ว่าด้วยเรื่องของค้ำโช๊ค (Stress Bar Theory)

การสนทนาใน 'DAMS' เริ่มโดย Yakumo, 1 กรกฎาคม 2007

< Previous Thread | Next Thread >
  1. Yakumo

    Yakumo New Member Moderator

    580
    7
    0
    ทำไมต้องใส่ "สตรัทบาร์" หรือค้ำโช๊ค

    เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับแชสชีส์, ซุ้มล้อ, และก็ตัวถังรถ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเคลื่อนนี้ แค่เพียงให้อยู่นิ่งๆ ก็พอแล้วโดยก็จะช่วยเพิ่มให้รถทรงตัวได้ดี และก็ยังช่วยให้เจ้าของรถ ยืดได้อีกหน่อยเวลาเปิดฝากระโปรงรถขึ้นมา

    หลักการ

    เนื่องจากระบบกันสะเทือนในปัจจุบันก็ใชคอยล์สปริงและโช๊คอัพทำหน้าที่รับน้ำหนักของรถและดูดซับแรง
    กระทำจากพื้นถนน

    ขจัดจุดอ่อน

    จากการใช้งานซึ่งได้มีการปรับแต่ง ความแข็งของสปริงและโช๊คอัพเพื่อที่จะรับกับความแรงหรือ
    ความเร็วขอรถที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ไปปรับแต่งมานั้น ก็จะทำให้ ที่เบ้าของโช๊ครับแรงกระทำ
    มากขึ้นด้วยและจากการออกแบบตัวถังรถที่ให้มีการให้ตัวได้ในการเข้าโค้งแรงๆหรือการบิดตัวของ
    ตัวถัง จึงทำให้คนขับไม่สามารถรับรู้ได้ 100% เนื่องจากแรงกกระทำศูนย์เสียไปกับการบิดตัวของ
    ตัวถัง ดังนั้น สตรัทบาร์นี้แหละที่จะมาช่วยทำให้การบิดตัวของตัวถังลดลงและทำให้การทรงตัว
    ของรถดีขึ้น

    จุดคุ้มค่า

    การใส่สตรัทบาร์ไม่ได้ทำให้รถดีขึ้นมากมายนะครับ แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆด้วยเช่น
    โช๊คอัพ,สปริงและอื่นๆ อีกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นศูนย์ล้อ หรือบูทยางในจุดต่างๆ
    แต่เจ้าสตรัทบาร์นี้โดยหน้าที่คือรักษาให้ซู้มล้ออยู่กับที่ลดการบิดตัว จะทำให้รู้สึกถึงความ firm
    ขึ้นมาหากมีการติดตั้งสตรัทบาร์เข้าไปเสิรมไว้ จะทำให้รู้สึกถึงประสิทธิภาพของ ระบบช่วงล่าง
    ที่ได้ปรับแต่งมาชัดเจนขึ้นเนื่องจากซู้มล้อที่จะไม่บิดตัว โดยในจังหวะที่เข้าโค้งด้วยความรุนแรง
    จะรู้สึกถึงความนิ่งกว่าหากเทียบกับไม่ใส่ซึ่งบางทีก็จะมีมาจากโรงงานเลย เช่นชอง DC5 หรือ EP3
    ซึ่งเป็นตระกลูของ Type R ก็ได้มีการเสริมมาให้แล้ว แต่อย่างไงซะก็ไม่หล่อเท่าที่เราหาจาก
    อุปกรณ์ตกแต่ง Aftermaket เช่นของพวก Spoon, DC-Sport, หรือ Cusco เป็นต้น ซึ่งก็ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติและหน้าทีเดี่ยวกันแต่ที่แตกต่างก็คือความสวยงามและคุณภาพ
    ของวัสดุที่ใช้สร้างชิ้นงาน ซึ่งก็จะออกแบบให้มีน้ำหนักเบามากๆแต่ยังคงไว้ซึ่งความแข็งแรงเพื่อลดภาระ
    เรื่องของน้ำหนักของตัวรถลง

    วัสดุที่ใช้สร้างสตรัทบาร์

    ในตลาดของอุปกรณ์ตกแต่ง After market นั้นวัสดุที่เลือกมาใช้สร้าง สตรัทบาร์ก้มีด้วยกันหลายอย่าง
    ไม่ว่าจะเป็น อลูมิเนียมอัลลอย,โครโมลี่,คาร์บอนไฟเบอร์, แม็กนีเซียม และ สุดท้ายก็ไม่พ้นไทเทเนียม
    เนื่องจากต้องการให้น้ำหนักเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมกับว่ามีความแข็งแรงคงทนควบคุ่กันไปด้วย

    รูปแบบจุดยึด

    ก็มีด้วยกันหลายแบบไม่ว่าจะเป็น 2,3,หรือ 4 จุด

    การเลือกสตรัทบาร์ให้เหมาะสมกับรถ

    ก็ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนแต่ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการเลือกใช้งาน แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเลือก
    สตรัทบาร์ที่มีลักษณะแกนกลางเป็นแนวตรงเพราะว่าจะมีความแข็งแรงที่สูงกว่า แต่ในความเป็นจริง
    ก็อาจจะไม่สามารถเลือบแบบนั้นได้เพราะว่าอาจจะติดกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่ภายในห้องเครื่องก็จึงต้อง
    เลือกให้เหมาะสม

    สำหรับ Honda Civic New Dimension ถ้าหากไม่ได้เปลี่ยนกรองเปลือยหรือว่าเปลี่ยนแต่สามารถใส่สตรัทบาร์แบบแกนตรงได้ก็จะเหมาะที่สุด
    เช่นของ Spoon ที่ทั้งเบาแล้วก็แข็ง ซึ่งเป็น Spec ของ DC5

    ข้อเสียของการใช้สตรัทบาร์ก็มีนะ

    จากเหตุที่ว่าสตรัทบาร์จะลดการบิดตัวของตัวถังให้ลดลง ก็จะทำให้ แรงไปกระทำต่อส่วนอื่นๆ
    เพิ่มขึ้นด้วยเช่นพวก บูทยาง และโซ๊คอัพ และรวมไปถึงล้อด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เมื่อลงหลุมแรงๆ
    ก็อาจจะเสี่ยงเพิ่มที่ทำให้ล้อดุ้งหรือคดได้มากขึ้น อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของล้อที่เลือกใช้กันด้วยนะครับ
    เพราะว่าการซับแรงจากตัวถังน้อยลงและยิ่งใช้ยางซีรี่ส์ต่ำๆ ด้วยนะครับ ไม่ต้องบอกก็คงพอจะเดากันออก
    ว่าความกระด้างก็จะเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ มันก็คงจะหนีไม่พ้นที่ต้องแลกละครับ ต้องการ firm ก็ต้องได้
    กระด้างเพิ่มด้วยครับ ซึ่งจากเหตุผลพวกนี้ ก็อาจจะทำให้หลายคนไม่อยากใส่หรือทำช่วงล่างให้ firm ก็เป็นได้ครับ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกของแต่ละคน นะครับแต่ผมคนหนึ่งล่ะเลือกที่จะใส่เพราะว่า
    มันมั่นคงขึ้นรู้สึกได้จริงๆ เมื่อเทียบกับรถเดิมๆ แต่ก็นั้นแหละความกระด้างของช่วงล่างก็คงหนีไม่พ้น

    ข้อมูลที่พิมพ์ให้อ่านกันนี้ผมได้มาจากการอ่านแล้วก็นำมาย่อยเป็นองค์ความรู้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผมทำความ
    เข้าใจ เองซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้นะครับ ดังนั้น ทุกท่านที่อ่านควรจะนำข้อมูลไปติดต่อก่อนตัดสินใจ
    นะครับ
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้