขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า The Societa Anonima Scuderia Ferrira (The Ferrari Team) เพื่อเข้าแข่งขันในทุกรายการที่จัดขึ้นโดยใช้รถของอัลฟา โรมมีโอ และในช่วงนี้เองที่มีการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ เพื่อเข้าแข่งขันมากขึ้น เช่นรถ Alfa Romeo 2 เครื่องยนต์ซึ่งผลิตโดยลุยกี บาซซี่ (Luigi Bazzi) และ Alfa158 ซึ่งผลิตใน Modena จากฝีมือของ FERRARI เองเมื่อครั้งที่รับตำแหน่งผู้จัดการทีมแข่งรถของ Alfa Romeo</p><p><br /></p><p>เมื่อทีม Scuderia Ferrari ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน FERRARI ก็คิดจ้างนักขับรถแข่งมืออาชีพเข้ามาร่วมทีมด้วย อาทิ ทาซิโอ นูโวลารี่ (Tazio Nuvolari) รวมทั้ง ทาร์โก โฟลริโอ (Targo Florio) ซึ่งได้รับชัยชนะในการแข่งขันปี 1932 ในการแข่งขัน Mill Miglia ปี 1933 และในการแข่งขัน Germany Grand Prix ที่ Nurburgring ปี 1935 แต่แล้วอยู่ ๆ FERRARI ก็เกิดความขัดแย้งกับนูโวลารี่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งกับนักขับรถแข่ง คนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน </p><p><br /></p><p>ในปี 1935 รถแข่ง 2 เครื่องยนต์ 1 ที่นั่ง 8 สูบ ความเร็ว 300 กม./ช.ม. คันแรกของ FERRARI ภายใต้ชื่อของอัลฟา โรมีโอ ก็เข้าร่วมการแข่งขันด้วย แต่ก็ต้องกลายเป็นรถไร้สมรรถนะไป เพราะยางรถยนต์มีความลึก มากเกินไป </p><p><br /></p><p>ในวันที่ 1 มกราคม 1938 อัลฟา โรมีโอ ประกาศตั้งทีมแข่งรถของตัวเองอย่างแท้จริงขึ้นมาบ้าง เพื่อนำรถแข่ง Alfa Romeo เข้าแข่งขัน ภายใต้ชื่อทีม Alfa Corse Banner และได้แต่งตั้ง FERRARI ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการแข่งรถในทีมใหม่นี้ด้วย </p><p><br /></p><p>ในช่วงปลายปี 1939 เกิดความตึงเครียด และไม่เข้าใจกันระหว่าง FERRARI และปิเอร์ อูโก กอบบาโต (Pier Ugo Gobbato) ลูกชายของอัลฟา โรมีโอ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนหนึ่งของบริษัท รวมทั้งการที่ FERRARI ไม่เคารพ ริการท์ (Ricart) วิศวกรเครื่องยนต์ใหญ่ชาวสเปนของอัลฟา โรมีโอ จึงเป็นเหตุให้ FERRARI ต้องยุติ บทบาทของตัวเองในบริษัท อัลฟา โรมีโอ โดยสิ้นเชิง และออกจากบริษัทไปพร้อมกับเพื่อนร่วมงานที่สนิทกันมากอีกสองคนคือ ลุยกี บาซซี่ (Luigi Bazzi) และ อัลแบร์โต มาสซิมิโน (Alberto Massimino) แต่บ้างก็กล่าวว่า สาเหตุหลักของการออกจากบริษัทอัลฟา โรมีโอ ในครั้งนี้ลึกซึ้งกว่าที่กล่าวไปแล้ว ข้างต้น คือ FERRARI ไม่ต้องการเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตลอดไป ยิ่งไปกว่านั้นเขายังรู้สึกอีกว่าถ้าใครคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในบริษัทเดิมนานเกินไป ก็จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไป นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ผู้อำนวยการหลายคนของบริษัทแช่แข็งความสามารถของ FERRARI นานกว่า 4 ปี ไม่ยอมให้เขาผลิตรถยนต์ใหม่ ๆ ขึ้นมา และแม้กระทั่งไม่ยอมให้เขาเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ เลย เขาจึงต้องหาทางแก้เผ็ดอัลฟา โรมีโอ และหันหลังให้กับอัลฟา โรมีโอ จากนั้นก็เดินทางกลับไปยังบ้านเกิด Modena พร้อมกับเพื่อนอีกสองคนเพื่อก่อตั้งบริษัทของตนเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า Auto Avio Construzioni</p><p><br /></p><p>ในช่วงแรกซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลก บริษัทของเขาผลิตได้แต่เพียงชิ้นส่วนเครื่องยนต์เท่านั้นจนถึงปี 1940 รถสปอร์ต spider-type 8 สูบ ที่ชื่อว่า Auto Avio Construzioni 815 ก็ถูกผลิตขึ้นมา โดยคาร์รอซเซอเรีย ทัวริ่ง (Carozzeria Touring) จากนั้นก็มีออกมาอีกหลายคัน จนในปี 1946 รถยนต์ FERRARI ที่แท้จริงคันแรกก็เกิดขึ้นโดยใช้ชื่อว่า the 125 sport เป็นรถยนต์คันแรกที่มี 12 สูบ จุน้ำมันไดครึ่งลิตร มาจากมันสมองและน้ำมือของวิศวกรเครื่องยนต์ลุยกี บาซซี่และจิโออาชิโอ โคลอมโบ (Gioachio Colombo) ดีไซเนอร์ซึ่งเคยอยู่กับอัลฟา โรมีโอ และเคยออกแบบ Alfa 158 สำหรับ FERRARI ในปี 1937 มาแล้ว นับว่า 125 นี้ไม่ธรรมดาเลย เพราะในประเทศ อิตาลีหลังสงครามโลกแล้วยังไม่มีรถยนต์คันใดที่มี 12 สูบเลย แต่รถยนต์เฟอร์ารี่คันแรก ที่มีเครื่องหมายม้าสีดำทะยานอยู่ในพื้นสีเหลืองด้านบนเป็นสีธงชาติของ อิตาลี และด้านล่างมีอักษร F หางยาวนั้นก็เริ่มผลิตออกมาในปี 1947 และทดลองวิ่งเมื่อวันที่ 12 มีนาคมปีเดียวกันนั้นเอง และนั่นก็คือจุดกำเนิดของสัญลักษณ์ม้าทะยาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของรถยนต์ FERRARI แต่ก่อนหน้านี้สัญลักษณ์ม้าทะยานนี้มีใช้ก่อนแล้วโดยจะเห็นได้ที่รถแข่งทุกคันของทีมแข่งรถของ Scuderia Ferrari ของ FERRARI ในช่วงยุค 30s แต่ยังไม่ใช้อย่างเป็นจริงเป็นจัง และมีรูปแบบแตกต่างกันไป สำหรับสัญลักษณ์ม้าทะยานนี้ แรกเริ่มเดิมทีติดอยู่ที่เครื่องบินของกองทัพในช่วงยุค 20s มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งที่ FERRARI ยังเป็นนักแข่งรถอ่อนประสบการณ์ เขาได้พบกับพ่อแม่ของ ฟรานเซสโก บารักกา (Francesco Baracca) ซึ่งเป็นนักขับเครื่องบินชาวอิตาเลียนตัวยงในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นชาวเมือง Lugo เช่นเดียวกับแม่ของ FERRARI ทันทีที่ FERRARI เห็นสัญลักษณ์ม้าทะยานซึ่งติดอยู่ที่เครื่องบินของครอบครัวนี้ เขาก็เกิดความสนใจในรูปลักษณ์ของมัน และเมื่อรู้ว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี เขาจึงนำม้าทะยานนี้มาใช้ในทีมแข่งรถ </p><p><br /></p><p>แต่ FERRARI ก็ยังไม่ได้ใช้สัญลักษณ์ม้าทะยานในทันที เขาเก็บเอาไว้นานหลายปี จนกระทั้งมีทีมแข่งรถของตัวเองซึ่งก็คือ Scuderia Ferrari นั่นเอง อาจมีคำถามว่าทำไมครอบครัวบารักกาจึงต้องมีม้าทะยานติดอยู่ที่เครื่องบินของพวกเขา คำตอบก็คือ เช่นเดียวกับนักบินคนอื่นๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ต้องขึ้นกับกรมทหารม้า Piedmontese Cavalry Regiment ซึ่งมีม้าทะยานเป็นสัญลักษณ์ก็เป็นได้ ส่วนพื้นด้านหลังของสัญลักษณ์เป็นสีเหลืองนั้นก็ใช้แทนสีของ Modena นั่นเอง </p><p>หลังจากที่ได้มีการแนะนำ 125 Sport แล้วก็นำเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง 125 สามารถคว้าชัยชนะมาได้ในช่วงปีเดียวถึง 7 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกวันที่ 5 พฤษภาคม เมื่อฟรังโก คอร์เตส (Franco Cortes) พา 125 เข้าเส้นชัยในรายการ Rome Grand Prix และครั้งนี้เองที่สร้างความฮือฮาให้กับคนในวงการแข่งรถมาก เพราะฟรังโก เพื่อนของ FERRARI ไม่ได้เป็นนักขับรถแข่งมืออาชีพ แตเป็นเพียงเซลส์ขายชิ้นส่วนเครื่องยนต์ของ FERRARI เท่านั้น </p><p><br /></p><p>ในปี 1948 ปีที่สองของการก่อสร้างตัวรถสปอร์ตและรถแข่งใหม่ๆ เช่นฟอร์มูล่า-2 ก็เริ่มได้รับชัยชนะมากขึ้น เช่น ชัยชนะในรายการแข่งขัน Mill Miglia และในการแข่งขันที่สต็อกโฮม ซึ่งถือเป็นชัยชนะนอกบ้านครั้งแรกของ FERRARI แม้ว่า FERRARI จะประสบความสำเร็จอย่างสูงในบ้านของตัวเอง แต่ชื่อเสียงของเขาก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของทั่วโลก จนกระทั่ง ลุยกี ซีเนตตี้ (Luigi Chinetti) อดีตช่างเครื่องของอัลฟา โรมีโอ และเพื่อนของ FERRARI ที่สามารถคว้าชัยชนะจากการแข่งขันในรายการขับทน 12 ชั่วโมงในปารีส และในปีต่อมาก็คว้าชัยได้ในรายการ ขับทน 24 ชั่วโมง นับแต่นั้นมาชื่อเสียงของ FERRARI จึงกลายเป็นที่นรู้จักในวงกว้างรวมถึงในอเมริกาด้วย</p><p><br /></p><p> สำหรับ Formula 1 คันแรก ผลิตขึ้นที่ Turin เมื่อเดือนกันยายน 1948 แต่เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกในสนาม Garda Circuit เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมปีเดียวกัน และได้รับชัยชนะอย่างสวยงามด้วยฝีมือการขับของ นีโน ฟารีน่า (Nino Farina) จากนั้นในเดือนพฤษจิกายนปีเดียวกัน FERRARI ก็นำรถยนต์ 2 คัน ซึ่งผลิตด้วยฝีมือของ ทัวริ่งนำออกแสดงในงาน Turin Motor Show ซึ่งรถทั้งสองคันนั้นก็คือ Berlinetta และ Barchetta 166 จากนั้นก็มีรถใหม่ๆ ออกมาอีกหลายคันทั้งที่เป็น Sport, Grand Touring Car, Formula-2 , Formula Libre ในช่วงนี้เองที่บริษัทของ FERRARI แข็งแกร่งขึ้นมาก เพราะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องยนต์และวิศวกรเครื่องยนต์ฝีมือดีอีกมากมาย ทั้งจิโออาชิโอ โคลอมโบ ซึ่งออกจากบริษัทอัลฟา โรมีโอ และอยู่กับ FERRARI จนกระทั่งถึงปี 1951ม, ออร์ลิโอ แลมเพรดี้ (Aurelio Lampredi) ซึ่งอยู่กับ FERRARI ตั้งแต่ 1948-1955 ซึ่งทั้งสองคนนี้ช่วยกันสร้างรถยนต์รุ่นแรกๆ อย่าง125, 159 จนกระทั่งถึงรถยนต์รุ่นหลังๆ 166, 195, 212, 225, 275, 340 และ 375 นับเป็นความโชคดีของ FERRARI ที่ได้เพื่อนร่วมงานที่มีความสามารถสูง ทีมของเขาจึงสามารถคว้า ชัยชนะจากรายการแข่งขันต่างๆมากมาย เช่นในปี 1949 บิโอเนตตี้ และซาลานี่ ได้รับชัยชนะอีกครั้งในรายการ Mile Miglia ด้วยรถ Barchetta 166 ในขณะที่อัสคารี่ได้รับชัยชนะในรายการ Formula 1 Grand Prix ที่ Monza เมื่อวันที่ 11 กันยายน ด้วยรถ FERRARI 2 ลิตร ซึ่งรถคันนี้ผลิตเพื่อเข้าแข่งขันโอเพ่นฟอร์มูลาซึ่งเปิดสำหรับผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก และเพื่อเป็นการหาลูกค้าใหม่ๆด้วย</p><p><br /></p><p> ในปี 1950 FERRARI หันมาให้ความสนใจกับเครื่องยนต์ไอพ่น ซึ่งออร์ลิโอ แลมเพรดี้ หัวหน้าวิศวกร เครื่องยนต์ เป็นผู้แนะนำให้รู้จัก และเขาก็เอามาใช้กับรถแข่งรุ่นใหม่ๆของเขา ซึ่งในการตัดสินใจครั้งนี้ถือว่าเป็นการเสี่ยงนั้น ทำให้ FERRARI ประสบความสำเร็จ และมีชัยเหนืออัลฟา โรมีโอ สมความตั้งใจ กล่าวคือ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1951 ฟรออิลาน กอนซาเลซ (Froilan Gonzalez) หรือที่รู้จักกันดีในนามของ (The Pampas Bull) สามารถพารถยนต์รุ่น 375-F1 ของ FERRARI คว้าชัยเหนือรถคู่แข่ง 158 ของอัลฟา โรมีโอ จากการแข่งขัน British Grand Prix ได้สำเร็จ นับเป็นชัยชนะครั้งแรก ซึ่งทำให้ FERRARI ถึงกับประกาศว่า "ในที่สุด ผมก็โค่นบริษัทแม่ ลงได้แล้ว"</p><p><br /></p><p> ในปี 1952 FERRARI ได้รับชัยชนะทั่วโลกเป็นครั้งแรก จากฝีมือของ อัลแบร์โต อัสคารี่ (Alberto Ascori) ด้วยรถยนต์ชนิด 500 ซึ่งเป็นรถคันแรก ที่ใช้เครื่องยนต์แบบ 4 สูบ และในปีนี้เอง ที่เห็น FERRARI ใช้ตัวรถถังของ Pininfarina และนั้นก็เป็นต้นกำเนิดของการเป็นหุ้นส่วนกันของทั้งสองรถที่ผลิตขึ้นภายใต้ความร่วมมือของทั้งสองก็คือ 212 Intercabriolet, รถยนต์แบบ Gts ซึ่งมี 250 Europa ,The 340 Mexico และThe 340 Mille Miglia</p><p><br /></p><p> จากนั้นในปี 1953 อัสคารี่ ก็พารถ 500 เข้าเส้นชัยกลายเป็นแชมป์เปี้ยนโลกครั้งที่ 2นอกจากนี้แล้ว มาร์ซอนโต (Marzotto), ฟารีน่า (Farina) และอัสคารี่ ยังสามารถควบ 340 MM และ 375 MM เข้าเส้นชัยในรายการ World Constructors Championship สำหรับรถสปอร์ตได้อีกด้วย</p><p><br /></p><p> ปี 1954 FERRARI นำทีมของเขาซึ่งประกอบด้วยนักแข่ง ฟารีน่า, แมกลีโอลี่ (Maglioli), กอนซาเลซ, ตรินติยองต์(Trintignant) และฮอว์ธอร์น (Hawthorn) และรถรุ่น 375 MM, 750 Monza แบบ 4 สูบเข้าร่วมการแข่งขัน Formula One World Drivers Championship โดยเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์จาก 2 ลิตร เป็น 2.5 ลิตร ซึ่งเขาก็คว้าชัยมาได้อีกครั้งอย่างสวยงาม และในปีเดียวกันเขาได้นำรถยนต์ 250 GT ไปร่วมแสดงในงานมอเตอร์โชว์อีกด้วย</p><p> ปี 1955 FERRARI ยังคงอุทิศตัวเองให้กับการผลิตรถยนต์คันใหม่ๆ ขึ้นมา และเขาก็ได้ตัดสินใจรับช่วงต่อโครงการแข่งรถ ของวิตโตริโอ จาโน (Vittorio Jano) แต่ยังให้เขาถือหุ้นอีกต่อไปนานถึง 30 ปี</p><p> </p><p> ปี 1956 เป็นปีที่ FERRARI ต้องสูญเสีย ดีโน (Dino) บุตรชาย ด้วยโรคลูคีเมีย แม้ว่าจะเสียใจแต่เขาก็ ไม่ทอดทิ้งการทำงาน FERRARI เริ่มมีเครื่องยนต์แบบ 6 สูบออกมาใช้ และเขาก็ได้รับชัยชนะ จากการแข่งขัน Constructors' World Championship ด้วยรถยนต์ 850 Monza และ 290MMซึ่งขับโดย ฟังจิโอ ( Fangio), คาสเตลลอนตี้ (Castellotti), ตริน ติยองค์ และฟิล ฮิลล์ (Phil Hill) รวมทั้งปีนี้ยังมีการนำเอาอัลลอยด์เบา มาใช้ทำถังบรรจุน้ำมันอีกด้วย</p><p><br /></p><p> ปี 1957 FERRARI นำเอารถรุ่นใหม่ 315s และ335s ซึ่งขับโดยมุสโซ (Musso), คาสเตลลอตตี้, เกรกอรี่ (Gregory), คอลินส์ (Collins), ฟิลฮิลล์ และทารุฟฟี่ (Taruffi) เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง รถทั้งสองคันคว้าชัยมาให้ได้อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น 335s ก็ยังสามารถคว้าชัยจาการแข่งขัน Mill Miglia มาได้อีกครั้งหลังจากที่พลาดมาหลายปีแล้ว</p><p><br /></p><p> ปี 1958 นักแข่งรถชาวอังกฤษ ไมค์ ออว์ธอรน์ (Mike Hawthorn) ชนะเลิศการแข่งขัน Formula One Championship ประเภทเครื่องยนต์ 6 สูบ ซึ่งในครั้งนี้รถที่เข้าใช้ในการแข่งขันก็คือ Dino 246 นอกจากนี้แล้ว FERRARI ก็ยังได้รับชัยในรายการ Sport Car Championship ด้วยรถ 250 Testarossa ซึ่งขับโดย คอลลินส์, ฟิลฮิลล์, มุสโซ และเกนเดอ เบียน (Gendebien)</p><p><br /></p><p><br /></p><p> ปี 1959 รถแข่งของ FERRARI ซึ่งแต่เดิมมีเครื่องยนต์ด้านหลังเครื่องยนต์เดียว ก็เปลี่ยนมาเป็น 2 เครื่องยนต์ จุน้ำมันได้ 2.5 ลิตร สำหรับรถ Formula1 และจุน้ำมัน 1.5 ลิตร สำหรับ Formula 2</p><p><br /></p><p> ปี 1960 250 Testarossaซึ่งขับโดย ฟิล ฮิลล์, อัลลิสัน (Allision), แฟรร์ (Frere) และเกนเดอเบียน ก็แผลงฤทธิ์อีกครั้ง สามารถคว้าชัยจากรายการ Sport Car Constructors' Championship นอกจากนี้ความสำเร็จอีกอย่างของ FERRARI ก็คือสามารถ ผลิตรถแข่งรุ่นใหม่ได้อีกคัน 410 หรือที่รู้จักกันอย่างดีว่า Superfast ซึ่งถือว่าพิเศษสุดเพราะเป็นรถต้นแบบให้กับรถยนต์รุ่นเล็กขนาด 850 CC ซึ่งรู้จักกันในนามของ Ferrari ต่อมาภายหลังโครงการนี้ได้ถูกขายต่อให้กับนักธุรกิจจากมิลาน ซึ่งเปิดบริษัทใหม่ และเมื่อสำเร็จแล้ว ก็เรียกมันว่า ASA</p><p><br /></p><p> แต่ในปีนี้สิ่งที่ถือว่าสำคัญมากที่สุดก็คือ ตัวถังแบบ 250 2+2 ของ Pininfarina นับว่าเป็นรถยนต์ ไฮคลาส ซึ่งมีสมรรถนะสูงสุดใช้เทคนิคชั้นสูงในการผลิตมีถึง 4 ที่นั่ง และกลายเป็นรถยนต์ซึ่งมีโครงสร้างภายในที่เป็นต้นแบบ ขอรถยนต์ FERRARI ในยุคปัจจุบัน</p><p><br /></p><p> นอกจากนี้ในปีนี้ นับเป็นปีที่สำคัญสำหรับ FERRARI อีกเช่นกัน เพราะบริษัท Auto Avia Construzioni Ferrari ของเขาเติบโตอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Societa Esercizio Fabbriche Automobile Corse (SEFAC) โดยมีเอนโซ FERRARI ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท จนถึงปี 1977 เขาก็ได้รับเกียรติ ให้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ของบริษัท และบริษัทใหม่นี้ก็สามารถผลิตรถยนต์ได้มากถึงปีละ 500 คัน แต่การแข่งขันของตลาด รถยนต์ก็ยังเพิ่มสูงขึ้น บริษัทผลิตรถยนต์ชั้นนำในช่วงนี้ได้แก่ Porche, Maserati, Jaguar, Aston Martin เป็นต้น SEFAC เริ่มมีรถที่ใช้ในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นคือจะมีตั้งแต่รถ Formula-1 , Sports Prototypes และ GT Racing นอกจากนี้เครื่องยนต์ใหม่ๆอย่าง CS1 ก็ยังมีการแนะนำออกมาแล้วในช่วงนี้</p><p><br /></p><p> ปี 1961 ฟิล ฮิลล์ สามารถพารถแข่ง the 156 เครื่องยนต์หลังคว้าชัยจากรายการ Formula One World Drivers' Championship และกลายเป็นชาวอเมริกาคนแรกที่สามารถชนะเลิศรายการนี้ได้ นอกจากนี้รถแข่งรุ่น the 250 TR และ 246 P ซึ่งขับโดย ฟิล ฮิลล์, เกนเดอเบียน, ฟอน ทริปส์ (Von Trips) กินเธอร์ (Ginther), บันดินี่ (Bandini) และสคาร์แลตตี้ (Scarlatti) คว้าชัยจากรายการ Sport Car Constructors' Championship รวมทั้ง246 P ยังเป็นรถแข่งเครื่องยนต์หลังรุ่นแรกในการแข่งประเภทนี้อีกด้วย</p><p><br /></p><p>ปี 1962 FERRARI นำรถของเขาคว้าชัยจากรายการการแข่งขันนานาชาติได้มาหลายรายการ เช่น International Speed และ Endurance Challenge ด้วยรถ 330LM และ 250 GTO รถแข่งอีกคันหนึ่งซึ่งอยู่ในประเภทของ GT Berlinetta ส่วน Dino 196 SP ก็คว้าชัยจากรายการ International GT Constructors' Championship และ Europa Hill Climbing Championship</p><p><br /></p><p> ปี 1963 FERRARI ได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน GT International Constructors' Championship ซึ่งรถที่เข้าแข่งขันต้องเป็นเครื่องยนต์แบบ 3,000 ซีซี ขึ้น ไปและเขาก็เอา 250P และ 330 TRILM (มากกว่า 3,000 ซีซี) เข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งยังนำเอา 250 P เข้าร่วมการแข่งขัน Internatinal Speed and Endurance Challenge อีกด้วย</p><p><br /></p><p> ปี 1964 นักแข่งรถชาวอังกฤษ จอหน์ เวโต (John Vento) กลายเป็นนักแข่งรถ Formula One World Championship คนแรก รวมทั้ง FERRARI ก็ได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน Formula One World Constructors' Championship และ The International Speed and Endurance Challenge นอกจากนี้รถยนต์รุ่นใหม่ 12 สูบ Horizontal ก็ยังได้รับการนำออกมาแสดงอีกด้วย</p><p><br /></p><p> ในช่วงปลายปี 1963 การแข่งขันทางการตลาดรถยนต์เริ่มมีมากขึ้นหลายเท่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รายใหญ่ในอเมริกา เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford) ก็มีความคิดที่จะเป็นเจ้าของบริษัท FERRARI ซึ่งตอนแรก FERRARI มีทีท่าเห็นด้วย จึงได้มีการตกลงเซ็นสัญญา คือในวันที่ 20 พฤษภาคม 1963 แต่แล้วก็ต้องถือเป็นโมฆะไป เพราะสัญญาดังกล่าวไม่ให้อิสระกับ FERRARI ในการผลิตรถยนต์ของเขาเองเลย</p><p><br /></p><p> เมื่อเฮนรี่ ฟอร์ด เกิดความไม่พอใจจึงคิดหาวิธีแก้แค้นในสนามแข่งขันที่ FERRARI เข้าร่วม ในปี 1964 นี้เองที่รถฟอร์ดรุ่น Daytona coupe ได้รับชัยชนะจากการแข่งขันประเภท GT ที่ Le Mans แต่หลังจากนั้น ติดต่อกัน 4 ปี รถแข่งของฟอร์ดก็ไม่สามารถเอาชนะ FERRARI ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน Le Mans 24 ชม. หรือแม้กระทั่งการแข่งทน</p><p><br /></p><p> ในปี 1965 FERRARI ได้รับชัยชนะอีกครั้งจากการแข่งขัน International GT Prototype Tropy และ แข่งทนด้วยรถรุ่น P2 และในช่วงปีนี้ที่รถเครื่องยนต์หลัง Dino 166 ได้รับการแนะนำ และนับเป็น รถแข่งคันแรก ที่มีชุดเครื่องยนต์ 6 สูบ และภายหลังเปลี่ยนเป็น 8 สูบ รวมทั้งยังมีการนำเอา CS1 แนะนำให้กับหุ้นส่วนของ FERRARI ได้รู้จัก ในเดือนมกราคม ตัวแทนของบริษัท เฟียต (Fiat) ได้เดินทางมายัง Maranello เพื่อถือสิทธิในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งมีสมรรถนะสูง 2 คัน ก็คือ Coupe และ Cabriolet และได้มีการทำความตกลงกัน ซึ่งทำให้เฟียต ต้องผลิตรถยนต์แบบ 6 สูบ ความจุ 2 ลิตร ซึ่งออกแบบโดย ฟรังโก รอชชี่ (Franco Rocchi) ออกมาถึง 500 คัน ในปลายปีนี้และนำเอาเครื่องยนต์นี้มาใช้ในรถแข่ง Formula-2 ในช่วงต้นปี 1967</p><p><br /></p><p> ในปี 1966 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการแข่ง Formula-1 ซึ่งก็คือ มีการนำเอารถแข่งซึ่งมีความจุ 3 ลิตรเข้ามาใช้ในการแข่งขันเป็นครั้งแรก ซึ่ง FERRARI ก็นำรถ 312 เข้าแข่งในขณะที่ 330 P3 ซึ่งเป็นรถ สปอร์ตเครื่องยนต์หลังรุ่นล่าสุด เข้าแข่งขันในรายการรถสปอร์ต</p><p><br /></p><p> ในปี 1967 FERRARI มีชัยจากการแข่งขัน International Sports Prototype Constructors' Championship ด้วยรถคันใหม่ P4 ซึ่งที่เรียกว่า Can Am ซึ่งเป็นรถแข่งที่สมรรถนะสูงที่สุดเท่าที่ FERRARI เคยผลิตรถมา สามารถบรรจุน้ำได้ถึง 7 ลิตร</p><p><br /></p><p> ในปี 1968 รถยนต์คันแรกที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง FERRARI และเฟียตก็ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งก็คือ 365 GTB/4 หรืออีกชื่อหนึ่ง Daytona เป็นรถยนต์ล่าสุดทีเป็นแบบเครื่องยนต์หน้า 2 ที่นั่ง</p><p><br /></p><p> ในวันที่ 18 มิถุนายน 1969 FERRARI ขายกิจการ SEFAC ให้กับจิอานนี่ แองเนลลี่ (Gianni agnelli) ถึง 50% แต่การตกลงดังกล่าวเห็นฟ้องกันเมื่อครั้งที่ FERRARI เสียชีวิตแล้ว อีก 40% ของที่เหลือกลับคืนสู่เฟียต และอีก 10 % เป็นของ ปิเอโร่ ลาร์ดี่ FERRARI (Piero Lardi Ferrari) และในปีเดียวกันนี้เองที่รถรุ่น 246 GT เริ่มเข้ามามีบทบาท</p><p><br /></p><p> ในปี 1971 มีการแนะนำรถคันใหม่ล่าสุด ออกสู่วงการซึ่งก็คือ 365 GT/4BB หรือที่เรียกกันว่า Berlinetta Boxer เป็นรถรุ่น GT คันแรก ซึ่งใช้เครื่องยนต์ 12 สูบ</p><p><br /></p><p> ในปี 1976 FERRARI มีชัยชนะในรายการ Formula One Constructors' Cup อีกครั้งหนึ่ง ส่วนรถรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาในปีนี้ ก็คือ 512 BB และ 400 Automatic นับเป็นคันแรกของ FERRARI ที่เป็นแบบอัตโนมัติ</p><p><br /></p><p> 1980 ในงาน Turin Motor Show Pininfarina ได้นำรถรุ่น Pinin Prototype นำออกแสดงนับเป็นรถ 4 ประตูเพียงคันเดียว ตั้งแต่มีการผลิตออกมาซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมีความคิดจะผลิตรถ 4 ประตูเลย มีเพียง 2 ประตูเท่านั้น แม้ว่ารถบางคันอย่าง Mondial จะมีถึง 4 ที่นั่งก็ตาม</p><p><br /></p><p> จากปี 1983 เป็นต้นมา รถแข่งของ FERRARI ก็ถูกผลิตขึ้นที่โรงงานแห่งใหม่ใน Via Ascari ซึ่งติดอยู่กับสนามทดสอบแข่งรถ Fiorano ใน Maranello</p><p><br /></p><p> 1984 นับเป็นปีทองของรถรุ่นใหม่ GTO ซึ่งนำแสดงในงาน Geneva Motor Show รวมทั้ง Testarossa รุ่นใหม่ในปารีสด้วย ซึ่งทั้ง 2 รุ่นนี้ไม่เพียงแค่สร้างตำนานของ FERRARI เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นรูปลักษณ์ที่วิเศษสุด และไม่สร้างความผิดหวังให้เลย</p><p><br /></p><p><br /></p><p> ในวันที่ 21 กรกฏาคม 1987 ได้มีการจัดงานฉลองครบรอบ 40 ปีของบริษัท ซึ่งในงานนี้รถใหม่ล่าสุดอย่าง 288GTO และ F40 ก็ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และในอีกไม่กี่ปีต่อมา F40 ก็กลายเป็นรถหายากที่สุดในโลก</p><p><br /></p><p> ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1988 ได้มีการจัดงานฉลองครบรอบ 90 ปี ของ FERRARI ผู้คนที่เดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้มีเพียงเจ้าหน้าที่เพื่อนร่วมงานและพนักงานในบริษัทของ FERRARI เท่านั้น และมีการแจกรูปจำลองของ F40 และเหรียญที่ระลึกเป็นของชำร่วย</p><p><br /></p><p> จากนั้นวันที่ 14 สิงหาคมปีเดียวกัน FERRARI ก็เสียชีวิตลงที่บ้านเกิดเมือง Modena พิธีฝังศพของเขาก็มีขึ้นในวันต่อมา และในวันที่ 11 กันยายน เบอร์เกอร์ (Berger) และอัลแบร์โต ก็ต้องยุติอาชีพนักแข่งรถในรายการ Italian Grand Prix ที่ Monza</p><p><br /></p><p> หลังจากการเสียชีวิตของ FERRARI ปิเอโร ฟูซาโร (Piero Fusaro) ก็ดำรงตำแหน่งประธานบริษัทโดยมี ปิเอโร ลาดี FERRARI เป็นรองประธาน และ จิโอวันนี่ บัตติสตาร์ ราเซลลี่ (Giovanni Battista Rozelli) เป็นผู้อำนวยการจัดการ</p><p><br /></p><p> ในต้นยุค 90s การแข่งขันทางการตลาดของรถยุโรปเริ่มชลอตัว อาจเป็นไปตามกฎที่ว่าอะไรที่หายากก็ย่อมเป็นที่ต้องการอย่างมาก ตามข้อมูลทางการผลิตของ FERRARI จำนวนรถยนต์ที่ผลิตในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เช่นในปี 1971 ผลิตรถยนต์ประมาณ 1,246 คันต่อปี 1979 ประมาณ 2,221 คัน ปี 1985 ประมาณ 3,119 คัน และสุดท้ายเพดานการผลิตก็ตันอยู่ที่ 4,001 ในปี 1988 แต่จากนั้นในปี 1994 จำนวนของการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 71,113 คัน แม้ว่า FERRARI จะผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ความสวยงามและความสมบูรณ์แบบก็ยังคงอยู่ครบถ้วน ซึ่งจะเห็นได้ว่ารถแต่ละคันถูกผลิตขึ้นมาจากการผสมผสานกันระหว่างความสวยงามของศิลปะและสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่เหนือชั้น จึงนับได้ว่า FERRARI เป็นรถยนต์ที่สามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่าเกินราคา</p><p><br /></p><p><br /></p><p>เอามาฝากกันคับ ไปค้นเจอ จาก <a href="http://www.bangkoksupercar.com" target="_blank" class="externalLink ProxyLink" data-proxy-href="http://www.bangkoksupercar.com" rel="nofollow">http://www.bangkoksupercar.com</a>[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="superchamp, post: 1419486, member: 694"]Ferrari History เอนโซ เฟอร์รารี่ (Enzo Ferrari) เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1898 ในเมือง Modena เป็นลูกชายคนเล็กของครอบครัว (พี่ชายคนโตชื่อ อัลเฟรโด (Alfredo) เช่นเดียวกับบิดา) ในวัยเด็ก ฐานะของครอบครัวไม่มีอะไรน่าวิตกมากนัก จนพ่อของเขาเป็นเจ้าของบริษัทเกี่ยวกับเหล็ก และ โครงสร้างเหล็ก ชีวิตในวัยเด็กของเอนโซ FERRARI ไม่มีอะไรน่า ตื่นเต้น จนกระทั่งพ่อพาเขาไปดูการแข่งรถเป็นครั้งแรกในชีวิต ไม่นานนักก็ถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไปมาก พ่อและพี่ชายเสียชีวิต FERRARI จำเป็นต้องขายธุรกิจครอบครัว และเดินทางไปหางานทำและใช้ชีวิตอยู่ใน Turin เรื่อยมา หลังจากที่ทำงานหลายอย่าง กระทั่งในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับรถยนต์ ในที่สุดเขาก็ได้เข้าทำงานอย่างจริงจังในบริษัทผลิตรถยนต์ของอัลฟา โรมีโอ (Alfa Romeo) และที่นี่เองความสามารถเกี่ยวกับเครื่องยนต์ของเขาได้ฉายแววออกมาอย่างเด่นชัด ในตอนแรก FERRARI ทำหน้าที่เป็นช่างซ่อมเครื่องยนต์ ต่อมาก็เลื่อนตำแหน่งเป็นนักขับรถทดสอบเครื่องยนต์ จากนั้นไม่นานเขาก็สามารถก้าวขึ้นมายืนอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด พร้อมทั้งเป็นเอเยนต์ขายรถยนต์อัลฟา โรมีโอ ในแคว้นเอมีเลียม-โรมานยา (Emilia-Romagna) ในเวลาเดียวกัน ในช่วงที่ FERRARI เป็นนักขับรถเพื่อทดสอบเครื่องยนต์เขาก็เข้าแข่งขันรถหลายครั้งจนในวันที่ 1 ธันวาคม 1929 เขาก็ได้ตั้งทีมแข่งรถของตัวเองขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า The Societa Anonima Scuderia Ferrira (The Ferrari Team) เพื่อเข้าแข่งขันในทุกรายการที่จัดขึ้นโดยใช้รถของอัลฟา โรมมีโอ และในช่วงนี้เองที่มีการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ เพื่อเข้าแข่งขันมากขึ้น เช่นรถ Alfa Romeo 2 เครื่องยนต์ซึ่งผลิตโดยลุยกี บาซซี่ (Luigi Bazzi) และ Alfa158 ซึ่งผลิตใน Modena จากฝีมือของ FERRARI เองเมื่อครั้งที่รับตำแหน่งผู้จัดการทีมแข่งรถของ Alfa Romeo เมื่อทีม Scuderia Ferrari ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน FERRARI ก็คิดจ้างนักขับรถแข่งมืออาชีพเข้ามาร่วมทีมด้วย อาทิ ทาซิโอ นูโวลารี่ (Tazio Nuvolari) รวมทั้ง ทาร์โก โฟลริโอ (Targo Florio) ซึ่งได้รับชัยชนะในการแข่งขันปี 1932 ในการแข่งขัน Mill Miglia ปี 1933 และในการแข่งขัน Germany Grand Prix ที่ Nurburgring ปี 1935 แต่แล้วอยู่ ๆ FERRARI ก็เกิดความขัดแย้งกับนูโวลารี่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งกับนักขับรถแข่ง คนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ในปี 1935 รถแข่ง 2 เครื่องยนต์ 1 ที่นั่ง 8 สูบ ความเร็ว 300 กม./ช.ม. คันแรกของ FERRARI ภายใต้ชื่อของอัลฟา โรมีโอ ก็เข้าร่วมการแข่งขันด้วย แต่ก็ต้องกลายเป็นรถไร้สมรรถนะไป เพราะยางรถยนต์มีความลึก มากเกินไป ในวันที่ 1 มกราคม 1938 อัลฟา โรมีโอ ประกาศตั้งทีมแข่งรถของตัวเองอย่างแท้จริงขึ้นมาบ้าง เพื่อนำรถแข่ง Alfa Romeo เข้าแข่งขัน ภายใต้ชื่อทีม Alfa Corse Banner และได้แต่งตั้ง FERRARI ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการแข่งรถในทีมใหม่นี้ด้วย ในช่วงปลายปี 1939 เกิดความตึงเครียด และไม่เข้าใจกันระหว่าง FERRARI และปิเอร์ อูโก กอบบาโต (Pier Ugo Gobbato) ลูกชายของอัลฟา โรมีโอ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนหนึ่งของบริษัท รวมทั้งการที่ FERRARI ไม่เคารพ ริการท์ (Ricart) วิศวกรเครื่องยนต์ใหญ่ชาวสเปนของอัลฟา โรมีโอ จึงเป็นเหตุให้ FERRARI ต้องยุติ บทบาทของตัวเองในบริษัท อัลฟา โรมีโอ โดยสิ้นเชิง และออกจากบริษัทไปพร้อมกับเพื่อนร่วมงานที่สนิทกันมากอีกสองคนคือ ลุยกี บาซซี่ (Luigi Bazzi) และ อัลแบร์โต มาสซิมิโน (Alberto Massimino) แต่บ้างก็กล่าวว่า สาเหตุหลักของการออกจากบริษัทอัลฟา โรมีโอ ในครั้งนี้ลึกซึ้งกว่าที่กล่าวไปแล้ว ข้างต้น คือ FERRARI ไม่ต้องการเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตลอดไป ยิ่งไปกว่านั้นเขายังรู้สึกอีกว่าถ้าใครคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในบริษัทเดิมนานเกินไป ก็จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไป นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ผู้อำนวยการหลายคนของบริษัทแช่แข็งความสามารถของ FERRARI นานกว่า 4 ปี ไม่ยอมให้เขาผลิตรถยนต์ใหม่ ๆ ขึ้นมา และแม้กระทั่งไม่ยอมให้เขาเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ เลย เขาจึงต้องหาทางแก้เผ็ดอัลฟา โรมีโอ และหันหลังให้กับอัลฟา โรมีโอ จากนั้นก็เดินทางกลับไปยังบ้านเกิด Modena พร้อมกับเพื่อนอีกสองคนเพื่อก่อตั้งบริษัทของตนเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า Auto Avio Construzioni ในช่วงแรกซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลก บริษัทของเขาผลิตได้แต่เพียงชิ้นส่วนเครื่องยนต์เท่านั้นจนถึงปี 1940 รถสปอร์ต spider-type 8 สูบ ที่ชื่อว่า Auto Avio Construzioni 815 ก็ถูกผลิตขึ้นมา โดยคาร์รอซเซอเรีย ทัวริ่ง (Carozzeria Touring) จากนั้นก็มีออกมาอีกหลายคัน จนในปี 1946 รถยนต์ FERRARI ที่แท้จริงคันแรกก็เกิดขึ้นโดยใช้ชื่อว่า the 125 sport เป็นรถยนต์คันแรกที่มี 12 สูบ จุน้ำมันไดครึ่งลิตร มาจากมันสมองและน้ำมือของวิศวกรเครื่องยนต์ลุยกี บาซซี่และจิโออาชิโอ โคลอมโบ (Gioachio Colombo) ดีไซเนอร์ซึ่งเคยอยู่กับอัลฟา โรมีโอ และเคยออกแบบ Alfa 158 สำหรับ FERRARI ในปี 1937 มาแล้ว นับว่า 125 นี้ไม่ธรรมดาเลย เพราะในประเทศ อิตาลีหลังสงครามโลกแล้วยังไม่มีรถยนต์คันใดที่มี 12 สูบเลย แต่รถยนต์เฟอร์ารี่คันแรก ที่มีเครื่องหมายม้าสีดำทะยานอยู่ในพื้นสีเหลืองด้านบนเป็นสีธงชาติของ อิตาลี และด้านล่างมีอักษร F หางยาวนั้นก็เริ่มผลิตออกมาในปี 1947 และทดลองวิ่งเมื่อวันที่ 12 มีนาคมปีเดียวกันนั้นเอง และนั่นก็คือจุดกำเนิดของสัญลักษณ์ม้าทะยาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของรถยนต์ FERRARI แต่ก่อนหน้านี้สัญลักษณ์ม้าทะยานนี้มีใช้ก่อนแล้วโดยจะเห็นได้ที่รถแข่งทุกคันของทีมแข่งรถของ Scuderia Ferrari ของ FERRARI ในช่วงยุค 30s แต่ยังไม่ใช้อย่างเป็นจริงเป็นจัง และมีรูปแบบแตกต่างกันไป สำหรับสัญลักษณ์ม้าทะยานนี้ แรกเริ่มเดิมทีติดอยู่ที่เครื่องบินของกองทัพในช่วงยุค 20s มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งที่ FERRARI ยังเป็นนักแข่งรถอ่อนประสบการณ์ เขาได้พบกับพ่อแม่ของ ฟรานเซสโก บารักกา (Francesco Baracca) ซึ่งเป็นนักขับเครื่องบินชาวอิตาเลียนตัวยงในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นชาวเมือง Lugo เช่นเดียวกับแม่ของ FERRARI ทันทีที่ FERRARI เห็นสัญลักษณ์ม้าทะยานซึ่งติดอยู่ที่เครื่องบินของครอบครัวนี้ เขาก็เกิดความสนใจในรูปลักษณ์ของมัน และเมื่อรู้ว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี เขาจึงนำม้าทะยานนี้มาใช้ในทีมแข่งรถ แต่ FERRARI ก็ยังไม่ได้ใช้สัญลักษณ์ม้าทะยานในทันที เขาเก็บเอาไว้นานหลายปี จนกระทั้งมีทีมแข่งรถของตัวเองซึ่งก็คือ Scuderia Ferrari นั่นเอง อาจมีคำถามว่าทำไมครอบครัวบารักกาจึงต้องมีม้าทะยานติดอยู่ที่เครื่องบินของพวกเขา คำตอบก็คือ เช่นเดียวกับนักบินคนอื่นๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ต้องขึ้นกับกรมทหารม้า Piedmontese Cavalry Regiment ซึ่งมีม้าทะยานเป็นสัญลักษณ์ก็เป็นได้ ส่วนพื้นด้านหลังของสัญลักษณ์เป็นสีเหลืองนั้นก็ใช้แทนสีของ Modena นั่นเอง หลังจากที่ได้มีการแนะนำ 125 Sport แล้วก็นำเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง 125 สามารถคว้าชัยชนะมาได้ในช่วงปีเดียวถึง 7 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกวันที่ 5 พฤษภาคม เมื่อฟรังโก คอร์เตส (Franco Cortes) พา 125 เข้าเส้นชัยในรายการ Rome Grand Prix และครั้งนี้เองที่สร้างความฮือฮาให้กับคนในวงการแข่งรถมาก เพราะฟรังโก เพื่อนของ FERRARI ไม่ได้เป็นนักขับรถแข่งมืออาชีพ แตเป็นเพียงเซลส์ขายชิ้นส่วนเครื่องยนต์ของ FERRARI เท่านั้น ในปี 1948 ปีที่สองของการก่อสร้างตัวรถสปอร์ตและรถแข่งใหม่ๆ เช่นฟอร์มูล่า-2 ก็เริ่มได้รับชัยชนะมากขึ้น เช่น ชัยชนะในรายการแข่งขัน Mill Miglia และในการแข่งขันที่สต็อกโฮม ซึ่งถือเป็นชัยชนะนอกบ้านครั้งแรกของ FERRARI แม้ว่า FERRARI จะประสบความสำเร็จอย่างสูงในบ้านของตัวเอง แต่ชื่อเสียงของเขาก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของทั่วโลก จนกระทั่ง ลุยกี ซีเนตตี้ (Luigi Chinetti) อดีตช่างเครื่องของอัลฟา โรมีโอ และเพื่อนของ FERRARI ที่สามารถคว้าชัยชนะจากการแข่งขันในรายการขับทน 12 ชั่วโมงในปารีส และในปีต่อมาก็คว้าชัยได้ในรายการ ขับทน 24 ชั่วโมง นับแต่นั้นมาชื่อเสียงของ FERRARI จึงกลายเป็นที่นรู้จักในวงกว้างรวมถึงในอเมริกาด้วย สำหรับ Formula 1 คันแรก ผลิตขึ้นที่ Turin เมื่อเดือนกันยายน 1948 แต่เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกในสนาม Garda Circuit เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมปีเดียวกัน และได้รับชัยชนะอย่างสวยงามด้วยฝีมือการขับของ นีโน ฟารีน่า (Nino Farina) จากนั้นในเดือนพฤษจิกายนปีเดียวกัน FERRARI ก็นำรถยนต์ 2 คัน ซึ่งผลิตด้วยฝีมือของ ทัวริ่งนำออกแสดงในงาน Turin Motor Show ซึ่งรถทั้งสองคันนั้นก็คือ Berlinetta และ Barchetta 166 จากนั้นก็มีรถใหม่ๆ ออกมาอีกหลายคันทั้งที่เป็น Sport, Grand Touring Car, Formula-2 , Formula Libre ในช่วงนี้เองที่บริษัทของ FERRARI แข็งแกร่งขึ้นมาก เพราะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องยนต์และวิศวกรเครื่องยนต์ฝีมือดีอีกมากมาย ทั้งจิโออาชิโอ โคลอมโบ ซึ่งออกจากบริษัทอัลฟา โรมีโอ และอยู่กับ FERRARI จนกระทั่งถึงปี 1951ม, ออร์ลิโอ แลมเพรดี้ (Aurelio Lampredi) ซึ่งอยู่กับ FERRARI ตั้งแต่ 1948-1955 ซึ่งทั้งสองคนนี้ช่วยกันสร้างรถยนต์รุ่นแรกๆ อย่าง125, 159 จนกระทั่งถึงรถยนต์รุ่นหลังๆ 166, 195, 212, 225, 275, 340 และ 375 นับเป็นความโชคดีของ FERRARI ที่ได้เพื่อนร่วมงานที่มีความสามารถสูง ทีมของเขาจึงสามารถคว้า ชัยชนะจากรายการแข่งขันต่างๆมากมาย เช่นในปี 1949 บิโอเนตตี้ และซาลานี่ ได้รับชัยชนะอีกครั้งในรายการ Mile Miglia ด้วยรถ Barchetta 166 ในขณะที่อัสคารี่ได้รับชัยชนะในรายการ Formula 1 Grand Prix ที่ Monza เมื่อวันที่ 11 กันยายน ด้วยรถ FERRARI 2 ลิตร ซึ่งรถคันนี้ผลิตเพื่อเข้าแข่งขันโอเพ่นฟอร์มูลาซึ่งเปิดสำหรับผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก และเพื่อเป็นการหาลูกค้าใหม่ๆด้วย ในปี 1950 FERRARI หันมาให้ความสนใจกับเครื่องยนต์ไอพ่น ซึ่งออร์ลิโอ แลมเพรดี้ หัวหน้าวิศวกร เครื่องยนต์ เป็นผู้แนะนำให้รู้จัก และเขาก็เอามาใช้กับรถแข่งรุ่นใหม่ๆของเขา ซึ่งในการตัดสินใจครั้งนี้ถือว่าเป็นการเสี่ยงนั้น ทำให้ FERRARI ประสบความสำเร็จ และมีชัยเหนืออัลฟา โรมีโอ สมความตั้งใจ กล่าวคือ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1951 ฟรออิลาน กอนซาเลซ (Froilan Gonzalez) หรือที่รู้จักกันดีในนามของ (The Pampas Bull) สามารถพารถยนต์รุ่น 375-F1 ของ FERRARI คว้าชัยเหนือรถคู่แข่ง 158 ของอัลฟา โรมีโอ จากการแข่งขัน British Grand Prix ได้สำเร็จ นับเป็นชัยชนะครั้งแรก ซึ่งทำให้ FERRARI ถึงกับประกาศว่า "ในที่สุด ผมก็โค่นบริษัทแม่ ลงได้แล้ว" ในปี 1952 FERRARI ได้รับชัยชนะทั่วโลกเป็นครั้งแรก จากฝีมือของ อัลแบร์โต อัสคารี่ (Alberto Ascori) ด้วยรถยนต์ชนิด 500 ซึ่งเป็นรถคันแรก ที่ใช้เครื่องยนต์แบบ 4 สูบ และในปีนี้เอง ที่เห็น FERRARI ใช้ตัวรถถังของ Pininfarina และนั้นก็เป็นต้นกำเนิดของการเป็นหุ้นส่วนกันของทั้งสองรถที่ผลิตขึ้นภายใต้ความร่วมมือของทั้งสองก็คือ 212 Intercabriolet, รถยนต์แบบ Gts ซึ่งมี 250 Europa ,The 340 Mexico และThe 340 Mille Miglia จากนั้นในปี 1953 อัสคารี่ ก็พารถ 500 เข้าเส้นชัยกลายเป็นแชมป์เปี้ยนโลกครั้งที่ 2นอกจากนี้แล้ว มาร์ซอนโต (Marzotto), ฟารีน่า (Farina) และอัสคารี่ ยังสามารถควบ 340 MM และ 375 MM เข้าเส้นชัยในรายการ World Constructors Championship สำหรับรถสปอร์ตได้อีกด้วย ปี 1954 FERRARI นำทีมของเขาซึ่งประกอบด้วยนักแข่ง ฟารีน่า, แมกลีโอลี่ (Maglioli), กอนซาเลซ, ตรินติยองต์(Trintignant) และฮอว์ธอร์น (Hawthorn) และรถรุ่น 375 MM, 750 Monza แบบ 4 สูบเข้าร่วมการแข่งขัน Formula One World Drivers Championship โดยเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์จาก 2 ลิตร เป็น 2.5 ลิตร ซึ่งเขาก็คว้าชัยมาได้อีกครั้งอย่างสวยงาม และในปีเดียวกันเขาได้นำรถยนต์ 250 GT ไปร่วมแสดงในงานมอเตอร์โชว์อีกด้วย ปี 1955 FERRARI ยังคงอุทิศตัวเองให้กับการผลิตรถยนต์คันใหม่ๆ ขึ้นมา และเขาก็ได้ตัดสินใจรับช่วงต่อโครงการแข่งรถ ของวิตโตริโอ จาโน (Vittorio Jano) แต่ยังให้เขาถือหุ้นอีกต่อไปนานถึง 30 ปี ปี 1956 เป็นปีที่ FERRARI ต้องสูญเสีย ดีโน (Dino) บุตรชาย ด้วยโรคลูคีเมีย แม้ว่าจะเสียใจแต่เขาก็ ไม่ทอดทิ้งการทำงาน FERRARI เริ่มมีเครื่องยนต์แบบ 6 สูบออกมาใช้ และเขาก็ได้รับชัยชนะ จากการแข่งขัน Constructors' World Championship ด้วยรถยนต์ 850 Monza และ 290MMซึ่งขับโดย ฟังจิโอ ( Fangio), คาสเตลลอนตี้ (Castellotti), ตริน ติยองค์ และฟิล ฮิลล์ (Phil Hill) รวมทั้งปีนี้ยังมีการนำเอาอัลลอยด์เบา มาใช้ทำถังบรรจุน้ำมันอีกด้วย ปี 1957 FERRARI นำเอารถรุ่นใหม่ 315s และ335s ซึ่งขับโดยมุสโซ (Musso), คาสเตลลอตตี้, เกรกอรี่ (Gregory), คอลินส์ (Collins), ฟิลฮิลล์ และทารุฟฟี่ (Taruffi) เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง รถทั้งสองคันคว้าชัยมาให้ได้อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น 335s ก็ยังสามารถคว้าชัยจาการแข่งขัน Mill Miglia มาได้อีกครั้งหลังจากที่พลาดมาหลายปีแล้ว ปี 1958 นักแข่งรถชาวอังกฤษ ไมค์ ออว์ธอรน์ (Mike Hawthorn) ชนะเลิศการแข่งขัน Formula One Championship ประเภทเครื่องยนต์ 6 สูบ ซึ่งในครั้งนี้รถที่เข้าใช้ในการแข่งขันก็คือ Dino 246 นอกจากนี้แล้ว FERRARI ก็ยังได้รับชัยในรายการ Sport Car Championship ด้วยรถ 250 Testarossa ซึ่งขับโดย คอลลินส์, ฟิลฮิลล์, มุสโซ และเกนเดอ เบียน (Gendebien) ปี 1959 รถแข่งของ FERRARI ซึ่งแต่เดิมมีเครื่องยนต์ด้านหลังเครื่องยนต์เดียว ก็เปลี่ยนมาเป็น 2 เครื่องยนต์ จุน้ำมันได้ 2.5 ลิตร สำหรับรถ Formula1 และจุน้ำมัน 1.5 ลิตร สำหรับ Formula 2 ปี 1960 250 Testarossaซึ่งขับโดย ฟิล ฮิลล์, อัลลิสัน (Allision), แฟรร์ (Frere) และเกนเดอเบียน ก็แผลงฤทธิ์อีกครั้ง สามารถคว้าชัยจากรายการ Sport Car Constructors' Championship นอกจากนี้ความสำเร็จอีกอย่างของ FERRARI ก็คือสามารถ ผลิตรถแข่งรุ่นใหม่ได้อีกคัน 410 หรือที่รู้จักกันอย่างดีว่า Superfast ซึ่งถือว่าพิเศษสุดเพราะเป็นรถต้นแบบให้กับรถยนต์รุ่นเล็กขนาด 850 CC ซึ่งรู้จักกันในนามของ Ferrari ต่อมาภายหลังโครงการนี้ได้ถูกขายต่อให้กับนักธุรกิจจากมิลาน ซึ่งเปิดบริษัทใหม่ และเมื่อสำเร็จแล้ว ก็เรียกมันว่า ASA แต่ในปีนี้สิ่งที่ถือว่าสำคัญมากที่สุดก็คือ ตัวถังแบบ 250 2+2 ของ Pininfarina นับว่าเป็นรถยนต์ ไฮคลาส ซึ่งมีสมรรถนะสูงสุดใช้เทคนิคชั้นสูงในการผลิตมีถึง 4 ที่นั่ง และกลายเป็นรถยนต์ซึ่งมีโครงสร้างภายในที่เป็นต้นแบบ ขอรถยนต์ FERRARI ในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ในปีนี้ นับเป็นปีที่สำคัญสำหรับ FERRARI อีกเช่นกัน เพราะบริษัท Auto Avia Construzioni Ferrari ของเขาเติบโตอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Societa Esercizio Fabbriche Automobile Corse (SEFAC) โดยมีเอนโซ FERRARI ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท จนถึงปี 1977 เขาก็ได้รับเกียรติ ให้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ของบริษัท และบริษัทใหม่นี้ก็สามารถผลิตรถยนต์ได้มากถึงปีละ 500 คัน แต่การแข่งขันของตลาด รถยนต์ก็ยังเพิ่มสูงขึ้น บริษัทผลิตรถยนต์ชั้นนำในช่วงนี้ได้แก่ Porche, Maserati, Jaguar, Aston Martin เป็นต้น SEFAC เริ่มมีรถที่ใช้ในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นคือจะมีตั้งแต่รถ Formula-1 , Sports Prototypes และ GT Racing นอกจากนี้เครื่องยนต์ใหม่ๆอย่าง CS1 ก็ยังมีการแนะนำออกมาแล้วในช่วงนี้ ปี 1961 ฟิล ฮิลล์ สามารถพารถแข่ง the 156 เครื่องยนต์หลังคว้าชัยจากรายการ Formula One World Drivers' Championship และกลายเป็นชาวอเมริกาคนแรกที่สามารถชนะเลิศรายการนี้ได้ นอกจากนี้รถแข่งรุ่น the 250 TR และ 246 P ซึ่งขับโดย ฟิล ฮิลล์, เกนเดอเบียน, ฟอน ทริปส์ (Von Trips) กินเธอร์ (Ginther), บันดินี่ (Bandini) และสคาร์แลตตี้ (Scarlatti) คว้าชัยจากรายการ Sport Car Constructors' Championship รวมทั้ง246 P ยังเป็นรถแข่งเครื่องยนต์หลังรุ่นแรกในการแข่งประเภทนี้อีกด้วย ปี 1962 FERRARI นำรถของเขาคว้าชัยจากรายการการแข่งขันนานาชาติได้มาหลายรายการ เช่น International Speed และ Endurance Challenge ด้วยรถ 330LM และ 250 GTO รถแข่งอีกคันหนึ่งซึ่งอยู่ในประเภทของ GT Berlinetta ส่วน Dino 196 SP ก็คว้าชัยจากรายการ International GT Constructors' Championship และ Europa Hill Climbing Championship ปี 1963 FERRARI ได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน GT International Constructors' Championship ซึ่งรถที่เข้าแข่งขันต้องเป็นเครื่องยนต์แบบ 3,000 ซีซี ขึ้น ไปและเขาก็เอา 250P และ 330 TRILM (มากกว่า 3,000 ซีซี) เข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งยังนำเอา 250 P เข้าร่วมการแข่งขัน Internatinal Speed and Endurance Challenge อีกด้วย ปี 1964 นักแข่งรถชาวอังกฤษ จอหน์ เวโต (John Vento) กลายเป็นนักแข่งรถ Formula One World Championship คนแรก รวมทั้ง FERRARI ก็ได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน Formula One World Constructors' Championship และ The International Speed and Endurance Challenge นอกจากนี้รถยนต์รุ่นใหม่ 12 สูบ Horizontal ก็ยังได้รับการนำออกมาแสดงอีกด้วย ในช่วงปลายปี 1963 การแข่งขันทางการตลาดรถยนต์เริ่มมีมากขึ้นหลายเท่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รายใหญ่ในอเมริกา เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford) ก็มีความคิดที่จะเป็นเจ้าของบริษัท FERRARI ซึ่งตอนแรก FERRARI มีทีท่าเห็นด้วย จึงได้มีการตกลงเซ็นสัญญา คือในวันที่ 20 พฤษภาคม 1963 แต่แล้วก็ต้องถือเป็นโมฆะไป เพราะสัญญาดังกล่าวไม่ให้อิสระกับ FERRARI ในการผลิตรถยนต์ของเขาเองเลย เมื่อเฮนรี่ ฟอร์ด เกิดความไม่พอใจจึงคิดหาวิธีแก้แค้นในสนามแข่งขันที่ FERRARI เข้าร่วม ในปี 1964 นี้เองที่รถฟอร์ดรุ่น Daytona coupe ได้รับชัยชนะจากการแข่งขันประเภท GT ที่ Le Mans แต่หลังจากนั้น ติดต่อกัน 4 ปี รถแข่งของฟอร์ดก็ไม่สามารถเอาชนะ FERRARI ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน Le Mans 24 ชม. หรือแม้กระทั่งการแข่งทน ในปี 1965 FERRARI ได้รับชัยชนะอีกครั้งจากการแข่งขัน International GT Prototype Tropy และ แข่งทนด้วยรถรุ่น P2 และในช่วงปีนี้ที่รถเครื่องยนต์หลัง Dino 166 ได้รับการแนะนำ และนับเป็น รถแข่งคันแรก ที่มีชุดเครื่องยนต์ 6 สูบ และภายหลังเปลี่ยนเป็น 8 สูบ รวมทั้งยังมีการนำเอา CS1 แนะนำให้กับหุ้นส่วนของ FERRARI ได้รู้จัก ในเดือนมกราคม ตัวแทนของบริษัท เฟียต (Fiat) ได้เดินทางมายัง Maranello เพื่อถือสิทธิในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งมีสมรรถนะสูง 2 คัน ก็คือ Coupe และ Cabriolet และได้มีการทำความตกลงกัน ซึ่งทำให้เฟียต ต้องผลิตรถยนต์แบบ 6 สูบ ความจุ 2 ลิตร ซึ่งออกแบบโดย ฟรังโก รอชชี่ (Franco Rocchi) ออกมาถึง 500 คัน ในปลายปีนี้และนำเอาเครื่องยนต์นี้มาใช้ในรถแข่ง Formula-2 ในช่วงต้นปี 1967 ในปี 1966 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการแข่ง Formula-1 ซึ่งก็คือ มีการนำเอารถแข่งซึ่งมีความจุ 3 ลิตรเข้ามาใช้ในการแข่งขันเป็นครั้งแรก ซึ่ง FERRARI ก็นำรถ 312 เข้าแข่งในขณะที่ 330 P3 ซึ่งเป็นรถ สปอร์ตเครื่องยนต์หลังรุ่นล่าสุด เข้าแข่งขันในรายการรถสปอร์ต ในปี 1967 FERRARI มีชัยจากการแข่งขัน International Sports Prototype Constructors' Championship ด้วยรถคันใหม่ P4 ซึ่งที่เรียกว่า Can Am ซึ่งเป็นรถแข่งที่สมรรถนะสูงที่สุดเท่าที่ FERRARI เคยผลิตรถมา สามารถบรรจุน้ำได้ถึง 7 ลิตร ในปี 1968 รถยนต์คันแรกที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง FERRARI และเฟียตก็ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งก็คือ 365 GTB/4 หรืออีกชื่อหนึ่ง Daytona เป็นรถยนต์ล่าสุดทีเป็นแบบเครื่องยนต์หน้า 2 ที่นั่ง ในวันที่ 18 มิถุนายน 1969 FERRARI ขายกิจการ SEFAC ให้กับจิอานนี่ แองเนลลี่ (Gianni agnelli) ถึง 50% แต่การตกลงดังกล่าวเห็นฟ้องกันเมื่อครั้งที่ FERRARI เสียชีวิตแล้ว อีก 40% ของที่เหลือกลับคืนสู่เฟียต และอีก 10 % เป็นของ ปิเอโร่ ลาร์ดี่ FERRARI (Piero Lardi Ferrari) และในปีเดียวกันนี้เองที่รถรุ่น 246 GT เริ่มเข้ามามีบทบาท ในปี 1971 มีการแนะนำรถคันใหม่ล่าสุด ออกสู่วงการซึ่งก็คือ 365 GT/4BB หรือที่เรียกกันว่า Berlinetta Boxer เป็นรถรุ่น GT คันแรก ซึ่งใช้เครื่องยนต์ 12 สูบ ในปี 1976 FERRARI มีชัยชนะในรายการ Formula One Constructors' Cup อีกครั้งหนึ่ง ส่วนรถรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาในปีนี้ ก็คือ 512 BB และ 400 Automatic นับเป็นคันแรกของ FERRARI ที่เป็นแบบอัตโนมัติ 1980 ในงาน Turin Motor Show Pininfarina ได้นำรถรุ่น Pinin Prototype นำออกแสดงนับเป็นรถ 4 ประตูเพียงคันเดียว ตั้งแต่มีการผลิตออกมาซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมีความคิดจะผลิตรถ 4 ประตูเลย มีเพียง 2 ประตูเท่านั้น แม้ว่ารถบางคันอย่าง Mondial จะมีถึง 4 ที่นั่งก็ตาม จากปี 1983 เป็นต้นมา รถแข่งของ FERRARI ก็ถูกผลิตขึ้นที่โรงงานแห่งใหม่ใน Via Ascari ซึ่งติดอยู่กับสนามทดสอบแข่งรถ Fiorano ใน Maranello 1984 นับเป็นปีทองของรถรุ่นใหม่ GTO ซึ่งนำแสดงในงาน Geneva Motor Show รวมทั้ง Testarossa รุ่นใหม่ในปารีสด้วย ซึ่งทั้ง 2 รุ่นนี้ไม่เพียงแค่สร้างตำนานของ FERRARI เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นรูปลักษณ์ที่วิเศษสุด และไม่สร้างความผิดหวังให้เลย ในวันที่ 21 กรกฏาคม 1987 ได้มีการจัดงานฉลองครบรอบ 40 ปีของบริษัท ซึ่งในงานนี้รถใหม่ล่าสุดอย่าง 288GTO และ F40 ก็ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และในอีกไม่กี่ปีต่อมา F40 ก็กลายเป็นรถหายากที่สุดในโลก ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1988 ได้มีการจัดงานฉลองครบรอบ 90 ปี ของ FERRARI ผู้คนที่เดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้มีเพียงเจ้าหน้าที่เพื่อนร่วมงานและพนักงานในบริษัทของ FERRARI เท่านั้น และมีการแจกรูปจำลองของ F40 และเหรียญที่ระลึกเป็นของชำร่วย จากนั้นวันที่ 14 สิงหาคมปีเดียวกัน FERRARI ก็เสียชีวิตลงที่บ้านเกิดเมือง Modena พิธีฝังศพของเขาก็มีขึ้นในวันต่อมา และในวันที่ 11 กันยายน เบอร์เกอร์ (Berger) และอัลแบร์โต ก็ต้องยุติอาชีพนักแข่งรถในรายการ Italian Grand Prix ที่ Monza หลังจากการเสียชีวิตของ FERRARI ปิเอโร ฟูซาโร (Piero Fusaro) ก็ดำรงตำแหน่งประธานบริษัทโดยมี ปิเอโร ลาดี FERRARI เป็นรองประธาน และ จิโอวันนี่ บัตติสตาร์ ราเซลลี่ (Giovanni Battista Rozelli) เป็นผู้อำนวยการจัดการ ในต้นยุค 90s การแข่งขันทางการตลาดของรถยุโรปเริ่มชลอตัว อาจเป็นไปตามกฎที่ว่าอะไรที่หายากก็ย่อมเป็นที่ต้องการอย่างมาก ตามข้อมูลทางการผลิตของ FERRARI จำนวนรถยนต์ที่ผลิตในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เช่นในปี 1971 ผลิตรถยนต์ประมาณ 1,246 คันต่อปี 1979 ประมาณ 2,221 คัน ปี 1985 ประมาณ 3,119 คัน และสุดท้ายเพดานการผลิตก็ตันอยู่ที่ 4,001 ในปี 1988 แต่จากนั้นในปี 1994 จำนวนของการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 71,113 คัน แม้ว่า FERRARI จะผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ความสวยงามและความสมบูรณ์แบบก็ยังคงอยู่ครบถ้วน ซึ่งจะเห็นได้ว่ารถแต่ละคันถูกผลิตขึ้นมาจากการผสมผสานกันระหว่างความสวยงามของศิลปะและสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่เหนือชั้น จึงนับได้ว่า FERRARI เป็นรถยนต์ที่สามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่าเกินราคา เอามาฝากกันคับ ไปค้นเจอ จาก [url]http://www.bangkoksupercar.com[/url][/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
RacingWeb Community
>
Racing Forum (Cars Forum)
>
fiat ferrari !!! ไปดูกัน
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...