ยางโดนตะปูตัวเล็กๆตำ ปะยางแบบไหนจะดีกว่ากันครับ

การสนทนาใน 'Racing Forum (Cars Forum)' เริ่มโดย อืม...นะ, 5 กันยายน 2011

< Previous Thread | Next Thread >
  1. อืม...นะ

    อืม...นะ New Member Member

    218
    12
    0
    คือผมเพิ่งสังเกตุเห็นว่าล้อหลังยางโดนตะปูตัวเล็กๆ เส้นผ่านศูนย์หลางประมาณ 2-3 มม. ตำครับ

    ก่อนหน้านี้เคยถามร้านบีควิก เค้าบอกปะแบบตัวหนอน (เข้าใจว่าคือแบบอุดใช่มั๊ยครับ) จะดีกว่าปะแบบสตรีม เพราะแบบสตรีมมันใช้ความร้อน ยางจะเสียคุณภาพ
    แต่ใจลึกๆผมกลับคิดว่าปะแบบตัวหนอน ต้องทะลวงรูที่ทะลุใหมันกว้างขึ้นไปอีก โครงสร้างยางน่าจะเสียหายมากกว่าอีก
    อีกอย่างปะแบบสตรีมยางมันอยู่ด้านใน มีแรงดันลมคอยดันไว้ไม่ให้แผ่นยางที่ปะไว้มันหลุดหรือลมจะรั่วออกมาได้
    แต่ไม่รู้ว่าที่ผมคิดมันจะผิดหรือถูก

    เลยอยากมาขอความกระจ่างหน่อยครับว่า สรุปแล้ว ถ้ารูตะปูเล็กๆเนี่ย ผมควรจะปะแบบไหนดีกว่ากันครับ
     
  2. tokidoki 1.

    tokidoki 1. New Member Member

    230
    3
    0
    ผมว่าแบบสตีมนะ (ความเห็นส่วนตันนะคับ)
     
  3. Mochi_Racing

    Mochi_Racing New Member VIP

    692
    36
    0
    ตัวหนอนดีกว่าแน่นอนครับเพราะสมัยนี้ตัวหนอนมีกาวในตัวเลยไม่หลุดง่ายๆ

    แต่แบบสตีมมันใช้ความร้อนในการเกาะตัวและความร้อนมันไปทำลายคุณภาพยางแน่นอนคับเสี่ยงกับยางบวมด้วย

    แต่ก่อนผมก็คิดว่าสตีมดีกว่าก็เลยสตีมอย่างเดียว แต่ตอนนี้ ใช้บริการตัวหนอนอย่างเดียวเลยครับถ้าโดนตะปูตำ

    แต่ตัวหนอนแนะนำของร้าน a.c.t. ครับ ผมไม่เกี่ยวไรกับร้านนะคับ
     
  4. procagivaracing

    procagivaracing New Member Member

    1,336
    21
    0
    ปะแบบสตีมเย็นสิครับ ยางไม่เสียเเน่นอน


    ถอดยางออก ทำความสะอาดบริเวณแผลในยาง ขัดพื้นผิวแผลให้เรียบ ทากาว รอกาวแห้งราว 2-3 นาที แปะยางปะ ใส่ยางกลับ


    แบบนี้ไม่มีผลข้างเคียงอะไร ภายนอกยางดูสวยเหมือนไม่เคยปะ
     
  5. joeblack

    joeblack New Member Member

    1,284
    39
    0
    ผมก็ปะตัวหนอน ใช้มาเกือบปี ปกติ ครับ ข้อดี ไม่ต้องถอดล้อ ไม่ต้องกลัวแม็กเป็นรอย รวดเร็ว ปะที่บีควิกแผลละ100 ครับ ข้อเสียต้องรอดูครับ
     
  6. joeblack

    joeblack New Member Member

    1,284
    39
    0
    เอามาให้อ่านกันครับ
    การปะยางรถ



    ถาม. ผมอยากรู้ว่าเมื่อยางแตกขึ้นมา เราควรเลือกปะยางด้วยวิธีไหนถึงจะดี
    เพราะมีทั้งคำแนะนำที่บอกว่าการปะยางที่ดีควรปะแบบ "สติม"
    บางคนก็แนะนำว่าควรปะแบบชนิด "สอดเส้นยาง" เข้าไปดีกว่า
    ผมงงไปหมดแล้ว จึงขอให้ช่วยอธิบายข้อดีข้อเสียให้ด้วย

    ตอบ. เรื่องของวิธีการปะยาง เป็นเรื่องที่เกิดถกเถียงกันขึ้นมาเมื่อสัก 15 ปีที่ผ่านมานี้เอง
    เพราะคนใช้รถยนต์ยุคก่อนไม่มีใครรู้จักวิธีการปะยางแบบอื่น
    นอกเหนือไปจากวิธีการที่เรียกกันว่าการสติมยาง
    ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุก เมื่อยางรั่วขึ้นมาก็ต้องปะกันด้วยวิธีการสติมยางทั้งสิ้น

    แม้แต่รถขนาดเล็กเช่นมอเตอร์ไซค์และจักรยาน ก็ต้องปะด้วยวิธีสติมเช่นกัน
    แต่จะแยกออกไปเป็นแบบสติมเย็นและสติมร้อน
    ซึ่งให้ผลต่างกันและมีราคาค่างวดในการปะต่างกันออกไป

    การปะแบบสติมยาง ก็คือการเอายางที่รั่ว (ซึ่งในยุคแรกๆ หมายถึงยางใน) ออกมาแล้วตรวจหารูรั่ว
    ด้วยการสูบลมเข้าไปในยางให้มากพอ จากนั้นก็เอายางลงไปแช่ในถังน้ำเพื่อดูฟองน้ำผุดพรายขึ้นมา
    เมื่อพบรูรั่วแล้วก็เอายางในขึ้นมาจากน้ำ
    เช็ดให้แห้ง แล้วจึงใช้กระดาษทรายหรือตะไบมาถูที่บริเวณรอยแผลที่รั่ว

    การเอากระดาษทรายหรือตะไบมาถูเช็ดที่ผิวยางรอบรอยแผลนั้น คือการทำความสะอาดที่ผิวของยาง
    ให้ปราศจากคราบมันหรือน้ำมัน ที่เป็นอุปสรรคต่อการเกาะติดกันของยางซึ่งถูกประสานกันโดยกาว

    หากเป็นการปะแบบสติมเย็น ซึ่งมักจะใช้กับรถจักรยาน
    เพราะมีขีดความสามารถในการทนต่อความร้อนได้ต่ำ รับแรงดันลมได้ไม่มากนัก
    และรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อย แต่มีราคาค่าปะยางถูกมาก

    การปะแบบสติมเย็นนั้นต้องมียางอีกแผ่นหนึ่งมาทำหน้าที่อุดรูรั่ว
    โดยปกติก็จะใช้ยางในรถที่ถูกทิ้งหรือไม่ใช้งานแล้ว
    เอามาตัดด้วยกรรไกรให้มีขนาดแผ่นโตกว่ารูที่รั่วสักหน่อย
    ทั้งนี้รอยหรือรูที่รั่วนั้น ต้องเกิดจากการทิ่มตำของของมีคมขนาดเล็กเท่านั้น
    เพราะสติมเย็นไม่สามารถปะยางที่มีรูรั่วขนาดใหญ่ได้

    ทำความสะอาดรอบแผลที่มีการรั่วเรียบร้อยแล้ว
    ก็ตัดยางอีกแผ่นหนึ่งส่วนใหญ่มีขนาดโตกว่าเหรียญสิบบาทเล็กน้อย
    แล้วเอากระดาษทรายหรือตะไบมาถูทำความสะอาดยางแผ่นดังกล่าว ที่ด้านในของเนื้อยาง
    หลังจากพบว่าทั้งยางที่ต้องการปะและยางแผ่นที่จะนำมาปะอุดรูรั่ว ถูกทำความสะอาดพื้นผิวดีแล้ว
    จึงเอากาวสำหรับประสานยาง ที่นิยมกันมากก็คือกาวยี่ห้อ 3K

    นำกาวมาทาไล้บางๆ ที่บริเวณซึ่งทำความสะอาดไว้แล้วทั้งที่ยางที่รั่ว และแผ่นยางที่จะนำมาปะ
    รอสัก 1-2 นาที พอเห็นว่ากาวแห้งหมาดดีแล้ว จึงเอาแผ่นยางวางทาบปะลงไปบนยางที่รั่ว
    ให้ส่วนที่ทากาวทับตรงรอยกันพอดี แล้วใช้มือดึงเบาๆ ตรงส่วนที่ปะทับกันอยู่นั่น
    เพื่อให้ยางทั้งสองชิ้นยืดและขยายตัวกดเข้าหากัน แล้วจึงวางยางลง
    จากนั้นก็หาค้อนมาทุบเบาๆ ลงไปตรงบริเวณที่ปะเพื่อให้ยางทับปิดกันสนิทมากยิ่งขึ้น ทิ้งไว้อีกสัก 5 นาที
    พอกาวแห้งสนิทดีแล้วก็สามารถนำยางไปสูบลมใช้งานได้ต่อไป

    ส่วนการปะแบบสติมร้อนนั้นก็ทำคล้ายกันในขั้นตอนแรก
    คือทำความสะอาดรอบรอยแผลที่ถูกของมีคมทิ่มตำจนรั่ว ด้วยกระดาษทรายหรือตะไบ
    แต่ยางที่นำมาปะจะเป็นยางชนิดพิเศษทำสำเร็จสำหรับรถจักรยานยนต์
    คือเป็นแผ่นยาง ที่ด้านหลังติดมากับแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

    ส่วนอีกด้านหนึ่งของแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนั้น จะมีเชื้อไฟสำเร็จรูปติดมาด้วย
    เมื่อต้องการปะ ก็จะเอาด้านหน้าของยางวางทาบลงไปตรงแผลที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว
    แล้วใช้เครื่องกดแผ่นยางให้ติดแน่นทับกันสนิท จากนั้นก็จุดไฟบนหลังแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

    รอจนไฟที่ถูกจุดขึ้นมาลุกไหม้ไปทั่วทั้งแผ่นเหล็กและมอดดับลงหมด ทิ้งไว้อย่างนั้นอีกประมาณ 2-3 นาที
    จึงทำการดึงเอาแผ่นเหล็กออกจากแผ่นยางที่นำมาปะ
    ยางที่นำมาปะจะถูกความร้อนหลอมละลายและมีแรงกดจากเครื่องมือ กดให้ติดสนิทแน่นกันกับยางที่รั่ว
    และสามารถนำไปสูบลมใช้งานได้ต่อไป

    ส่วนยางรถยนต์ไม่ว่าจะมียางในหรือไม่มียางในก็ตาม จะต้องใช้การปะแบบสติมร้อนเท่านั้น
    ด้วยกรรมวิธีเดียวกันกับสติมร้อนยางมอเตอร์ไซค์ แต่ใช้เครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
    และใช้อุปกรณ์ที่ต่างกันออกไป
    ข้อดีของการปะแบบสติมร้อนคือแผลจะติดสนิทแน่นหนาดี สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก
    สูบลมได้เต็มที่

    ข้อเสียของสติมร้อน
    ก็คือความร้อนจะทำให้โครงสร้างของยางเสียหายได้ หากเป็นยางแบบไม่มียางใน
    ส่วนยางที่มียางในก็จะเกิดความเสียหายของยางรอบๆ บริเวณแผลปะที่ถูกความร้อน

    จนกระทั่งมีการนำเอากรรมวิธีการปะยางแบบที่เรียกกันว่า “สอดไส้” มาใช้
    วิธีการดังกล่าวคือการเอายางที่รั่วมาถอนเอาของแข็งที่ทิ่มแทงออกไป
    แล้วใช้ตะไบหางหนูมาแทงแยงเข้าไปตรงรูที่รั่วเพื่อทำความสะอาด
    จากนั้นจึงใช้เส้นยางผสมกับใยสังเคราะห์มาชุบลงไปบนน้ำยา ที่มีส่วนผสมของยางดิบ
    และกาวสำหรับประสาน จากนั้นก็ใช้เครื่องมือแทงยัดเส้นยางดังกล่าว อัดเข้าไปในรูแผลรั่วนั้น

    ข้อดีของการปะแบบนี้คือไม่ต้องถอดยางออกจากกระทะล้อ
    สามารถปะได้โดยไม่ต้องถอดกระทะล้อออกจากรถ ทำให้นอตล้อและกระทะล้อไม่ช้ำ
    ใช้เวลาการปะรวดเร็ว สามารถถ่วงล้อได้ง่าย

    ข้อเสียคือใช้ได้กับยางที่ไม่มียางในเท่านั้น
    และรับน้ำหนักมากๆ หรือทนความร้อนสูงๆ สู้แบบสติมร้อนไม่ได้ครับ
     
    ผมใช้ยิงตัวนอนอย่างเดียวเลยครับ เพราะไม่ต้องงัดยาง ไม่เสี่ยงล้อเป็นรอย
    ใช้มาเป็นปี ๆ แล้วก็ไม่มีปัญหารั่วซึมอะไรเลยนะ ง่าย และเร็วดีด้วย
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้