1. รถเมล์ = ก. รถประจำทาง พาหนะสำหรับผู้รักการผจญภัย ข. พาหนะที่มักจะไม่มาเมื่อคุณรอ และวิ่งให้ว่อนเมื่อไม่ต้องการ 2. พขร. = พนักงานแข่งรถ 3. พกส. =พนักงานเก็บเงินผู้ใหญ่ที่สุด มีอำนาจสั่งการให้ผู้โดยสารไปไหนก็ได้ และ เป็นคนเดียวที่คุยกับ พขร. รู้เรื่อง 4. ผู้โดยสาร = บุคคลผู้เจียมเนื้อเจียมตัว บางครั้งถูกเปรียบให้เป็นปลา (กระป๋อง) 5. นายตรวจ = คนเดียวที่ พกส. กลัว 6. ค่าโดยสาร = จำนวนเงินที่ต้องจ่าย กรุณาจ่ายเป็นเศษสตางค์ ไม่รับเหรียญสลึงและแบงค์ใหญ่กว่า 100 ฝ่าฝืนอาจถูกสรรเสริญจาก พกส. และอาจลามปามไปถึงบุพการีที่นอนอยู่กับบ้านได้ 7. ป้าย = ไป (สันนิษฐานว่าเลยไปเลย สังเกตจาก พกส.จะพูดคำนี้ทุกครั้งที่ถึงป้าย) 8. ที่นั่งสำหรับ ภิกษุ สามเณร = ที่นั่งสำหรับป้าตาถั่วหรือตาบอดสีโดยเฉพาะสีเหลือง 9. ที่นั่งสำหรับคนพิการ = ดูข้อ 8 (คล้ายๆ กัน) 10. เด็ก สตรี และคนชรา = ประชาชนส่วนใหญ่ที่ประชาชนส่วนน้อยต้องเอื้อเฟื้อ จึงมักจะ (ดูต่อข้อ 11) 11. แกล้งหลับ = วิธีหลีกเลี่ยงจากข้อ 10 12. คนดีมีน้ำใจ = คนประหลาดในสายตาข้อ 11 13. กริ่ง = กดสองที ฟรีสองป้าย 14. รถไฟฟ้า = เครื่องช่วยหายใจคนกรุงฯ สามารถไปได้ทุกๆ ที่ยกเว้นบ้านคุณ 15. เรือด่วน = เครื่องช่วยหายใจอีกอย่างหนึ่ง เหมาะสำหรับคนว่ายนำเป็นและน้ำหนักตัวน้อย 16. แท็กซี่ = พาหนะที่พาคุณอ้อมไปจากเส้นทางจริง 17. สามล้อ = พาหนะสำหรับผู้มีสุขภาพปอดดี เคลื่อนที่ทุกๆครั้งที่มีที่ว่างมากกว่า 2 นิ้ว 18. ไมโครบัส = สูงสุดคืนสู่สามัญ (จากราคา 15 เป็น 20 เป็น 25 เป็น 30 และกลับมาเป็น 20 และเป็น 25 ในปัจจุบัน) 19. ขาวน้ำเงิน = วิธีการรีไซเคิล เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงขึ้น (จากเดิม 2.50 บาท ปัจจุบัน 5 บา 20. ยูโร = วิธีการขึ้นราคาค่าโดยสารแบบมัดมือชกราคามากกว่า แต่คุณภาพ เหมือนเดิม