เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Honda Car Clubs
>
EK Group
>
อยากเห็น รูป ek ทีใส่กันโคลงหลัง อะคับ ใครก็ได้ ช่วย โพส หน่อย
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="maythee, post: 1109762, member: 74516"]<b>ว่ากันด้วยเรื่องของกันโครง</b></p><p><br /></p><p>งง ? ไหมทำไม ek 4 Door ไม่มี กันโครงติดรถมาให้ทั้งๆที่ Si EG ยังมี?</p><p><br /></p><p> การทำงานของเหล็กกันโคลง</p><p><br /></p><p> เหล็กกันโคลง ทำหน้าที่ลดการโอนเอียงของตัวถังในขณะเลี้ยว ทำด้วย "เหล็กกล้าสปริง" รูปทรงคล้ายๆ ตัว "U" ติดตั้งตามขวางกับตัวรถ ส่วนกลางยึดติดกับโครงรถ 2 จุด โดยผ่านบู๊ชยาง สำหรับช่วงล่างแบบปีกนก ปลายทั้งสองของเหล็กกันโคลงจะยึดติดกับปีกนกล่างของล้อหน้า (หรือหลัง) แต่ละข้าง</p><p><br /></p><p> ส่วนช่วงล่างแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท ปลายของเหล็กกันโคลงแต่ละข้างก็จะมี "ก้านต่อ" เพื่อไปยึดกับกระบอกโช้คอัพของชุดสตรัทด้วยเช่นกัน</p><p><br /></p><p> ขณะรถเคลื่อนที่ ถ้าตัวถังต่ำลงหรือยกขึ้นในลักษณะที่อยู่ในระดับเดียวกัน อย่างเช่น ล้อหน้า(หรือล้อหลัง) ยกพร้อมๆ กัน หรือยุบตัวพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่าง การขับรถข้ามตัวหนอนตามตรอกซอกซอยต่างๆ เหล็กกันโคลงจะไม่ทำงาน เพราะไม่มีการบิดตัวเกิดขึ้น</p><p><br /></p><p> แต่ในขณะรถเลี้ยว ระดับของตัวถังจะไม่เท่ากัน ข้างหนึ่งสูง อีกข้างหนึ่งต่ำ ปีกนกซ้าย-ขวา ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ปลายของเหล็กกันโคลงของตัวถังข้างที่ยุบจะ "บิดขึ้น" ขณะที่ปลายเหล็กกันโคลงของตัวถังข้างที่ยกจะ "บิดลง" ความเป็นสปริงของเหล็กกันโคลงจะ "รั้ง" ดึงรถให้คืนสู่ระดับปกติอย่างรวดเร็วหลังจากรถเคลื่อนที่ออกจากโค้ง เพื่อรักษาระดับปกติของตัวถัง และมีส่วนทำให้ช่วงล่างสามารถรับมือกับสภาพถนนที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง</p><p><br /></p><p> ลองคิดดูแล้วกันครับ ขณะรถเข้าโค้งตัวถังฝั่งนอกโค้งยุบตัวลง สปริงจะถูกกด ไม่สามารถทำงานได้เต็ม 100% อีกต่อไป แล้วถ้าช่วงเวลาสั้นๆ นั้นเอง ล้อข้างนั้นดันต้องตกหลุมหรือขึ้นเนินอีก จะอันตรายเพียงใด..!?! ดังนั้นการเอียงของตัวถังที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการทรงตัวของรถ</p><p><br /></p><p> ในการออกแบบระบบกันสะเทือนของรถแต่ละรุ่น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน ส่วนประกอบต่างๆ อาทิ แขนยึด (Links) สปริงรูปแบบต่างๆ โช้คอัพ รวมถึงเหล็กกันโคลง ต้องเลือกชุดจับคู่ ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัวตามวัตถุประสงค์ของรถ ขนาดของเหล็กกันโคลงถูกให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ขนาดที่ว่าหมายถึง "ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง" ของท่อนเหล็กกันโคลง ยิ่งใหญ่ ค่า K ยิ่งมาก แข็งมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าเหล็กกันโคลงต้องทำงานร่วมกับส่วนประกอบอื่นๆ ของช่วงล่างด้วย</p><p><br /></p><p> ความแข็งของเหล็กกันโคลงที่ล้อหน้าและหลังไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ขนาดก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ส่วนนี้ต้องอยู่กับการเซ็ตของวิศวกรเพื่อให้ฟิลลิ่งของรถที่ถ่ายทอดออกมาสมดุลมากที่สุด รถยนต์คันหนึ่งๆ ในขั้นตอนการทดสอบก่อนเข้าสู่ไลน์การผลิตจริง จึงมีช่วงล่างออกมาลองวิ่งกันอยู่หลายชุดมาก (บนพื้นฐานเดิม เช่น เป็นแบบปีกนกเหมือนกัน ต่างกันที่ค่าความแข็งของสปริง ขนาดเหล็กกันโคลง ความหนืดของโช้คอัพ เป็นต้น) ช่วงล่างชุดที่ใช้งานได้ดีในเยอรมัน อาจไม่ดีพอกับสภาพถนนในบ้านเราก็เป็นได้ (ก็ถนนมันพังเป็นหลุมเป็นบ่อนี่จ๊ะ)</p><p><br /></p><p> คงรู้จักกับเหล็กกันโคลงกันมากขึ้นแล้วนะครับ ฉบับหน้าเราคงต่อเรื่อง Dynamic Drive ได้ง่ายขึ้น ระบบนี้ทำงานด้วยหลักการพื้นฐาน ไม่ซับซ้อนมากนัก ความซับซ้อนอยู่ที่ส่วนควบคุมซึ่งแน่นเอี้ยดไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมดก็เพื่อให้ Dynamic Drive สามารถทำงานได้อย่างละเอียด แม่นยำ ฉลาด ลงตัวกับทุกสภาวะการขับขี่มากที่สุด แล้วพบกันเดือนหน้าครับ </p><p> </p><p><br /></p><p>ความรู้จาก web grandprixgroup ขอบคุณคับ</p><p><br /></p><p> แสดง รูปแบบการจับยึดในกรณีที่ไม่ได้เปลี่ยนเป็น ลูกหมาก แบบ ball joint ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นนะคับ[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="maythee, post: 1109762, member: 74516"][b]ว่ากันด้วยเรื่องของกันโครง[/b] งง ? ไหมทำไม ek 4 Door ไม่มี กันโครงติดรถมาให้ทั้งๆที่ Si EG ยังมี? การทำงานของเหล็กกันโคลง เหล็กกันโคลง ทำหน้าที่ลดการโอนเอียงของตัวถังในขณะเลี้ยว ทำด้วย "เหล็กกล้าสปริง" รูปทรงคล้ายๆ ตัว "U" ติดตั้งตามขวางกับตัวรถ ส่วนกลางยึดติดกับโครงรถ 2 จุด โดยผ่านบู๊ชยาง สำหรับช่วงล่างแบบปีกนก ปลายทั้งสองของเหล็กกันโคลงจะยึดติดกับปีกนกล่างของล้อหน้า (หรือหลัง) แต่ละข้าง ส่วนช่วงล่างแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท ปลายของเหล็กกันโคลงแต่ละข้างก็จะมี "ก้านต่อ" เพื่อไปยึดกับกระบอกโช้คอัพของชุดสตรัทด้วยเช่นกัน ขณะรถเคลื่อนที่ ถ้าตัวถังต่ำลงหรือยกขึ้นในลักษณะที่อยู่ในระดับเดียวกัน อย่างเช่น ล้อหน้า(หรือล้อหลัง) ยกพร้อมๆ กัน หรือยุบตัวพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่าง การขับรถข้ามตัวหนอนตามตรอกซอกซอยต่างๆ เหล็กกันโคลงจะไม่ทำงาน เพราะไม่มีการบิดตัวเกิดขึ้น แต่ในขณะรถเลี้ยว ระดับของตัวถังจะไม่เท่ากัน ข้างหนึ่งสูง อีกข้างหนึ่งต่ำ ปีกนกซ้าย-ขวา ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ปลายของเหล็กกันโคลงของตัวถังข้างที่ยุบจะ "บิดขึ้น" ขณะที่ปลายเหล็กกันโคลงของตัวถังข้างที่ยกจะ "บิดลง" ความเป็นสปริงของเหล็กกันโคลงจะ "รั้ง" ดึงรถให้คืนสู่ระดับปกติอย่างรวดเร็วหลังจากรถเคลื่อนที่ออกจากโค้ง เพื่อรักษาระดับปกติของตัวถัง และมีส่วนทำให้ช่วงล่างสามารถรับมือกับสภาพถนนที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง ลองคิดดูแล้วกันครับ ขณะรถเข้าโค้งตัวถังฝั่งนอกโค้งยุบตัวลง สปริงจะถูกกด ไม่สามารถทำงานได้เต็ม 100% อีกต่อไป แล้วถ้าช่วงเวลาสั้นๆ นั้นเอง ล้อข้างนั้นดันต้องตกหลุมหรือขึ้นเนินอีก จะอันตรายเพียงใด..!?! ดังนั้นการเอียงของตัวถังที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการทรงตัวของรถ ในการออกแบบระบบกันสะเทือนของรถแต่ละรุ่น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน ส่วนประกอบต่างๆ อาทิ แขนยึด (Links) สปริงรูปแบบต่างๆ โช้คอัพ รวมถึงเหล็กกันโคลง ต้องเลือกชุดจับคู่ ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัวตามวัตถุประสงค์ของรถ ขนาดของเหล็กกันโคลงถูกให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ขนาดที่ว่าหมายถึง "ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง" ของท่อนเหล็กกันโคลง ยิ่งใหญ่ ค่า K ยิ่งมาก แข็งมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าเหล็กกันโคลงต้องทำงานร่วมกับส่วนประกอบอื่นๆ ของช่วงล่างด้วย ความแข็งของเหล็กกันโคลงที่ล้อหน้าและหลังไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ขนาดก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ส่วนนี้ต้องอยู่กับการเซ็ตของวิศวกรเพื่อให้ฟิลลิ่งของรถที่ถ่ายทอดออกมาสมดุลมากที่สุด รถยนต์คันหนึ่งๆ ในขั้นตอนการทดสอบก่อนเข้าสู่ไลน์การผลิตจริง จึงมีช่วงล่างออกมาลองวิ่งกันอยู่หลายชุดมาก (บนพื้นฐานเดิม เช่น เป็นแบบปีกนกเหมือนกัน ต่างกันที่ค่าความแข็งของสปริง ขนาดเหล็กกันโคลง ความหนืดของโช้คอัพ เป็นต้น) ช่วงล่างชุดที่ใช้งานได้ดีในเยอรมัน อาจไม่ดีพอกับสภาพถนนในบ้านเราก็เป็นได้ (ก็ถนนมันพังเป็นหลุมเป็นบ่อนี่จ๊ะ) คงรู้จักกับเหล็กกันโคลงกันมากขึ้นแล้วนะครับ ฉบับหน้าเราคงต่อเรื่อง Dynamic Drive ได้ง่ายขึ้น ระบบนี้ทำงานด้วยหลักการพื้นฐาน ไม่ซับซ้อนมากนัก ความซับซ้อนอยู่ที่ส่วนควบคุมซึ่งแน่นเอี้ยดไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมดก็เพื่อให้ Dynamic Drive สามารถทำงานได้อย่างละเอียด แม่นยำ ฉลาด ลงตัวกับทุกสภาวะการขับขี่มากที่สุด แล้วพบกันเดือนหน้าครับ ความรู้จาก web grandprixgroup ขอบคุณคับ แสดง รูปแบบการจับยึดในกรณีที่ไม่ได้เปลี่ยนเป็น ลูกหมาก แบบ ball joint ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นนะคับ[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Honda Car Clubs
>
EK Group
>
อยากเห็น รูป ek ทีใส่กันโคลงหลัง อะคับ ใครก็ได้ ช่วย โพส หน่อย
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...