@ วิวัฒนาการของ March ผู้เปิดตลาดรถเล็ก สู่เทคโนโลยี Eco Car @

การสนทนาใน 'Articles' เริ่มโดย DUKE_68, 2 เมษายน 2011

โดย DUKE_68 เมื่อ 2 เมษายน 2011 เมื่อ 06:06
  1. DUKE_68

    DUKE_68 Well-Known Member Privilege

    6,189
    129
    63
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    นิสสัน มาร์ช (Nissan March) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ นิสสัน ไมครา (Nissan Micra) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) รุ่นหนึ่งที่ผลิตโดยบริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นชื่อ นิสสัน มีรูปทรงแบบ Hatchback (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง) ซึ่งในปัจจุบัน คนไทยหลายๆ คน เริ่มรู้จัก นิสสัน มาร์ช ในฐานะของรถอีโคคาร์ (Ecocar) ที่ประหยัดน้ำมันมาก (ประมาณ 20-25 กิโลเมตรต่อลิตร)

    [​IMG]

    [​IMG]

    ในช่วง ค.ศ. 1973 ลากยาวไปจนถึงช่วง ค.ศ. 1980 ได้เกิดวิกฤติน้ำมันแพงขึ้นรอบหนึ่ง (ไม่ใช่รอบที่แพงอยู่ในปัจจุบันนี้) ผู้ที่ต้องการซื้อรถหลายคนจึงหันไปให้ความสนใจกับรถขนาดเล็ก ประหยัดน้ำนั้น ซึ่งในขณะนั้น นิสสันได้ผลิตรถยนต์ Hatchback ขนาดเล็กมากและประหยัดน้ำมันอยู่แล้วรุ่นหนึ่ง ชื่อว่า นิสสัน เชอร์รี (Nissan Cherry)

    แต่ทว่า นิสสัน เชอร์รี กลับทำยอดขายได้มีดีนักด้วยเหตุผลหลายประการ ทางนิสสันจึงเห็นว่า น่าจะทำรถ Hatchback ขนาดเล็กมากขึ้นมาใหม่รุ่นหนึ่งที่ต้องมีรูปทรงทันสมัย ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่(ในช่วงนั้น) บำรุงรักษาง่าย ขับขี่ง่าย ราคาไม่แพง และประหยัดน้ำมัน

    ในค.ศ. 1978 นิสสันจึงได้จัดตั้งทีมงานพัฒนารถรุ่นดังกล่าว โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า The KX Plan ซึ่งหลังจากทำการพัฒนาได้ 3 ปี ใน ค.ศ. 1981 นิสสันก็เปิดตัวรถต้นแบบรุ่นใหม่ก่อนการจำหน่ายจริง 1 ปี ใช้ชื่อต้นแบบว่า KX-018 แต่ยังขาดชื่อที่เหมาะสมในการจำหน่ายจริง นิสสันจึงได้จัดรายการประกวดตั้งชื่อรถรุ่นใหม่ขึ้น ซึ่งก็มีผลตอบรับดีมาก ภายในระยะเวลาประมาณ 2 เดือนครึ่ง มีผู้ส่งชื่อร่วมประกวดสูงถึง 5.65 ล้านคน แต่ทว่า เมื่อประกาศผลโหวตออกไป ชื่อที่ได้รับการโหวตสูงสุดเป็นอันดับแรกๆ ได้แก่

    1.Pony (118,820 คน)-ซ้ำกับชื่อของรถอีกรุ่นหนึ่งของยี่ห้อ Hyundai (ฮุนได)-ใช้ไม่ได้

    2.Friend (54,152 คน)-เมื่อประกาศผลโหวตออกไป มีกระแสวิพากษ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ควรใช้เป็นชื่อรถ -ใช้ไม่ได้

    3.Lovely (42,929 คน)-เมื่อประกาศผลโหวตออกไป มีกระแสวิจารณ์ว่าชื่อ Lovely ควรเป็นชื่อน้ำยาปรับผ้านุ่ม ไม่ใช่ชื่อรุ่นรถ -ใช้ไม่ได้

    4.Shuttle (40,304 คน)-ซ้ำกับชื่อรถรุ่นหนึ่งของฮอนด้าที่มีขายในญี่ปุ่นขณะนั้น -ใช้ไม่ได้

    5.Sneaker (30,328 คน)-ตามพจนานุกรมแล้ว Sneaker อาจมีหลายความหมาย แต่มีความหมายหนึ่งแปลว่า "รองเท้า" -ใช้ไม่ได้

    6.Rainbow (22,497 คน)-แปลว่า "รุ้ง" ไม่เข้ากับคอนเซปต์ของรถ -ใช้ไม่ได้

    คณะกรรมการการประกวด เห็นว่า ชื่อส่วนใหญ่ที่ถูกส่งมาประกวด ไม่เหมาะสมกับรถอย่างรุนแรง

    แต่หลังจากได้อ่านชื่อที่ถูกส่งมาประกวดทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ตัดสินใจใช้ชื่อในลำดับที่ 164 ของตาราง คือชื่อ March ซึ่งมีคนส่งชื่อนี้มาเพียง 4,065 คน (จาก 5.65 ล้านคน) ซึ่งเมื่อดูความหมายตามพจนานุกรมแล้ว March นอกจากจะแปลว่า "เดือนมีนาคม" หรือ "การเดินสวนสนาม" แล้ว ยังแปลว่า "การมุ่งไปข้างหน้า" หรือ "กรีธาทัพ" ได้อีกด้วย

    ในที่สุด นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ก็ได้เปิดตัวขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1982 เป็นครั้งแรก


    [​IMG]

    รุ่นที่ 1 (ค.ศ. 1982 - 1992)

    นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 1นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 1 ใช้รหัสตัวถังว่า K10 ในการเปิดตัวได้มีการนำ Masahiko Kondou นักแข่งรถ Formula Nippon และเป็น Idol ยอดนิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นในช่วงนั้นมาเป็นพรีเซนเตอร์ ส่วนเครื่องยนต์ที่ใช้ เครื่องยนต์ตัวแรกและดั้งเดิมของมาร์ช K10 คือเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ MA10S 4สูบ SOHC 8วาล์ว 987ซีซี ในการขับขี่บนท้องถนนจริง พบว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก มีอัตราการใช้น้ำมันประหยัดมาก คือ 21 กิโลเมตร/ลิตร และจากการทดสอบพบว่า หากขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมงแล้ว จะสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึง 32.5 กิโลเมตรต่อลิตร ซึ่งในภาพรวมนิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งมีการคิดค้นรุ่นพิเศษลิมิเต็ดเอดิชันออกมาอีกหลายรุ่น จึงได้รับการตอบรับอย่างดี และสามารถทำยอดขายได้ครบ 1 ล้านคันในเวลาเพียง 6 ปีหลังจากเริ่มผลิต และมียอดขาย K10 รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านคัน

    ในช่วงนั้นได้มีการนำมาร์ชรุ่นแรกเข้ามาขายในประเทศไทยด้วย แต่ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ด้วยเพราะมาร์ชในประเทศไทยได้ตัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกออกมากเกินกว่าที่ลูกค้าจะยอมรับได้ มาร์ชในญี่ปุ่นมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากกว่า ดูน่าขับมากกว่า อีกทั้งในช่วงนั้นรถที่คนไทยนิยมมากที่สุด คือรถเก๋งซีดานขนาดเล็ก เช่น มิตซูบิชิ แลนเซอร์, โตโยต้า โคโรลล่า, ฮอนด้า ซีวิค ฯลฯ เพราะมีความคุ้มค่าลงตัวที่สุด (บรรทุกได้หลายคน ใช้ได้ทั้งเป็นรถครอบครัวและรถส่วนตัว และไม่สิ้นเปลืองน้ำมันมากนัก) อีกทั้งคนไทยในยุคนั้นมีทัศนคติไม่ดีต่อรถท้ายกุด ด้วยเกรงว่าผู้โดยสารที่เบาะหลังจะได้รับอันตรายได้ง่ายหากถูกชนท้ายเพราะไม่มีกระโปรงหลังคอยกั้น ทำให้ยอดขาย นิสสัน มาร์ชในประเทศไทยมีเพียง 30 คันต่อเดือนเท่านั้น (ทั่วประเทศ) จนบริษัทนิสสันในประเทศไทยต้องยุติการขายมาร์ชอย่างเป็นทางการลง ใน ค.ศ. 1987 ก่อนที่จะมาเปิดตัวมาร์ชรุ่นที่ 4 อีกครั้งในปัจจุบัน (มีผู้นำเข้ามาร์ชรุ่นที่ 2 และ 3 จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยด้วย แต่ก็มีไม่มากนัก)



    [​IMG]

    รุ่นที่ 2 (ค.ศ. 1992 - 2003)

    นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ใช้รหัสตัวถังว่า K11 ในการออกแบบได้ใช้โปรแกรม CAD มาช่วยในการสร้าง และออกแบบให้มีรูปทรงโค้งมน กลมกลึง ดูเป็นมิตรกว่ารุ่นเดิมมาก นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ CG10DE 4สูบ DOHC 16วาล์ว 987ซีซี เป็นเครื่องรุ่นมาตรฐาน มีระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด กับเกียร์อัตโนมัติ CVT และได้สร้างสถิติอย่างน่าชื่นชม โดยได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่น (Car of the Year Japan) ประจำปี 1992 และเป็นรถรุ่นแรกของญี่ปุ่นที่คว้ารางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของยุโรป (European Car of the Year) ประจำปี 1993 ซึ่งในรายการทีวีซีรีส์ญี่ปุ่นเรื่อง แชมป์เฉือนแชมป์ ตอน World Records ที่ออกอากาศในประเทศไทยในช่วง ค.ศ. 2009 ในการแข่งขันดริฟท์จอดรถ ก็ใช้รถ นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ในการแข่งขัน

    อย่างไรก็ตาม นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ยังมีความปลอดภัยไม่มากเท่าที่ควร จากการทดสอบขององค์การทดสอบความปลอดภัยของยานยนต์ Euro NCAP ได้ประเมินว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 มีความปลอดภัยเพียงระดับ 2 ดาว จาก 5 ดาว



    [​IMG]

    รุ่นที่ 3 (ค.ศ. 2002 - 2010)

    นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 3นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 3 ใช้รหัสตัวถังว่า K12 พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของรูปแบบ B-Platform เปิดตัวใน ค.ศ. 2001 เริ่มการผลิตกันอย่างจริงจังใน ค.ศ. 2002 ตัวถังใหม่มีความโค้งมนมากขึ้น สูงขึ้น และกว้างขึ้น ซึ่งสือมวลชน รวมถึงสถาบันการออกแบบชั้นนำหลายแห่ง ก็ต่างออกมายอมรับว่างานชิ้นนี้มีดีไซน์แตกต่าง ดูเป็นเอกลักษณ์ ด้วยการเน้นการเพิ่มพื้นที่ในห้องโดยสาร การใช้ไฟหน้ารูปทรงแบบดวงตาการ์ตูนบักส์ บันนี รูปทรงรถแบบลู่ลมช่วยลดแรงต้านลมระหว่างการวิ่ง (ค่า Cd.=0.32) เสาหลังคาหลังถูกลดความยาวลงเพื่อลดจุดบอดของสายตาขณะถอยจอด และมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ คือ Keyless Ignition คือจะมีรีโมทกุญแจไว้ให้เจ้าของรถ เมื่อเจ้าของรถพกรีโมทกุญแจเข้ามาในรถ จะสามารถกดปุ่มสตาร์ทรถได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้กุญแจ (เหมือน โตโยต้า ยาริส ในปัจจุบัน)

    เครื่องยนต์เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ CR โดยใช้เครื่องยนต์ CR10DE เป็นรุ่นมาตรฐาน เกียร์ธรรมดาถูกยกเลิกไปในเกือบทุกรุ่น ยกเว้นรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ประเภท CR12DE จะยังผลิตเกียร์ธรรมดาให้เลือกเป็นพิเศษ มีสีตัวถังให้เลือกถึง 12 สี



    [​IMG]

    รุ่นที่ 4 (ค.ศ. 2010 - ปัจจุบัน)

    นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 4นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 4 ใช้รหัสการพัฒนาว่า W02A ภายหลังได้ใช้รหัสตัวถังเป็น K13 เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 2009 และเริ่มผลิตในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 รวมถึงประเทศไทยด้วย หลังจากผลิตนิสสัน มาร์ชรุ่นที่ 1 ในประเทศไทยแล้วล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเมื่อกว่า 20 ปีก่อน นิสสันก็ตัดสินใจผลิตนิสสัน มาร์ชในประเทศไทยอีกครั้ง โดยใช้ชื่อในการโฆษณาว่า "นิสสัน อีโคคาร์" (Nissan Ecocar) ซึ่งจะใช้เครื่องยนต์ 1200 ซีซี 3สูบ ซึ่งสามารถประหยัดน้ำมันได้ไม่แพ้รุ่นก่อนๆ โดยนิสสัน มาร์ช รุ่นใหม่นี้ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อกำหนดรถประหยัดพลังงานสากล (อีโคคาร์) ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้

    1.ประหยัดน้ำมันไม่ต่ำกว่า 20 กิโลเมตรต่อลิตร
    2.ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 120 กรัมต่อกิโลเมตร และได้รับมาตรฐานไอเสียสะอาดระดับยูโร 4
    3.มีความปลอดภัยตามมาตรฐานยุโรป
    4.ใช้เครื่องยนต์ขนาดลูกสูบไม่เกิน 1300 ซีซี สำหรับเครื่องเบนซิน และไม่เกิน 1400 ซีซี สำหรับเครื่องดีเซล
    รถที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอีโคคาร์ ในประเทศไทย จะได้รับผลประโยชน์ในการลดภาษีสรรพสามิตเหลือร้อยละ 17 (รถเก๋งที่ไม่ผ่านเกณฑ์อีโคคาร์ ต้องจ่ายภาษีร้อยละ 30-50)

    ข้อมูลจาก : Wikipedia
     

ความคิดเห็น

การสนทนาใน 'Articles' เริ่มโดย DUKE_68, 2 เมษายน 2011

    1. PAKAN
      PAKAN
      ขอบคุณมากนะครับ เป็นบทความรถยนต์ ที่มีประโยชน์มากๆ
    2. Lailababa
      Lailababa
      เป็นบทความที่น่าสนใจมากค่ะ เห็นในเว็บ iPrice ก็มีหลายบทความเกี่ยวกับรถเหมือนกัน หรือถ้าใครอยากตกแต่งรถเพิ่มเติมก็มีคูปองมากมายใช้เอาไปซื้อได้ในราคาถูกอีก เอาจริง ๆ สมัยนี้ถ้าเสียเวลาเวลาสักนิดหาคูปองดี ๆ ก่อนจ่ายสักหน่อยก็ประหยัดเงินได้เยอะแล้ว ลองทำดูกันนะคะ

แบ่งปันหน้านี้