ทำเองครับไม่ยาก มันก็ช่วยได้เยอะนะครับ ผมซื้อผ้าคล้ายๆผ้าห่มหนาประมาณ 15mm เมตรละ 100 แถวคลองถม เมตรละ 70 บาท ตามร้านขาย ผ้าหุ้มเบาะ พรหม ลดเสียงและลดความร้อนได้จริงกับราคา 300 บาท ผมใช้ 3 เมตรครับ หุ้มได้ทั้งคัน ลองดูนะครับ ไม่แพง (ไม่ได้รับจ้างนะครับ)
WENOL หลอดสีแดง ราคา 65 บาท ร้านอะไหล่ น้ำมันเครื่องครับ เดอะมอล ซุปเปอร์ 74 บาท รับประกันความเงา ราคาประหยัด ดีกว่าคาน่า ถึงแม้ วีนอล ให้ใช้กับ เหล็ก แต่รุ่นน้อง ในคลับ เอจี แก๊ส แนะนำมาครับ ตอนแรก ซื้อคาน่า 60 บาท มาไม่เวิคครับ ไม่ขึ้นเงา แต่วินอล 3 ชั่วโมง วิ้ง วิ้ง เลยครับ วิธีใช้ ป้ายใส่นิ้วชิ้ว แล้วนำไปวนเป็นรุปหอย เหมือนเคลือบสีรถเองอะครับ แล้วใช้ผ้าเช็ดออก แล้ว เอาผ้าสะอาดนิ่ม ๆ ผืนใหม่ขัดปัดเงาเสริมครับ by WITSANOWA วีนอล เอาไว้ขัดพวกชิ้นส่วนที่เป็นเหล็ก หรือพวกโครเมี่ยมต่าง ๆ จะใช้ได้ดี ถ้าจะขัดพลาสติก ลองผลิตภัณฑ์ของ Meguiar's ดูครับ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับขัดพลาสติกโดยเฉพาะ จะสามารถลบรอยได้ แต่ลึก ๆ ก็ไม่หายครับ ชื่อ Plast X ราคาประมาณ 5-6 ร้อยบาท by 10 SEC.
วิธีแก้อาการเปิดประตูจากด้านนอกต้องออกแรงดึงมากขึ้น (D.I.Y.) หลังจากนำรถไปซ่อมกระจก พบว่าประตูด้านนั้นมีอาการต้องใช้แรงดึงมากขึ้นถึงจะเปิดจากด้านนอกได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากระยะคันชักของมือเปิดด้านนอกสั้นไปทำให้กระเดื่องไม่ดีดกลับ ดังรูปที่ 1. วิธีแก้ไข คือปรับระยะคันชักให้ยาวขึ้นโดยการถอดที่เปิดแล้วหมุนตัวตั้งระยะให้คันชักสั้นลง ดังรูปที่ 2.
ปั๊มติ๊ก (Fuel Pumps) -------------------------------------------------------------------------------- ปั๊มติ๊ก คืออะไร และทำไมถึงเรียกว่า ปั๊มติ๊ก วันนี้ช่างฮอนด้าคาร์ส์จะมาไขข้อข้องใจให้ทราบกัน ปั๊มติ๊ก เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของปั๊มน้ำเชื้อเพลิงในรถเก๋งที่ใช้น้ำมันเบนซิน และสาเหตุที่มีชื่อเรียกอย่างนั้นก็เพราะ แต่เดิมลักษณะการทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อ เพลิง ใช้หลักการของการตัดต่อกระแสไฟที่ป้อนให้กับขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้แผ่นไดอะเฟรมขยับตัวเข้าออก เมื่อประกอบเข้ากับชุดลิ้นปิดเปิด การขยับตัวของแผ่น ไดอะเฟรมจะเกิดแรงดูดและแรงดันทำให้สามารถดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังป้อนให้กับระบบเชื้อเพลิงได้ การทำงานของแผ่นไดอะเฟรมดังกล่าวจะมีเสียงดัง "ติ๊ก ๆ" เราเลย เรียกปั๊มตัวนี้ว่าปั๊มติ๊ก แต่ในปัจจุบันปั๊มชนิดนี้หาได้ยากแล้ว รถเก๋งส่วนใหญ่จะมีปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดขับด้วยเฟืองและมอเตอร์ไฟฟ้าประกอบเป็นชุดเดียวกันกับชุดลูกลอยวัดระดับน้ำมันและติดตั้งอยู่ในถังน้ำมันเชื้อเพลิง ปัญหา ของผู้ใช้รถก็คือ จะทราบได้อย่างไรว่า ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเสียหรือทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะถ้าเป็นปั๊มติ๊กแบบสมัยก่อน ถ้าไม่มีเสียงติ๊ก ๆ ให้ได้ยินก็สันนิษฐานได้ เลยว่าปั๊มเสีย แต่ปั๊มรุ่นใหม่ นี้จะไม่มีเสียงอะไรให้ได้ยินเลย แต่จะมีอาการอยู่สองสามอย่างที่แสดงว่าปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงผิดปกติ อย่างแรกก็คือ เครื่องยนต์ดับไปเฉย ๆ แต่ เมื่อทิ้งไว้สักครู่จะสตาร์ตได้อีก หรือเมื่อเร่งเครื่องยนต์แรง ๆ จะมีอาการสะดุดแล้วดับไป หรือมีอาการที่เรียกว่าเร่งไม่ขึ้น ทั้งหมดนั้นเป็นอาการผิดปกติของระบบน้ำมันเชื้อ เพลิงทั้งสิ้น วิธีแก้ไขมีอยู่ประการเดียวคือ รีบนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบถ้าปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเสียก๋คงต้องเปลี่ยนใหม่ หรือถ้าเป็นเพราะท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไส้กรองตัน ช่างจะได้ทำความสะอาดเสีย การอุดตันของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดจากสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนมากับน้ำมัน ป้องกันได้ง่าย ๆ โดยหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันที่ไม่มีชื่อผู้ผลิตหรือ สถานีบริการน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะถังบรรจุอาจเกิดสนิมปนมากับน้ำมันเชื้อเพลิงที่เราเติมได้ [ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2542] ที่มา http://www.elib-online.com/cars/oeo_pump01.html ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง http://images.google.co.th/imgres? imgurl=http://www.aa1car.com/library/returntype_efi.gif&imgrefurl=http://www.aa1car.com/library/fuel_pump_diagnose.htm&usg=__5LhiIDUOV9yLY3M46FsCivxDw Gg=&h=354&w=300&sz=44&hl=th&start=3&um=1&tbnid=mnM4G6Eji1WJHM:&tbnh=121&tbnw=103&prev=/images%3Fq%3Dfuel%2Bpump%26hl%3Dth% 26sa%3DN%26um%3D1 http://images.google.co.th/imgres? imgurl=http://www.aa1car.com/library/fuelpump_cutaway.jpg&imgrefurl=http://www.aa1car.com/library/fuel_pump.htm&usg=__FmQg_RgjOaLY4zAluvZXXTyMo44= &h=370&w=660&sz=185&hl=th&start=125&um=1&tbnid=Jex6-H0mnf6-zM:&tbnh=77&tbnw=138&prev=/images%3Fq%3Dfuel%2Bpump%26ndsp%3D18%26hl% 3Dth%26sa%3DN%26start%3D108%26um%3D1 การทำงาน ภายใน วิธีการการเปลี่ยน 1. นำเบาะนั่งหลังออกก่อนครับ เพราะเจ้าปั๊มจะอยู่ใต้เบาะนั้นเอง 2. เมื่อนำเบอะนั่งหลังออกแล้ว จะเห็นว่ามีแผ่นเหล็กตรงกลางใต้เบาะนั่งหลังเป็นรูปวงรี 3. อ้าวเตรียมไขควงมาไขน๊อต สี่ตัว 4. เสร็จแล้วก็เปิดฝาออก จะพบกับสายไฟ ท่อต่างๆ 5. ให้ดึงปลั๊กไฟออก โดยเปิดยางหุ้มออก แล้วกดไปที่ตัวล๊อกข้างๆ 6. จากนั้นจะเห็นปลั๊กสีเขียวอ่อน และท่อยางที่ต่อกับตัวปั๊ม โดยกดตัวล๊อกทั้งสองข้างที่ปลั๊กเขียวอ่อนออก (ในส่วนท่อเส้นนี้ ถ้าขับรถมาแล้วดับเครื่องได้ไม่นาน เมื่อถอด ออกใหม่ๆจะมีน้ำมันเชื้อเพลิงออกมามากนะครับ ไม่ต้องตกใจปล่อยให้มันไหลออกไปจนหมด แต่ถ้าให้แนะนำ ควรจดรถทิ้งไว้นานๆก่อนแล้วค่อยมาทำจะดีกว่าครับ) โดยหาผ้าซักชิ้นมาคอยซับน้ำมันที่ออกมา 7. จากนั้นให้นำคีมปากใหญ่ๆหน่อยมาบีบตัวล๊อกของท่ออีกตัวออก แล้วดึงท่อยางออก (ท่อนี้จะไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงครับ สบายหน่อย) 8. จากนั้นใช้ประแจเบอร์สิบ นำน๊อตหกตัวออกมา 9. แล้วค่อยๆนำปั๊มออกมา โดยต้องระวังนิดนะครับ หมุนไปทางซ้ายที หมุนไปทางขวาที จนออกมาดังรูป 10. จะเห็นปั๊มตัวเป็นๆแล้วครับ มันเป็นอย่างนี้เอง สีทองๆ 11. ยังไม่เสร็จนี้คือการเริ่มต้นครับ เพราะเราจะต้องนำปั๊มของเจ้า J มาเปลี่ยน จึงต้องทำการสลับร่างเปลี่ยนรักกันครับ โดยดึงปลั๊กสายไฟออก 12. จากนี้เราจะนำตัวปั๊มออกมาจากโครงเหล็ก โดยให้จับที่ตัวปั๊มแล้วหมุนไปหมุนมาจนตัวปั๊มออกจากโครงเหล็ก (ระวังนิดนะครับ) 13. จากนั้นให้นำคีมบีบเอาตัวล็อกสายยางออก แล้วดึงตัวปั๊มสีทองออกมา 14. จากนั้นเราจะต้องเปลี่ยนผ้ากรอง โดยใช้ไขควงตัวเล็กงัดสลักออกมา (ต้องระวังเป็นพิเศษครับ ถ้าไม่ชำนาญจะเอาออกยากหน่อยครับ) 15. เมื่อเอาตัวสลับล๊อกกลมๆออกได้ก็จะพบกับปั๊มของ EK ดังรูปภาพครับ 16.จากนั้นก็มาที่ตัวปั๊มที่เราเตรียมสำหรับจะเปลี่ยนครับ ในที่นี้จะเป็นของ JZ ครับ จะเป็นสีอกกดำๆ 17. ส่วนมาที่มาจะมีกรองติดมาด้วยครับ แล้วแต่ร้านที่เค้าขาย ถ้าขยันเค้าจะถอดจนเหลือแค่ตัวปั๊มครับ ถ้าไม่ขยันก็ติดมาทั้งยวงเลย มาต่อโดยการเอาสลักล๊อกของ JZ ออก เพื่อนำผ้ากรองของ EK มาใส่แทน (มันจะพอดีกันเลยครับ สงสัยโรงงานผลิตเดียวกัน) แล้วใส่สลักล๊อกกลมเข้าไปเพื่อล๊อกเหมือนเดิม 18. จากนั้นให้นำตัวปั๊มมาเทียบเพื่อจะวัดความยาวของท่อน้ำมัน (ของเดิมจะยาวไป เราต้องตัดออกประมาณ เกือบหนึ่งเซ็นติเมตร) เมื่อวัดได้ที่แล้ว ให้ใช้คัดเตอร์ตัดส่วนที่ เราวัดออก 19. เมื่อตัดเสร็จแล้ว มาถึงขั้นตอนการประกอบเข้ารูปให้ใช้งานได้แล้วครับ โดยนำปั๊มมาใส่ท่อก่อน แล้วส่วนหัวที่มีแผ่นกรองค่อยๆ หมุนเข้าไปให้อยู่ในช่อง จากนั้นก็ให้ ใช้คีมบีบตัวล๊อกที่ท่อ (ต้องใส่ให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยใช้คีมบีบตัวล๊อกนะครับ ไม่งั้นท่อยางจะบิดแล้วจะใส่ยากมาก) ต่อด้วยเสียบปลั๊กสายไฟที่เป็นสีดำครับ 20. กลับมาเป็นเหมือนเดิมแล้ว โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่ตัวปั๊มเท่านั้นเอง 21. นำกลับมาใส่ที่รถเราแล้ว หมุนซ้ายที หมุนขวาที ค่อยๆใส่เข้าไปครับ เดี๋ยวก็เข้าเอง เมื่อใส่ปั๊มจนเข้าเรียบร้อยแล้ว ให้ใส่น๊อต(เบอร์สิบ) ก่อนเพื่อความแข็งแรง จากนั้น ก็กลับมาใส่ท่อทั้งสองอัน จากนั้นให้ใส่ปลั๊กไฟสีน้ำตาล (ตรวจเช็คดูให้ดีก่อนอีกครั้งว่าไม่ลืมใส่อะไรกลับคืนนะครับ) 22. พอใส่เรียบร้อยแล้ว เรามาลองปั๊มกันครับว่าโอเคป่าว โดยให้ใครก็ได้ครับ บิดสวิทช์กุญแจจนสุดแต่ไม่ต้อง Start นะครับ แล้วตอนบิดกุญแจให้ลองฟังที่ตัวปั๊ม ว่ามีเสียง ทำงานข้องมอเติร์หรือป่าว (ก่อนซื้อให้เค้าทดลองว่าปั๊มที่ซื้อมาใหม่ ใช้งานได้ก่อนนะครับ) ถ้ามันไม่สีเสียงของมอเตอร์ก็งานเข้า ให้บิดสวิทช์กุญแจคืน แล้วลองกลับไปทำ ตั้งแต่ต้นใหม่ แต่ถ้ามีเสียงดังของมอเตอร์ ก็ให้ Start รถได้เลย (ครั้งแรกจะติดยากหน่อย แต่ก็ไม่ยากมาก) แล้วลองฟังเสียงมอเตอร์อีกครั้ง ค่อยเหยียบคันเร่งดูถ้าไม่มีปัญหา ก็ดับเครื่องยนต์ นำกุญแจออกมาเลยนะครับ แล้วเราก็กลับมาปิดฝาคืนให้อยู่สภาพเหมือนเดิม 23. ใส่เบาะนั่งหลังให้เรียบร้อย แล้วขับรถเพื่อทดสอบว่ามีปัญหาหรือป่าว ถ้าไม่มีก็จบ สุดท้าย การทำ D I Y ก็เป็นอะไรที่เราทำกันเองได้ครับ เพียงแต่ต้องระมัดระวังกันหน่อย ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่โดยช่างหลอก มีความสุขที่ได้ทำรถ เพิ่มพูลปัญญา สนุกไปอีกแบบ วันนี้มานำเสนอแค่นี้ก่อนนะครับ บ๊าบ บาย <<<
DIY ไฟส่องสวิตช์กุญแจ EK ตำแหน่งน๊อตยึด ที่ต้องถอด (คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย) ตำแหน่งไฟ + 12 V. ที่นำมาใช้ และ ตำแหน่งแทปสายมาใช้งาน (สายเขียวลายแดง) (อ้างอิงข้อมูลตำแหน่งจาก โอ Mugen Type R ขอบคุณครับ ) นำไฟ LED ที่ต่อเป็นวงแหวนมาสวมและเดินสายไฟ ซึ่งสามารถต่อไปเป็นไฟส่องเท้าได้ด้วยครับ ประยุกต์มาจาก Project ไฟส่องเท้า คุณโอ Mugen Type R เดินสาย รัดเคเบิ้ล เสร็จแล้ว ก็ประกอบคืน จะได้ตามรูป ** รูจะแคบมาก ต้องคว้านรูกุญแจให้กว้างขึ้นอีกหน่อย เพื่อให้แสงออกมามากขึ้น สามารถทำได้ทุกสีของ LED **
ขอบคุณทุกๆท่านสำหรับความรู้ครับ เป็นวิทยาทานอย่างสูงครับ วันนึงคงเป็นประโยชน์สำหรับผมแน่ๆ ---------- เพิ่มกระทู้เมื่อ 22:04:46 ---------- กระทู้ก่อนหน้านี้ เมื่อ 22:04:31 ---------- ขอบคุณทุกๆท่านสำหรับความรู้ครับ เป็นวิทยาทานอย่างสูงครับ วันนึงคงเป็นประโยชน์สำหรับผมแน่ๆ
+++++ Review OHLINS DFV โช๊คอัพที่ใคร ๆ ก็พูดถึง +++++ ตอนนี้คำถามเกี่ยวกับโช๊ค มีมากมายเหลือเกิน บางคนไม่เคยใช้ เคยได้ยินเค้าพูดมา ก็พูดต่อ ๆ กันไป น้อยคนที่จะเคยใช้ และรับรู้ ว่า Feeling จริง ๆ ของโช๊คแต่ละตัวเป็นยังไง กระทู้นี้ถือเป็นการแชร์ความรู้ก็แล้วกันนะครับ ผมก็จะเล่าในเฉพาะ ส่วนที่ผมรับรู้ จากการใช้งานเท่านั้น ส่วนเรื่องเทคนิคลึก ๆ ไปหาหนังสือ อ่านเอาเองจะดีกว่า เริ่มกันเลย....OHLINS DFV ตัวนี้จะเป็นตัวล่าสุด ทีพัฒนามาจากตัว PCV คำว่า DFV ย่อมาจาก Dual Flow Valve คือจะมีวาล์วสองชุด แยกกันระหว่างช่วง Bump และ Rebound ช่วยเพิ่มความนุ่มนวล และ ช่วยให้ล้อของรถสัมผัสกับพื้นถนนตลอดเวลา การแยกวาล์ว Bump และ Rebound ของ DFV นี้ถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะช่วยให้วาล์วไม่ต้องรับภาระหนัก และมีการตอบสนองได้เร็ว และ ข้อดีอีกอย่างนึงของ OHLINS ก็คือ การแยกห้องระหว่าน้ำมัน และแก๊ช เพื่อป้องกันการถ่ายแถความร้อน ที่จะทำให้แรงดันในโช๊คเปลี่ยนแปลง เมื่อใช้งานหนัก ติดต่อกันนาน ๆ ครับ
มาดูของจริงกันบ้างดีกว่า ชุดที่จะนำมา Review นี้เป็นชุดตรงรุ่นของ EG และ DC2 แต่ด้วยน้ำหนัก และมิติรถที่ไม่ต่างกันมาก Feeling คงไม่ต่างจาก ของ EK เท่าไหร่ คงไม่ว่ากันนะครับ เพราะจริง ๆ แล้ว DFV สามารถถอด หูโช๊คสลับกันได้ระหว่างหูของ EG และหูหลังของ EK ตาม Spec ของ OHLINS โช๊คสามารถซื้อได้เฉพาะโช๊ค หรือจะซื้อพร้อมสปริง หรือซื้อครบชุดพร้อมหัว Ball Joint ก็ได้ ชุดที่ได้มา เป็น Full Set ครับ ประกอบ ไปด้วยโช๊ค DFV มาพร้อมสปริง Eibach สเป็คพิเศษ ที่ผลิตมาเพื่อ OHLINS เพราะทั้ง OHLINS และ Eibach ต่างก็เป็นสินค้าจากประเทศ Sweden แต่ Made in Japan นะ....งงมั๊ย 555+
อ่ะ...มาดูกันต่อ มาดูกันว่าวิธีดูว่าสปริงที่ติดมากับโช๊คนั้น มีค่า K เท่าไหร่ และดูยังไง เอาวิธีดูของ OHLINS ก่อนก็แล้วกันนะครับ เด๋วสำหรับยี่ห้ออื่น อย่าง Swift หรือ TEIN จะทะยอยเอามาเล่าให้ฟังวันหลัง พอดีวันนี้ไม่ได้ถ่ายรูป มาให้ดู จากรูปจะเห็น Code ที่ตัวสปริงว่า T140 นั่นแหล่ะครับ มันบอกเราได้ว่าสปริง ชุดนี้มีค่า K เท่ากับ 14K/mm หรือพูดง่าย ๆ ว่าออกแรงกดโช๊ค 14 กิโลกรัม สปริงก็จะยุบลงมา 1 มิลลิเมตร โช๊คชุดที่ได้มานี้ เซ็ทค่าสปริงหน้ามา 14K ส่วนด้านหลัง 6K เซ็ทมางง ๆ นิด ๆ เพราะค่า K หน้าหลังค่อนข้างต่างกันมาก ถ้าเป็นตัว OHLINS PCV ค่ามาตรฐานจะอยู่ที่หน้า 10K หลัง 5K ถ้าเป็น TEIN Flex จะเซ็ทหน้า 9K หลัง 5K ส่วน Mono Flex หน้า 11K หลัง 9K ครับ เป็นค่ามาตรฐานจากโรงงาน
แล้วค่า K เท่าไหร่ถึงจะดี แล้วเท่าไหร่ถึงจะพอ ? อันนี้บอกกันไม่ได้ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ความหนืดของโช๊ค และ ชนิดของยางที่ใช้ด้วย ถ้าจะเอากันจริง ๆ ต้องคิดกันถึงขนาดนั้น รถคันเดียวกัน เปลี่ยนโช๊ค แต่ใช้สปริงค่า K เท่ากันทั้งหน้า และ หลัง ก็ไม่ได้หมายความว่ารถจะนิ่ม หรือแข็งเท่ากันนะครับ หลาย ๆ คนคิดว่ารถจะแข็ง หรือจะนิ่ม ขึ้นอยู่กับสปริงอย่างเดียว อันนี้เป็น ความเข้าใจที่ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกเสมอไปครับ อ่ะ...ออกทะเลไปไกลแล้ว เข้าเรื่องต่อดีกว่า จากค่าสปริงที่ให้มา ดูท่าทางแล้วคงจะแข็งเอาเรื่อง เพราะก่อนที่ จะใส่ OHLINS DFV ผมใช้ KYB รุ่นปี 2009 วิ่งที่สนามพีระฯ ในงานแทรคเดย์ที่ผ่านมา โดยเซ็ทสปริงหน้า 11K หลัง 7K ยังรู้ สึกว่าใช้งานถนนปูนค่อนข้างลำบาก โช๊คไม่แข็งกระด้าง ไม่จุก แต่ เด้งไปหน่อย ตัวนี้ข้างหน้าล่อไป 14K จะเป็นยังไงวะเนี่ย เด้งแน่ ๆ
แข็งไม่แข็งไม่บอก พักเรื่องสปริงไปก่อน มาดูส่วนอื่น ๆ ของโช๊คกันบ้าง อิอิ วัสดุที่ใช้ทำโช็คตัวนี้ ดูจากเนื้องาน และคุณภาพของวัสดุผมให้ 4 ดาวครึ่ง เพราะติดตรงหูโช๊คหลัง ทำไมทำมาบ้าน ๆ ง่าย ๆ มาก บูทยางข้างในก็ดู ธรรมดามาก ๆ ของราคาแสนกว่าบาท(ของใหม่ 280 000 Yen) น่าจะ เป็นหูอลูมีเนียม ยัดบูทยูริเทนมาให้แล้ว ส่วนจุดอื่น ๆ ตัวกระบอก หัวบอล ตัวสไลด์ล่าง เป็นอลูมีเนียมชุบแข็ง และ Anodize มาสวยงาม น้ำหนักของโช็ครวมสปริงแล้ว เบามาก ๆ เบากว่า Mono Flex หรือ KYB ซะอีก น้ำหนักที่ลกลงน่าจะช่วยเรื่อง Unsprung Weight ช่วยลดภาระของช่วงล่าง และช่วยให้การตอบสนองดีขึ้น มาดูข้างบนกันบ้าง โชคดีที่โช็คชุดนี้ได้มาครบ ๆ จริง ๆ แม้กระทั่งหัวปรับ ซึ่งธรรมดาจะมาไม่ค่อยถึงเมืองไทย ต้องใช้ประแจหกเหลี่ยมอันเล็ก ๆ แหย่ แล้วขันเอา แต่ชุดนี้มีมาครบ 4 ต้นเลย โช๊ค DFV นี้สามารถปรับได้ 32 ระดับ ตัวปรับที่ให้มากับโช๊คให้ความรู้สึกดีกว่าของ TEIN คือหมุนนุ่ม ๆ ช่วงแต่ละ ระดับห่างกันพอสมควร ทำให้นับง่าย ความฝืดของการหมุนปรับ จะมากขึ้น ตามความหนืดของโช๊ค ทำให้ไม่หลง ว่าหมุนให้หนืด หรือนิ่มลง ผมเลือกที่จะปรับมาที่เบอร์ 1 หรือเบอร์ที่นิ่มสุดก่อน จะได้ค่อย ๆ ลองแล้ว เซ็ทโช็คขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามความชอบ(ส่วนตัว) ส่วนวิธีการปรับก็เป็นไปตาม มาตรฐานของโช๊คทั่วไป คือหมุนทวนเข็มจะนิ่ม หมุนตามเข็มจะหนืด
อ่ะ....เริ่มง่วงแล้ว เอารถมาลองเลยดีกว่า ถอยรถออกมาจากอู่ เจอหลังเต่า ลงเนิน เข้าถนนใหญ่ ก็เอียงลงลงตามปกติ....แอ๊ด รถล้อลอย 2 ล้อ โอเค...เป็นปกติของ Short Stroke อยู่แล้ว ชุดก่อนก็เป็น แต่พอล้อแตะพื้น เออ....มันนุ่มเว้ย เซ็ทโช๊คไว้เบอร์ 1 นิ่มสุด ขันสปริงแค่แตะ แล้วอัดเข้าไป 5 มิล ตามสูตรน้ากาญจน์บอกมา ยังไม่ได้ตั้งศูนย์ ยาง Federal ชุดเก่า ไม่ได้วอร์ม ออกจากอู่ไดเข้าถนนปูน อืม ๆ เด้ง ๆ นิดนึงนะ อาจจะเป็นเพราะปรับไว้นิ่ม โช๊คเลยจับสปริงไม่อยู่ เด๋วต้องลองเซ็ทใหม่ดูอีกที อ่ะ...กวาดพวงมาลัยซ้าย แล้วขวายาว ๆ เร็ว ๆ ดู รู้สึกว่าไม่ค่อยคงเท่า KYB ชุดเก่านะ เอาเต็ม ๆ สักทีดิ๊....แอ๊ดดด มาเต็มเกียร์สอง เจอยูเทิร์น กระแทกเบรค เลี้ยงคันเร่งนิดนึง แล้วหักขวาเข้ายูเทิร์น..........เอี๊ยด เสียงยางมันมาจากไหน สักพัก หน้าแถ...แถ่ด ๆ ๆ ๆ (Under Steer) เข้าให้ ชิปหายแล้ว ฟุตบาท จะขึ้น ไม่ขึ้นวะเนี่ย ตั้งสติได้ คินพวงมาลัยนิดนึง ส้นเท้าค่อย ๆ เลี้ยงคันเร่งไว้ ปลายเท้าจิ้มเบรค ลดความเร็วลง....โอเค ไม่ปีนครับ โช๊คห่าไรวะ แม่งหลอกชิปหาย มานิ่ม ๆ นุ่ม ๆ รถไม่เอียง ไม่โคลง ไม่ออกอาการเลย แต่จะหลุดโค้งเอาซะงั้น เด๋วต้อง เอาไปปรับหนืดไล่ดูใหม่ แล้วตั้งศูนย์ดูอีกที ค่อยลองเต็ม ๆ ดีกว่า แม่งงงงงง ทำกันด้ายยยย มานิ่ง ๆ ไม่มีเตือน แบบมันนิ่ม ๆ สบาย ๆ คงไม่คิดว่าเข้าเร็ว และแรงขนาดนี้....นิ้งเกิ้น
หลังจากที่ได้ลองปรับค่าความหนืด ไล่ไป ไล่มา จนเป็นที่พอใจสำหรับ การใช้ในท้องถนน และชีวิตประจำวันแล้ว ขอสรุปความคิเห็นสำหรับ OHLINS DFV ตัวนี้ไปคร่าว ๆ ก่อนก็แล้วกันนะครับ การใช้งานใน สนาม คงเอาไว้ว่ากันอีกที OHLINS DFV ตัวนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับ การใช้งานทั่วไป รวมถึง สามารถใช้เพื่อการแข่งขันได้ด้วย ตัวโช๊คจะค่อนข้างสูง เพราะด้านหน้า ผมสไลด์กระบอกลงมาจนสุด ลงเตี้ยกว่านี้ไม่ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ถึงกับเตี้ยมาก พอดี ๆ คิดว่าคงตะทำมาเผื่อสำหรับการแข่ง Rally Cross ด้วยล่ะมั๊ง บุคลิกของโช๊ค เป็นโช๊คที่สามารถรักษาสมดุลของรถได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อ ขับจะไม่รู้สึกว่าแข็ง หรือรู้สึกกระด้าง รถจะนิ่ง ๆ แน่น ๆ ไม่เอียง ไม่เด้ง คิดเล่น ๆ ว่าถ้าเอาไปลง Rally Cross คงสนุกดี นุ่ม ๆ แน่น ๆ แต่ถ้าขับ ในสนามทางเรียบ ต้องหูไว ตาไวนิดนึง เพราะว่า DFV จะรักษาเสถียรภาพ ของรถไว้ ทำให้รู้สึกว่ารถนิ่ง และช้า การเก็บอาการของรถ จากพื้นถนนมาสู่ ผู้ขับขี่จะมีน้อย ถ้ามั่นใจมากเกินไป อาจจะหลุดได้แบบนิ่ง ๆ เลยครับ โดยส่วนตัว ถามว่าชอบไหม...บอกตรง ๆ ว่าชอบ แต่ยังไม่ชอบที่สุด ที่ไม่ชอบ เพราะมันเก็บอาการของรถ เก็บ Feeling ของการขับขี่ และพื้นถนนไปหมด จนเราแทบจะไม่รับรู้อะไรเลย ล้อรถแทบจะติดพื้นตลอดเวลา ไม่มีกระเด้ง กระดอน เหมือนโช๊คชุดอื่น ๆ ที่เคยลองมา บางทีตรงจุดนี้อาจจะทำให้เรา ประมาทได้ และที่สำคัญมันไม่ค่อยได้อารมณ์รถซิ่งเท่าที่ควรครับ สำหรับโช๊คชุดนี้ ขอขอบคุณ โอ๊ต ที่เป็นธุระจัดหา และเช็คของมาให้ น้ากาญจน์ สำหรับคำปรึกษาดี ๆ และแรงบันดาลใจ(ตอนแรกว่าจะไม่เอาแล้วเชียวนะเมิง) พี่โส ที่อุตส่าห์หอบหิ้วโช๊ค จาก กทม - ระยอง มาให้ถึงสองชุด และขอบคุณเพื่อน ๆ ชาว EK-Group และ RCW สำหรับพื้นที่ดี ๆ แห่งนี้ด้วยครับ Review ชุดต่อไป ขอเป็น KYB ตัวท๊อป ปี 2009 ก็แล้วกันนะครับ สำหรับคอ TEIN คงต้องรอให้สมาชิกท่านที่ใช้จริง ๆ จัง ๆ มา Review ดีกว่า แต่ตอนนี้อยากดู Review ของ Cusco Zero 2 จากน้ากาญจน์บ้างจังครับ
โอลินยังไงก็คือโอลิน เรื่องความนุ่มแต่แน่นและการเก็บรายละเอียดของพื้นถนนมาเป็นที่1อยู่แล้ว ยิ่งตัว DFV เค้าพัฒนามาจาก PCV ให้มันนุ่มกว่าเก็บรายละเอียดดีกว่า ซึ่งของอย่างนี้ คนชอบก็คือชอบ คนไม่ชอบก็คือไม่ชอบ อาการโช๊คโอลินมันจะไม่ซิ่งเท่าที่ควร ถ้าเอาไปใส่รถแข่ง ส่วนมากมักจะใช้สปริงกันแข็งหน่อย ประมาณ 16-14 เพื่อให้มันแข็งขึ้น แต่ก็ใช่ว่ามันจะดีกว่า ของอย่างนี้อยู่ที่ตัวผู้ขับล้วนๆว่าสไตล์การขับเป็นแบบไหน แต่ส่วนตัวผมชอบโอลินนะ อาการ มันจะนุ่มๆโช๊คยุบตัวแต่ยุบล้วมันหยุด ไม่มีอาการ rebound แรงๆเหมือน TEIN ที่จะรู้สึก กระเด้งกระดอนกว่า โอลินมันจะไปพริ้วๆแต่ต้องจับอาการกันเอาเอง มันจะรู้สึกเหมือนรถช้า เพราะความนุ่มของมันนี่หละครับ ปล. การเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นเพื่อให้นึกภาพออกนะครับ ไม่ใช่ว่าโอลินดีที่สุด โช๊คแต่ละยี่ห้อนิสัยมันต่างกัน อย่างผมจะชอบเปรียบกับ TEIN เพราะนิสัยมันเด่นชัด เปรียบเทียบได้ง่าย คนรู้จักมากและก็มีคนใช้เยอะครับ
เอาซะหน่อย สำหรับ Cusco Zero 2 ที่ใช้อยู่ตอนนี้ >>รูปลักษณ์ ภายนอก ก็ตาม Style Cusco สีฟ้ามาแต่ไกล ถ้าเดิมๆสปริงสีดำ จำค่า K ไม่ได้ แต่ถ้าเบิกใหม่ ทาง ผู้ขาย สามารถให้เราเลือกค่า K สปริงได้ มีค่ากลางมาให้ ให้เราเลือกได้ว่า จะเอา +หรือ- จากค่ากลาง เช่น หน้า 12-8 K หลัง 8-4 K อะไรประมาณนี้ Zero2 ปรับเกลียวสปริงได้ Slide กระบอกได้ ปรับ 5 ระดับ ทางผู้ผลิต Spec การปรับ shock Zero 2 ไว้ดังนี้ 1-2 Street 3-4 Racing 5 Drift เออ แล้ว ตู จะ Drift ยังไงวะ ต่อๆ ชุดนี้ ตอนที่ ซื้อมา ติด Spring หน้า 16 K หลัง 8 K ของ Swift นอกเรื่องอีกหน่อย สังเกตุมาหลายชุดแล้ว ว่า ทำไมพี่ยุ่นเซตสปริงกันโหดๆ หน้าค่า K เยอะ มากไม่แมตท์ กันเลยกับข้างหลัง เช่น ชุดที่ผมได้มา หน้า 16K หลัง 8 K ชุดของเต้ที่ติด KYB มา หน้า 20K หลัง 8 ก็เคยคิด อยู่ 2-3 แง่ คือ Set ไว้วิ่งในสนาม Hi Speed โค้งกว้างๆ หรือ วิ่ง สนามแบบ พีระ นี่แหละ แต่เล่นกันโหดๆ เครื่องแรงๆ ตัวถังหนัก หรือ มีคนถอดสับ ใส่สปริงพวกนี้มาแล้วถอด 12-14 K เก็บไว้ ก็ยังไม่ทราบชัดเจน ต้องติดตามกันต่อไป หลังจากได้โช๊คมาก็เล็งเห็นแล้วว่าสปริงหน้า ขนาดนี้ เลี้ยวไม่เข้าแน่ๆ เลยหาแลกกับ พวกๆสุดท้ายไปได้สปริง Tein 12 K จากโช๊ค Tein HA ที่อยู่ใน Preludeมาก็ประกอบเข้าในรถ ปรับหน้า-หลัง ไว้ที่ 2 เหมือนกัน >>>>>>>ความกระด้างของโช๊ค -แข็งกว่า Koni ที่ปรับไว้แข็งสุด (ปรับ Cusco ไว้ที่ 2-2) อาการเก็บหลุม มีอาการ แบ่บ ถ้าหลุมเล็กๆ ผิวๆ จะไม่กระด้าง แต่ถ้าหลุมค่อนข้างใหญ่จะกระด้าง ไปเลย เหมือนกับว่า โช๊ค จะยุบช่วยเยอะในช่วงแรก แต่พอถึงจุดหนึ่ง จะแข็ง ยุบตัวได้น้อยลง อาการนี้ จะเหมือนกับ โอลิน PCV ในรถโอ๊ต แต่ PCV สามารถ เก็บหลุมได้ลึกกว่า ทำให้อาการ โดยรวม ของ PCV จะนิ่ม ขับสบายกว่า >>>>>>>>การเกาะถนน สามารถทำได้ดีพอใช้ ทั้งในสนามและบนถนน ค่อนข้างขับง่าย ไม่ออก อาการ ให้ต้องแก้กัน ซักเท่าไหร่ สนามแรกที่วิ่ง ก็ที่ นครชัยศรี (ไทยแลนด์เซอร์กิต ) ก่อน ลงวิ่ง Set ไว้ที่ 3-3 ตาม Spec ผู้ผลิต บอกว่า Racing งานเข้า ทันที เลี้ยวไม่เข้า ในโค้งเดิน คันเร่งไม่ได้เลย พาลงคูตลอด จนยาง NeoVA ที่ใส่คู่หน้า ฉีกออกมาเป็นเส้นๆ เพราะยาง โดน เฉือน ไปทางด้านข้าง ซึ่งไม่ใช่แนวรับแรงของยาง รวมทั้ง ผิว Track ค่อนข้างหยาบ และยางค่อนข้างเก่า เลยปรับเซตใหม่เป็น 2-3 ก็ดีขึ้นพอสมควร หน้าไม่ดื้อมาก ท้ายก็ยังเหนียว พอสมควร จนทุกวันนี้ ก็ยังเซตไว้อย่างนี้ วิ่งถนน ทางไกล ก็เหนื่อย เหมือนกัน แต่ค่อนข้างมั่นใจ สำหรับ Gymkana อาจจะต้อง Set ไปที่ 3-4 กันเลย เพราะเลี้ยวกันแรงๆ โค้งแคบๆ ท้ายกวาดๆ ไม่นานนี้จะได้ลอง ส่วนอาการใน Bira รบกวน โอ๊ต แชมเปี้ยนโลก มารีวิว จะดีกว่า เพราะ ใน Bira ยังไม่ได้ลองขับรถคันอื่น จริงจัง เปรียบเทียบไม่ค่อยจะถูก ขับอยู่คันเดียว
โอ้โห....ไม่ได้เก่งขนาดนั้นซะด้วยซิ และถ้าบอกว่าจำไม่ได้จะโกรธมั๊ยเนี่ย เอาเท่าที่พอนึกออกแล้วกันนะครับ Cusco zero2 ตัวนี้ก็ถือว่าเป็นโช๊คน่าใช้ตัวนึงเลย ขับบนถนนก็ไม่แข็ง ขับในสนามแข่งก็ใช้ได้ดี ฟิลลิ่งของโช๊คดี โช๊คทำงานไว ตอบสนองไว มีกระด้างผิวๆนิดหน่อย แต่ไม่แข็ง ตอนที่ขับเซ็ทโช๊ค ไว้ที่เท่าไหร่ไม่ทราบไม่ได้ดู แต่ก็กำลังดีสำหรับวิ่งที่พีระถ้าแข็งเกินกว่านี้อาจจะขับยาก โช๊คให้ความ รู้สึกว่าเป็นโช๊คซิ่งมากกว่าโอลิน ที่นึกออกก็ประมาณนี้อะครับเป็นความรู้สึกที่จำได้ ไว้คราวหน้าถ้าได้ลองอีก จะจำแบบละเอียดๆหน่อยจะได้มาเล่าได้มันส์กว่านี้ครับ
อย่างที่โอ๊ตบอกเลยครับโช๊คแต่ล่ะยี่ห้อมีนิสัยไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่ TEIN ยี่ห้อเดียวกัน (Super Steet, Flex, RA, HA) ก็มีนิสัยไม่เหมือนกัน ลองนึกดู ก็เหมือนพี่น้องเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่เดียวกันยังมีนิสัยไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นการที่เราจะเลือกโช๊คมาใส่สักชุดนึงมันต้องลองครับ ลองแล้วเราจะรู้ว่าเราชอบนิสัยแบบนี้มั้ย ไม่ชอบก็ปล่อยออกไป เพราะคนอื่นที่เค้าชอบก็มี จิงๆเรืองโช๊คเป็นอาไรที่ละเอียดอ่อนมากที่จะหาให้ตรงใจเราได้ โดยส่วนตัวผมกะอ้ายเต้เปลี่ยนกันมานับไม่ถ้วนแล้วลองกันมาเยอะ(เจ็บมาก็เยอะ) สรุปคือต้องลองด้วยตังเองครับชอบไม่ชอบเด๋วก็รู้
ในที่สุดก็มาถึงบทความเรื่องที่ 2 ของผมแล้ว 555+ ความเดิมจากตอนที่แล้ว Review OHLINS DFV วันนี้ผมจะขอเล่าถึงโช๊คอัพ KYB ก็แล้วกันนะครับ โช๊ค KYB ตัวนี้ต้องยอมรับว่าผมหาข้อมูลได้น้อยมาก แม้กระทั่งชื่อรุ่นของมัน ผมก็ยังไม่ทราบเลย รู้แต่ว่าเป็นโช๊คซิ่งระดับ Premium ที่ KYB ผลิตขึ้นในปี 2009 รวมทั้งผลิตให้กับ Spoon โดยใช้ Spec เดียวกัน วัสดุ และหน้าตาก็ ราวกับว่าเป็นฝาแฝดกันเลยทีเดียว แรกเริ่มเลย ผมได้รู้จักกับโช๊คตัวนี้เพราะเมื่องาน Motor Show ที่ผ่านมา บริษัท KYB ประเทศไทยได้นำโช๊ครุ่นนี้เข้ามาทำตลาด โดยเป็นสปอนเซอร์ ให้กับ Dr.Mo ลงใช้แข่งงาน Honda Racing Fest โช๊คชุดเก่าของ Dr. Mo ก็คือ OHLINS PCV เลยมาประจำการในรถของโอ๊ตแทน บริษัท KYB ประเทศไทยตั้งราคาค่าตัวโช๊ครุ่นนี้ไว้ที่ 78 000 บาท ไม่รวมชุด หัว Ball Joint ดูจากรูปร่างหน้าตา โหวเห้งแล้ว น่าจะเหมาะกับการใช้งานแบบ Street Racing ผมจึงซื้อมาเพื่อเอามาลองในสนามพีระ งาน EK Group Track Day ที่ผ่านมาครับ
เกริ่นนำถึงที่มา ที่ไปกันพอหอมปาก หอมคอแล้ว มาดูตัวจริง ของจริงกันเลยดีกว่า KYB ชุดนี้เป็นโช๊คที่สามรถปรับสูง ต่ำได้สองวิธีนะครับ วิธีแรกโดยกันขันสตรัท อัดสปริงขึ้นไป และวิธีที่สองก็คือการสไลด์กระบอก ระบบภายในเป็น Gas และ น้ำมัน ตัวสตรัททำจากเหล็ก ชุบโครเมี่ยม ตัวล็อคสปริงเป็นเหล็กชุบโครเมี่ยม ส่วนชุดสไลด์กระบอก และตัวล็อคผลิตจากอลูมีเนียม หน้าตาหล่อเหลาใช้ได้ครับ แต่ผมไม่ชอบที่ตรัทเป็นเหล็กเนี่ยแหล่ะ พอใช้ไปนาน ๆ ขันขึ้น ๆ ลง ๆ บ่อย ๆ โครเมี่ยมที่ชุบไว้ก็จะลอก สนิมก็อาจจะถามหาได้ เมื่อถอดแยกชิ้นออกมา หน้าตาก็จะประมาณนี้ครับ
คราวนี้จะประกอบกับไปให้ดูก็แล้วกันนะครับ โช๊ค KYB ชุดนี้ มีของเล่นให้เล่น กันอีกแล้ว น่าจะเป็นยี่ห้อเดียวที่มีแบบนี้นะ เพราะของ TEIN, OHLINS, CUSCO ยังไม่เคยเห็นยี่ห้อไหนมีระบบนี้เลย ระบบที่ว่านี้ก็คือระบบกันการสไลด์กระบอกลงจะโช๊คหลุดออกจากเบ้าครับ อาจจะเป็นเพราะ KYB ชุดนี้ออกแบบมาเป็นโช๊คที่เตี้ย ถึงเตี้ยมาก การใช้งาน จึงอาจจะต้องสไลด์กระบอกขึ้นจรหมดเกลียว แล้วทำให้ตัวกระบอกหลุดออก มาจากเกลียวได้เมื่อตกหลุม หรือใช้งานหนัก KYB จึงออกแบบ Plug ตัวนี้ขึ้นมา ข้างในจะมีลูกปืนลูกเล็ก ๆ วิ่งไปตามเกลียว ของตรัท แต่เมื่อสไลด์กระบอกลงจนเหลือประมาณ 5 เกลียวจะมีลิ่มเล็ก ๆ ไว้ ล็อคไม่ให้ลูกปืนวิ่งผ่านได้ ทำให้ไม่สามารถสไลด์กระบอกลงให้ต่ำกว่านี้ได้ครับ
ตามสเป็คของโรงงานแล้ว KYB ชุดนี้จะไม่มีชุด Ball Joint ที่หัวมาให้ แต่เพื่อการตอบสนองต่อการขับขี่ที่กระชับ ฉับไว ผมจึงใช้ร่วมกับหัว Joint ของ Cusco ก็โอเคครับ ใส่ได้วยกันได้เลย ไม่มีปัญหา ถามว่าหัว Joint กับหัวเดิมความรู้สึกต่างกันไหม ตามหลักการแล้วย่อมต่างกัน เพราะความสามารถในการถ่ายทอดแรงจากโช๊คมาสู่ตัวรถของ Ball Joint ย่อมดีกว่ายาง เหมือนหัวโช๊ค Type R จะเป็น Bush เหล็ก แต่ของตัวธรรมดา จะเป็ยยาง แต่ก็ไม่ใช่ว่าหัวแบบ Ball Joint จะดีกว่าเสมอไปนะครับ เพราะอายุการใช้งาน มันก็มี ถ้า Ball Joint มันเสื่อม หรือหลวม ก็จะทำให้เกิดเสียงดัง น่ารำคาญ ค่าซ่อมก็ค่อนข้างสูง ส่วนหัวยางก็ใช้กันยาว ๆ ไปเลยครับ พังยาก แต่หล่อน้อย กว่าหัว Ball Joint หน่อยนึง อ่ะ...เมื่อประกอบทุกอย่างเข้าด้วยกันแล้ว ก็จะออกมาเป็นแบบนี้ครับ
ตัวโช๊คปรับนืดได้ 4 ระดับครับ...อ่ะ นั้นนี้มีคนถามบ่อย ว่าปรับได้แค่ 4 ระดับ แล้วมันจะดีเหรอ ? อันนี้ต้องบอกตามความรู้สึกส่วนตัวของผมก็แล้วกัน ผมชอบโช๊คได้ที่ปรับได้ น้อย ๆ หมายถึงปรับได้ 4 ระดับ 5 ระดับ 8 ระดับ มากกว่าโช๊คที่ปรับได้ 30 กว่าระดับนะครับ เพราะความแตกต่างของแต่ละระดับที่เราปรับ เราสามารถเห็นถึงความแตกต่างได้ชัดเจน แล้วมันก็เซ็ทง่าย ไม่หลงด้วยครับ อย่างโช๊คที่ปรับได้ 30 กว่าระดับ อาจจะต้องปรับที่ละ 5 หรือ 6 คลิ๊ก ถึงจะเห็นถึงความแตกต่าง บางทีนับ ๆ ไปสิบ ยี่สิบระดับ ก็หลงว่าปรับไป ข้างละเท่าไหร่แล้ว ถ้านับผิดขึ้นมาก็ไม่เท่ากันอีก อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบครับ
KYB ที่ผมได้มานี้ มาพร้อมสปริงยี่ห้อ Swift รุ่น 200 ก็มีค่า K เท่ากับ 20K วิธีดูว่าสปริงยี่ห้อ Swift มีค่า K เท่าไหร่ก็ดูที่ตัวเลขสามตัวหลังสุด แล้วหารด้วย 10 ก็จะได้ค่า K ของสปริงครับ เซ็ทมาแปลกมาก หน้า 20K หลัง 7K ดูท่าทางแล้ว ขับไม่ไหวแน่ ๆ เลยต้องโทรไปไหว้วานพี่โส เพราะจำได้ว่าแกมีสปริงของ D2 เก็บสะสม ไว้ที่บ้านนานแล้ว ก็ได้สปริง 11K มาใส่ในคู่หน้า ส่วนด้านหลังยังใช้ค่าเดิม จากญี่ปุ่นคือ 7K ครับ ดูทรงแล้ว น่าจะแม็ทกันดี(เดาเอาเองนะ) เมื่อประกอบสปริงเข้ากับตัวโช๊คแล้ว ดูจากช่วงยุบจะเห็นว่าโช๊คมีช่วงที่ สามารถให้ตัวได้ประมาณ 3 - 4 นิ้วเท่านั้นครับ โอ้ว....ดุจัง 555+
ประกอบจบ เสร็จสรรพ เอารถออกจากอู่ไปเทสกันหน่อยสิ ของมันดีจริงป่าว ตามนิสัยของผม ปรับไว้เบอร์ 1 ทั้ง 4 ต้นก่อนเลย ไล่จากอ่อนไปแข็ง แล้วค่อย มาไล่กันอีกที ความรู้สึกแรกที่ขับออกจากอู่ รู้สึกว่าแน่น และกระแทกพอสมควร Feeling คล้าย ๆ TEIN RA แต่แน่นกว่า แต่ไม่แน่นแบบจุก ๆ เหมือน JIC จะออกแนว แน่น ๆ แต่มีเด้งบ้าง ทำให้ไม่กระแทก ไม่จุก ก็.....ลองเซ็ทไปเซ็ทมาจบมาจบที่ ด้านหน้า 2/4 หลัง 2/4 รู้สึกว่าขับสบายขึ้นมาหน่อย ลองขับมาเกียร์ 2 แล้วกวาด ซ้ายที ขวาทีแบบเร็ว ๆ โช็คให้ความรู้สึกว่าคมมาก สั่งซ้ายเป็นซ้าย ขวาเป็นขวา ตอบสนองเร็วดีครับ เร็วกว่า OHLINS DFV เสียอีก ตรงนี้เป็นอะไรที่ผมให้ คะแนนเต็ม 10 สำหรับ KYB ชุดนี้ครับ
ความรู้สึกจากการใช้งานในสนามพีระ ให้ความรู้สึกที่มั่นใจ และคมในทุกโค้งครับ ความรู้สึกจากโช๊ค ถ่ายทอดมาที่พวงมาลัยได้มาก ทำให้จับอาการรถได้ดีทีเดียว แต่คงต้องแลกมาด้วยความกระด้างนิด ๆ แต่พอรับได้ ข้อเสียของ KYB ชุดนี้ก็มี นะครับ คือ KYB ชุดนี้เป็นโช๊คที่ Rebound ช้า ถึงช้ามาก สมมุติว่าเข้าโค้ง S ที่ ต้องปีนของ Apex เมื่อปีนขอบแรกแล้ว ถ้าปีนขอบที่สองต่อเนื่องเร็ว ๆ ล้อจะลอย และอาจจติดซุ่มนิด ๆ อาจจะเป็นเพราะช่วงยุบสั้น หรือสปริงนุ่มเกินไป ต้องเซ็ทกัน ใหม่อีกที น่าจะช่วยให้ดีขึ้นครับ Coment ส่วนตัวคิดว่า KYB รุ่นนี้น่าจะเหมาะกับคนที่ต้องการโช๊คที่ให้ความรู้สึก แน่น และไว ใช้งานได้ทั้งในสนามแข่ง และบนถนน ตัวโช๊ค Set ง่าย วัสดุ และหน้าตา ทำออกมาสวยงาม อะไหล่ซ่อมได้ มีศูนย์ และตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย คนที่อยาก ทดสอบรถในสนามทางเรียบ หาโช็คชุดนี้มาใช้งาน ไม่ผิดหวังครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาจนจบนะครับ และขอบคุณ EK Group และ RCW สำหรับ พื้นที่ดี ๆ แห่งนี้ด้วยครับ
ถ้าพูดถึงช่วงล่างของรถยนต์ แน่นอนอันดับแรกที่จะนึกถึงนั่นก็คือ "โช๊คอัพ" สิ่งที่บางคนเปลี่ยนเพื่อความสวย บางคนเปลี่ยนเพื่อสมรรถนะ หรือบางคน เปลี่ยนเพราะว่าเค้าบอกกันว่าดี วันนี้ผมจึงขออนุญาติมาแบ่งปันข้อมูล หลังจากที่ได้ลองสัมผัสกับมันมาเป็นเวลาพอสมควรทั้งบนถนน และใน สนามแข่งให้ผู้ที่สนใจและกำลังหาข้อมูลกันอยู่ ได้หายข้อข้องใจกันครับ
จากที่เคยเกริ่นคร่าวๆในกรทู้ Ohlins DFV ของพี่เต้ไปแล้วว่า Ohlins ยังไงก็คือ Ohlins วันนี้ผมจะขอพูดถึงเจ้าโช๊คที่หลายๆคน สนใจที่จะได้มาครอบครองอีกตัวหนึ่งนั่นก็คือ Ohlins PCV PCV ที่หลายๆคนชอบจำผิดเป็น PVC เหมือนท่อน้ำนั้น แท้จริง แล้วมาจากคำว่า parallel compression valve หรือแปล แบบบ้านๆก็ วาวล์แบบคู่ขนานนั้นแหละครับประโยชน์ของมันก็คือ การทำงานที่นุ่มนวลทั้งช่วงความเร็วต่ำ และความเร็วสูง เรียกได้ว่า ทำมาเก็บรายละเอียดของโช๊คนั่นเอง และราคาค่าตัวก็ถือได้ว่าสมเหตุ สมผล ตั้งแต่2หมื่นกลางๆจนถึง3หมื่นนิดๆตามสภาพ + อ้างถึง ตอบกลับ