"ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CIC)" ได้ฤกษ์เปิดแทร็กกับ "ซูเปอร์ จีที" ต้นตุลานี้ รายการแข่งชั้น

การสนทนาใน 'Race track in Thailand' เริ่มโดย News, 16 กันยายน 2014

โดย News เมื่อ 16 กันยายน 2014 เมื่อ 10:42
  1. News

    News Active Member Super Moderator

    1,007
    3
    38
    [​IMG]

    ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต : Chang International Circuit (CIC) ได้ฤกษ์ระเบิดความยิ่งใหญ่กับสนามแข่งรถยนต์มาตรฐานสากล ระดับ FIA เกรด 1 ประเดิมด้วยการแข่งขันระดับโลกรายการแรกในเมืองไทยอย่าง ซูเปอร์ จีที ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคมนี้ ขณะที่รายการแข่งชั้นนำทั้ง ไทยแลนด์ ซูเปอร์ ซีรีส์, โปร. เรซซิ่ง ซีรีส์ ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ, ทรูวิชั่นส์ บ็อบบี้ ฮันเตอร์ ซูเปอร์วัน เรซ, โตโยต้า มอเตอร์สปอร์ต จ่อคิวลงแทร็กเพียบ ก่อนจะยกดับความมันเร้าใจกับรายการแข่งขันระดับโลกทั้งรถยนต์ทางเรียบและรถจักรยานยนต์

    [​IMG]

    สำหรับพิธีเปิดตัว ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต : Chang International Circuit (CIC) ซึ่งเป็นสนามแข่งรถยนต์มาตรฐานสากล ระดับ FIA เกรด 1 อย่างยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากบริษัทเอกชนชั้นนำของเมืองไทย ประกอบด้วย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด บริษัท ฮอนด้า ออโต้โมบิล ประเทศไทย จำกัด บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด โรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย จำกัด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด และบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

    [​IMG]

    นายเนวิน ชิดชอบ ประธานที่ปรึกษาโครงการ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต : Chang International Circuit (CIC) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ได้เริ่มโครงการก่อสร้างสนามแข่งรถ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ขึ้นมาในปี 2013 ขณะนี้คืบหน้าไปแล้วกว่า 90% แม้จะเริ่มต้นโครงการด้วยสนามระดับ 2 ของเอฟไอเอ 2 รองรับการแข่งขันรถยนต์สูงสุดคือ ฟอร์มูล่า 3 (Formula3) แต่หลังจากนั้นได้ขยับขยายแผนงานเกรด 1T ซึ่งสามารถรองรับการทดสอบรถแข่งฟอร์มูล่าวันได้ ล่าสุดมีการปรับโครงการก่อสร้างแทร็กให้เป็นสนามระดับ FIA เกรด 1 และหากก่อสร้างเสร็จจะสามารถรองรับการแข่งขันสูงสุดคือ ฟอร์มูล่าวัน ส่วนฝั่ง FIM หรือสหพันธ์กีฬาแข่งรถจักรยานยนต์โลกยังคงยึดระดับสูงสุดที่เกรด A รองรับสูงสุดคือโมโตจีพี

    [​IMG]

    สนาม ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CIC) ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 2,000 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ มีระยะทางต่อรอบ 4.554 กม. ทิศทางการวิ่งแบบตามเข็มนาฬิกา ประกอบด้วยจานวนโค้งทั้งสิ้น 12 โค้ง ขวา 7 โค้ง และ ซ้าย 5 โค้ง จุผู้ชมได้สูงสุดถึง 50,000 คน จุดเด่นของสนามคือ ผู้ชมสามารถมองเห็นทุกส่วนของแทร็ก เมื่ออยู่บนแกรนด์สแตนต์ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการชมเกมมอเตอร์สปอร์ต

    [​IMG]

    ไฮไลต์ของแทร็กมีอยู่ 5 จุด คือ ทางตรงยาวระยะทาง 1 กิโลเมตร สามารถทำความเร็วในการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบได้ถึง 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในรถมอเตอร์ไซค์ ซูเปอร์ไบค์ โดยจุดนี้ถือเป็นจุดท้าทายนักขับในการหาจุดเบรกในการแซง

    [​IMG]

    ถัดมาคือโค้ง 4 เป็นโค้งซ้ายความเร็วสูงที่นักขับสามารถเข้าโค้งด้วยความเร็วระดับ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะเดียวกันก็จะต้องต่อสู้กับแรงเหวี่ยงอันมหาศาลในโค้งนี้ ตามด้วยโค้ง 7 เป็นโค้งหักขวา 70 องศา ที่ฝังอยู่ด้วยโค้งเล็กๆ อีก 2 โค้งในจุดนี้ และถือเป็นอีกหนึ่งโค้งความเร็วสูงของ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ซึ่งรถแข่งระดับทัวริ่งคาร์และมอเตอร์ไซค์ซูเปอร์ไบค์ สามารถรักษาความเร็วได้ในระดับ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในช่วงออกจากโค้ง 7 นี้ รวมไปถึงโค้ง 9 และ 10 ที่มีความต่อเนื่องกัน โดยนักขับต้องใช้ไหวพริบอย่างมากในการขับจุดนี้ เพื่อต่อเนื่องไปยังโค้ง 12 โค้งแฮร์พิน หรือ โค้งยูเทิร์นหักศอกขวา 126 องศา ถือเป็นจุดไฮไลต์ของ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CIC) สำหรับการแซงโดยนักแข่งสามารถเลือกเรซซิ่งไลน์ของตัวเองได้ตามความเหมาะสมก่อนจะหาจังหวะแซง

    [​IMG]

    ความพิเศษของ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CIC) ยังรวมไปถึงการออกแบบให้มีบ่อน้ำภายในบริเวณแทร็ก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ขณะเดียวกันยังติดตั้งระบบไฟส่องสว่างมาตรฐานเอฟไอเอ ซึ่งรองรับการแข่งขันกลางคืน หรือ ไนต์เรซ เช่นเดียวกับ ฟอร์มูล่าวัน รายการ สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์ หรือ โมโตจีพี รายการ กาตาร์ กรังด์ปรีซ์ ได้อย่างไร้ปัญหา

    [​IMG]

    นอกจากนี้ยังมีพิตระดับมาตรฐานถึง 30 พิต รองรับความต้องการด้านการทำงานของทีมแข่งทุกระดับ โดยบริเวณด้านบนพิตถูกสร้างเป็นแพ็ดด็อก สำหรับกลุ่มผู้ชมระดับวีไอพี รวมไปถึงชั้นบนสุดที่ถูกสร้างเป็น สแตนด์อีกชั้น เพื่อให้แฟนมอเตอร์สปอร์ตได้สัมผัสการทำงานของทีมแข่งอย่างใกล้ชิด

    [​IMG]

    ภายใต้การก่อสร้างแบบเต็มกำลัง ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CIC) จะถูกเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 4-5 ตุลาคมนี้ ด้วยการแข่งขันระดับโลกรายการแรกในเมืองไทยอย่าง ซูเปอร์ จีที ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากแฟนมอเตอร์สปอร์ตชาวญี่ปุ่น รวมถึงมีการติดตามจากแฟนทั่วโลกนับล้านผ่านการถ่ายทอดสด

    (CIC) เซ็นสัญญากับ จีทีเอ เจ้าของลิขสิทธิ์การแข่งขัน ซูเปอร์จีที ด้วยสัญญา 2 ปี ในปี 2014-2015 นับเป็นการปลุกกระแสให้กับวงการมอเตอร์สปอร์ตเมืองไทยให้ตื่นตัวได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันก็เป็นการปักชื่อของ บุรีรัมย์ ในปฎิทินของการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตระดับโลกด้วย

    ซูเปอร์ จีที มีรูปแบบการแข่งขันแบบมาราธอนใช้ระยะทางเป็นตัวกำหนด ในแต่ละเรซจะดวลความเร็วทั้งสิ้น 300-500 กิโลเมตร ซึ่งการแข่งขันที่จะมีขึ้นที่ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ใช้ชื่อรายการว่า บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซูเปอร์ จีที นับเป็นการเก็บคะแนนสะสมสนามที่ 7 จาก 8 สนามของฤดูกาล 2014 ซึ่งในปีนี้ไทยถือเป็นชาติเดียวที่ได้รับสิทธิ์ให้เป็นเจ้าภาพสาหรับสนามแข่งนอกประเทศญี่ปุ่น

    กติกาของ Super GT ได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 รุ่น คือ GT 300 และ GT 500 ซึ่งจะเป็นการแข่งขันระหว่างค่ายรถญี่ปุ่นและรถยุโรป อาทิ ฮอนด้า NSX, เลกซัส LF-CC และนิสสัน GT-R เฟอร์รารี่ พอร์ช บีเอ็มดับเบิลยู เมอร์เซเดส-เบนซ์ ออดี้ แอสตัน มาร์ติน และลัมบอร์กินี ส่วนความพร้อมด้านความปลอดภัย ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CIC) ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่จะเข้ามาเป็นผู้ร่วมสนับสนุนการแข่งขันบุรีรัมย์ ซูเปอร์ จีที 2014 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคมนี้ โดยจะเข้ามาเป็นผู้ดูแลเรื่องของการรักษาพยาบาลและอุบัติเหตุจากเหตุการณ์ฉุกเฉินในสนามแข่งทั้งหมดในช่วงสัปดาห์ของการแข่งขัน

    ขณะเดียวกัน ยังจัดอบรมติวเข้มกรรมการภาคสนามขั้นพื้นฐาน หรือ MARSHAL สาหรับกีฬาแข่งรถยนต์ทางเรียบจานวนกว่า 500 คน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขันการจัดการอบรม ได้มีการจัดอบรมทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 และ 2 เป็นการอบรมภาคทฤษฎี โดยมีผู้เข้าร่วมโดยประมาณ 500 คน ส่วนครั้งที่ 3 จะเป็นภาคปฏิบัติ สาหรับผู้มี่ผ่านการสอบ ครั้งที่ 1 และ2 เหลือจานวน 130 คน ทำการฝึกร่วมกับกรรมการที่มีประสบการณ์และสถานที่จริง ทั้งในด้านโครงสร้างองค์กรกีฬาแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ ข้อบังคับและโครงสร้างของสนามแข่ง การแบ่งหน้าที่การทำงานของกรรมการ และกฎกติกาความรู้ของการเป็นกรรมการ ซึ่งเป็นการผลักดันให้มีการผลิตบุคลากรมอเตอร์สปอร์ตชาวไทย เพื่อรองรับการแข่งขันระดับโลก

    อย่างไรก็ดี นอกจากการแข่งขัน ซูเปอร์ จีที ในวันเปิดสนามแล้ว ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CIC) ยังมีคิวรองรับการแข่งขันระดับอาเซียนหลายรายการในช่วงปลายปีนี้ได้แก่ เอเชียน เลอ มังส์ ซีรีส์ 2014, ทัวริ่งคาร์ ซีรีส์ อิน เอเชีย รวมถึงรายการจักรยานยนต์อย่าง เอเชีย โรด เรซซิ่ง ด้วย

    [​IMG]

    ส่วนรายการแข่งขันในเมืองไทย ก็มีรายการชั้นนำอย่าง ไทยแลนด์ ซูเปอร์ ซีรีส์, โปร. เรซซิ่ง ซีรีส์ ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ, ทรูวิชั่นส์ บ็อบบี้ ฮันเตอร์ ซูเปอร์วัน เรซ, โตโยต้า มอเตอร์สปอร์ต และอีกหลายรายการที่จ่อคิวเข้าร่วมการแข่งขันที่แทร็กระดับโลกของเมืองไทย

    [​IMG]

    ในปี 2015 (CIC) วางเป้าหมายให้มีการแข่งขัน 35 เรซ ตลอดทั้งปี โดยข่าวดีสำหรับคอความเร็วชาวไทย คือ จะมีรายการระดับโลก 4 รายการมาแข่งขันที่นี่ ที่ยืนยันชัดเจนคือ บุรีรัมย์ ซูเปอร์ จีที ขณะที่ความเป็นได้สำหรับรายการอื่นฝ่ายบริหารเล็งไปที่การแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก หรือแม้กระทั่งรถยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก
     

ความคิดเห็น

การสนทนาใน 'Race track in Thailand' เริ่มโดย News, 16 กันยายน 2014

    1. News
      News
      รูปภาพเพิ่มเติมจากเว็บไซต์เรซซิ่งเว็บ
      [​IMG]

      ส่วนหนึ่งสื่อมวลชนที่มาลงทะเบียนร่วมงานในครั้ง
      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      ห้องควบคุมงานแข่ง มูลค่าเกือบห้าร้อยล้านบาท
      [​IMG]

      นั่งรถตู้สำรวจแทร็ค
      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      มีบ่อน้ำตรงกลาง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ ไม่ให้อุณหภูมิร้อนจนเกินไป
      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      สาธิตวิธีช่วยเหลือนักแข่งจากอุบัติเหตุในสนาม
      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      นำส่งนักแข่งที่บาดเจ็บไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดด้วยเฮลิคอปเตอร์
      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      คนงานกำลังวัดความเรียบของพื้นผิวแทร็ค
      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      ทีมงานได้ร่วมถ่ายรูปกับคุณ เนวิน ชิดชอบ ประธานที่ปรึกษาโครงการ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต
      [​IMG]

      ทีมงานได้ร่วมถ่ายรูปกับคุณ คุณตนัยศิริ ชาญวิทยารมณ์ กรรมการผู้อำนวยการโครงการ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต
      [​IMG]

      ปิดท้ายด้วยพื้นที่ก่อสร้างสนามแดร็กทางตรงประมาณ 600 เมตร และยังสามารถเชื่อมต่อทางตรงผ่านในสนามเซอร์กิตอีกเกือบ 1 กิโลเมตรอีกด้วย กำหนดเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้
      [​IMG]

      คลิปวิดีโอทดลองวิ่งรอบแทร็คจาก Super GT

แบ่งปันหน้านี้