แฟนเอฟวันควรรู้ "ดาวน์ฟอร์ซ" คืออะไร?

การสนทนาใน 'Formula 1' เริ่มโดย News, 6 มกราคม 2016

< Previous Thread | Next Thread >
  1. News

    News Member Super Moderator

    997
    3
    18
    [​IMG]

    แฟนๆ รถสูตรหนึ่งเคยสงสัยกันไหมครับ ทำไม เรดบูลล์ ที่ใช้เครื่องยนต์เรโนลต์ ซึ่งมีแรงม้าน้อยกว่าชาวบ้านเขาถึง 100 กว่าตัว ถึงได้ทำเวลาไล่ล่า เมอร์เซเดส ที่มีเครื่องยนต์สุดยอดได้ เราลองมองไปที่สภาพผังสนามครับ สนามแข่งเอฟวันไม่ได้มีเพียงแค่ทางตรง การเข้าโค้งให้เร็วเป็นหนึ่งในปัจจัยการทำเวลาต่อรอบให้เร็ว และอะไรคือสิ่งที่ช่วยให้เข้าโค้งได้เร็ว? คำตอบนั้นคือ ดาวน์ฟอร์ซ

    ในการแข่งขันเอฟวันนั้น สิ่งสำคัญสำหรับรถแข่งจะมีหลักๆ 3 อย่าง คือ เครื่องยนต์, ยาง และดาวน์ฟอร์ซ เครื่องยนต์กับยางนั้นเป็นสิ่งที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับ ดาวน์ฟอร์ซ นั้นหลายคนอาจไม่รู้จักและไม่รู้ว่ามันมีหน้าที่สำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า 2 ปัจจัยข้างต้นเลย วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับดาวน์ฟอร์ซ สิ่งสำคัญที่ช่วยยึดรถไม่ให้ปลิวหลุดออกจากโค้งกันครับ

    [​IMG]
    เครดิต : slideshare.net​

    เหตุการณ์ต่างๆ นั้นมันจะมีหลักความจริงของธรรมชาติที่เราไม่อาจหลีกหนีมันได้ หลักการเข้าโค้งของรถแข่งก็เช่นกัน ในการเข้าโค้งนั้นแรงเสียดทานที่พื้นแทร็คจะเป็นตัวดันไม่ให้รถแข่งหลุดออก จากโค้ง แต่เราไม่สามารถหาวัสดุที่เพิ่มแรงเสียดทานได้เหมาะสมมากไปกว่ายางอีกแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องมองย้อนไปที่หลักความจริงของธรรมชาติของแรงเสียดทานกัน ครับ

    แรงเสียดทานนั้นเกิดจากผิวความเสียดทานของวัสดุกับแรงที่กดลงให้วัสดุทั้ง สองแนบกันซึ่งในที่นี้คือ น้ำหนัก แต่เราไม่ต้องการเพิ่มน้ำหนักให้กับรถเพราะนั่นหมายความว่าเมื่อรถเข้าสู่ ทางตรง เครื่องยนต์จะต้องแบกรับภาระเพิ่มในการเร่งให้รถแข่งเคลื่อนที่ วิศวกรจึงได้มองไปที่อากาศซึ่งไหลผ่านตัวรถครับ พวกเขารู้ว่าอากาศนั้นมีแรงกดที่กระทำต่อวัตถุเท่ากันในทุกทิศทาง ดังนั้น พวกเขาจึงได้สร้างอุปกรณ์ที่ทำให้แรงกดอากาศต่อรถแข่งไม่เท่ากัน อุปกรณ์นั้นคือ ปีกหน้า และ ปีกหลัง ของรถแข่งนั่นเอง

    [​IMG]

    หากเราโฟกัสเข้าไปยังด้านข้างของปีก เราจะเห็นว่ามันมีรูปทรงคล้ายหยดน้ำ โดยที่ความยาวส่วนผิวครึ่งบนนั้นมีระยะทางสั้นกว่าความยาวส่วนผิวครึ่งล่าง ระยะทางที่ไม่เท่ากันทำให้อากาศที่ไหลผ่านปีกต้องวิ่งด้วยความเร็วที่ไม่ เท่ากันเพื่อให้ออกไปยังส่วนท้ายปีกพร้อมกันครับ ความเร็วของอากาศด้านล่างปีกนั้นจะเคลื่อนที่เร็วมากกว่าด้านบนปีก นั่นก่อให้เกิดแรงกดอากาศต่ำที่ด้านล่างของปีก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือด้านบนของปีกจะมีแรงกดมากกว่า แรงกดนี้เองที่ช่วยกดรถให้ยึดติดกับพื้นเวลาเข้าโค้ง ซึ่งมันถูกเรียกว่า ดาวน์ฟอร์ซ นั่นเอง

    แรงกดหรือดาวน์ฟอร์ซที่ถูกสร้างขึ้นบนรถเอฟวันนั้นมันมีแรงที่มหาศาลมาก มากถึงขนาดว่าสามารถกดรถแข่งน้ำหนัก 700 กิโลกรัม ให้วิ่งไต่เพดานได้ที่ความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยไม่หล่นลงมาได้เลย ยิ่งรถแข่งสร้างดาวน์ฟอร์ซได้มาก รถก็จะยิ่งเข้าโค้งได้เร็วเพราะรถจะไม่เกิดอาการไถลออกจากโค้ง เหมือนอย่างรถเรดบูลล์ซึ่งเป็นรถที่สามารถสาดโค้งได้เร็วที่สุดบนกริด และความเร็วที่พวกเขาทำได้ในการเข้าโค้งนี่เองที่ช่วยลดข้อเสียเปรียบจากการ ที่เครื่องยนต์เรโนลด์ที่พวกเขาใช้มีกำลังน้อยกว่าคู่แข่ง

    [​IMG]

    เรียบเรียง: Mr.GP
    ที่มา: motorsportlives.com
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้