เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ เรื่องของการเกิดโอเวอร์ฮีทในรถยนต์ซึ่งถ้าจะว่ากันตามจริงแล้วไม่ใช่แค่รถ ยนต์เท่านั้นที่จะโอเวอร์ฮีท รถปิคอัพและอื่น ๆ ที่ใช้ระบบการระบายร้อนด้วยน้ำ โดยมีหม้อน้ำและอาศัยลมเป็นตัวช่วยระบายความร้อน (เช่น พัดลมหม้อน้ำ) โอกาสที่จะเกิดโอเวอร์ฮีทมีเท่าเทียมกันหมด ดังนั้นผู้ใช้รถจำนวนมากในปัจจุบัน จึงให้ความสนใจกับการใช้น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำกันมากขึ้น โดยน้ำยาในท้องตลาดมีจำหน่ายอยู่มากมายหลายยี่ห้อด้วยกัน มีทั้งนำเข้าจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ โดยวัตถุประสงค์หลัก ๆ ของน้ำยานี้ใช้เติมลงในหม้อน้ำเพื่อป้องกันการแข็งตัวและช่วยระบายความร้อน ของน้ำในหม้อน้ำ (ANTIFREEZE & COOLANT) ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีที่ชื่อว่า ETHYLENE GLYCOL เป็นส่วนประกอบ ETHYLENE GLYCOL นั้นมีจุดเดือดสูงกว่าน้ำถึงสองเท่าตัว(197.3 °C) ไม่มีสี มีรสหวาน แต่เป็นพิษ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้ระบายความร้อนของเครื่องบิน ปัจจุบัน ETHYLENE GLYCOL ถูกทำให้จือจางลงใน ANTIFREEZE & COOLANT เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ในรถยนต์ โดยเฉพาะในรถยนต์ใหม่ ๆ ที่ออกมาจากโรงงานนั้น จะมีส่วนผสมของน้ำยานี้อยู่ถึง 50% นั่นหมายถึงถ้าหากว่าหม้อน้ำมีขนาดความจุประมาณ 5 ลิตรก็จะมีน้ำยาผสมมา 2.5 ลิตร โดยเจ้าน้ำยานี้หากผสมกับน้ำในอัตราส่วน 30:70 (ANTIFREEZE & COOLANT 30 %น้ำ 70%) จุดเดือดของน้ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 120 องศาเลยทีเดียว เมื่อ รถยนต์ผ่านการใช้งานไปผู้ใช้มักไม่คำนึงอัตราส่วนเหล่านี้นัก บางคนไม่ทราบเลยด้วยซ้ำ รู้แต่เติมน้ำยา 1 กระป๋อง หรือ 1 ขวด (แล้วแต่การบรรจุของแต่ละยี่ห้อ) ลงในหม้อน้ำเวลามีการเปลี่ยนหม้อน้ำ หรือ เวลามีการเปลี่ยนถ่ายน้ำในหม้อน้ำแค่นั้นก็เพียงพอแล้วในความเป็นจริงนั้น น้ำยาเหล่านี้ไม่ได้ช่วยในการระบายความร้อนเท่าไร แต่ทำให้จุดเดือดของน้ำที่มีน้ำยานี้ผสมอยู่สูงขึ้น น้ำก็เลยเดือดช้าลง ทว่าคุณสมบัติด้านอื่นของน้ำยานี้ที่ต้องยอมรับว่ามีความจำเป็นสำหรับหม้อ น้ำนั้นคือการป้องกันสนิมและ การกัดกร่อน เพราะหม้อน้ำของรถยนต์โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ นิยมทำจากอะลูมิเนียม ซึ่งสามารถเกิดตะกรันและเกิดการกัดกร่อนได้ง่าย สังเกตได้จากการลองถอดท่อยางที่ต่อจากหม้อพักน้ำดูก็ได้ จะพบว่ามีคราบและร่องรอยของการเกิดตะกรัน ในบางคันอาจถูกกัดกร่อนจนผุแหว่ง ซึ่งจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันของหม้อน้ำและทางเดินน้ำ อันจะนำสู่ปัญหาของการระบายความร้อน ทำให้เกิดการโอเวอร์ฮีทได้ ETHYLENE GLYCOL เป็นสารที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หากเกิดการดื่มกินเข้าไปแม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยจะไปออกฤทธิ์ต่อไตทำให้เกิด อาการไตวายและอาจเสียชีวิตได้ แต่เพราะคุณสมบัติหลัก ๆ ที่สำคัญมีความจำเป็นต่อเครื่องยนต์ทำให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยที่คุณสมบัติในการป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อนนั้นสามารถครอบคลุม ได้หมด แม้ว่าชุดระบายความร้อนจะประกอบไปด้วยอะลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ หรือแม้แต่ตะกั่วบัดกรีก็ตาม เมื่อมีทั้ง ประโยชน์และอันตรายควบคู่กัน การเก็บรักษาจึงควรระมัดระวัง โดยจัดเก็บให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง เพราะอุปกรณ์บำรุงรักษารถยนต์นั้นมักถูกมองว่าไม่มีอันตรายซึ่งยังไม่ถูก ต้องนัก ยังมีสารอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ETHYLENE GLYCOL และกำลังถูกพัฒนาเพื่อที่จะนำมาใช้ทดแทน ETHYLENE GLYCOL นั่นคือ PROPYLENE GLYCOL เพราะเหตุว่ามีอันตรายน้อยกว่านั่นเอง ในอนาคตเราคงมีทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับน้ำยาระบายความร้อนหม้อน้ำ น้ำยา ระบายความร้อนหม้อน้ำ (ANTIFREEZE & COOLANT) ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเครื่องยนต์อยู่ดี และเมื่อรับรู้ถึงอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้ ในการใช้ครั้งต่อไปก็เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นกว่าเดิมนะครับ หน้าที่หลักๆขอน้ำยาหม้อน้ำคือ 1ป้องกันน้ำในระบบแข็งตัวเป็นน้ำแข็งในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ (เมืองนอกที่อากาศติดลบทั้งหลาย) 2เพิ่มจุดเดือดน้ำ คือชลอการระเหยของน้ำในระบบหล่อเย็นเวลาเครื่องยนต์ร้อนจัด (ข้อนี้สำหรับเมืองร้อนด้วย) เพราะเวลาน้ำเดือดน้ำจะระเหยกลายเป็นไอ ลองต้มน้ำในหม้อดูสิครับ น้ำเปล่าเริ่มระเหยเป็นไอที่ 100C ํ ถ้าผสมน้ำยาก็จะระเหยที่ 105 / 110 / 115 องศาเซลเซียส ....ตามสัดส่วนการผสม... 3ป้องกันการเกิดสนิม ตะกอน พอมีสนิมก็ผุ กร่อน.มีตะกอน.(ลดความเสี่ยงในการอุดตันในหลอดน้ำที่รังผึ้งหม้อน้ำ) 4หล่อลื่นปั๊มน้ำและซีลปั๊มน้ำ และวาล์วน้ำ (อันนี้เกี่ยวเนี่องจากข้อ3 เพราะไม่มีตะกรัน ตะกอน) น้ำยาหล่อเย็น บางยี่ห้อ เป็นน้ำยาหล่อเย็นแบบผสมสำเร็จรูป ซึ่งมีอัตราความเข้มข้นในอัตราส่วน 50:50 จึงมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนสูง เหมาะกับสภาพอากาศและสภาพการจราจรในเมืองไทย ที่เครื่องยนต์มีการทำงานอยู่ในอุณหภูมิที่สูงอยู่ตลอดเวลา และต้องการการระบายความร้อนเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปควรจะใส่ แต่... ถ้าเดิมไม่เคยใส่ หม้อน้ำอาจจะมีตะกรัน หรือตามดอยู่แล้ว พอใส่ไปมันจะไปกัดทำให้รั่วซึมขึ้นมาได้ เอาเป็นว่าถ้าไม่เคยใส่ ก็ไม่ต้อง ถ้าเดิมใส่อยู่ก็ใส่ต่อไปครับ
ใส่ย่อมดีกว่าไม่ใส่ (เวลารั่วจะเห็นคราบชัดเจน) ถามว่าจำเป็นมั๊ย ก็แล้วแต่เจ้าของรถ เคยเจอบางคัน sr20det ก็ไม่เคยใส่เลย
ตามนี้เลยครับ.....ตอนแรกรถผมน้ำหายวิ่งประมาณ300โลน้ำในหม้อพักยุบไปประมาณ1-2นิ้ว วิ่งมาเป็นปีเลยอยากเติมน้ำยาเขียวยี่ห้อหนึ่งที่มี ETHYLENE GLYCOL ลงไป ที่ไม่ใช่น้ำใส่สี(มีบางยี่ห้อแค่ใส่สีอ่ะครับ)เพื่ออยากจะรู้ว่ามีรอยรั้วตรงไหน...หลังจากใส่แล้วทีนี้น้ำในหม้อพักหายหมดเลยแถมมีน้ำมันเครื่องปนในหม้อน้ำด้วย ก่อนใส่ก็มีคราบเหมือนไขมันลอยนิดๆอยู่แล้วแต่ไม่เอะใจ ใส่เสร็จรู้เลยว่าปะเก็นน่าจะข้ามเห็นจากน้ำมันเครื่องในหม้อน้ำเพียบเลย + อ้างถึง ตอบกลับ