พอดีว่าจะนำข้อมูลไปทำวิทยานิพนธ์ครับเกี่ยวกับการเติมgasohol กับเครื่องที่มีเทอร์โบหรือระบบอัดอากาศ อยากทราบรายละเอียดดังนี้ขอเฉพาะเครื่องเทอร์โบนะครับเครื่อง รุ่น ปี เติมgasohol หรือไม่ ความรู้สึกเมื่อได้เติม คิดว่าประสิทธิภาพเครื่องด้อยลงไปหรือไม่
ไม่น่าจาเกี่ยวนะครับ เพราะทุกคนก็รุว่า gasohol มีค่าออกเทนเท่ากาน แค่นี้ก็น่าจาพอแล้วนะ แต่ที่คนไทยส่ววนใหญ่กลัวกันเพราะมันชื่อว่า gasohol ถ้าอย่างนั้นลองคิดใหม่ครับว่า เบนซินมีชื่อเรียกอีกหนึ่งอย่างว่า แก๊สโซลีน มันก็ต่างกันน้อยแล้วนะ และโซฮอลมีค่าความร้อนน้อยกว่า1-3เปอร์เซนต์ครับ ซึ่งผู้ขับน้อยคนมากที่จะมีความรู้สึกไวขนาดนั้น ส่วนมากจะคิดไปเองครับว่าอืดกว่า คิดเหมือนสมัยประเทศไทยเลิกใช้เบนซินผสมสารตะกั่วดูสิครับทำไมเรายังเปลี่ยนได้เลย และที่สำคัญมากๆนะครับ ผมว่าประเทศไทยเสียเงินไปเยอะกับการโฆษณาว่าแก๊สโซฮอลใช้ได้อ่ะ
ขอตอบมั่ง อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ที่ได้ทราบมาจากหลายๆ แหล่ง แล้วนำมาประเมินนะครับ... ก็อย่างที่คุณ เด็ก ม.4 ว่าไว้ แต่ผมขออนุญาติขยายความนิดนึง เครื่องยนต์สันดาปภายใน จะมุ่งเน้นในเรื่องของ "ออกเทน" เป็นหลัก ค่าออกเทนเท่ากัน มันก็ใช้กันได้ครับ... "ค่าออกเทน" เอาคร่าวๆ ก็คือ "ค่าที่ต้านทานการชิงจุดระเบิด" คือพูดง่ายๆ ว่า ถ้าน้ำมันออกเทนต่ำ (ตัวเลขน้อย) จุดวาบไฟก็จะอยู่ต่ำ การทนความร้อนก็จะน้อยกว่า คือจุดให้มันลุกได้ง่าย จึงเหมาะกับเครื่องที่มีกำลังไม่มากนัก ที่มี "กำลังอัด" ภายในไม่สูงเกินไป จึงให้ใช้ออกเทนต่ำได้ ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบหลายๆ อย่างด้วยนะครับ รถรุ่นใหม่ๆ ที่มีกำลัง "ค่อนข้างมาก" ก็ให้เติม 91 ได้ เพราะเครื่องรุ่นใหม่ จะออกแบบฝาสูบมาดี ลดอาการชิงจุดระเบิดได้ และกำหนดอะไรได้แม่นยำหลายๆ อย่าง อาการชิงจุดจึงเกิดได้ยาก เลยใช้น้ำมันออกเทนต่ำได้ แต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเครื่องแรงจริงๆ ก็ต้องออกเทนสูงไว้ก่อน... เอาล่ะครับ พอมาเป็นเครื่องที่มีกำลังมาก มีการจุดระเบิดอย่างรุนแรง กำลังอัดสูง ความร้อนสูง พอเอาน้ำมันออกเทนต่ำมาใช้ ยังไม่ทันสั่งจุดเลย มันจุดเองซะแล้ว โดยเฉพาะ "จุดก่อน" ที่ลูกสูบจะขึ้นสู่ "ศูนย์ตายบน" (TDC) ล่ะก็ยุ่งแน่ ลูกกำลังขึ้น แต่ดันมีแรงระเบิดสวนตูมลงมา มันก็ "เละ" น่ะสิครับ เพราะฉะนั้น เค้าเลยต้องใช้เชื้อเพลิงออกเทนสูงมาช่วยลดข้อเสี่ยงตรงนี้... อย่างเครื่องเทอร์โบ ใช้แก๊ส LPG ที่มีค่าออกเทน 105 RON "ถ้าจูนอัพดีๆ" ก็ใช้ได้ดี เชื้อเพลิงทุกชนิดแหละครับ ถ้าจูนให้ส่วนผสมมัน "ได้" กับที่เครื่องยนต์ต้องการ มันก็จะได้ผลดีนะครับ ก็เหมือนกับเราเติมน้ำมัน Hi-Octane นั่นแหละครับ เพียงแต่สถานะของเชื้อเพลิงมันต่างกัน... ย้อนกลับมาที่แก๊สโซฮอล์ ตัวมันเองออกเทน 95 เท่ากัน ถ้าเดิมใช้เบนซิน 95 อยู่ แล้วไม่มีปัญหา ก็ใช้โซฮอล์ 95 ได้ครับ... ในทางกลับกัน ถ้าไปใช้น้ำมันออกเทนต่ำกว่าที่กำหนด พอถึงจุดนึง ที่น้ำมันสามารถ "ลุกไหม้" เองได้ โดย "ไม่ได้จุดจากประกายไฟหัวเทียน" (Pre Ignition) หรืออีกกรณีนึง หัวเทียนจุด กำลังลุกไหม้ แต่อีกในมุมหนึ่ง มันดันจุดขึ้นมาเอง มีคลื่นแรงระเบิดสองคลื่นวิ่งมาชนกัน (Detonation) จะเป็นการจุดระเบิดผิดจังหวะ ทำให้เกิดการ "น็อก" ก็คือมีเสียงแก๊กๆๆๆๆ เกิดขึ้น นั่นคือเสียงกำลังอัด ไม่ใช่เสียงโลหะกระทบกัน ถ้ารุนแรงก็ทำให้เครื่องพังแบบวินาศได้... เป็นเหตุที่ว่า ทำไมเครื่องแรงๆ จึงต้องใช้น้ำมันออกเทนสูงไว้ก่อน ถ้าเครื่องไม่แรง มาตรฐานโรงงานให้ใช้น้ำมัน 91 ได้ ถ้าเติม 95 ผมว่าก็ไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น แรงทางใจมากกว่า แต่ถ้าเครื่องให้เติม 95 แล้วเติม 91 "อาจจะ" มีปัญหาได้ ถ้าเกิดการน็อกขึ้นได้ง่าย แต่เครื่องเดี๋ยวนี้ค่อนข้างฉลาด เมื่อเกิดการน็อก ระบบจะลดองศาไฟจุดระเบิดลง คือขับได้ปกติ แต่อาจจะวิ่งน้อยลงนิดนึง... อีกมุมนึงของ "แก๊สโซฮอล์" ตัวมันเองจะมีค่าความร้อน (Calories) น้อยกว่าเบนซินอยู่แถวๆ 2-3 % อย่างที่น้อง ม.4 เค้าบอกมา ถ้าพูดกันง่ายๆ "หากจ่ายเชื้อเพลิงในปริมาณเท่าเดิม" (เทียบกันกับเบนซินธรรมดา) ส่วนผสมก็จะ "บาง" ลง 2-3 % กำลังอาจจะตกลงบ้าง... แต่... เครื่องหัวฉีดก็จะมี "แลมบ์ด้าเซ็นเซอร์" คอยจับส่วนผสมอยู่ ถ้ามันจับว่าส่วนผสมบาง มันก็จะสั่งกล่องให้เพิ่มปริมาณการฉีด ก็มากขึ้นกว่าเดิมตามอัตราส่วนที่ว่าไป ยกเว้นแต่เป็นเครื่องรุ่นเก่าหน่อย เซ็นเซอร์มันยังไม่ไวพอ ก็อาจจะวิ่งน้ำมันบางลงบ้าง และเปลืองเชื้อเพลิงขึ้นอีกหน่อย... แต่... อีกแล้ว ปกติเครื่องยนต์จะทำส่วนผสมให้ "หนา" กว่าปกติเล็กน้อย (อันนี้ยืนยันครับ) เพื่อลดความร้อนในห้องเผาไหม้ลงบางส่วน อันนี้เค้าว่าจะทำให้มลพิษน้อยลง เมื่อเรามาคิดตรงนี้ เชื้อเพลิงปกติหนานิดๆ แต่โซฮอล์มันบางลงอีกนิด ก็น่าจะมาเจอจุดที่ "ได้กัน" อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปรับส่วนผสมเป็นหลัก... แก๊สโซฮอล์ที่คนส่วนใหญ่กลัว ก็กลัวเรื่อง "การกัดกร่อนวัสดุยาง" ในรถเก่าๆ พวกท่อยาง ซีลยาง อะไรยางต่างๆ ที่เริ่มมีอายุมาก ก็จะถูกกัดกร่อนได้ง่าย ถ้าเป็นไปได้ เปลี่ยนพวกอะไรที่ทำจากยางใหม่ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เครื่องรุ่นใหม่ๆ หน่อย ไม่มีปัญหาหรอกครับ ใช้ได้... เคสนี้ ก็ต้องถามผู้ที่ได้ "เคยลองใช้" ว่าผลเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าผ่านมาเจอ ก็ช่วยแสดงความคิดเห็นก็ดีนะครับ จะได้นำข้อมูลมาดูกันหลายๆ ส่วน เพราะบอกตรงๆ ว่า "มันมีเงื่อนไขต่างๆ ที่เครื่องมากมาย" เครื่องแต่ละตัวไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นรุ่นเดียวกันก็ตาม บางคันใช้แล้วดี บางคันก็อาจจะมีอะไรติดขัดอยู่บ้าง คงต้องดูส่วนใหญ่เป็นหลักครับ...
""""" ระวังเรื่องน้ำครับ เพราะมันมีส่วนผสมกับเอททานอล จะทำให้ condense ได้ง่าย บวกกับอากาศแบบเมืองไทย dew point ไม่ต้องพูดถึง
ขอแก้ย่อหน้านี้ของตาหนุ่มนะครับ:rockon::rockon::rockon::rockon::rockon::rockon::rockon::rockon: อาจจะเข้าใจผิดไป จึงขอแก้ให้ถกต้องนะครับopcorn: ยิ่งเอาข้อมูลไปใช้ด้วยนี่ ยิ่งต้องแก้ไขให้ถูกต้องเลยครับ จึงแย้งมา ณ ที่นี้ ค่าความร้อน ไม่ได้เกี่ยวกับส่วนผสมบางหรือหนานะครับ ค่าความร้อนคือหน่วยของพลังงานที่ว่า ต่อปริมาณน้ำมัน พูดไม่ให้งงก็คือ น้ำมัน ชนิดนี้ 1 กรัมให้พลังงานออกมาเท่าไรเป็นต้น อันนี้เรียกว่าค่าความร้อน หากจ่ายเชื้อเพลิงปริมาณเท่าเดิม ส่วนผสมก็จะเท่าเดิมครับไม่บางลง แต่ที่กำลังตกลงเพราะได้ค่าความร้อนที่น้อยกว่า OUTPUT จึงน้อยกว่า การเพิ่มพลังงานในส่วนนี้จึงไม่ใช่ว่าจะเพิ่มแค่ปริมาณเชื้อเพลิงเข้าไปอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการเพิ่มเข้าไปทั้งก้อน(อากาศ+น้ำมัน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม อาจจะหนาหรือบางลงก็ได้) ซึ่งเพิ่มอย่างไรก็คือการเหยียบมากขึ้นนั่นเอง จุดนี้คือจุดสิ้นเปลืองเพิ่มขึ้นจุดหนึ่ง หากจะจูนให้หนาขึ้นหรือบางลง ไม่ได้เกี่ยวกับค่าความร้อนแต่เกียวกับปริมาณอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของเชื้อเพลิงชนิดนั้นๆ เช่นติดแกสแล้วแรงตก เพราะค่าความร้อนแกส น้อยกว่าน้ำมัน แต่ที่ว่าใช้แกสหนาขึ้นแล้วรถแรงขึ้น ไม่ใช่เพราะไปเพิ่มค่าความร้อน แต่เพราะค่าอัตราส่วนผสมของแกสที่เหมาะสมมันอยู่ที่ตรงนั้น ทีนี้มาต่ออีกย่อหน้านึง เครื่องมีออกซิเจนเซนเซอร์ คอยจับหาออกซิเจนในท่อไอเสีย ให้ออกมาในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ให้หนาไป ออกซิเจนเหลือน้อย หรือบางไป (ออกซิเจนเหลือเยอะ) เมื่อจับได้ค่าออกซิเจนแล้ว จึงนำไปเพิ่มหรือลดน้ำมัน ทีนี้ เจ้าแกสโซฮอล์ มันทำจากแอลกอฮอล์ มันมีออกซิเจนในตัวมันเอง เมื่อเผาไหม้เสร็จ ออกซิเจนในตัวมันจึงเหลือออกมา ออกซิเจนเซนเซอร์จับได้ ว่าเหลือออกซิเจน สั่งว่าน้ำมันบาง จึงจ่ายเพิ่ม ออกมาจึงหนากว่าครับ ด้วยประการฉะนี้ เช่นรถFUNNY CAR ที่ใช้ไนโตร มีเทน ทำไมสามารถส่วนผสม หนามากๆได้ เพราะในตัวเองมีออกซิเจนเยอะอยู่แล้ว ใช้ออกซิเจนจากข้างนอกอีกไม่เยอะก้ได้ส่วนผสมที่พอดี ดังนั้นจึงใช้ปริมาณส่วนผสมที่ดูแล้วหนามากๆครับeace: ทีนี้มาดูว่าที่แกสโซฮอล์กินมากกว่าปกติตรงไหนบ้าง คร่าวๆนะครับ 1.ถ้าเครื่องคาร์บู กินกว่าปกติก็ตรงที่ค่าความร้อนมันน้อยลง 2.เครื่องหัวฉีด ถ้า ตอนวิ่งเนิบๆ กินมากกว่าปกติเพราะ ค่าความร้อนที่น้อยลง จึงต้องเหยียบมากขึ้น และส่วนผสมที่จ่ายหนามาเพิ่มครับ ส่วนตอนเหยียบมิด ECU เข้า OPEN LOOPไม่เอาปริมาณน้ำมันที่เหลือมาคิด ดังนั้นจึงเปลืองเพราะว่ามาจากกค่าความร้อนที่น้อยกว่านั่นเอง :rockon::rockon::rockon: ทีนี้ขอตอบคำถามบ้าง ใช้ได้ใช้ไม่ได้นี่ ผมว่าเทอร์โบส่วนใหญ่ไมค่อยมีผลนะ ผมก็ใช้มาตลอด หรือว่าผมไม่เคยเหยียบมิดแช่ๆกับเจ้า CA18 มากสุดก็แค่170 ซึ่งรอบก็ยังไม่สูงมาก เพราะรถคันเก่ามันบอดี้ม่ไหวแล้ว แต่ปัญหาของมันจริงๆคือ ยางบวมครับ ทั้งนิ่ม ทั้งบวม ทั้งเปื่อย เจอกับตัวเอง ถอดถังมาเปลี่ยนปั๊มติ๊ก ซึ่งงว่าพังไปได้ไง เพราะมันเป็นของ R33 ที่วิ่งมาแค่4หมื่นโล ที่ได้มาจากคนแถวๆนี้ ถอดมาเจอยางบวมกระจายครับ อ้อ ใครว่าโซฮอล์ไม่แรง ลวันที่แข่งชนะผมเติมโซฮอล์91 นะครับ
อ้อ เป็นปกติกันอยู่แล้วนะครับ ของบอรืดเรา ถ้าผิดก้แก้กันให้กันนะครับ หากของผมผิด เพื่อนๆก็จะแก้ให้กันครับ เป็นการเสริมข้อมูลให้กันครับ
ถูกต้อง บางทีก็เสริมกันไปเสริมกันมา ใครรู้อะไรก็เอามาแชร์กัน ยาวกันไปจนตาลาย... ส่วนเรื่อง "การกัดกร่อนกับวัสดุที่เป็นยาง" อันนี้เรื่องจริงครับ ถ้าจะใช้ก็ต้องเปลี่ยนพวกท่อยาง ซีลยางต่างๆ ใหม่ อย่างอื่นก็ไม่น่ามีอะไรครับ...
จริงๆครับ มันกัดยาง ผมโดน ยางซีลหัวฉีดยกชุด พันกว่าๆ <==เปลี่ยนทีเหงื่อตก เปลี่ยนลำบากด้วย แล้วก็ ท่อยางระบบจ่ายน้ำมันเปื่อย ยกชุดอีกเช่นกัน แต่รถรุ่นใหม่ๆเค้าใช้วัสดุที่รองรับโซฮอลอยู่แล้วครับ ก็มีแต่เครื่องโมเดลเก่าๆที่ต้องระวังกันหน่อย