VALVOLINE น้ำมันเครื่อง สังเคราะห์ 100% ดีอย่างไร ฟังจากปากกูรู พี่จุ๊บ ชนธิป อดีตผจก.ศูนย์บริการ HK

การสนทนาใน 'Review' เริ่มโดย News, 18 กรกฎาคม 2013

โดย News เมื่อ 18 กรกฎาคม 2013 เมื่อ 22:53
  1. News

    News Active Member Super Moderator

    1,005
    3
    38
    โดยปกติ ผมส่วนตัวแล้ว ผลิตภัณฑ์ VALVOLINE ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมานาน ไม่ใช่น้ำมันเครื่อง แต่เป็นน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้าย โดยใช้มานาน ตั้งแต่อยู่ในวงการรถแรงมาสิบกว่าปี ด้วยคุณภาพที่ดี คุ้มเกินราคา และยังมีค่าความหนืดรองรับตามการใช้งานให้เหมาะสม โดยไม่เคยพบปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ของยี่ห้อนี้เลย

    น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ VALVOLINE ที่ผมรู้จัก เมื่อหลายปีมาแล้ว เหมือนไม่มีอะไรโดดเด่นเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดบ้านเรา ทั้งๆที่ชื่อเสียงของตัวมันเองในตลาดต่างประเทศ ทั้งทีมแข่งที่ VALVOLINE เป็น Sponsor เอง ก็ค่อนข้างจะโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันรายการดังๆ อย่าง NASCAR หรือ WTCC ดังนั้น มันต้องมีดีอะไรบ้างล่ะน่า

    Benzene
    [​IMG]

    [​IMG]

    น้ำมันเครื่องโดยส่วนมากจะแยกเป็น น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล โดยน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เบนซิน ที่มาถึงมือผม เป็นค่าความหนืด SAE 5W30 Full Synthetic มาตรฐาน API-SN ซึ่งเป็นตัวล่าสุดเพิ่งประกาศใช้เมื่อ ตุลาคม 2010 ถือว่าใหม่มากเมื่อเทียบกับน้ำมันเครื่องยี่ห้ออื่นๆในบ้านเรา โดยคุณสมบัติเด่นๆ ของAPI-SN ที่เหมาะกับบ้านเรา คือ ปกป้องเครื่องยนต์ที่ใช้กับ เชื้อเพลิง ประเภท Gasohol หรือ เบนซินที่ผสม Ethanol นับว่า ทาง Valvoline น่าจะทำการบ้านมาพอควร นอกจากนั้น ยังช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น โดยมีมาตรฐาน ILSAC GF-5 มาด้วย

    [​IMG]

    [​IMG]

    เมื่อมาถึงแล้ว เพื่อจะได้ลองให้รู้กันไปว่าดีจริงหรือไม่ ผมเตรียมรถทดลอง สามคัน เนื่องจาก ค่าความหนืดที่ได้มา เหมาะสมกับรถสมัยใหม่บ้านเรา จึงทดสอบกับสามคันสามยี่ห้อคือ คันแรก HONDA Jazz VTEC A/T ใช้งานมาแล้วประมาณ 100,000 กิโลเมตร ลักษณะการใช้งาน วิ่งจากอ่อนนุช ไปทำงานสุขุมวิท 39 ทุกวัน, คันที่สอง SUZUKI Swift 1.5 A/T ใช้งานมาแล้วประมาณ 56,000 กิโลเมตร ใช้งานวิ่งทางยาวๆ จากบางเขน มาทำงานสุวรรณภูมิ และคันที่สาม FORD Fiesta 1.5 A/T รถใหม่ป้ายแดง ใช้งานมายังไม่ถึงหนึ่งหมื่นกิโลเมตร วิ่งจ่ายกับข้าวละแวกบ้านเป็นหลัก ทั้งสามคัน ใช้น้ำมันเบนซิน Gasohol E10

    สรุปว่า Honda เจ้าของแจ้งกลับมาว่า หลังจากที่เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ของ Valvoline 5W30 อาการที่เห็นได้ชัดคือ เข็มวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงตกช้ากว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด เครื่องยนต์เดินเบาได้เรียบและนิ่ม เสียงเครื่องยนต์ เหมือนจะเงียบขึ้น อัตราเร่งและออกตัว ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่ชอบคือเหมือนประหยัดขึ้นในขณะที่วิ่งดีขึ้น

    ส่วน Suzuki เจ้าของวิ่งทางยาวๆ แต่ไม่ได้ขับเร็ว บอกว่า สิ่งที่ประทับใจในน้ำมันเครื่องตัวนี้คือ เครื่องเงียบขึ้น (คันที่สองแล้วที่ตอบเหมือนกัน) อัตราเร่งเหมือนจะดีขึ้น แต่เนื่องจากขับรถไม่เร็ว จึงบอกไม่ถนัดนัก แต่การประหยัด รู้สึกได้ว่าประหยัดขึ้นแน่นอน

    คันที่สาม Ford ผู้หญิงใช้ จ่ายตลาด บอกว่า ตอนเช้าสตาร์ทรถเหมือนเครื่องเรียบขึ้น สตาร์ทติดง่ายขึ้น การสิ้นปลืองตอบไม่ได้เพราะวิ่งระยะทางสั้นๆ อัตราเร่ง เหมือนคันเร่งมันเบาๆ เหยียบน้อยๆ รถก็จะไป ไม่ต้องกดคันเร่งลึกๆ

    จากทั้งสามคัน น่าจะสรุปได้คร่าวๆว่า น้ำมันเครื่อง Valvoline Syn Power 5W30 ใช้แล้วเครื่องเงียบ ทำงานดีขึ้น เนื่องจากเครื่องลื่นขึ้น น้ำมันเครื่องทำงานเร็วเนื่องจากค่า SAE ตัวหน้าที่น้อย ทำให้คงค่าความหนืดไม่ให้หนืดมากเกินไปที่อุณหภูมิต่ำๆ ทำให้น้ำมันเครื่องไหลเวียนในระบบได้เร็วขึ้น ลดการสึกหรอขณะสตาร์ท และไม่เปลี่ยนค่าความหนืดจนใสเกินไป เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นตามสภาวะการทำงาน ทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ไม่ตกลงและนอกจากนั้น น้ำมันเครื่องตัวนี้ รองรับการใช้งานกับเชื้อเพลิง Gasohol ที่รู้กันว่า สามารถชะล้างน้ำมันเครื่องที่เคลือบกระบอกสูบได้ แต่น้ำมันเครื่องตัวนี้ ได้รองรับการใช้งานไว้แล้ว ตามมาตรฐาน API-SN จึงมั่นใจได้ว่า การป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์ สามารถทำงานได้เต็มที่ และนอกจากนั้น ยังใช้งานได้นาน ต้านทานการเกิดโคลนน้ำมันเครื่อง จึงมั่นใจได้ว่า ตลอดอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% ตัวนี้ น่าจะทำหน้าที่ต่างๆของน้ำมันเครื่องที่ดีไว้ได้

    Diesel
    [​IMG]

    [​IMG]

    มาทดลองกับน้ำมันเครื่องดีเซลดูบ้าง ตัวที่มาถึงมือผม คือ Valvoline DIESEL SYNTHETIC ซึ่งมีข้อความต่อท้ายไว้ว่า FULLY SYNTHETIC WITH PAO ยิ่งทำให้น่าสงสัยว่า มันคืออะไร สำหรับค่าความหนืด ที่ได้มาคือ SAE 5W-30 ดังนั้น ผมจึงเลือกทดสอบกับเครื่องยนต์ดีเซล คอมมอนเรล

    เหมือนกับเบนซิน ผมเลือกตัวอย่างสามคัน คันแรก TOYOTA TIGER D4D 2.5 วิ่งมาแล้วประมาณ 350,000 กิโลเมตร ใช้งานประมาณวันละ 70-80 กิโลเมตร ลักษณะการใช้งานไม่เน้นบรรทุก แต่วิ่งส่งนักเรียนในถนนลาดพร้าว วิ่งเข้าที่ทำงานอ่อนนุช และวนกลับบ้านแถวๆ มีนบุรี การใช้งานมีทั้งทางยาวขับยาวๆ และรถติดสลับหยุดนิ่ง คันสอง TOYOTA FORTUNER 3.0 ใช้งานมาแค่ 100,000 กิโลเมตรต้นๆ เจ้าของรับราชการ เน้นขับทางยาวๆจากสายไหม มาทำงานแถวๆ บางพลี แทบไม่เจอรถติด ใช้แค่ขับมาทำงานแล้วขับกลับ ส่วนคันที่สาม เป็น Mitsubishi Triton 2.5 เจ้าของร้านอะไหล่มือสอง แถวบางพลี วิ่งมาแล้วประมาณ 100,000 กิโลเมตรเช่นกัน ลักษณะการใช้งานคือ วิ่งส่งอะไหล่ทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล บรรทุกตั้งแต่อะไหล่ชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงเครื่องยนต์ สี่สูบ หกสูบพร้อมเกียร์ น้ำหนักไม่ต่ำกว่า สองร้อยกิโลกรัมและวิ่งทำเวลาเพราะเน้นส่งเยอะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    มาดูน้ำมันเครื่องที่มาถึงมือ นอกจากค่าความหนืด SAE 5W-30 แล้ว มาตรฐานที่ได้คือ API CI-4 ซึ่งประกาศใช้เมื่อ ตุลาคม 2002 ใหม่ล่าสุดขณะนี้ มาตรฐานของตัวนี้คือ ต้านทานการเกิดกรด ที่จะกัดกร่อนชิ้นส่วนภายในของเครื่องยนต์ ที่เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันดีเซล คงค่าความหนืดให้คงที่ไม่ว่าจะอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ รักษาความสะอาดของเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดเขม่า ด้วยเทคโนโลยีของ Valvoline เองที่ใช้ชื่อว่า DPT Dispersive Polymer Technology ต้องสามารถต้านทานการสึกหรอ ที่เกิดจากการขัดสีของชิ้นส่วนต่างๆ โดยเฉพาะชุดขับเคลื่อนวาล์ว รักษาความสะอาดบริเวณลูกสูบและร่องแหวน และคงความหนืดไว้ได้ตลอดอายุการใช้งาน และที่เหนือกว่ามาตรฐานที่ระบุมาคือ ประหยัดกว่าน้ำมันเครื่องชั้นนำทั่วไป ลดการกินน้ำมันเครื่อง ลดควันดำและมลพิษ ทนความร้อนสูงเหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคอมอนเรล ที่มีระบบอัดอากาศ หรือ เทอร์โบชาร์จเจอร์ เครื่องเดินเรียบ และอื่นๆ อีกมากมาย

    สรุป สำหรับตัวอย่างคันแรกToyota Tiger D4D ที่เห็นได้ชัดคือ เจ้าของบอกว่าหลังจากเปลี่ยนมาใช้ Valvoline สิ่งแรกที่สัมผัสได้คือ เครื่องเงียบขึ้นจริงๆ เสียงก๊อกแก๊กตอนสตาร์ทครั้งแรกแทบจะไม่ได้ยิน เข็มน้ำมันตกช้าลงอย่างเห็นได้ชัด น่าจะประหยัดขึ้นแน่นอน อัตราเร่งดีขึ้น กดคันเร่งแซงได้ง่าย ไม่ต้องเชนเกียร์ช่วย ควันดำตอนลากรอบลดลงเมื่อมองผ่านกระจกหลัง เพราะได้ตัดตัวกรองไอเสียออกไปนานแล้ว ที่สำคัญและชอบมากคือ เครื่องเงียบและนุ่ม ทำให้รู้สึกเหมือนเครื่องกลับมาเป็นหนุ่มอีก ระดับน้ำมันเครื่องเมื่อเช็คดูก้านวัด ก็ไม่พร่องเลย รู้สึกดีมาก และจะเปลี่ยนมาใช้ Valvoline แน่นอน

    สำหรับฟอร์จูนเนอร์ เจ้าของบอกว่า ส่วนตัว ใช้ Valvoline มาตั้งแต่ ป้ายแดง ไม่เคยใช้น้ำมันเครื่องของทางศูนย์ฯเลย ไม่ว่าจะน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย แต่ เพิ่งเห็นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ บอกแต่เพียงว่า ไม่ผิดหวังเลย เครื่องเงียบ (อีกคนแล้ว) นุ่มและลื่น อัตราเร่งรู้สึกได้ว่าดีขึ้น ส่วนประหยัดไหม ตอบไม่ได้เพราะเป็นคนขับรถเร็วมาก ไม่ค่อยได้ดูเข็มน้ำมันเท่าไร แต่เหมือนๆจะลงช้า ก็คงใช้ Valvoline ไปเรื่อยๆ ถามว่าทำไม ตอบแต่เพียงว่า ไม่กลัวน้ำมันเครื่องปลอม และเชื่อในชื่อเสียงของตัวผลิตภัณฑ์

    รายสุดท้าย รถส่งของด้วยใช้งานด้วย Mitsubishi เปลี่ยนน้ำมันเครื่องเสร็จ โทรมาทันที บอกว่า น้ำมันเคริ่องอะไรเนี่ย รถเหมือนคันเร่งเบา ไม่ต้องกดมาก ก็วิ่งแล้ว ไม่เคยใช้ยี่ห้อนี้เลย มีน้ำมันแบบนี้ด้วยหรือ ที่ชอบมากคือ เสียงเครื่องเงียบแบบเห็นได้ชัด (สามล่ะ) นอกนั้น ไม่ได้ดูเรื่องเข็มน้ำมันเลย ที่แปลกอีกอย่างคือ เวลาเปิดฝากระโปรง เหมือนความร้อนที่แผ่ขึ้นจากเครื่องจะลดลงด้วย แต่แค่นี้ก็ชอบมากแล้ว

    สรุป จากตัวอย่างทั้งสามคัน สิ่งที่ Valvoline ตัวนี้ทำได้ดีคือลดเสียงของเครื่องยนต์ลงอย่างรู้สึกได้ ประหยัดขึ้น แต่น่าจะมาจากการทำงานที่เงียบและสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ และความลื่น ที่ได้จาก โครงสร้างโมเลกุลชนิดพิเศษ Tri-Synthetic ที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Valvoline ทำให้ไม่ต้องกดคันเร่งมาก นอกนั้นควันดำยังลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากคันที่ไม่มีเครื่องกรองไอเสีย แสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานสมบูรณ์แน่นอน ปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีแม้ในขณะที่สตาร์ทครั้งแรก ที่จะเกิดการสึกหรอสูงสุด เพราะเสียงดังที่เกิดตอนสตาร์ทเครื่องลดลงอย่างเห็นได้ชัด ลดความร้อนของเครื่องยนต์อย่างรู้สึกได้ แสดงว่าแม้ในสภาวะอุณหภูมิสูงๆ น้ำมันเครื่องตัวนี้ยังคงคุณสมบัติไว้ได้ดี

    ท้ายสุด จากการรีวิว และทดสอบ ต้องยอมรับว่า น้ำมันเครื่อง Valvoline ทำได้ดีกว่าที่คิดไว้มาก แตกต่างจากยี่ห้ออื่น แบบรู้สึกได้ ทำให้สงสัยตัวเองเหมือนกันว่า ทำไมใช้แต่น้ำมันเกียร์และเฟืองท้าย คงต้องหันกลับมาแนะนำให้ลูกค้าใช้ Valvoline ดูบ้างแล้วครับ

    ชนธิป พฤกษ์ประมูล
    อดีตผจก.ศูนย์บริการ HKS Thailand
    เจ้าของอู่ JuB GaRaGe​
     

ความคิดเห็น

การสนทนาใน 'Review' เริ่มโดย News, 18 กรกฎาคม 2013

แบ่งปันหน้านี้