เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
RacingWeb Community
>
Motorsport Forum
>
Formula 1
>
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับรถ Formula 1
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="TUMKUNG_naraka, post: 769465, member: 31393"]<font size="4"><b>กฏและข้อบังคับต่างๆของ FIA ว่าด้วยเรื่องของการแข่งขัน</b></font></p><p><br /></p><p>กฏและข้อบังคับต่างๆของ FIA ว่าด้วยเรื่องของการแข่งขัน</p><p><br /></p><p>เพื่อให้การแข่งขันเอฟวันในปี 2005 สมบูรณ์แบบ และ มีความสนุกสนานสำหรับการชมมากขึ้น FIA หรือ สมาพันธ์รถแข่งนานาๆชาติที่ดูแล และ รับรองกีฬาชนิดนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อบังคับ และ กติกาบางอย่างดังนี้</p><p><br /></p><p>1.รอบคัดเลือก (Qualifying) </p><p><br /></p><p>ศึกเอฟวันปีนี้ จะทำการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละสนามเพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้นคือช่วงบ่ายวันเสาร์ และ เช้าวันอาทิตย์ ก่อนหน้าการแข่งขันจริง</p><p><br /></p><p>ในรอบคัดเลือกรอบแรกวันเสาร์นั้น จะทำการแข่งขันกันในเวลา 13.00-14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งไม่ต่างจากที่ปฏิบัติกันมาในปี 2004 โดยนักแข่งแต่ละคนจะนำรถลงวิ่งทดสอบเพื่อทำเวลาได้เพียงแค่ 1 รอบสนามเท่านั้น โดยจะเรียงลำดับรถออกสตาร์ทจากผลการแข่งขันในสนามก่อนหน้านี้ กล่าวคือรถที่ได้แชมป์ จะวิ่งทดสอบเป็นคันสุดท้าย ฯลฯ</p><p><br /></p><p>สำหรับรอบคัดเลือกรอบสอง ในเช้าวันอาทิตย์ จะทำการแข่งขันกันในเวลาประมาณ 10.00-11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งยังจะให้นักแข่งแต่ละคนนำรถลงวิ่งเพียงแค่รอบเดียวเหมือนวันเสาร์ แต่ลำดับในการวิ่งจะสลับกันโดยให้คนที่ทำเวลาไว้แย่ที่สุดในวันเสาร์ได้ลงทดสอบก่อน</p><p><br /></p><p>ในรอบคัดเลือกวันเสาร์นั้น รถแต่ละคันจะสามารถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่จำกัด อย่างไรก็ดีเมื่อเข้าสู่วันอาทิตย์แล้ว ทีมแข่งจะต้องคำนวณ และ กะน้ำมันที่จะใช้ทั้งในการทดสอบรอบสอง และ ในการออกสตาร์ทการแข่งขันจริงไว้เป็นอย่างดี เพราะทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะไม่อนุญาตให้มีการเติมน้ำมันเพิ่มเติมได้อีกจนกระทั่งการแข่งขันจริงได้เริ่มต้นไปแล้ว</p><p><br /></p><p>เวลาที่ทำได้ในรอบคัดเลือกจะนำมารวมกันและใช้ในการจัดลำดับการออกสตาร์ทในการแข่งขันจริง นักแข่งผู้ที่ทำเวลารวมได้ต่ำที่สุดจะได้ออกสตาร์ทในตำแหน่งหัวแถว หรือ โพล โพซิชั่น</p><p><br /></p><p>2.ยาง (Tyres)</p><p>เรื่องของยาง กลายเป็นเป้าแห่งความสนใจของทีมแข่งแต่ละทีมในปีนี้ เนื่องจากในกฏกติกาใหม่ของปี 2005 ทาง FIA ได้ระบุว่ารถแต่ละคันจะต้องใช้ยางเพียงชุดเดียวเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นในรอบคัดเลือก หรือ การแข่งขันจริง อย่างไรก็ดีหากเกิดเหตุสุดวิสัยจริงๆเช่นยางระเบิด หรือ เกิดความเสียหายจนอาจเป็นอันตราย ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ก็อาจพิจารณาให้สามารถเปลี่ยนยางชุดใหม่ได้</p><p><br /></p><p>รายละเอียดในเรื่องของยางไม่ได้หมดเพียงแค่นี้ เพราะในวันศุกร์ 2 วันก่อนหน้าการแข่งขันจริง นักแข่งแต่ละคน จะสามารถนำรถลงวิ่งซ้อมเพื่อจะทำการตัดสินใจว่าจะเลือกยางชนิดไหน (โดยปกติจะใช้ยางแบบแห้งกัน ซึ่งเปอร์เซนต์ส่วนผสมของเนื้อยางแต่ละชุดอาจจะถูกกำหนด หรือ ผลิตขึ้นมาให้แตกต่างกัน) สำหรับการวิ่งรอบคัดเลือก และ แข่งขันจริงได้ ซึ่งหากเลือกยางชนิดหนึ่งแล้ว จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้อีก สรุปก็คือ ตลอดการซ้อม,คัดเลือก และ การแข่งขันจริง นักแข่งจะต้องเลือกยางไว้ล่วงหน้า 3 ชุดด้วย ชุดแรกจะใช้สำหรับการซ้อมในวันศุกร์ ชุดที่สองซึ่งอาจจะเหมือน หรือ ต่างจากชุดแรก จะใช้สำหรับรอบคัดเลือก และ ชุดสุดท้ายเปรียบได้กับยางอะไหล่ ซึ่งจะถูกกันไว้สำหรับกรณีที่ต้องมีการเปลี่ยนยางแบบปัจจุบันทันด่วน</p><p><br /></p><p>ทั้งนี้นักแข่งอาจจะใช้ยางเปียก หรือ ยางสำหรับสภาพอากาศที่อาจเลวร้ายสุดๆได้ แต่จะต้องได้รับการเห็นชอบของคณะกรรมการจัดการแข่งขันเสียก่อน </p><p><br /></p><p>3.เครื่องยนต์ (Engines)</p><p>ในปี 2005 นั้น FIA ดูจะผ่อนปรนในเรื่องของเครื่องยนต์มากขึ้น กล่าวคือในปี 2004 เครื่องยนต์หนึ่งเครื่องเท่านั้นจะถูกนำมาใช้สำหรับต่อนักแข่งหนึ่งคน และ ต่อรถหนึ่งคัน อย่างไรก็ดีในปีนี้ FIA ได้อนุญาตให้เพิ่มเครื่องยนต์ได้เป็น 2 เครื่องสำหรับการแข่งขัน โดยมีการกำหนดไว้ว่าเครื่องยนต์ทั้ง 2 จะต้องสามารถใช้สำหรับการวิ่งระยะ 1,500 กิโลเมตรได้ </p><p><br /></p><p>หากนักแข่งคนใด ต้องการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ก่อนหน้าลงวิ่งในรอบคัดเลือก นักแข่งคนนั้นจะต้องแลกกับการออกสตาร์ทต่ำกว่าอันดับที่ควรจะเป็น 10 อันดับด้วยกัน และหากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องระหว่างหลังวิ่งในรอบคัดเลือกรอบแรกไปแล้ว นักแข่งคนนั้นจะต้องแลกด้วยการถูกให้ออกสตาร์ทในการแข่งขันจริงในอันดับท้ายสุดแทน</p><p><br /></p><p>ทั้งนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยว่าการเข้มงวดในเรื่องเครื่องยนต์ของ FIA ทำให้ทีมแข่งแต่ละทีมไม่สามารถจะเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องความแรงของเครื่องยนต์ได้อย่างเต็มที่</p><p><br /></p><p>4.ระบบพลศาสตร์ (Aerodynamics)</p><p>การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับระบบพลศาสตร์ ถูกมองว่าเป็นการช่วยลดค่าดาวน์ฟอร์ซของรถแต่ละคันให้ลดน้อยลง รถแข่งในปี 2005 อาจดูมีรูปโฉมที่แปลกออกไปจากเดิมเล็กน้อยเช่น จมูกที่สูงขึ้น, ปีกหน้าที่ทำองศามากขึ้น ฯลฯ</p><p><br /></p><p>มีการคำนวณตัวเลขของค่าดาวน์ฟอร์ซว่าจะลดลงโดยเฉลี่ยจากปี 2004 ที่ตัวเลข 25 เปอร์เซ็นต์ และนั่นทำให้ทีมออกแบบของทีมแข่งแต่ละทีมต้องทำงานกันด้วยความพิถีพิถันมากขึ้น รวมทั้งตัวนักแข่งแต่ละคนด้วย ที่อาจจะทำเวลาเฉลี่ยต่อรอบช้าไปกว่าเดิม และ ต้องใช้เทคนิคในการควบคุมรถมากกว่าที่ผ่านๆมา</p><p><br /></p><p>การจัดเก็บรถในการแข่งขัน (Car Livery)</p><p><br /></p><p>ในการแข่งขันตลอดทั้ง 3 วัน ทีมแข่งแต่ละทีมจะไม่สามารถปรับแต่งตัวรถเพิ่มเติมได้ เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากฝ่ายคณะกรรมการแข่งขัน โดยรถแข่งทั้ง 2 คันจะถูกจัดเก็บไว้รวมกัน ขณะที่รถคันที่ 3 ที่ใช้การซ้อมวันศุกร์ จะถูกแยกเก็บไว้อีกที่หนึ่ง</p><p><br /></p><p>ทั้งนี้รถแข่งแต่ละคันจะต้องติดสติ๊กเกอร์เบอร์ของนักแข่งแต่ละคนให้ตรง และ เรียบร้อย โดยจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านหน้าของตัวรถ ขณะเดียวกันชื่อของนักแข่งจะต้องมีติดไว้ทั้งบนหมวกกันน็อก และ บริเวณด้านข้างของค็อกพิต นอกจากนี้สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของทีมแข่งต่างๆจะต้องถูกติดไว้อย่างชัดเจนบริเวณจมูกด้านหน้าของรถ</p><p><br /></p><p>เนื่องจากทีมแต่ละทีมจะมีรถ 2 คันสำหรับการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และ จดจำได้ง่าย มีการกำหนดว่าจะต้องมีการใช้สีบริเวณตัวกล้องที่ติดบนตัวรถให้แตกต่างกัน โดยกล้องที่ติดกับรถคันแรกจะต้องพ่น หรือ ทาด้วยสีแดงสะท้อนแสง ส่วนคันที่สองนั้นจะปล่อยไว้เป็นสีปกติของตัวรถตามที่แจ้งมา ขณะที่รถคันที่สาม หากมีจะต้องพ่น หรือ ทาด้วยสีเหลืองสะท้อนแสง</p><p><br /></p><p>การจัดอันดับในการแข่งขัน (Classification)</p><p><br /></p><p>คำถามที่มักได้ยินกันบ่อยๆเกี่ยวกับเรื่องของอันดับของนักแข่งแต่ละคนที่ทำได้ในการแข่งขันแต่ละรายการ ทั้งพวกที่แข่งจนจบซึ่งไม่มีปัญหาอะไร หรือ พวกที่ต้องออกจากการแข่งขันกลางคันนั้น มีเขียนไว้อย่างชัดเจนในกติกาของ FIA ซึ่งพอจะสรุปได้คร่าวๆดังนี้ก็คือ หากนักแข่งคนใดสามารถนำรถวิ่งได้มากกว่า หรือ เท่ากับ 90 เปอร์เซนต์ของจำนวนรอบของการแข่งขันที่กำหนด นักแข่งรายนั้นๆก็จะได้รับการจัดอันดับในการแข่งขัน </p><p><br /></p><p>แต่ก็มีบางกรณีที่ควรศึกษาไว้ก็คือ หากในการแข่งขันรายการใดถูกยกเลิก หรือ ถูกระงับกลางคัน อันดับของนักแข่งแต่ละคนจะพิจารณาจากอันดับที่ทำได้ 2 รอบก่อนหน้ารอบที่การแข่งขันจะถูกยกเลิกไป ยกตัวอย่างก็คือ หากการแข่งขันมีเหตุให้ต้องยุติลงในรอบที่ 60 อันดับของนักแข่งนั้นจะตัดสินกันโดยดูจากอันดับที่ทำได้ในรอบที่ 58 หรือ 2 รอบก่อนหน้านั่นเอง</p><p><br /></p><p>การทำโทษนักแข่งที่ฝ่าฝืนกติกา (Driver Penalties)</p><p><br /></p><p>เจ้าหน้าที่สนาม มีอำนาจในการจะกำหนดโทษให้กับนักแข่งรายใดก็ตาม ที่ละเมิด หรือ ทำผิดกติกาที่ระบุไว้ การละเมิดกติกานั้น ยกตัวอย่างเช่น การจัมพ์สตาร์ท, การจงใจให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น หรือ จะเป็นการบล็อก การขีดขวางไม่ให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้าไปได้อย่างไม่แฟร์, การใช้ความเร็วในพิตเกินกว่าที่กำหนดไว้ ฯลฯ</p><p><br /></p><p>ส่วนใหญ่การลงโทษที่เราคุ้นกันดีก็คือ drive-through และ ten-second โดยโทษของ drive-through นั้นนักแข่งที่ถูกลงโทษ จะต้องนำรถเข้าพิตเหมือนเวลาที่ต้องการเปลี่ยนยาง หรือ เติมเชื้อเพลิงปกติ ทว่าเมื่อเข้าพิตแล้ว จะห้ามหยุดรถ และต้องใช้ความเร็วในพิตได้ไม่เกินที่กำหนด ซึ่งหากในสนามไหน ช่วงความยาวของพิตเลนมีมาก นักแข่งที่ถูกลงโทษด้วย drive-through ก็จะเสียเวลาอย่างไม่ควรจะเป็น และอาจส่งผลถึงการทำอันดับในการแข่งขันสนามนั้นๆด้วย</p><p><br /></p><p>ส่วน ten-second นั้น บางครั้งอาจถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า stop-go ถือเป็นบทลงโทษที่สร้างความเสียหายให้กับนักแข่งที่ทำผิดกติกาได้มากกว่าโทษแบบ drive-through กล่าวคือ นอกจากจะต้องนำรถเข้าพิตซึ่งเสียเวลาไปหลายวินาทีแล้ว นักแข่งที่ถูกทำโทษจะต้องจอดรถสนิท หรือ หยุดนิ่งเพิ่มอีก 10 วินาที ก่อนที่จะได้รับการอนุญาตให้กลับสู่สนามได้ ซึ่งในช่วงที่รถต้องหยุดนิ่งในพิตนี้ ก็ห้ามไม่ให้มีการปรับแต่ง หรือ เพิ่มเติมใดๆกับรถทั้งสิ้น</p><p><br /></p><p>ใช่ว่าจะมีแต่โทษเบาๆสำหรับการขู่ หรือ ปรามนักแข่งที่ทำผิดกติกา โทษหนักๆเช่น การปรับอันดับลง 10 อันดับสำหรับการออกสตาร์ทในการแข่งขันสนามถัดไป (ยกตัวอย่างเช่น หากในสนามถัดไป นักแข่งที่ถูกทำโทษแม้จะทำเวลาในรอบคัดเลือกด้วยการคว้าโพล โพซิชั่น แต่ก็ต้องไปออกสตาร์ทในอันดับ 11 จากกริดในการแข่งขันจริง) ก็อยู่ในขอบเขตที่เจ้าหน้าที่สนามสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน </p><p><br /></p><p>คณะกรรมการจัดการแข่งขัน (Officials)</p><p><br /></p><p>ในการประชุม หรือ หารือสำหรับการแข่งขันแต่ละรายการนั้น จะต้องประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงอย่างน้อย 6 รายด้วยกัน โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบ และ ควบคุมการปฏิบัติงานต่างๆของเจ้าหน้าที่สนามอีกทอดหนึ่ง เพื่อรับประกันว่าการแข่งขันจะปราศจากเหตุร้าย หรือ อันตรายใดๆขึ้นในช่วงที่มีการแข่งขัน และเพื่อเป็นไปตามข้อบังคับของทาง FIA</p><p><br /></p><p>จากจำนวน 6 คนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะกรรมการจัดการแข่งขันนั้น จะมี 4 คนด้วยกันที่ทาง FIA กำหนด หรือ มอบหมายด้วยตัวเอง ขณะที่อีก 2 รายนั้น จะต้องมีใบอนุญาตจาก FIA ที่เรียกว่า ซูเปอร์ไลเซนซ์ (super licence) และยังต้องไม่ใช่ผู้ที่มีสัญชาติเหมือนกับสนามที่จัดการแข่งขันในชาตินั้นๆอีกด้วย</p><p><br /></p><p>การทำงานของคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะมีขอบเขต และ บทบาทของตัวเองที่ชัดเจน โดยจะต้องทำงานประสานกับตัวแทนด้านเทคนิคของ FIA ที่เวลานี้ก็คือนาย Jo Bauer </p><p><br /></p><p>Parc Ferme</p><p><br /></p><p>ตามข้อบังคับของ FIA นั้น รถทุกแข่งที่ลงทดสอบในรอบคัดเลือกวันเสาร์ จะต้องนำมาเก็บไว้ที่ Parc Ferme เหมือนกันหมด เช่นเดียวกับเมื่อจบการแข่งขันในวันจริง หรือ ในรอบชิงชนะเลิศ โดย Parc Ferme นี้ คือสถานที่มิดชิด และ มีความปลอดภัยสูงมาก เป็นที่ซึ่งรถทุกคันจะถูกนำมาตรวจสอบอย่างละเอียดว่ามีการทำผิดกติกาใดๆหรือไม่</p><p><br /></p><p>ในขณะที่รถทุกคันถูกนำมาเก็บไว้ที่ Parc Ferme นี้ FIA จะให้ทีมแข่งแต่ละทีม ส่งเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง มานำรถออกไปได้เพื่อทำการแข่งขัน หรือ นำไปซ่อมแซมปรับปรุงเพิ่มเติม แต่จะต้องได้รับการอนุญาตเสียก่อนจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของ FIA </p><p><br /></p><p>รถแข่งแต่ละคันสามารถเติมเชื้อเพลิงได้ แต่ต้องเติมให้เรียบร้อยก่อนหน้าที่รอบคัดเลือกตอนเช้าของวันอาทิตย์จะเริ่มขึ้น การปรับแต่งอุปกรณ์บนตัวรถเล็กน้อยอย่างเช่น การปรับปีกหน้า ถือว่าไม่เป็นการผิดกติกา</p><p><br /></p><p>การเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆกับตัวรถ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันก่อน เช่น สภาพอากาศเปลี่ยนจากร้อน หรือ แห้งปกติ เป็นมีฝนตก หรือกลับกัน เปลี่ยนจากมีฝนตก เป็น แห้งปกติ </p><p><br /></p><p>นอกจากนี้ยังมีการระบุไว้ในข้อบังคับอีกด้วยว่า รถคันใดที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ไม่ว่าจะเป็นในรอบคัดเลือก หรือ ในการแข่งขันจริง นักแข่ง และ รถคันดังกล่าว จะได้รับการอนุญาตให้กลับไปแข่งขันต่อได้ แต่จะถูกปรับให้ไปออกสตาร์ทที่ท้ายแถวแทน </p><p><br /></p><p>คะแนน (Points)</p><p><br /></p><p>นักแข่งที่จบการแข่งขัน 8 อันดับแรกในแต่ละกรังปรีซ์ หรือ แต่ละสนามแข่ง จะได้รับคะแนนเพื่อการนำไปคำนวณตำแหน่งแชมป์โลกในประเภทนักแข่ง และ ทีมผู้ผลิตดังนี้</p><p><br /></p><p>อันดับ 1: 10 คะแนน</p><p>อันดับ 2: 8 คะแนน</p><p>อันดับ 3: 6 คะแนน</p><p>อันดับ 4: 5 คะแนน</p><p>อันดับ 5: 4 คะแนน</p><p>อันดับ 6: 3 คะแนน</p><p>อันดับ 7: 2 คะแนน</p><p>อันดับ 8: 1 คะแนน</p><p><br /></p><p>ทั้งนี้หากการแข่งขันในรายการใดที่มีเหตุให้ต้องจบ หรือ ยกเลิกการแข่งขันโดยที่ยังไม่ถึง 75 เปอร์เซนต์ของจำนวนรอบทั้งหมด นักแข่งที่ติดอยู่ในอันดับ 1-8 จะได้รับคะแนนเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของคะแนนปกติเท่านั้น</p><p><br /></p><p>นักแข่งที่ทำคะแนนสะสมได้มากที่สุดตลอดทั้งฤดูกาล จะได้รับตำแหน่งแชมป์โลกไปครอง หลักการเดียวกันสำหรับทีมผู้ผลิต หากทีมใดได้คะแนนสะสมมากที่สุด ก็จะได้แชมป์ในประเภททีม</p><p><br /></p><p>หากกรณีที่นักแข่ง หรือ ทีมแข่ง ทำคะแนนได้เท่ากัน ตำแหน่งแชมป์โลกจะตกเป็นของนักแข่ง หรือ ทีม ที่ทำสถิติคว้าแชมป์ในรายการต่างๆ นักแข่ง หรือ ทีมแข่งใด คว้าแชมป์ได้มาก ก็จะได้แชมป์ไปครอง[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="TUMKUNG_naraka, post: 769465, member: 31393"][SIZE="4"][B]กฏและข้อบังคับต่างๆของ FIA ว่าด้วยเรื่องของการแข่งขัน[/B][/SIZE] กฏและข้อบังคับต่างๆของ FIA ว่าด้วยเรื่องของการแข่งขัน เพื่อให้การแข่งขันเอฟวันในปี 2005 สมบูรณ์แบบ และ มีความสนุกสนานสำหรับการชมมากขึ้น FIA หรือ สมาพันธ์รถแข่งนานาๆชาติที่ดูแล และ รับรองกีฬาชนิดนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อบังคับ และ กติกาบางอย่างดังนี้ 1.รอบคัดเลือก (Qualifying) ศึกเอฟวันปีนี้ จะทำการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละสนามเพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้นคือช่วงบ่ายวันเสาร์ และ เช้าวันอาทิตย์ ก่อนหน้าการแข่งขันจริง ในรอบคัดเลือกรอบแรกวันเสาร์นั้น จะทำการแข่งขันกันในเวลา 13.00-14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งไม่ต่างจากที่ปฏิบัติกันมาในปี 2004 โดยนักแข่งแต่ละคนจะนำรถลงวิ่งทดสอบเพื่อทำเวลาได้เพียงแค่ 1 รอบสนามเท่านั้น โดยจะเรียงลำดับรถออกสตาร์ทจากผลการแข่งขันในสนามก่อนหน้านี้ กล่าวคือรถที่ได้แชมป์ จะวิ่งทดสอบเป็นคันสุดท้าย ฯลฯ สำหรับรอบคัดเลือกรอบสอง ในเช้าวันอาทิตย์ จะทำการแข่งขันกันในเวลาประมาณ 10.00-11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งยังจะให้นักแข่งแต่ละคนนำรถลงวิ่งเพียงแค่รอบเดียวเหมือนวันเสาร์ แต่ลำดับในการวิ่งจะสลับกันโดยให้คนที่ทำเวลาไว้แย่ที่สุดในวันเสาร์ได้ลงทดสอบก่อน ในรอบคัดเลือกวันเสาร์นั้น รถแต่ละคันจะสามารถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่จำกัด อย่างไรก็ดีเมื่อเข้าสู่วันอาทิตย์แล้ว ทีมแข่งจะต้องคำนวณ และ กะน้ำมันที่จะใช้ทั้งในการทดสอบรอบสอง และ ในการออกสตาร์ทการแข่งขันจริงไว้เป็นอย่างดี เพราะทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะไม่อนุญาตให้มีการเติมน้ำมันเพิ่มเติมได้อีกจนกระทั่งการแข่งขันจริงได้เริ่มต้นไปแล้ว เวลาที่ทำได้ในรอบคัดเลือกจะนำมารวมกันและใช้ในการจัดลำดับการออกสตาร์ทในการแข่งขันจริง นักแข่งผู้ที่ทำเวลารวมได้ต่ำที่สุดจะได้ออกสตาร์ทในตำแหน่งหัวแถว หรือ โพล โพซิชั่น 2.ยาง (Tyres) เรื่องของยาง กลายเป็นเป้าแห่งความสนใจของทีมแข่งแต่ละทีมในปีนี้ เนื่องจากในกฏกติกาใหม่ของปี 2005 ทาง FIA ได้ระบุว่ารถแต่ละคันจะต้องใช้ยางเพียงชุดเดียวเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นในรอบคัดเลือก หรือ การแข่งขันจริง อย่างไรก็ดีหากเกิดเหตุสุดวิสัยจริงๆเช่นยางระเบิด หรือ เกิดความเสียหายจนอาจเป็นอันตราย ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ก็อาจพิจารณาให้สามารถเปลี่ยนยางชุดใหม่ได้ รายละเอียดในเรื่องของยางไม่ได้หมดเพียงแค่นี้ เพราะในวันศุกร์ 2 วันก่อนหน้าการแข่งขันจริง นักแข่งแต่ละคน จะสามารถนำรถลงวิ่งซ้อมเพื่อจะทำการตัดสินใจว่าจะเลือกยางชนิดไหน (โดยปกติจะใช้ยางแบบแห้งกัน ซึ่งเปอร์เซนต์ส่วนผสมของเนื้อยางแต่ละชุดอาจจะถูกกำหนด หรือ ผลิตขึ้นมาให้แตกต่างกัน) สำหรับการวิ่งรอบคัดเลือก และ แข่งขันจริงได้ ซึ่งหากเลือกยางชนิดหนึ่งแล้ว จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้อีก สรุปก็คือ ตลอดการซ้อม,คัดเลือก และ การแข่งขันจริง นักแข่งจะต้องเลือกยางไว้ล่วงหน้า 3 ชุดด้วย ชุดแรกจะใช้สำหรับการซ้อมในวันศุกร์ ชุดที่สองซึ่งอาจจะเหมือน หรือ ต่างจากชุดแรก จะใช้สำหรับรอบคัดเลือก และ ชุดสุดท้ายเปรียบได้กับยางอะไหล่ ซึ่งจะถูกกันไว้สำหรับกรณีที่ต้องมีการเปลี่ยนยางแบบปัจจุบันทันด่วน ทั้งนี้นักแข่งอาจจะใช้ยางเปียก หรือ ยางสำหรับสภาพอากาศที่อาจเลวร้ายสุดๆได้ แต่จะต้องได้รับการเห็นชอบของคณะกรรมการจัดการแข่งขันเสียก่อน 3.เครื่องยนต์ (Engines) ในปี 2005 นั้น FIA ดูจะผ่อนปรนในเรื่องของเครื่องยนต์มากขึ้น กล่าวคือในปี 2004 เครื่องยนต์หนึ่งเครื่องเท่านั้นจะถูกนำมาใช้สำหรับต่อนักแข่งหนึ่งคน และ ต่อรถหนึ่งคัน อย่างไรก็ดีในปีนี้ FIA ได้อนุญาตให้เพิ่มเครื่องยนต์ได้เป็น 2 เครื่องสำหรับการแข่งขัน โดยมีการกำหนดไว้ว่าเครื่องยนต์ทั้ง 2 จะต้องสามารถใช้สำหรับการวิ่งระยะ 1,500 กิโลเมตรได้ หากนักแข่งคนใด ต้องการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ก่อนหน้าลงวิ่งในรอบคัดเลือก นักแข่งคนนั้นจะต้องแลกกับการออกสตาร์ทต่ำกว่าอันดับที่ควรจะเป็น 10 อันดับด้วยกัน และหากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องระหว่างหลังวิ่งในรอบคัดเลือกรอบแรกไปแล้ว นักแข่งคนนั้นจะต้องแลกด้วยการถูกให้ออกสตาร์ทในการแข่งขันจริงในอันดับท้ายสุดแทน ทั้งนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยว่าการเข้มงวดในเรื่องเครื่องยนต์ของ FIA ทำให้ทีมแข่งแต่ละทีมไม่สามารถจะเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องความแรงของเครื่องยนต์ได้อย่างเต็มที่ 4.ระบบพลศาสตร์ (Aerodynamics) การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับระบบพลศาสตร์ ถูกมองว่าเป็นการช่วยลดค่าดาวน์ฟอร์ซของรถแต่ละคันให้ลดน้อยลง รถแข่งในปี 2005 อาจดูมีรูปโฉมที่แปลกออกไปจากเดิมเล็กน้อยเช่น จมูกที่สูงขึ้น, ปีกหน้าที่ทำองศามากขึ้น ฯลฯ มีการคำนวณตัวเลขของค่าดาวน์ฟอร์ซว่าจะลดลงโดยเฉลี่ยจากปี 2004 ที่ตัวเลข 25 เปอร์เซ็นต์ และนั่นทำให้ทีมออกแบบของทีมแข่งแต่ละทีมต้องทำงานกันด้วยความพิถีพิถันมากขึ้น รวมทั้งตัวนักแข่งแต่ละคนด้วย ที่อาจจะทำเวลาเฉลี่ยต่อรอบช้าไปกว่าเดิม และ ต้องใช้เทคนิคในการควบคุมรถมากกว่าที่ผ่านๆมา การจัดเก็บรถในการแข่งขัน (Car Livery) ในการแข่งขันตลอดทั้ง 3 วัน ทีมแข่งแต่ละทีมจะไม่สามารถปรับแต่งตัวรถเพิ่มเติมได้ เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากฝ่ายคณะกรรมการแข่งขัน โดยรถแข่งทั้ง 2 คันจะถูกจัดเก็บไว้รวมกัน ขณะที่รถคันที่ 3 ที่ใช้การซ้อมวันศุกร์ จะถูกแยกเก็บไว้อีกที่หนึ่ง ทั้งนี้รถแข่งแต่ละคันจะต้องติดสติ๊กเกอร์เบอร์ของนักแข่งแต่ละคนให้ตรง และ เรียบร้อย โดยจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านหน้าของตัวรถ ขณะเดียวกันชื่อของนักแข่งจะต้องมีติดไว้ทั้งบนหมวกกันน็อก และ บริเวณด้านข้างของค็อกพิต นอกจากนี้สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของทีมแข่งต่างๆจะต้องถูกติดไว้อย่างชัดเจนบริเวณจมูกด้านหน้าของรถ เนื่องจากทีมแต่ละทีมจะมีรถ 2 คันสำหรับการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และ จดจำได้ง่าย มีการกำหนดว่าจะต้องมีการใช้สีบริเวณตัวกล้องที่ติดบนตัวรถให้แตกต่างกัน โดยกล้องที่ติดกับรถคันแรกจะต้องพ่น หรือ ทาด้วยสีแดงสะท้อนแสง ส่วนคันที่สองนั้นจะปล่อยไว้เป็นสีปกติของตัวรถตามที่แจ้งมา ขณะที่รถคันที่สาม หากมีจะต้องพ่น หรือ ทาด้วยสีเหลืองสะท้อนแสง การจัดอันดับในการแข่งขัน (Classification) คำถามที่มักได้ยินกันบ่อยๆเกี่ยวกับเรื่องของอันดับของนักแข่งแต่ละคนที่ทำได้ในการแข่งขันแต่ละรายการ ทั้งพวกที่แข่งจนจบซึ่งไม่มีปัญหาอะไร หรือ พวกที่ต้องออกจากการแข่งขันกลางคันนั้น มีเขียนไว้อย่างชัดเจนในกติกาของ FIA ซึ่งพอจะสรุปได้คร่าวๆดังนี้ก็คือ หากนักแข่งคนใดสามารถนำรถวิ่งได้มากกว่า หรือ เท่ากับ 90 เปอร์เซนต์ของจำนวนรอบของการแข่งขันที่กำหนด นักแข่งรายนั้นๆก็จะได้รับการจัดอันดับในการแข่งขัน แต่ก็มีบางกรณีที่ควรศึกษาไว้ก็คือ หากในการแข่งขันรายการใดถูกยกเลิก หรือ ถูกระงับกลางคัน อันดับของนักแข่งแต่ละคนจะพิจารณาจากอันดับที่ทำได้ 2 รอบก่อนหน้ารอบที่การแข่งขันจะถูกยกเลิกไป ยกตัวอย่างก็คือ หากการแข่งขันมีเหตุให้ต้องยุติลงในรอบที่ 60 อันดับของนักแข่งนั้นจะตัดสินกันโดยดูจากอันดับที่ทำได้ในรอบที่ 58 หรือ 2 รอบก่อนหน้านั่นเอง การทำโทษนักแข่งที่ฝ่าฝืนกติกา (Driver Penalties) เจ้าหน้าที่สนาม มีอำนาจในการจะกำหนดโทษให้กับนักแข่งรายใดก็ตาม ที่ละเมิด หรือ ทำผิดกติกาที่ระบุไว้ การละเมิดกติกานั้น ยกตัวอย่างเช่น การจัมพ์สตาร์ท, การจงใจให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น หรือ จะเป็นการบล็อก การขีดขวางไม่ให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้าไปได้อย่างไม่แฟร์, การใช้ความเร็วในพิตเกินกว่าที่กำหนดไว้ ฯลฯ ส่วนใหญ่การลงโทษที่เราคุ้นกันดีก็คือ drive-through และ ten-second โดยโทษของ drive-through นั้นนักแข่งที่ถูกลงโทษ จะต้องนำรถเข้าพิตเหมือนเวลาที่ต้องการเปลี่ยนยาง หรือ เติมเชื้อเพลิงปกติ ทว่าเมื่อเข้าพิตแล้ว จะห้ามหยุดรถ และต้องใช้ความเร็วในพิตได้ไม่เกินที่กำหนด ซึ่งหากในสนามไหน ช่วงความยาวของพิตเลนมีมาก นักแข่งที่ถูกลงโทษด้วย drive-through ก็จะเสียเวลาอย่างไม่ควรจะเป็น และอาจส่งผลถึงการทำอันดับในการแข่งขันสนามนั้นๆด้วย ส่วน ten-second นั้น บางครั้งอาจถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า stop-go ถือเป็นบทลงโทษที่สร้างความเสียหายให้กับนักแข่งที่ทำผิดกติกาได้มากกว่าโทษแบบ drive-through กล่าวคือ นอกจากจะต้องนำรถเข้าพิตซึ่งเสียเวลาไปหลายวินาทีแล้ว นักแข่งที่ถูกทำโทษจะต้องจอดรถสนิท หรือ หยุดนิ่งเพิ่มอีก 10 วินาที ก่อนที่จะได้รับการอนุญาตให้กลับสู่สนามได้ ซึ่งในช่วงที่รถต้องหยุดนิ่งในพิตนี้ ก็ห้ามไม่ให้มีการปรับแต่ง หรือ เพิ่มเติมใดๆกับรถทั้งสิ้น ใช่ว่าจะมีแต่โทษเบาๆสำหรับการขู่ หรือ ปรามนักแข่งที่ทำผิดกติกา โทษหนักๆเช่น การปรับอันดับลง 10 อันดับสำหรับการออกสตาร์ทในการแข่งขันสนามถัดไป (ยกตัวอย่างเช่น หากในสนามถัดไป นักแข่งที่ถูกทำโทษแม้จะทำเวลาในรอบคัดเลือกด้วยการคว้าโพล โพซิชั่น แต่ก็ต้องไปออกสตาร์ทในอันดับ 11 จากกริดในการแข่งขันจริง) ก็อยู่ในขอบเขตที่เจ้าหน้าที่สนามสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน (Officials) ในการประชุม หรือ หารือสำหรับการแข่งขันแต่ละรายการนั้น จะต้องประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงอย่างน้อย 6 รายด้วยกัน โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบ และ ควบคุมการปฏิบัติงานต่างๆของเจ้าหน้าที่สนามอีกทอดหนึ่ง เพื่อรับประกันว่าการแข่งขันจะปราศจากเหตุร้าย หรือ อันตรายใดๆขึ้นในช่วงที่มีการแข่งขัน และเพื่อเป็นไปตามข้อบังคับของทาง FIA จากจำนวน 6 คนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะกรรมการจัดการแข่งขันนั้น จะมี 4 คนด้วยกันที่ทาง FIA กำหนด หรือ มอบหมายด้วยตัวเอง ขณะที่อีก 2 รายนั้น จะต้องมีใบอนุญาตจาก FIA ที่เรียกว่า ซูเปอร์ไลเซนซ์ (super licence) และยังต้องไม่ใช่ผู้ที่มีสัญชาติเหมือนกับสนามที่จัดการแข่งขันในชาตินั้นๆอีกด้วย การทำงานของคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะมีขอบเขต และ บทบาทของตัวเองที่ชัดเจน โดยจะต้องทำงานประสานกับตัวแทนด้านเทคนิคของ FIA ที่เวลานี้ก็คือนาย Jo Bauer Parc Ferme ตามข้อบังคับของ FIA นั้น รถทุกแข่งที่ลงทดสอบในรอบคัดเลือกวันเสาร์ จะต้องนำมาเก็บไว้ที่ Parc Ferme เหมือนกันหมด เช่นเดียวกับเมื่อจบการแข่งขันในวันจริง หรือ ในรอบชิงชนะเลิศ โดย Parc Ferme นี้ คือสถานที่มิดชิด และ มีความปลอดภัยสูงมาก เป็นที่ซึ่งรถทุกคันจะถูกนำมาตรวจสอบอย่างละเอียดว่ามีการทำผิดกติกาใดๆหรือไม่ ในขณะที่รถทุกคันถูกนำมาเก็บไว้ที่ Parc Ferme นี้ FIA จะให้ทีมแข่งแต่ละทีม ส่งเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง มานำรถออกไปได้เพื่อทำการแข่งขัน หรือ นำไปซ่อมแซมปรับปรุงเพิ่มเติม แต่จะต้องได้รับการอนุญาตเสียก่อนจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของ FIA รถแข่งแต่ละคันสามารถเติมเชื้อเพลิงได้ แต่ต้องเติมให้เรียบร้อยก่อนหน้าที่รอบคัดเลือกตอนเช้าของวันอาทิตย์จะเริ่มขึ้น การปรับแต่งอุปกรณ์บนตัวรถเล็กน้อยอย่างเช่น การปรับปีกหน้า ถือว่าไม่เป็นการผิดกติกา การเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆกับตัวรถ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันก่อน เช่น สภาพอากาศเปลี่ยนจากร้อน หรือ แห้งปกติ เป็นมีฝนตก หรือกลับกัน เปลี่ยนจากมีฝนตก เป็น แห้งปกติ นอกจากนี้ยังมีการระบุไว้ในข้อบังคับอีกด้วยว่า รถคันใดที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ไม่ว่าจะเป็นในรอบคัดเลือก หรือ ในการแข่งขันจริง นักแข่ง และ รถคันดังกล่าว จะได้รับการอนุญาตให้กลับไปแข่งขันต่อได้ แต่จะถูกปรับให้ไปออกสตาร์ทที่ท้ายแถวแทน คะแนน (Points) นักแข่งที่จบการแข่งขัน 8 อันดับแรกในแต่ละกรังปรีซ์ หรือ แต่ละสนามแข่ง จะได้รับคะแนนเพื่อการนำไปคำนวณตำแหน่งแชมป์โลกในประเภทนักแข่ง และ ทีมผู้ผลิตดังนี้ อันดับ 1: 10 คะแนน อันดับ 2: 8 คะแนน อันดับ 3: 6 คะแนน อันดับ 4: 5 คะแนน อันดับ 5: 4 คะแนน อันดับ 6: 3 คะแนน อันดับ 7: 2 คะแนน อันดับ 8: 1 คะแนน ทั้งนี้หากการแข่งขันในรายการใดที่มีเหตุให้ต้องจบ หรือ ยกเลิกการแข่งขันโดยที่ยังไม่ถึง 75 เปอร์เซนต์ของจำนวนรอบทั้งหมด นักแข่งที่ติดอยู่ในอันดับ 1-8 จะได้รับคะแนนเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของคะแนนปกติเท่านั้น นักแข่งที่ทำคะแนนสะสมได้มากที่สุดตลอดทั้งฤดูกาล จะได้รับตำแหน่งแชมป์โลกไปครอง หลักการเดียวกันสำหรับทีมผู้ผลิต หากทีมใดได้คะแนนสะสมมากที่สุด ก็จะได้แชมป์ในประเภททีม หากกรณีที่นักแข่ง หรือ ทีมแข่ง ทำคะแนนได้เท่ากัน ตำแหน่งแชมป์โลกจะตกเป็นของนักแข่ง หรือ ทีม ที่ทำสถิติคว้าแชมป์ในรายการต่างๆ นักแข่ง หรือ ทีมแข่งใด คว้าแชมป์ได้มาก ก็จะได้แชมป์ไปครอง[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
RacingWeb Community
>
Motorsport Forum
>
Formula 1
>
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับรถ Formula 1
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...