ช่วงหมดฝนนี้ เราจะไปเกาะช้างกัน... ให้เพื่อนๆเตรียมตัวเตรียมตังไว้นะครับ หลังจากปีที่แล้วไปประจวบ เกาะทะลุกัน .......จะได้มาเพลินกาน มีใครไปบ้างก็บอกไว้ด้วยนะ โอ้..ทะเล แสนงาม
ข้อมูลทั่วไป อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยในท้องทะเลอ่าวไทยกว่า 40 เกาะ วางตัวเรียงรายเป็น รูปยาวรีคู่ขนานไปกับชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด โดยเริ่มต้นที่เกาะช้างน้อย เกาะช้าง เกาะคลุ้ม เกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะไม้ซี้ และหมู่เกาะรัง ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 197 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 45 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ใน ท้องที่ตำบลเกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง และตำบลเกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ประมาณ 650 ตาราง กิโลเมตร โดยเป็นพื้นน้ำประมาณ 458 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 70 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ เกาะช้าง เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ตและเกาะสมุย อยู่ทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ของอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ห่างประมาณ 8 กิโลเมตร ยาวจากเหนือลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 14 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 429 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนตลอดเกือบทั้งเกาะ เช่น เขาล้าน เขาจอมปราสาท เขาคลองมะยม เขาสลักเพชร มียอดเขาใหญ่ของเทือกเขาสลักเพชรเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด มีความสูง 743 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนบริเวณที่ราบมีความสูงตั้งแต่ 10-700 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะจะมี หาดโคลนและหินเป็นหาดหน้าแคบ ส่วนหาดทางด้านตะวันตกจะเป็นหาดทรายและหิน โครงสร้างทางธรณี ส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นหินอัคนีในยุคไทรแอสซิก มีช่วงอายุ 230-195 ล้านปีมาแล้ว แม่น้ำลำธารในเกาะช้างเป็นคลองสายสั้น ๆ ที่น้ำทะเลเข้าถึง ต้นคลองเป็นห้วยน้ำจืดไหลมาจากน้ำตก ซึ่งเป็นสภาพหุบเขาหลังอ่าวต่างๆ ไหลแทรกไปตามบริเวณป่าชายเลน แล้วไหลลงสู่ทะเลรอบๆเกาะ ที่สำคัญ ได้แก่ คลองสน คลองมะยม คลองค้างคาว คลองบางเบ้า คลองพร้าว คลองนนทรี และคลองไชยเชษฐ์ เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้ยังก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกธารมะยม น้ำตกคลองพลู น้ำตกคลองนนทรี น้ำตกคีรีเพชร และน้ำตกคลองหนึ่ง พืชพรรณ * สัตว์ป่า พืชพรรณธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้น พันธุ์ที่สำคัญได้แก่ ยางนา ยางแดง กระบาก ตะเคียนทอง กระบก พันจำใบใหญ่ ทะโล้ ขนุนนก พญาไม้ พะอง มะพลับ เปล้า ก่อกระดุม ก่อขี้หมู หลาวชะโอน เต่าร้าง หวายปอก หวายโสม หวายเดา หวายแดง แสลงพัน เตยย่าน กล้วยไม้ ห่อข้าวสีดา หัวว่าว ไผ่ หมากงาช้าง เร่ว กระวาน กระชายป่า และเปราะป่า เป็นต้น บริเวณที่ราบตามชายฝั่งทะเลในบริเวณ หมู่บ้านสลักเพชร หมู่บ้านสลักคอก หมู่บ้านคลองสน และอ่าวคลองพร้าว พืชพรรณธรรมชาติที่พบเป็นป่าชายหาด ซึ่งมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ หูกวาง สารภีทะเล เมา เสม็ดแดง เสม็ดขาว เตยทะเล เป็นต้น บริเวณชายฝั่งที่เป็น ดินเลนบริเวณอ่าวและปากคลองลำธารต่างๆ เช่น อ่าวสลักคอก อ่าวสลักเพชร อ่าวบางเบ้า และอ่าวคลองสน พบพรรณไม้ชายเลนซึ่งมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปร่งแดง โปร่งขาว พังกาหัวสุม ถั่วดำ แสม ตะบูนขาว ตะบูนดำ ปอทะเล และตีนเป็ดทะเล นอกจากนี้ในบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีของอ่าวสลักคอก และอ่าวสลักเพชร เป็นสังคมพืชป่าพรุ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เหงือกปลาหมอ และกก จากการสำรวจประชากรสัตว์ป่าเมื่อปี 2535 พบว่าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 29 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ หมูป่า เก้ง นางอาย ลิงเสน ค่างหงอก ตุ่น ชะมดเช็ด พังพอนเล็ก ลื่นพันธุ์ชะวา ค้างคาวแม่ไก่เกาะ พญากระรอกดำ กระรอกท้องแดง กระแต หนูท้องขาว และหนูขนเสี้ยนดอย เป็นต้น มีนกทั้งหมด 74 ชนิด เป็นนกที่มีถิ่นถาวรในประเทศไทยและไม่อพยพย้ายถิ่น 61 ชนิด ได้แก่ นกยางทะเล นกปรอดหน้านวล นกตบยุง นกนางแอ่นแปซิฟิค นกกวัก นกลุมพู และนกแก๊ก เป็นต้น เป็นนกอพยพเข้ามาใน ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว 8 ชนิด ได้แก่ นกยางเขียว นกหัวโตทรายใหญ่ นกนางนวลแกลบดำปีกขาว นกน็อดดี้ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกกระจี๊ดขาสีเนื้อ นกกระจี๊ดขั้วโลกเหนือ และนกนางแอ่นบ้าน เป็นนกอพยพเพื่อผสมพันธุ์ 2 ชนิด คือ นกแต้วแล้วอกเขียว และนกแต้วแล้วธรรมดา ส่วนนกอพยพผ่านในฤดูกาลอื่น 3 ชนิด คือ นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว นกจับแมลงคอสีน้ำเงินเข้ม และนกกระจี๊ดหัวมงกุฎ นอกจากนี้ยังมีสัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน 42 ชนิด ได้แก่ ตะพาบน้ำ ตะกวด เหี้ย กิ้งก่าสวนแย้ ตุ๊กแกบ้าน จิ้งเหลนบ้าน งูเหลือม งูหลาม งูทางมะพร้าวธรรมดา งูสิง งูสิงหางลาย งูจงอาง งูกะปะ คางคกบ้าน เขียดบัว ปาดบ้าน อึ่งลายแต้ม เขียดงูธรรมดา กบนา และกบเกาะช้าง(Rana kohchangae) ซึ่งเป็นสัตว์ประจำถิ่นที่หายาก พบเฉพาะในป่า ดงดิบชื้นบริเวณเกาะช้างและเกาะใกล้เคียง เช่น เกาะไม้ซี้ และเกาะกูด แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล หมู่เกาะช้าง อยู่ห่างไกลจากปากแม่น้ำขนาดใหญ่ที่จะทำให้เกิดการทับถมของตะกอนโคลนเลน จึงทำให้ หมู่เกาะเหล่านั้นเต็มไปด้วยหาดทรายที่ขาวสะอาด น้ำทะเลใสสวย และอุดมสมบูรณ์ด้วยสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง ซึ่งในบริเวณเกาะช้างทางด้านเหนือบริเวณอ่าวคลองสนเป็นแนวปะการัง ยาวประมาณ 40 เมตร อยู่ห่างจากชายฝั่ง 40 เมตร แนวปะการังมีความลาดเอียงน้อยมาก ปะการังที่พบได้แก่ ปะการังโขด(Porite lutea) ปะการังแกแล็กซี่(Galaxea fascicularis) ปะการังลายดอกไม้(Pavona sp.) ด้านนอกของแนวปะการังออกไปประมาณ 200 เมตร เป็นแปลงของหญ้าทะเลซึ่งมีขนาดกว้างพอสมควร บริเวณด้านทิศใต้ของเกาะช้างน้อยเป็นแนวปะการังชนิดก้อนและชนิดกิ่งกว้างประมาณ 110 เมตร นอกจากนี้ยังมี ปะการังดอกเห็ด(Fungia sp.) ปะการังมูมเมอแรง(Herpolitha sp.) ปะการังมูมเมอแรง (Polyphyllia talpina) และ Herpetoglossa sp. ชายฝั่งด้านเหนือของเกาะช้างน้อยและด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะช้างมีแนวปะการังแคบๆ ทอดขนานไปกับแนวชายฝั่งไปจนถึงหัวแหลมสับปะรด และมีปะการังอยู่เล็กน้อยรอบๆ หินขี้ช้าง มีปะการังโขด(Porite lutea) อยู่มากกว่าชนิดอื่นๆ แต่มีความหนาแน่นต่ำ แนวปะการังในบริเวณเกาะง่าม ซึ่งอยู่ในปากอ่าวสลักเพชรทางใต้ของเกาะช้าง เป็นแนวปะการังซึ่งเกิดตรง กับหาดที่เชื่อมเกาะสองเกาะเข้าด้วยกัน แนวปะการังกว้างประมาณ 50 เมตร มีปะการังชนิดก้อนมากที่สุด สำหรับ แนวปะการังในบริเวณเกาะรังกว้างประมาณ 120 เมตร และอยู่ห่างจากชายฝั่ง 25-80 เมตร มีปะการังAcropora ชนิดเขากวางเป็นจำนวนมากที่สุด และยังมีปะการังleptoseris scraba ซึ่งเป็นปะการังที่หายากในอ่าวไทย ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวปะการังกว้าง 170 เมตร เป็นปะการังโขด(Porite lutea) Montipora digitata ปะการังเขากวาง และปะการังก้อนหลายชนิด แนวปะการังบริเวณนี้มีความสมบูรณ์ และสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของชายทะเลฝั่งตะวันออก นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังบริเวณเกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะกระ เกาะหยวก เกาะมันนอก เกาะคลุ้ม เกาะขาม และบริเวณเรือรบหลวงชลบุรีและเรือรบหลวงสงขลาที่จม อยู่ใกล้บริเวณอ่าวสลักเพชร ส่วนใหญ่เป็นปะการังก้อนและปะการังเขากวาง สัตว์น้ำอื่นที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ ปลากระดี่ทะเล ปลาผีเสื้อแปดเส้น ปลาผีเสื้อปากยาว ปลาสินสมุทร ปลากะรังจุดขาว ปลากระเบนทอง ปลาแป้น ปลาทู ปลาแมว หอยชักตีน หอยมือเสือ ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล และกัลปังหา เป็นต้น ยุทธนาวีที่เกาะช้าง ในช่วงปี พ.ศ. 2483-2484 ไทยกับฝรั่งเศสเกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนทางด้านตะวันออกในสมัยสงคราม อินโดจีน ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2484 ฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินลาดตระเวณเข้ามาในน่านฟ้าไทย บริเวณเกาะช้าง เกาะกูด เกาะเสม็ด และสัตหีบ กองบินจันทบุรีจึงได้ส่งเครื่องบินขึ้นสกัดและยิงขับไล่ ต่อมาในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินเข้ามาลาดตระเวณแถบเกาะช้างซ้ำอีก แล้วทิ้งระเบิดบริเวณเกาะง่าม เรือรบหลวง สงขลา และเรือรบหลวงชลบุรี ใช้ปืนต่อสู้อากาศยานยิงตอบโต้จนถูกเครื่องบินข้าศึกตกทะเลไปทางด้านใต้ของ เกาะหวาย เรือรบของข้าศึก 7 ลำ นำโดยเรือลาดตระเวณลามอตต์ปิเกต์ รุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้ของเกาะช้าง โจมตี เรือรบของฝ่ายไทยอย่างหนัก ไทยสามารถขับไล่ข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่าให้ล่าถอยไปได้ แต่ฝ่ายไทยต้องสูญเสีย ทหารและเรือรบหลวง 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี ทุกปีในวันที่ 17 มกราคม กองทัพเรือจะถือเป็นวันทำบุญประจำปี เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ทหารเรือไทยที่ได้สละชีวิตในการปฏิบัติ หน้าที่เพื่อป้องกันแผ่นดินไทย จุดที่เกิดยุทธนาวีนี้อยู่บริเวณเกาะง่าม ทางตอนใต้ของเกาะช้าง ใกล้อ่าวสลักเพชร การเดินทางและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ การเดินทางไปยังหมู่เกาะช้าง สามารถเดินทางจากจังหวัดตราดมายังอำเภอแหลมงอบ ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อโดยเรือโดยสารจากท่าเรือแหลมงอบ ใช้เวลาในการเดินทางมากน้อยแล้วแต่จุดใกล้ไกลที่ จะไป ตั้งแต่ 45 นาที ถึง 5 ชั่วโมง ในหน้ามรสุมระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม แม้การเดินทางไปยังเกาะ อื่นๆ มักมีอุปสรรค แต่สำหรับเกาะช้างสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยนั่งเรือจากท่าเรือแหลมงอบไปยังชายฝั่ง ทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นทะเลด้านในแล้วลงที่อ่าวสับปะรดของเกาะช้าง จากนั้นจึงนั่งรถสองแถวต่อไปยังที่ที่ ต้องการ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ได้แก่ น้ำตกธารมะยม เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 4 ชั้น ทางขึ้นน้ำตกอยู่ใกล้กับที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช.1 (ธารมะยม) โดยเดินผ่านสวนทุเรียนเข้าไปประมาณ 500 เมตร ลักษณะเป็นธารน้ำไหลผ่านลงมาเป็นชั้นๆ ตามร่องหินแกรนิตสีดำ มีหน้าผาสูงชันจนเกือบตั้งฉาก บริเวณโดยรอบเป็นป่าดงดิบอากาศร่มเย็นสบาย เหมาะแก่ การตั้งแค็มป์และเล่นน้ำตก มีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์เคยเสด็จประพาส ดังปรากฏพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธยอยู่บนแผ่นหินผาของน้ำตก อาทิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ. 2419) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ. 2465) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ. 2470) และสมเด็จ พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2516) แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกที่น่าสนใจอื่นอีก ได้แก่ น้ำตกคลองพลู ทางเข้าน้ำตกอยู่ห่างชุมชน อ่าวคลองพร้าว ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วต้องเดินป่าอีกประมาณ 20 นาที อยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กช.4 (คลองพลู) น้ำตกคลองนนทรี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะช้าง บริเวณบ้านด่านใหม่ น้ำตกคีรีเพชร อยู่ทางทิศใต้ของเกาะช้าง บริเวณบ้านสลักเพชร และน้ำตกคลองหนึ่ง อยู่ใกล้กับน้ำตกคีรีเพชร หาดคลองพร้าว-แหลมไชยเชษฐ์ อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะช้าง เป็นหาดทรายที่มีความยาวมาก ติดต่อกับ หาดไก่แบ้ หาดทรายบริเวณนี้มีความลาดมาก สามารถเล่นน้ำได้ ตอนเหนือสุดของอ่าวคลองพร้าวติดต่อกับ อ่าวไชยเชษฐ์และแหลมไชยเชษฐ์ มีแหลมหินที่มีทัศนียภาพสวยงาม แต่ไม่สามารถเล่นน้ำได้ แหล่งท่องเที่ยวประเภทหาดบนเกาะช้างที่น่าสนใจอื่นอีก ได้แก่ หาดทรายแดง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะช้าง บริเวณบ้านด่านเก่า หาดคลองสน อยู่ทางทิศเหนือของเกาะช้าง บริเวณบ้านคลองสน หาดทรายขาว อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะช้าง บริเวณบ้านหาดทรายขาว หาดไก่แบ้ เป็นหาดที่มีความยาวติดต่อกับหาดคลองพร้าว เป็นหาดทรายที่มีความลาดพอสมควร สามารถเล่นน้ำได้ โดยไม่เป็นอันตราย หาดบางเบ้า อยู่ทางทิศใต้ของเกาะช้าง บริเวณบ้านบางเบ้า หาดทรายยาว อยู่ทางทิศใต้ของ เกาะช้าง บริเวณบ้านหาดทรายขาว หมู่บ้านสลักเพชร อยู่ทางทิศใต้ของเกาะช้าง ลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวที่กว้างใหญ่ และสวยที่สุดบนเกาะช้าง ได้รับการขนานนามว่า " เท็กซัสแห่งเกาะช้าง " เนื่องจากในอดีตเคยเป็นแหล่งของ โจรสลัดและนักสู้จากทุกสารทิศ เกาะเหลายา อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้าง ประกอบด้วยเกาะเหลายาใน เกาะเหลายากลาง เกาะเหลายานอก เป็นเกาะที่มีหาดทรายยาว น้ำทะเลใส และแนวปะการังสวยงาม เกาะหวาย เป็นเกาะใหญ่อีกเกาะหนึ่ง มีหาดส่วนใหญ่เป็นหิน ประกอบด้วยอ่าวใหญ่ที่มีแนวชายหาด สวยงาม มีแนวปะการังขนาดใหญ่สมบูรณ์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะช้างถัดจากเกาะเหลายาลงไป หมู่เกาะรัง เป็นเกาะขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะหมาก บนเกาะไม่มีที่ราบพอที่จะอาศัยอยู่ได้ แต่มีสัมปทานการทำรังนกนางแอ่นและมูลค้างคาว มีโขดหินใต้น้ำและปะการังน้ำลึกที่สวยงามที่เกาะรัง บริเวณ อ่าวบ่อเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.5 (เกาะรัง) เกาะอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ เกาะหยวก อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะช้าง เกาะมันในและเกาะมันนอก อยู่ใกล้ กับเกาะหยวก เกาะพร้าว อยู่ทางทิศใต้ของเกาะช้างในอ่าวสลักเพชร เกาะง่าม อยู่ติดกับเกาะช้าง ทางด้านทิศตะวัน ออกเฉียงใต้เป็นเกาะ 2 เกาะ ซึ่งมีสันทรายเชื่อมตรงกลาง ชายหาดส่วนใหญ่เป็นหิน มีหาดทรายเล็กๆ 2-3 หาด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ไม่มีธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว มีแต่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวของเอกชน ซึ่งเกี่ยวกับสถานที่พักแรม การพานักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวน้ำตกต่างๆ บนเกาะช้าง หรือพาไปดำน้ำดูปะการังตาม เกาะต่างๆ ซึ่งเป็นเขตเพื่อการพักผ่อนและศึกษาหาความรู้ กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถกระทำได้ในเขตอุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะช้าง ได้แก่ การขับรถยนต์ ขี่รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน เพื่อชมทิวทัศน์ การเดินเพื่อศึกษา ธรรมชาติหรือชมธรรมชาติ การดูนก การเล่นน้ำตกหรือน้ำทะเล การตั้งแค็มป์พักแรมในสถานที่ที่อุทยานแห่งชาติ จัดไว้ให้ การเล่นกีฬาทางน้ำ การว่ายน้ำ และการดำน้ำดูปะการัง ซึ่งแนวปะการังอยู่บริเวณรอบๆ เกาะต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นปะการังน้ำตื้น ซึ่งมีความสวยงามและยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก แหล่งดำน้ำที่สำคัญได้แก่ เกาะกระ เกาะรัง เกาะหวาย เกาะเหลายา และเกาะหยวก ในการประกอบกิจกรรมนันทนาการในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นน้ำ การนั่งเรือชม ทิวทัศน์ การเล่นกีฬา การดำผิวน้ำดูปะการัง การพักแรมค้างคืน การก่อไฟ ให้กระทำได้เฉพาะในเขตหรือบริเวณที่ เจ้าหน้าที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่ควรกระทำหรือส่งเสียงอื้อฉาวรบกวนคนหรือสัตว์ ไม่เดินออกนอกเส้นทางถาวร และปฏิบัติตนตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดหรือตามที่เจ้าหน้าที่ได้ทำเครื่องหมายไว้ สำหรับผู้ที่ไปกางเต็นท์พักแรมจะ ต้องเตรียมเครื่องนอนและอุปกรณ์ในการพักแรมไปเอง และต้องเก็บและทำความสะอาดที่พักให้เรียบร้อยเมื่อเลิก ใช้แล้ว การก่อไฟจะต้องไม่เก็บหรือตัดกิ่งไม้ยืนต้นมาใช้ และต้องระมัดระวังมิให้ไฟลุกลามไปยังที่อื่น ต้องดับไฟ ให้สนิททุกครั้งที่เลิกใช้ และสำหรับผู้ที่พิศมัยในการดำน้ำดูปะการังจะต้องเตรียมอุปกรณ์ไปเอง หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง 160/12 บ้านหินตาบ๋าย ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 23120 โทร. 039-538100 หรือที่ ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ จตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900 โทร. 5612918-21
ต อ น นี้ ข อ ไ ป อ ยู่ ใ น ใ จ เ พื่ อ น ๆ น้ อ ง ๆ ก่ อ น แ ล้ ว กั น น ะ ป ล . ค่ า ใ ช้ จ่ า ย เ ท่ า ไ ห ร คั บ น้ า
เกาะทะลุก็ดีนะครับ มีอะไรหลายอย่างที่น่าจดจำ ( เคยนั่งตรงนี้ เก้าอี้ตรง แต่ไม่มีเธอ ) สำหรับคุณ ศรนันท์ .....