BASIC MODIFLY DIESEL ENGINE...2008 By sport truck

การสนทนาใน 'Sport Truck.' เริ่มโดย p_sutipoj, 15 มกราคม 2008

< Previous Thread | Next Thread >
  1. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    น่าเสียดายที่กระทู้มีค่าที่ผมพิมพ์บางกระทู้ จนมือแทบหงิกถูกลบไปแล้วทีไม่เป็นไรครับ สำหรับเพื่อนๆที่เข้ามาใหม่ มาอ่านกระทู้ของพวกเรา ผมอยากจะให้ทุกๆคนทราบเอาไว้ สันดานเครื่องดีเซลเป็นอย่างไร... อยากให้มองให้ออก แล้วคลุกคลีกับมันถึงเราจะไม่ได้พูดภาษาเดียวกันแต่เราจะโมดิฟายโดยการเดาใจเครื่องเอาว่า มันต้องการอะไร แล้วเราก็จัดให้........

    หาเราจะคุยกันถึงเครื่องดีเซลเราทำความรู้จักกับ น้ำมันดีเซลกันก่อนดีไหม ลองไปอ่านกระทู้ http://rcweb.net/forums/showthread.php?t=372325 แล้วก็มาต่อกัน แต่ผมจะสรุปสั้นให้ฟังก็แล้วกัน เครื่องยนต์ดีเซลที่เราใช้กันอยู่ ต้องใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ซึ่งจะมีแบ่งตามค่าซีเทน ของน้ำมันแต่ละชนิดถ้า ดีเซลหมุนเร็วจะต้องมีค่าซีเทนนัมเบอร์ตั้งแต่ 50 ขึ้นไป มี 3 อย่างที่คุณสมบัติที่เราจะเลือกเอาน้ำมัน เออแต่ไม่พูดดีกว่านะ เพราะว่ายังไงไม่ เชลล์ ก็ ปตท. เราๆท่านๆก็เติมถูกอยู่แล้ว เอาเป็นว่าสั้นๆล่ะกัน

    1 ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ ดีๆหน่อยก็ทำให้เครื่องไม่เขก เดินเรียบ สตาร์ทง่าย เพราะว่าเผาไหม้รื่นมีปัจจัยอยู่
    - CCR. (Critical Compression Ratio ) คือ ความดันที่ต่ำที่สุดที่ทำให้น้ำมันดีเซลชนิดนั้น เผาไหม้ได้ ดังนั้นยิ่งต่ำยิ่งดี...........
    - ค่าซีเทน อยากรู้มะว่าหาได้ยังไง.........
    - ดรรชนีดีเซล ( Diesel Index ) ถ้ามีค่าสูงจะทำให้เผาไหม้ได้รุนแรงมาก ครับ........( ลองเอาของ V-power ) มาเทียบดูกับธรรมดาดูซิ

    2 ความหนืด.....น้ำมันที่ใสเกินไปจะทำให้รั่วซึมทางหัวฉีดได้และละอองจะกระจายตัวไม่ดี หากข้นเกินไป จะทำให้น้ำมันทีถูกฉีดติดไฟได้ยาก ซึ่งมันสัมพันธ์กับข้อ 1

    3 อธิบายยากอย่ารู้เลย ความถ่วงจำเพาะ

    ต่อจากนี้ไปก็ มารู้จักกับการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลกันต่อนะครับ........ ปุจฉา 1 รอบการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล เพลาข้อเหวี่ยงหมุน กี่รอบ.... เท่ากับกี่องศา.... (ถ้าตอบไม่ถูกไม่ เล่าให้ฟังแล้ว)
     
  2. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    4 จังหวะ ดูด อัด งาน คาย

    1 รอบ การทำงาน หมายถึง มันครบจังหวะการทำงานหรือเปล่าหว่า???

    ดูด TDC ลงไป BDC ก็ 180 องศา
    อัด จาก BDC ไป TDC ก็ 180 องศา
    งาน (หรือ ระเบิด) จาก TDC ลงมา BDC ก็ 180 องศา
    คาย หรือ ขี้ ก็ BDC ไป TDC เข้าจังหวะ overlap ก็อีก 180 องศา

    ตอบว่า 2 รอบ ข้อเหวี่ยงก็ 720 องศา <<<<<<< ถูกป่าวหว่า
    ถ้าตอบถูกได้ TD05 เป็นรางวัลหรือเปล่าน้อ 5 5 5
     
  3. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ว่ากันต่อครับ.......ถูกต้องนะครับ ถูกเผงไม่มีมั่วไม่มีเดา GooD JoB

    จังหวะในการเผาไหม้ของเครื่องดีเซล ต้องให้ปั้มฉีดน้ำมันก่อนที่ลูกสูบจะขึ้นสูงสุดคือ Top Dead Center ตามแต่บริษัท ประมาณ 14 องศา น้ำมันจะลุกติดไฟเกิดการเผาไหม้ จนกว่าลูกสูบจะบีบอัดอากาศให้มีปริมาตรเล็กลง ทำให้ความดันสูงขึ้น ความดันสูง ความร้อนก็สูงตาม เมื่อความร้อนได้ที่ปั้มฉีดน้ำมันเข้ามาพอดีเสียเวลาคลุกเค้าไอดีกันนิดหน่อยแล้วก็ติดไปลามเรื่อยๆ เมื่อ ขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วปั้มยังคงฉีดน้ำมันอยู่ ไอดีที่เผาไหม้ไปแล้วเกิดเป็นแก๊สไอเสียที่มีแรงดันสูง แต่ปั้มก็ยังคงฉีดน้ำมันออกมาเพื่อควานหาไอดีที่ยังไม่เจอน้ำมันเผาให้หมดสิ้น......... ก่อนที่ลูกสูบจะเลื่อนลง หากลูกสูบสูบเลื่อนลงไปแล้วจะทำให้ปริมาตร ห้องเผาไหม้เพิ่มขึ้น การเผาไหม้เกิดแก็สไอเสียในจังหวะหลังนี้จะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้........

    อ่านแล้วคิดอะไรออกได้บ้างไหม อะไรเป็นปัจจัยในการเผาไหม้ให้เร็วที่สุดจาก 14 องศาก่อนศูนย์ตายบนและไม่เกิน 20 องศาหลัง ศูนย์ตายบน ถ้าเราฉีดก่อน 20 องศาจะทำให้ ปั้มเราฉีดเสร็จก่อนเท่านั้นถูกต้องไหม ถ้าหัวฉีดของเราฉีดออกมาในปริมาณที่ไม่ใช่แค่เพียงพอแต่ต้องเหลือๆต่ออากาศที่แออัดในหัวลูกสูบเพื่อนน้ำมันจะได้ไม่ต้องควานหาอากาศที่ยังไม่เผาไหม้ ถ้าหัวฉีดยิ่งมีรูเยอะ จะทำให้หนึ่งรูหัวฉีดไม่ห่างกันมากไม่ต้องเสียเวลาไปควานหาไอดี และสุดท้ายใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีๆแบบสั่งได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เผาไหม้ ได้ดีกว่าเร็วกว่าไหม ผมไม่รู้ว่าดีกว่าเท่าไหร่ แต่ต้องดีกว่าเดิม แต่ถามว่าดีกว่าคนอื่นไหม...ไม่รู้เพราะผมคิดได้แค่นี้ใครคิดได้ ก็คิดต่อไปแต่ กลับมาบอกผมมั้งนะ.......

    จุดที่รุนแรงเร้าร้อนที่สุดคือส่วนบน ถ้าใครเคยโอเวอร์ฮอล์นจะเห็นได้ว่า กระบอกสูบช่วงบนๆนั้นจะสึกหรอมากที่สุด ส่วนมาก จะเป็นร่องก็เพราะว่ามีการระเบิดมีความร้อนความดันสูงกว่าส่วนอื่นทำให้ตรงนี้มีแรงดันสุงที่สุดและร้อนที่สุด ไอที่ออกจากท่อหายใจก็ออกมาจากจุดนี้แหละครับ ถ้าแหวนลูกสูบไม่สามารถกักแรงดันไว้ได้ แรงดันในหัวลูกสูบก็ลดลง ความร้อนก็ลดลง การเผาไหม้ก็ไม่ดี เผาไม่หมด ควันดำ ต้องรอให้บูทส์มาเพิ่มปริมาณอากาศเข้ามาจึงจะเผาไหม้ดี ถึงดีอย่างไรก็สู้ ห้องเผาไหม้ที่รั่วๆไม่ได้.....จริงไหม

    มาว่ากันต่อว่าทำไมเครื่องดีเซลถึงหมุดจี๋ไม่ได้ ก็เพราะว่าความชักช้าในการเผาไหม้ในการเผาไหม้เนี่ยแหละทำให้เมื่อเครื่องหมุนเร็วมากขึ้น เวลาในการเผาไหม้ก็มีน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้ประสิทธิถาพน้อยลง ไม่น้อยลงได้อย่างไรลองคิดดู ปุจฉา "เครื่องยนต์ หมุน1000 รอบ/นาที สูกสูบใช้เวลาในการเผาไหม้ ตั้งแต่ 20 องศา ถึง 60องศาหลัง 0ตายบน ถามว่า ที่ 1000 รอบ ใช้เวลาในการเผาไหม้ กี่วินาน ต่อ1รอบการทำงาน ถ้าเครื่อง .........และถ้าเครื่องหมุน 7000 รอบ จะมีเวลาในการเผาไหม้กี่ วินาที....... (ใบ้ให้นะ 20+60 เท่ากับ องศาของการเผาไหม้) ตอบไม่ถูกไม่เล่าต่อนะ......
     
  4. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    ไม่รู้จะถูกเปล่า ขอมั่วอันดับ 1

    ถ้าวัดที่การหมุน ของเพลาข้อเหวี่ยง ...........

    ตัวที่เหมือนกัน ของการหมุนที่รอบ 1000 และ 7000 คือ องศาในการเผาไหม้ มีระยะที่ 20 องศา ก่อนตายบน จนถึง 60 องศาหลังตายบน คือ 80 องศา
    @ 1000 รอบ/นาที = 16.67 รอบ/วินาที
    1 รอบ ข้อเหวี่ยง มัน 360 องศา แปลว่า ข้อเหวี่ยง หมุนได้ 6000 องศา ใน 1 วินาที
    เทียบ ....... อะไรซักอย่างนี่หละ เรียกก็ไม่ถูก พิมพ์ก็ไม่ถูก
    6000 องศา ใช้เวลา 1 วินาที
    80 องศา ใช้เวลา = (1/6000) x 80 = คำตอบ
    การเผาไหม้ @ 1000 รอบ ต่อนาที = 0.0133 วินาที

    @ 7000 รอบ/นาที = 116.67 รอบ/วินาที
    1 รอบ ข้อเหวียง =360 องศา แปลว่า @ 7000 รอบ/นาที ข้อเหวี่ยงหมุน = 42000 องศา ได้ใน 1 วินาที
    การเผาไหม้ @ 7000 รอบ/นาที ใช้เวลา = 0.0019 วินาที

    แต่ก็ งงกะคำถามเหมือนกัน 1000 รอบที่ว่า หมายถึง การทำงานครบรอบ 1000 ครั้งหรือเปล่าอ่าครับ????
    ถ้าผิด ขออภัย ครับผม
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มกราคม 2008
  5. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    @ 1000 รอบ/นาที = 16.67 รอบ/วินาที
    1 รอบ ข้อเหวี่ยง มัน 360 องศา แปลว่า ข้อเหวี่ยง หมุนได้ 6000 องศา ใน 1 วินาที
    เทียบ ....... อะไรซักอย่างนี่หละ เรียกก็ไม่ถูก พิมพ์ก็ไม่ถูก
    6000 องศา ใช้เวลา 1 วินาที
    80 องศา ใช้เวลา = (1/6000) x 80 = คำตอบ
    การเผาไหม้ @ 1000 รอบ ต่อนาที = 0.0133 วินาที

    ของผมนะครับ........ไม่รู้ถูกป่าวช่วยตรวจหน่อยนะ คิดคล้ายๆกัน
    @ 1000 รอบ/นาที คือ เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไป แต่ ต้องหมุน2รอบถึงจะได้ การทำงาน 1 ไซเคิล(ดูด-อัด-ระเปิด-คาย)
    ดังนั้น 1000รอบ/นาที = 500 รอบ(ไซเคิล)/นาที
    500 รอบ(ไซเคิล)= 8.3 รอบ(ไซเคิล)ต่อ วินาที
    1 รอบ(ไซเคิล) ข้อเหวี่ยง มัน 720 องศา แปลว่า ข้อเหวี่ยง หมุนได้ 6000 องศา ใน 1 วินาที
    6000 องศา ใช้เวลา 1 วินาที
    แต่
    ดังนั้น 6000 องศา(ของ1ไซเคิล) ใช้เวลา 1 วินาที
    80 องศา(ของ 1ไซเคิล) เท่ากับ {1x (80x360/720)}/6000 วินาที
    การเผาไหม้ @ 1000 รอบ ต่อนาที = 0.006 วินาที

    ประเด็นไม่ได้อยู่ที่คิดถูกหรือคิดผิด มันอยู่ที่ว่า ปั้มดิบขนาดลูกปั้มเท่านิ้วก้อย ต้องจ่ายน้ำมันให้ทันต่อการเผาไหม้ในเวลาที่จำกัดและที่รอบสูงมากขึ้น เวลาในการเผาไหม้น้อยลงๆ ทุกที แต่น้ำมันดีเซลต้องค่อยๆลุกไหม้ค่อยๆลามเหมือนเดิม ในเวลาเท่าเดิมแล้วแต่น้ำมันที่ใช้ ถ้าน้ำมันที่ใช้เผาไหม้หมดได้เร็ว ก็จะทำให้เผาไหม้สมบูรณ์กว่า แรงบิดก็ยังไม่ตก ก็ได้รอบเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น เมื่อรอบจัดมากๆ เวลาในการเผาไหม้ก็ไม่มี ปั้มจะมาโอ้เอ้ค่อยฉีดได้ไม่ ต้องฉีดให้มันออกมาก่อนแล้วค่อยปีบขึ้นไปเมื่อลูกสูบถูกปีบได้ความร้อนก็ติดไฟทันทีถ้าฉีดช้าจะทำให้จังหวะเดิมที่ปั้มฉีดน้ำมันออกมาเยอะที่สุดต้องนำหน้า จังหวะที่สูบขึ้นมาสุดหรือลงไปไม่เกิน 14 องศา ถ้าช้ากว่านั้น ปริมาตรห้องเผาไหม้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามองศาของข้อเหวี่ยง ทำให้ดึงเอาประสิทธิภาพจากการขยายตัวของแก๊สไอเสียมาใช้ได้ไม่เต็มที่ นั้นเอง

    อย่างไรก็ตามใครๆก็บอกว่าทำไมเครื่องดีเซลหมุนจะหมุน 6000-7000 ไม่ได้ หมุนได้ครับแต่อย่างที่บอกตามหลักฟิกสิกซ์มันฟ้องอยู่ว่า ถ้าหมุนได้ก็ไม่ดีแรงบิดมันหาย เพระว่ามันหลุดจากจังหวะทที่ลูกจะรับกำลังได้มากที่สุดไปแล้ว แรงม้ามาจากแรงบิด คูณกับรอบ หารด้วย ค่าคงที่......... จะทำแรงม้าให้มากๆ ไม่ต้องคิดมาก ทำอย่างก็ได้ให้ ได้แรงบิดเยอะ ที่รอบสูงให้มันสูงสุดใก้ล 4000-5000 ผมเห็นแทบทุกราย แรงบิดมีความชันลดลงทุกรายเมื่อรอบเกิน 3000-3500 ไปแล้ว.........ทำอย่างไรเล่า ให้แรงบิดทรงๆอยู่อย่างคงที่ ทำอย่างไรเล่า ให้แรงบิดค่อยๆ ลดลง ทำอย่างไรเล่า จะหาเงินมาโมดิฟาย........
     
  6. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ลืมถามว่า ค่าคงที่ .....ที่ผมทำตัวแดงๆ ไว้ มีค่าเท่าไหร่...........ตอบถูกแล้วจะไปต่อคับ

    ปล.พี่แม๊กตอบช้าๆหน่อยก็ได้เล่นตอบซะไวเชียวไม่ให้พักกันมั่งเลย
     
  7. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    ..... กำลัง เป็น กิโลวัตต์ (kW) = แรงบิด x รอบ ( เรเดียน/วินาที)

    ทีนี้ จะทำเป็นแรงม้า

    วิชา ฟิสิกส์ วิชา Solid ถ้าจำไม่ผิด 1 kW = 1.36 แรงม้า ( มั้งนะ...)
    หรือ 1 แรงม้า = 746 วัตต์ หรือ 735 นี่หละ ไม่รู้หน่วยไหน
    kW = กิโลวัตต์ แปลว่า 1000 วัตต์ เพราะ กิโล ในวิชาฟิสิกส์ คือคำอุปสรรค แปลว่า 10 ยกกำลัง 3 หรือ 10x10x10 = 1000


    ถ้าจะให้ออกเป็นแรงม้า ต้อง เอาไปคูณด้วย 1.36 หรือไม่ก็ คูณ 1000 หาร 735 หรือจะ คูณ 1000 หาร 746 ก็แล้วแต่มาตรฐานของหน่วยวัดแรงม้าครับ

    ปล. ผมอายุน้อยกว่าพี่เจ๊ยบนะ หึหึหึ (ถึงหน้าแก่ก็เถอะ)

    ปล. 2 ถ้าคำถามยากและลึกกว่านี้ ผมตอบไม่ได้แล้ว 5 5 5
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 มกราคม 2008
  8. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    สงสัยจะจบไฟฟ้ามาเหมือนกันแน่เลย .5555 ถูกแต่ยังไม่ตรงคำถาม.......

    แรงม้า hose prwer = (rpm x torque)ค่าคงที่

    ปุจฉา ค่าคงที่ มี่ค่าเท่ากับเท่าไหร่ .........
     
  9. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    ตอบยากวุ้ย..... ผมมะได้เรียนไฟฟ้าอะ เรียนเครื่องกล ยังไม่จบด้วย 5 5 5

    พี่เจี๊ยบเล่นคำถามโหดๆซะแล้ว....... ( บางคนว่าง่าย แต่ผมประเภทรักเรียน เรียนซ้ำเรียนซาก 5 5 5)


    ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็วอยู่ที่นั่น ขอสักที



    ขอตอบ แบบขี้เกียจพิมพ์ที่มา ค่าคงที่ คือ 0.000142418 ครับผม แต่ค่าคงที่ของผม เอาไปคูณกะฝั่งขวาของเครื่องหมาย = นะ หรือที่มาของตัวเลข คือ (2ไพ x 1.36)/60x1000 ( สองไพคูณหนึ่งจุดสามหก หารด้วย หกสิบ แล้วก็ หารด้วย หนึ่งพัน)
    ขอทดลอง ค่าคงที่ที่ผมสร้างขึ้นมาก่อน :
    เครื่อง 4JB1 ในดราก้อนอาย แรงบิดที่รอบ 3800 มี = 175.908 N-m
    หา แรงม้าสูงสุด ที่รอบ 3800

    กำลัง (แรงม้า) = แรงบิด(นิวตัน-เมตร) x Rpm (รอบ/นาที) x ค่าคงที่
    แรงม้า = 175.908 x 3800 x 0.000142418

    จะได้ 95.2 แรงม้า ครับผม ตาม Spec


    ถ้าผิด ขอยอมแพ้
     
  10. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ไม่อยากบอกว่า แรงม้าสูงสุดไม่ได้อยู่แรงบิดสูงสุดนะครับ.....................

    แรงบิดสูงสุดอาจจะอยู่ 1500 รอบต่อนาที
    แต่แรงม้าสูงสุด จะอยู่ที่ 4000รอบต่อนาที
    ดังนั้นถ้าจะหาค่าคงที่ ตามสเป็คแล้วต้องเอาแรงบิดที่รอบแรงม้าสูงสุดมาคิดถึงจะถูกครับ...............

    แต่ขอปรบมือให้กับความพยายาม อย่างมาก ซึ่งมันเป็นกำลังใจให้ผมเป็นอย่างดี ที่อย่างน้อยก็มีคนที่อ่านและคิดตามและรับสิ่งที่ผมสื่อออกไปให้ฟังได้ น่ะครับ

    แล้วคนที่อ่านอย่างเดียวล่ะ ถามตัวเองหน่อยไหมว่า เฉยเพราะอะไร สงสัยอะไรถามได้นะครับ ถ้าผมตอบได้จะพยายามอธิบายให้เข้าใจ แล้วเราจะไปต่อกันเรื่อยๆครับ........
     
  11. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    ตาม Spec 2800 ดราก้อน แรงบิดสูงสุด 220N-m@ 1800 รอบครับ

    แต่แรงบิดที่รอบ 3800 จริงๆ เค้าไม่ได้บอกมาให้หรอกครับ แต่ผมเอาสูตรนั้นหละมาคิด เพราะรู้ว่า แรงม้า มีเท่าไหร่ รอบเท่าไหร่ ขาดก็แต่แรงบิดอย่างเดียว เลยนั่งจิ้มเอา

    จริงๆ ที่รอบ 3800 ที่ผมจิ้ม มันก็เป็น แรงม้าสูงสุด ที่เครื่องนี้มันพอดีครับ (ถ้าดูจาก Spec มันนะ วัดจริง อาจไม่ใช่ตรงนี้)

    ปล.3 ไปต่อๆๆๆๆ :D:D
     
  12. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    อิอิ........พรุ่งนี้ค่อยมาว่ากันต่อนะครับ กรั่กๆๆๆมันส์ดีครับ เดี๋ยวมีอะไรมาให้นั่งจิ้มกันอีก ถูกไม่ถูกไม่ต้องสนใจมากครับ เอาคอนเซ็บก็พอครับว่า เค้าคิดกันอย่างไร แล้วที่ทำกันนั้น ไปขัดแย้งกับทฤษฏีหรือป่าว ถ้ามันไปทางเดียวกันก็ มั่นใจได้ครับ...... สู้ๆ
     
  13. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ??ҧ?ԧ??Ѻ.......Ba? ˹??? ??ҹ?ѹ?????仢?ҧ?֧

    ????? ??ç??Ҕ ???? horsepower (hp) ??? ?????????鹤????á??ؤ????ѵ??ص??ˡ??? ?? ????? ?ѵ??"??ѡ?Է????ʵ?????ѧ??ɼ???ժ??????§ ????繼??Ѳ??????ͧ?ѡ??͹??????ջ???Է???Ҿ ???????繾?ѧ?Ѻ????͹??û???ѵ??ص??ˡ???

    ??з???Ңͧ??????ç??? ?繡?????º??º˹??¾?ѧ?ҹ?ͧ????ͧ?ѡ?????ͧ?????????? ???????ö?ӧҹ᷹??ѧ?ҹ?ѵ?? ?? ??? ???ҡ??????§?

    ????ҷ??仢ͧ?ç??? ?Դ???????????? ?ѵ?? ?????????ͧ?ѡ??͹?Ӣͧ??????? ?ѡ?Է????ʵ???ѧ?????蹡?͹˹???? ?һ?Ѻ??ا?Ѳ??????????ͧ?ѡ??͹??Ẻ???? ????ѵ???ͤԴ????Ԣ?Է???ҧ?ѭ?Ңͧ????ͧ ??ҡѺ 1 ? 3 ?ͧ??Ť?Ҷ?ҹ?Թ???????ͧ?ѡâͧ?Ҫ??»????Ѵ?? ???????º?Ѻ?????????ͧ?ѡù??????

    ???ѵ?ҹ???Դ???????Ѻ????????????? ???ѧ???????????ͧ?ѡ??͹??????˹?ҡ?͹ ?ѵ????µ?ͧ?Դ?ӹdz ???ѧ?ͧ??Ҕ ?͡?? ???ͤԴ????Ԣ?Է???Ѻ?١??ҡ??????????

    ?ҡ??äӹdz?ͧ?? ???????ö??ع????ͧ????駷????????? 12 ?ص ?? 144 ???????? 1 ??????? ??????ҡѺ 2.4 ???駵?͹ҷ? ????ͤԴ????º?ٵ? ???ѧ = ?ҹ/???? = (?çx???зҧ)/???? ?֧?????Ţ?͡????? 1 ?ç??? = (180 ?͹??)(2.4x2 ? x12?ص)/1 ?ҷ? = 32,572 ?ص ???? 33,000 ?ص-?͹?? ??? ?ҷ?

    ?ա????˹?????Ҷ֧????Ңͧ????ç?????? ?ѵ???·ӡ?÷??ͧ??о???? ?????????????????¡?ͧ???˹ѡ 220 ?͹?? ???٧ 100 ?ص ??????????? 1 ?ҷ? 㹡?÷ӧҹ?繡С??? 4 ??????? ??????ͧ?ҡ??ҵ???˭??ա??ѧ?ҡ??????ҵ????? 50% ????ç??ҷ????֧??ҡѺ 1.5 x 100x 220 = 33,000 ?ص-?͹?? ??͹ҷ?

    ??????ԧ˹????ç??? ??˹????Ѵ??ѧ?ҹ?????ҳ???????????ѹ???? ???ͧ?ҡ?????˹??? ??ѵ?? (??觡????Ҩҡ???????? ?ѵ???????) ??????к?˹????????ҧ????? (SI) ??ѹ????????ҡ???? ???շ???ѧ???????ç??ҡѹ????? ???ǧ????ҹ¹?? ?????˹??¹???кء??ѧ?ͧ????ͧ¹????????????

    ??????????º????ç????繤?ҵ???к? SI ????????Ţ?͡?????? 1 hp = 745.69987158227022 W ???? 1 ?ç?????ҡѺ 746 ?ѵ?? ??????¤?????? ?ҡ????? 1 ??ǻ??????????ͧ???Դ俿?? ??Ҩ???????俿???͡?ҵ?????ͧ 746 ?ѵ?? ????ͧ
     
  14. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    แรงม้า มีหลายมาตรฐาน แตกต่างกันในรายละเอียดของเงื่อนไขในการวัด
    ตามแต่สถาบันแต่ละแห่งกำหนดขึ้นมา โดยมีหน่วยต่อท้ายเช่น EEC-net, EEc-gross,
    PS, DIN, BHP, JIS ฯลฯ

    ตัวเลขที่แสดงออกมาในเอกสารประกอบการขาย โฆษณา
    หรือประชาสัมพันธ์ของบริษัทรถยนต์ ล้วนเป็นการวัดแรงม้าจากเครื่องยนต์
    โดยยังไม่ผ่านระบบส่งกำลัง และไม่ได้วัดแรงม้าที่ล้อ
    ซึ่งถ้าวัดแรงม้าที่ลงพื้นจริงหลังจากผ่านระบบส่งกำลังจะมีค่าที่ได้น้อยลงกว่าที่วัดจากเครื่องยนต์อีกหลายเปอร์เซ็นต์
    หรือสิบยี่สิบเปอร์เซ็นต์ก็ยังมี
    เพราะมีการสูญเสียในการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ผ่านหลายอุปกรณ์กว่าจะถึงยางมาสู่พื้น
    ซึ่งรถยนต์แต่ละรุ่นมีอัตราการสูญเสียกำลังนี้ไม่เท่ากัน
    และถ้ารุ่นใดสูญเสียน้อย ก็ถือว่าเป็นจุดเด่น
    ดีกว่าที่มีแรงม้าในเครื่องยนต์มาก แต่ลงสู่พื้นได้น้อย
    สมรรถนะและการกินน้ำมันก็ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น (ตัวเลขการสูญเสียกำลังนี้
    ไม่มีผู้ผลิตรายใดเปิดเผย)

    การวัดแรงม้าจะเครื่องยนต์ในแต่ละหน่วย มีความแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น
    อุณหภูมิน้ำระบายความร้อน อุณหภูมิ-ความชื้น แรงกดอากาศ
    รวมถึงการใส่อุปกรณ์พ่วง เช่น ไดชาร์จ ปั๊มน้ำ ท่อไอเสีย ฯลฯ

    บางหน่วยการวัดมีเงื่อนไข เอื้อต่อการทำให้ตัวเลขแรงม้าออกมามาก
    บางหน่วยเข้มจนแรงม้าออกมาน้อย
    นั่นหมายความว่าการวัดในแต่ละหน่วยกับเครื่องยนต์หนึ่ง
    จะให้ตัวเลขแรงม้าต่างกัน
    เงื่อนไขในการวัดแรงม้าที่แตกต่างในแต่ละหน่วยนั้น
    มีมากมายและหลายส่วนอ่านแล้วคนทั่วไปเข้าใจยาก หรือเป็นรายละเอียดที่ยิบย่อยมาก

    ในหน่วยที่มีเงื่อนไขเข้ม เช่น DIN, EEC-net จะมีตัวเลขแรงม้าที่ได้น้อยลงกว่า
    5 เปอร์เซ็นต์
    เมื่อเปรียบเทียบหากวัดตามมาตรฐานของหน่วยที่บางคนเรียกว่าเป็นแรงโม้ เช่น JIS,
    EEC-gross ฯลฯ

    สำหรับเมืองไทยที่มาตรฐานการควบคุมการโฆษณาไม่เข้มงวด
    และไม่กำหนดให้ใช้มาตรฐานเดียวกันในการแสดงผล แต่ก่อนจึงมักจะเหมารวมด้วยคำว่า
    แรงม้า เพียงลอยๆ เท่านั้น โดยไม่วงเล็บหน่วยการวัดจริงต่อท้าย
    ซึ่งหลายบริษัทรถยนต์ก็มักจะเลือกหน่วยที่วัดแล้วได้ตัวเลขออกมามากๆ
    เพื่อเป็นจุดเด่นในการขาย มีระยะ 5
    ปีหลังมานี้เองที่การแข่งขันในตลาดดุเดือดขึ้น
    หากรายใดใช้หน่วยแรงโม้จนมีช่องโหว่ ก็อาจจะถูกคู่แข่งโจมตีได้
    จึงมีการกำกับหน่วยแรงม้าจริงต่อท้ายไว้

    การระบุเช่นนั้น ไม่ได้มีผลต่อผู้บริโภคเท่าไรนัก
    เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจว่าเป็นหน่วยอะไร
    หรือสนใจแต่ก็มักไม่ทราบว่าหน่วยใดจะโม้มากหรือน้อย
    จึงยังหลงเหลือหลายบริษัทรถยนต์เลือกใช้หน่วยการวัดที่ทำให้ได้ตัวเลขแรงม้ามากๆ
    ในการโฆษณาให้ฮือฮาอยู่เช่นเคย

    ในเมืองไทยนิยมใช้หน่วย EEC-gross, EEC-net, JIS , PS, DIN ซึ่ง 2 หน่วยแรกสุด
    วัดแล้วได้ค่ามาก หรือโม้มากกว่านั่นเอง

    ระยะหลังมานี้ เริ่มนิยมใช้หน่วยกิโลวัตต์กันมากขึ้น
    โดยมักจะมีตัวเลขแรงม้าควบคู่กันไปด้วย
    เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักกิโลวัตต์ในการวัดกำลังของเครื่องยนต์

    หากกลัวว่าจะงงกับแรงม้า ว่าหน่วยใดโม้มากหรือโม้น้อยกว่า
    และทราบกำลังของเครื่องยนต์เป็นหน่วยกิโลวัตต์
    ก็สามารถเปรียบเทียบกันได้ดีกว่าแรงม้าที่ต่างหน่วยกัน
    และถ้าอยากทราบเป็นแรงม้าที่ไม่โม้โดยประมาณ ก็ให้ใช้ 1.36
    คูณค่ากิโลวัตต์เข้าไป

    ตัวเลขแรงม้าที่วัดจากเครื่องยนต์ที่ระบุออกมา คนส่วนใหญ่มักรีบคิดไปก่อนเลยว่า
    เครื่องยนต์ที่มีแรงม้ามากๆ ก็จะทำให้รถยนต์คันนั้นมีอัตราเร่งดีกว่า
    ทั้งที่อาจจะไม่ใช่ก็เป็นได้

    ตัวเลขแรงม้า ไม่สามารถบอกสมรรถนะที่แท้จริงในการขับได้ ไม่ใช่เรื่องตายตัวว่า
    รถยนต์รุ่นที่มีเครื่องยนต์แรงม้ามากกว่า จะมีอัตราเร่ง ความเร็ว
    หรือการตอบสนองดีกว่าอีกุร่นหนึ่งที่เครื่องยนต์มีแรงม้าน้อยกว่า
    เพราะต้องเกี่ยวข้องกับอีกหลายองค์ประกอบ เช่น น้ำหนักรวม
    อัตราทดเกียร์-เฟืองท้าย การสูญเสียในระบบส่งกำลัง

    นอกจากแรงม้าที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจแล้ว
    แรงบิดและรอบเครื่องยนต์ที่ให้แรงม้าและแรงบิดสูงสุด
    ก็มีความสำคัญต่อสมรรถนะด้วยเช่นกัน
     
  15. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    1 ฟุต-ปอนด์ = 0.737265 นิวตัน-เมตร
    1 กิโลกรัม-เมตร = 9.8 นิวตัน-เมตร

    อยากจะเปลี่ยนอะไรเป็นอะไรก็ คูณหารกันเข้าไปกันเองนะครับ
    ตัวอย่าง เครื่องยนต์ A มีแรงบิดสูงสุด = 20.0 กิโลกรัม-เมตร = 196 นิวตัน-เมตร = 144.5 ฟุต-ปอนด์

    - แรงม้าคืออะไร?
    แรงม้าคือ หน่วยวัด พลัง ของเครื่องยนต์ที่ได้จากการทำงานของ แรงบิด ที่ความเร็วรอบใดๆ ต่อหน่วยเวลา
    มีรากเง้าการคำนวณมาจากสูตร งาน (จูล) = แรง คูณด้วย ระยะทาง >>> W = F x S
    และ พลังงาน P คือ งานต่อหน่วยเวลา มีชื่อว่าเรียกว่า วัตต์ (Watt) หรือ จูลต่อวินาที >>> P = W/วินาที
    หรือเท่ากับ งาน คูณด้วย ความเร็วเมตรต่อวินาที" >>> P = W x v
    โดยที่ . 1 แรงม้า = 746 วัตต์

    - ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงม้า กะ แรงบิด
    เราสามารถคำนวณหา แรงม้า จาก แรงบิด หรือ คำนวณ แรงบิด จาก แรงม้า ได้เสมอ ถ้าเรารู้ค่าของตัวใดตัวหนึ่ง ที่ความเร็วรอบเครื่องขณะใดขณะหนึ่ง

    ด้วยสูตรการคำนวณค่าแรงม้าที่ให้มาข้างต้น เราสามารถสร้างสูตรสำเร็จในการคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่าง แรงม้า และ แรงบิด ได้ดังนี้ (ค่าแรงบิดที่ใช้สูตรการคำนวณมีหน่วยเป็น กิโลกรัม-เมตร.)

    คำนวณ แรงม้า จาก แรงบิด : แรงม้า = รอบต่อนาที X แรงบิด X 0.001376
    คำนวณ แรงบิด จาก แรงม้า : แรงบิด = แรงม้า / (รอบต่อนาที X 0.001376)

    ดังนั้น จากข้อมูลของเครื่องยนต์ที่เรามักจะเห็นจากสเป็คในโบชัวร์โฆษณารถ เราก็จะสามารถคำนวณต่อได้ว่า

    ที่แรงบิดสูงสุดนั้น มีกี่แรงม้า หรือ ที่แรงม้าสูงสุดนั้น มีแรงบิดเท่าไหร่

    ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถคำนวณหาค่าอัตราทดเกียร์ เฟืองท้าย และ ขนาดล้อ ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รถที่มีสมรรถนะตามต้องการ ทั้ง อัตราเร่ง และ ความเร็วสูงสุด ทั้งนี้เราจะต้องรู้น้ำหนักรถ และ ค่าอากาศพลศาสตร์ ของรถด้วยนะครับ

    ตัวอย่างการคำนวณ

    ตัวอย่างที่ 1
    เครื่องยนต์ A มีแรงบิดสูงสุด 20.0 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3,600 รอบต่อนาที มีแรงม้าสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที
    คำนวณหา แรงม้า ที่แรงบิดสูงสุด ได้จาก : 3,600 X 20.0 X 0.001376 = 99.072 แรงม้า ที่ 3,600 รอบต่อนาที
    คำนวณหา แรงบิด ที่แรงม้าสูงสุด ได้จาก : 150 / (6,000 X 0.001376) = 18.168 กิโลกรัม-เมตร ที่ 6,000 รอบต่อนาที

    ตัวอย่างที่ 2
    เครื่องยนต์ B มีแรงบิดสูงสุด 20.0 กิโลกรัม-เมตร ที่ 4,500 รอบต่อนาที มีแรงม้าสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 6,500 รอาที
    คำนวณหา แรงม้า ที่แรงบิดสูงสุด ได้จาก : 4,500 X 20.0 X 0.001376 = 123.84 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที
    คำนวณหา แรงบิด ที่แรงม้าสูงสุด ได้จาก : 150 / (6,500 X 0.001376) = 16.771 กิโลกรัม-เมตร ที่ 6,500 รอบต่อนาที

    จากตัวอย่างการคำนวณของ เครื่องยนต์ A และ B เราจะเห็นได้ว่า แม้ทั้งคู่จะมี แรงบิด และ แรงม้า สูงสุด เท่ากัน แต่เครื่องยนต์ A จะได้อัตราเร่งที่ดีกว่าทั้งต้นและปลาย ที่อัตราทดของระบบการส่งกำลังเดียวกัน และ ถ้าจะให้เครื่องยนต์ B มีสมรรถนะเท่ากับเครื่อง A บนตัวถังเดียวกัน อาจจำเป็นต้องใช้ชุดเกียร์ที่มีอัตราทดชิดกันมากกว่า และอาจต้องมีจำนวนเกียร์มากกว่าด้วย นอกจากนี้ เครื่องยนต์ A ก็มีโอกาสประหยัดน้ำมันกว่า ถ้ามีความจุของเครื่องยนต์เท่าๆ กัน เพราะว่า เครื่องยนต์ A ดูจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์ B จากลักษณะ แรงบิด และ แรงม้า ที่เครื่อง A ได้มาอยู่ในรอบเครื่องยนต์ที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปนะครับ แต่มีโอกาสเป็นไปตามนี้สูงมาก

    ที่มาของสูตรการคำนวณ (สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรู้ ก็ข้ามส่วนนี้ไปได้เลยครับ)
    ทำ รอบต่อนาที ให้เป็น รอบต่อวินาที จากการหารด้วย 60 วินาที
    ทำ รอบต่อวินาที ให้เป็นความเร็ว แบบ เมตรต่อวินาที จากการคูณด้วย (2 X Pi X R) หรือ (2 X 3.14 X 1) = 6.28
    ทำ วัตต์ ให้เป็น แรงม้า จากการหารด้วย 746 วัตต์
    ทำแรงบิด จาก กิโลกรัม เป็น นิวตัน จากการคูณด้วย 9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง
    ดังนั้น จึงได้สูตรรวมการคำนวณแรงม้าจากแรงบิด เป็น
    (รอบ X แรงบิด X 6.28 X 9. / (60 X 746) = รอบต่อนาที X แรงบิด X 0.001376

    - การทดเกียร์ในรถยนต์ทำเพื่ออะไร?การทดเกียร์มีจุดประสงค์ 2 ประการคือ

    หนึ่ง เพื่อให้สามารถควบคุมความเร็วรถได้อย่างเหมะสมตามรอบเครื่องยนต์
    สอง เพื่อให้สามารถสร้างอัตตราเร่งของรถได้ด้วยการทำให้แรงบิดของเพลาขับสูงกว่าแรงที่รถต้องการในแต่ละช่วงความเร็ว

    ประการที่หนึ่ง นั้นคงไม่ต้องอธิบายมาก แต่อยากจะบอกให้หายสงสัยว่า ทำไมรถที่เครื่องแรงมากๆๆๆๆๆ เช่น รถสปอร์ต 300-500 แรงม้า ยังคงต้องมีเกียร์ หนึ่ง ที่มีอัตราทดพอๆ กับรถจ่ายตลาดที่มีแรงม้าแค่ปริ่มๆ 100 แรงม้า ถามว่ารถที่แรงมากๆ ออกเกียร์ สอง ได้มั๊ย ก็ตอบว่า อาจได้ครับ แต่ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร รถยนต์ต้องออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง เสมอไม่ว่าจะเป็นคันไหน และถ้าไม่มีครัช เครื่องยนต์ก็ต้องเริ่มหมุนจาก 0 รอบต่อนาทีเหมือนกัน และไม่ว่าเครื่องจะมีแรงเท่าไหร่ ถ้าเครื่องหมุน 0 รอบต่อนาที ก็มีแรงเท่ากับ 0 เหมือนกันทุกเครื่องยนต์ ดังนั้น คุณต้องการเกียร์ หนึ่ง ที่มีอัตราทดมาก ไม่ได้ไว้เพื่อให้มีแรงอย่างเดียว แต่เพื่อความเหมาะสมต่อการเลี้ยงรอบเครื่องในการออกตัว ส่วนการทดในเกียร์ต่อๆ ไปก็เพื่อให้เครื่องได้ทำงานในรอบเครื่องยนต์ที่ให้การตอบสนองเหมาะสมต่อการใช้งานที่ดีที่สุดนั่นเอง

    ประการที่สอง อันนี้สำคัญ เพราะว่าการที่รถจะมีความเร็วคงที่อยู่ได้ หรือสามารถเร่งความเร็วเพิ่มขึ้นได้นั้น แรงบิดที่เพลาขับต้องมีเหลือมากกว่าแรงที่รถต้องการ ยิ่งความแตกต่างของแรงบิดที่เพลาขับมากกว่าแรงบิดที่รถต้องการมากเท่าใด รถก็จะยิ่งมีอัตราเร่งสูงขึ้นเท่านั้น แต่แรงที่รถต้องการเมื่อความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ คือแรงต้านของอากาศที่มีสมการอยู่ในรูปของ ความเร็วยกกำลังสอง ทำให้แรงต้านนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการเพิ่มของความเร็วของรถ และบังเอิญว่า แรงบิด ของรถก็มักจะลดลงเมื่อรอบเครื่องยนต์พ้นรอบแรงบิดสูงสุดไป การทดเกียร์ จึงเป็นการเพิ่มแรงบิดของเพลาขับให้มากกว่าแรงที่รถต้องการตลอดช่วงการไต่หาความเร็วสูงสุด
     
  16. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ไหนๆ ลองตอบมาซิว่า ค่าคงที่ มีค่าเท่ากับเท่าไหร่เอ่ย........(ค่าคงที่ของผมเอาไปหารนะไม่ได้เอาไปคูณ แล้วมันจะเท่ากันไหมน๊า.....อิอิ)
     
  17. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    ค่าคงที่อันไหนอะ ????


    ถ้าเรื่องสูตรหากำลังจากแรงบิด


    แรงม้า = แรงบิด(นิวตันเมตร) x รอบ/นาที

    ค่าคงที่ เอา ฝั่งขวาของเครื่องหมาย = คูณ 2 x Pi หารด้วย 60 แล้วก็หารด้วย 735


    แรงม้า = แรงบิด( กก.-แมตร) x รอบ/นาที

    ค่าคงที่ เอา ฝั่งขวาของเครื่องหมาย = คูณ 2 x Pi x 9.8 หาร 60 แล้วก็หารด้วย 735


    หรือทั้ง 2 อัน ถ้าไม่อยากหารด้วย 735 ก็ไม่ต้องหาร เอาไปคูณ 0.00136 แทน
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มกราคม 2008
  18. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ถูกต้องนะครับ..................... พี่แม็กถามหน่อยพี่แม็ก จบที่ไหนมาบ้าง ตอนนี้ทำงานอะไรอยู่ครับผม......... พี่เก่งแคลคูลลัส มั่กมากเลยครับ
     
  19. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    .......


    555 ไม่อยากจะบอกความจริงนะ อายเหมือนกัน
    ถ้าปีก่อน วศบ.เครื่องกล สจพ. พระจอมเกล้า พระนครเหนือ (KMITNB) แต่เรียนไม่จบ..... เกรดไม่สวย เลยกำลังจะเปลี่ยนสาขาครับผม ( เกรดเฉลี่ยรวม เหลือ 2.65 ) แล้วผมมันประเภทขี้เกียจ+หัวไม่ดีอีกต่างหาก .....


    ถ้าเรียนต่อ ผมก็ กำลังจะจบปี 2......... แต่นี่ ผมกำลังจะเป็นเด็กปี 1 ใหม่อีกรอบครับผม .............. อาย แต่ต้องยอมรับความจริง



    ปลลลลลล.... ผมอายุน้อยกว่าพี่เจี๊ยบนะ :D:D ถึงหน้าแก่ก็เถอะ
     
  20. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    อายุเป็นเพียงแต่ตัวเลขครับ........ไปกันต่อดีกว่าครับ ออกมานอกเรื่องกันมากแล้ว....... คนอ่านเห็นตัวหนังสือเยอะอย่างนี้หนีไปกระทู้พักสายตากันหมดพอดี กรั่กๆๆๆ

    ดังนั้น ดีเซลไม่ใช่เบ็นซิล ที่จะหมุนเท่าไหร่ก็ได้..........??? ทำไมถึงหมุนเท่าไหร่ก็ได้ล่ะ........ อยากรู้ไหม ผมจะพูดคร่าวๆก็แล้วแบบว่าไม่ต้องลงลึกก็ได้ คือเครื่องเบ็นซิลหมุนได้จี๋.....ก็เพราะว่า มันดูไอดีที่มีน้ำมันพร้อมที่จะระเบิดได้ทุกเมื่อ แล้วบีบอัดขึ้นไปจนถึง ศูนย์ตายบน อากาศถูกปีบเกิดความร้อนสูงแต่ร้อนน้อยกว่าเครื่องดีเซล(เพราะกำลังอัดต่ำกว่ามาก ประมาณ 8 -10 แล้วแต่รุ่น) ไอดีก็ร้อนน้อยกว่ามันยังไม่เผาไหม้เลย(ถ้ามันเผาตอนนี้มันก็เจ๋งพอดี)แล้วข้อเหวี่ยงก็คล้อยเลย0ตายบนไป 10 องศาให้สามารถรับแรงที่จะเกิดเปลี่ยนเป็นพลังงานกลได้ดีมากที่สุด พอลูกสูบเลื่อนมาได้ 10 องศา กล่องก็สั่งจุดระเบิด เปรี้ยง+++!!!! น้ำมันและอากาศถูกเผาไหม้ดันลูกสูบเลื่อนลงไปเกิดเป็นแรงบิดขึ้นมา แล้วนึกภาพดูอะไรทำให้มันหมุนได้จัดขนาดนั้น........ ก็เพราะมันจะหมุน5000รอบ หรือ 10000 รอบ ก็แค่สั่งให้หัวเทียนจุดแลบไฟขึ้นมันก็ได้พลังงานกลแล้ว ยิ่งถ้าได้น้ำมันที่ติดไฟเร็วมากๆ จะทำให้ การลุกไหม้ทำได้รวดเร็วมากขึ้นยิ่งทำให้ข้อเหวี่ยงรับแรงได้ทันก่อนที่ลูกสูบจะเลื่อนลงไปมากกว่า 10 องศา(เพราะปริมาตรมันเพิ่มขึ้น) ดังนั้น เบนซิลจะทำแรงม้าได้ จาก Rpm ก็ได้ ซึ่งดีเซลทำได้ไม่มาก ยิ่งถ้าเครื่องเบนซิลทำแรงบิดให้สูงได้อีกยิ่งกระฉูดเพราะว่า แรงม้า คือ ตัวคูณระหว่าง รอบกับแรงบิด นั่นเอง แต่หากจะเพิ่มแรงบิดของเครื่องบนซิลนั้นทำได้ยาก พอดู เพราะ ถ้าจะเพิ่มบุสท์แบบดีเซลไม่ได้ เนื่องจากถ้าเพิ่มบูสท์เข้าไป ทำให้กำลังอัดในห้องเผาไหม้สูงมากขึ้นความร้อนจากการบีบอัดของลูกสูบถ้าสูงมากเกินกว่าค่าอ๊อกเทนน้ำมันจะรับได้ มันก็จะชิงระเบิดก่อนที่หัวเทียนจะจุดอีกร่องแหวนแตกเอาง่ายๆ....และยังมีปัญหาน้ำมันต่ออากาศมาแปรปรวนอีก ยิ่งบาง ยิ่งร้อนจัดลูกละลายแหวนตายลูกติดอีก มันจึงศาสตร์อย่างหนึ่งที่ยิ่งกว่าดีเซลอีกที่ต้องทำไปพร้อมๆกัน ลองคิดดูว่าถ้าเรามีกล่องเทพๆที่สั่งได้ไม่ตัดรอบ........ถ้าบูสท์ 2 บาร์เครื่องน็อกชิงจุดระเบิดก็จริงแต่ถ้าเราใส่อินเตอร์คูลเลอร์ที่โคตรๆๆๆๆเย็นเข้าไป(ทำให้เราเห็นอินเตอร์คูลเลอร์หน้าตาแปลกๆ เพราะแบบอากาศมันเบๆเกินไปแล้วแล้ว) ทำให้อุณหภูมิไอดีเย็นๆมากๆ เมื่อถูกบีบอัดแล้วอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจริงแต่ค่าอ็อกเทนยังรับได้ ก็ทำให้ได้แรงบิดอย่างมหาศาลจากเครื่องเล็ก นี่ยังไม่กล่าวถึงช่วงโอเวอร์แล็บของไอดีไอเสียเลนะ มันไม่รู้จะพูดอย่างไร มันกอดคอกันไปด้วยกันหมดเลยอ่ะ.........
    ดังนั้น ดีเซลมีทางเดียวก็คือ ทำแรงบิดให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ทำได้โดย.......ปุจฉา เพิ่มแรงบิดของเครื่องดีเซลทำอย่างไร
     
  21. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    เพิ่มช่วงชัก เพิ่ม CC ......

    เพิ่มอากาศ เพิ่มน้ำมัน .....





    ฟลายวีลหนัก ก็น่าจะมีผลนะ (มั้ง) แต่รอบเดินช้า:mad::mad:



    ตอบไปเรื่อยหละ อยากรู้ ผิดถูกไว้ที่หลัง :confused::confused:
     
  22. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    การเพิ่มแรงบิด ก็คือการเพิ่มการเผาไหม้ ง่ายที่สุดก็คือเพิ่มแรงดันบูทส์เข้าไปเกิดการเผาไหม้มากขึ้นแรงบิดก็มากขึ้น แต่เมื่อเราจะโมดิฟายแล้ว การเพิ่มปริมาตรกระบอกสูบเป็นทางเลือกที่ง่ายและทำให้เครื่องยนต์มีความทนทานกว่า ถามว่าทำไมถึงทนทานกว่า ก็เพราะว่า ถ้าเครื่องของเราทำแรงม้าได้ 100 แรงม้า จากเครื่อง 2500 ซีซี (สมมุติ)บูสท์อยู่ที่ 25psi หากเราใช้เครื่องยนต์ที่มีความจุมากกว่า ถ้าแรงม้าเท่าๆกัน เครื่องยนต์ก็จะต้องบบริโภคอากาศและฉีดน้ำมันเท่าๆกัน คือถ้าใช้เครื่อง3000 ซีซี ไม่ต้องบูสท์ถึง 25psi หรอกก็จะได้แรงม้าเท่ากับเครื่อง 2500 แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องยนต์ที่ชักยาวหรือ โอเวอร์สแคว จะเป็นเครื่องที่ทำแรงบิดได้สูงมากว่า ถ้ามีแรงเท่าๆกันมากระทำที่หัวลูกสูบ เพราะว่า เครื่องยนต์ชักยาเส้นรอบวงของการหมุนจะกว้างระยะจากศูนย์การการหมุนจะทำให้สามารถพลักเพลาข้อเหวี่ยงได้ง่ายกว่า นึกถาพเวลากวดน็อต ทำไมต้องต่อด้ามนั่นเอง แต่ใช่ว่าการเพิ่มช่วงชักจะทำให้เครื่องยนต์มีแต่ข้อดีเสมอไป การเพิ่มช่วงชักหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอ กับความเร็วของลูกสูบที่เพิ่ม การสึกหรอที่ตามมาและมีขีดจำกัดของอัตราเร่งสู่รอบสูง
    ถ้ามองดูดีๆไม่เชิงกว่าจะเป็นข้อเสียเสมอไป หากเป็นเครื่องเบนซิล มีผลมาก แต่เครื่องยนต์ดีเซล รอบขึ้นช้าอยู่แล้ว เนื่องจากแรงเฉื่อยของเพลาข้าเหวี่ยงและฟลายวีลที่หนัก การเร่งรอบจึงไม่จัดจ้านเท่าใดนัก ความเร็วของลูกสูบสูงกว่าจริง แต่ว่าเครื่องดีเซลของเราหมุนแต่5000 รอบต่อนาทีเอง เพิ่มขึ้นไม่มากเท่าใดนัก การให้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ดีๆ ที่มีฟิลม์น้ำมันแข็งแรงยังพอรับมือไหว.......และที่มองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือส่วนที่รับแรงจากการสันดาบ ก็คือ แบริ่ง(ชาร์ฟ) ส่วนนี้หลี่เลี่ยงไม่ได้จริงๆ ได้แต่พึ่งพาน้ำมันเครื่องและคุณภาพของวัสดุที่เอามาทำ
    ทั่วๆไปเองแล้วดูแล้วไม่เห็นมีอะไรเหมือนชาวบ้าน แต่......การโมดิฟายได้ทำเพียงเท่านี้ แค่การเปลี่ยนท่อนล่างเพิ่มซีซี ใครๆเค้าก็ทำ แต่อย่าลืมว่า ถ้าเราจะแรงกว่าคนอื่น เราต้องเหนือ หรือเป็นต่อคนอื่นอยู่ 1 ก้าวเสมอ.........แล้วใครมองข้ามช๊อคการทำท่อนล่างอันนี้ไว้อย่างไรบ้าง........

    ปุจฉา น้ำหนักของลูกสูบ+สลักก้านสูบ+ก้านสูบ มีผลอย่างไรกับการหมุน ของเครื่องยนต์........จะทำอะไรกับตรงนี้ได้บ้าง
     
  23. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    หนักมาก ก็ น่าจะสร้างภาระให้กับเครื่องมาก

    มวล = คุณสมบัติในการต้านทานการเคลื่อนที่


    ทำอะไรกะมันดี .......... ทำให้มันเบา แล้วมันจะทนเปล่าอะ .....

    หรือจับมันถ่วงบาล๊านซ์ใหม่หมดเลยอะ .............. งานนี้สงสัยหลายตังอะ
     
  24. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ในทางฟิสิกซ์ หากเราเคลื่อนที่ในแนวดิ่งจะไม่เกิดงาน หากเราเคลื่อนที่จะมีงาน.......ผมมองว่าการอะไรบ้างที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ พี่แม็กครับลองคิดดูให้น้อง ตกใจเล่นๆหน่อยได้ไหมครับ

    1 เครื่อง2500 มีช่วงชัก เท่ากับ 95 เครื่องหมุน 5000รอบ ลูกสูบจะเครื่องที่ด้วยความเร็วสูงสุดเท่าไหร่

    2 เครื่อง 3100 มีช่วงชัก เท่ากับ 102 เครื่องหมุน 5000รอบ ลูกสูบจะเครื่องที่ด้วยความเร็วสูงสุดเท่าไหร่

    3 เครื่อง 3100 หมุน 6000 รอบต่อนาที จะมีความเร็วสูงสุดเท่ากับเท่าไหร่

    ผมคำนวนไม่ถูกรู้เพียงแต่ว่า ความเร็วสูงสุดของลูกสูบจะเท่ากับความเร็วที่ข้อเหวี่ยงหมุนในแนวรัศมีน่ะครับ

    ขอบคุณพี่แม็กล่วงหน้าครับ
     
  25. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    เคยอ่านตำรา อะไรไม่รู้ หรือใครเคยเล่าให้ฟันไม่รู้ เค้าบอกว่า ถ้าจะให้ อยู่ ทน อยู่นาน อยู่นานแล้วก็ อยู่ทน เค้าจะออกแบบให้เครื่องบ้านๆทั่วไป ลูกสูบ มีความเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เกิน 20 เมตร/วินาที ( ราวๆ 72 กม./ชม. ) ........... แต่ไม่รู้จริงๆ ตำราเล่มไหน ใครพูด หรือผมละเมอเองก็ไม่รู้อะ......

    เครื่อง 2500 ไม่ใช่ 93 x 92 เหรอ 3100 ก็น่าจะ 95.4 x 107 นะ 102 นี่ น่าจะ 2800 นา
     
  26. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    เครื่อง 4 จังหวะ

    1 ช่วงชัก ข้อเหวี่ยงหมุน 1/2 รอบ ก็แปลว่า
    ในการหมุนของข้อเหวี่ยง 1 รอบ ได้ 2 ช่วงชัก ( ลูกสูบ ขึ้น 1 ที แล้ว ก็ ลง 1 ที )

    ระยะทางที่มันเคลื่อนที่ = 2 ช่วงชัก
    หากินด้วยสูตรเดิม 5 5 5 S= VT <<<<< ตัวแปรแค่นี้ แต่ทำได้หลายอย่าง ควรค่าแก่การจดจำจริงๆนะเนี่ย



    เครื่อง 2500 ช่วงชัก น่าจะ 92 มม. นา ( ถ้าผมจำผิด แก้ให้ด้วยครับ ) คิด 92 ละกัน อีซุ ตะเกียบรถเล็ก น่าจะ 2500 ชักสั้นตัวเดียว ที่เหลือ ชักยาวกันหมด ผมก็ชักยาวนะ ( รถนะ ไม่ใช่คน )

    5000 รอบ /นาที ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ระยะทาง = 2 x 92 มม x 5000 รอบ

    = 920 เมตร ......

    แถมรู้อีกว่า ถ้ารอบคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง เราสนใจ การ เปลี่ยนแปลงระยะทาง ใน 1 หน่วยเวลา ซึ่งมันก็คือ ความเร็วนั่นเอง จริงมะ คณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์ สักวิชานี่หละ


    920 เมตร / นาที = 15.33 เมตร/วินาที = 55.2 กม./ชม.



    เครื่อง 3100 ตัวนี้ ชักยาววววว ศัพท์ แบบ คนมีความรู้ ก็เรียก over square ( 2800 3000 3100 เรียกชักยาวหมด เพราะระยะชัก มีค่ามากกว่าความโตลูกสูบ )

    ที่ 5000 รอบ/นาที = 2 x 107 มม. x 5000 รอบ/นาที
    = 17.83 เมตร / วินาที = 64.2 กม./ชม.


    ที่ 6000 รอบ = 2 x 107 x 6000 รอบ/นาที
    = 21.4 เมตร/วินาที = 77.04 กม./ชม. จอร์จ เร็วไม๊หละนั่น
     
  27. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ยังไม่ต้องตกใจนะ มันเร็วกว่านั้นอีก 3100 หมุน 6000 รอบต่อนาที ลูกสูบมีความเร็วเฉลี่ย 77 กท/ชั่วโมง ทั้งที่ต้องออกตัวจากท้อปเดทเซนเตอร์ แล้วเร่งความเร็วสูงสุดจากเบรคจนหยุดนิ่งที่ บัททอมเดท ในระยะทางแค่ 107 มม. พระเจ้าจ๊อด มันอะไรจะขนาดนั้น......... ถ้าก้านสูบ ลูกสูบมีน้ำหนักมาก จะทำให้มีแรงเฉื่อย ทำให้มีน้ำหนักกดที่แบริ่ง และ เกิดแรงกระทำที่ก้านสูบ ก้านเล็กๆ รอบจัดๆอย่างนี้ก็ พังเหมือน WL.... ถ้า ก้านใหญ่ๆ ลูกหนัก ก็แบริ่งละลาย

    ปล. พี่แม็กครับแล้ว ข้อเหวี่ยง ที่รัศมีช่วงชัก 92 และ107 ที่5000 รอบและ107 ที่ 6000 มีความเร็วเท่าไหร่ครับ........ ผมไม่รู้ว่าคิดถูกไหม ความเร็วสูงสุดของลูกสูบเท่ากับความเร็วสูงสุดลองเพลาข้อเหวี่ยงที่ก้านสูบทำมุม 90 กับแนวรัศมีน่ะครับ ขอคุณครับ
     
  28. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    พี่แม็กครับ แล้ว ขอทราบประดับความรู้หน่อยครับ กระบอกโต X ช่วงชัก

    เครื่อง 2500
    เครื่อง 2800
    เครื่อง 3000
    เครื่อง 3100

    เท่าไหร่กันบ้างครับ.......... ปล. 3000 กับ 3100 สวมกันพอดีหรือป่าวครับ
     
  29. Green_Dragon

    Green_Dragon New Member Member

    45
    0
    0
    2500 >>>> 93x92
    2800 >>>> 93 x 102
    3000 >>>> 95.4 x 104.9
    3100 >>>> 95.4 x 107


    ไอ้สูตรบน ที่บอก เพิ่งนึกขึ้นได้ มันความเร็วเฉลี่ยอะ............ ไม่ใช่ ความเร็วสูงสุด

    เครื่อง 2500 รอบ 5000 ความเร้วลูกสูบ มากสุด น่าจะ = 86.74 กม./ชม.
    เครื่อง 3100 รอบ 5000 ความเร็วลูกสูบมากสุด น่าจะ = 100.88 กม./ชม.


    ที่รอบ 6000 ถ้าใครลากไปถึง ..... แปลว่า ลูกสูบ จะมีความเร็วสูงสุด น่าจะเกิน 100 กม./ชม.ไปแล้วนะ


    เครื่อง 2500 ที่รอบ 6000 ความเร็วลูกสูบสูงสุด น่าจะ = 104.1 กม./ชม.
    เครื่อง 2800 ที่รอบ 6000 ความเร็วลูกสูบสูงสุด น่าจะ = 115.4 กม./ชม.
    เครื่อง 3000 ที่รอบ 6000 ความเร้วลูกสูบสูงสุด น่าจะ = 118.7 กม./ชม.
    เครื่อง 3100 ที่รอบ 6000 ความเร็วลูกสูบสูงสุด น่าจะ = 121.06 กม./ชม.


    เร็ว พอๆ กะรถวิ่งต่างจังหวัดเลยนะ.......
     
  30. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    ดังนั้นถ้าช่างคนไหนมองข้าง สิ่งคำนวนออกมาเป็นตัวเลขอ้างอิงอย่างนี้แล้ว เพื่อนๆลากรอบไปไม่กลัวลูกสูบกระเด็นออกมานอกกระบอกสูบบ้างหรอ ดูซิ ระหว่าง เครื่อง3000 กับ 3100 ช่วงชักต่างกันนิดเดียวเอง แต่ไอ้ที่มันวิ่งขึ้นๆลงๆ น่ะมันเร็วขนาดไหน แค่ระยะ 10 กว่าเซนติเมตร มันต้องเริ่มเคลื่อนที่ไปที่ 120 กม./ชม. ตรงกลางๆประมาณก่อนครึ่งทางแล้วมันก็ต้องเบรคจนหยุดนิ่ง สลับไปอย่างนี้ นึกภาพดูว่ามันทรมาณขนาดไหน.......แล้วน้ำมันเครื่องที่เราๆ ท่านๆใช้ มีคุณภาพพอที่จะปกป้องการขัดสีที่รุนแรงอย่างนี้ไหม ฟิล์มน้ำมันเครื่องหากไม่แข็งแรงถูกความร้อนก็ ใส(บาง) ถูกไปเสียเผาก็ไหม้ไป จะเหลือความทนทานได้อย่างไร

    แค่ดูความเร็วของลูกสูบก็น่าจะพอรู้ว่า หากเป็นเครื่องชักยาว สิ่งที่จะตามมาก็คือ ลูกสูบจะมีอัตราเร่งที่มากกว่า เครื่องชักสั้น ทำให้ปริมาตรห้องเผาไหม้นั้นขยายได้รวดเร็วตามไปด้วย เมื่อเราเอามาคิดถึง การลุกไหม้ของน้ำมันดีเซลที่ช้าแล้ว จะทำให้เครื่องชักยาวมีรอบที่จัดมากไม่ได้ ถ้าได้ก็จะไม่มีแรงบิดในรอบสูงเพราะว่า เมื่อฉีดน้ำมันเข้าไปในห้องเผาไหม้ ที่รอบเดียวกันปริมาตรของเครื่องชักสั้นจะขยายตัวได้ช้าทำให้มีเวลาเอาแก๊สเอาเสียที่เผาออกมาใช้เป็นพลังงานกลได้มากกว่า แต่ก็ใช่ว่าเครื่องชักยาวจะไม่ดี ก็ดีในรอบต่ำ หากรอบต่ำเมื่อไหร่ เวลาในการเผาไหม้เหลือเฟือ เครื่องชักยาวก็จะมีประสิทธิภาพดีกว่านั่นเอง ดังนั้น จึงมีคนกล่าวว่า ชักยาวจะไม่มีรอบ ดังนั้นเราต้องหาทางหนีทีไล่เอาแรงบิดที่มากกว่ามาใช้ให้คุ้ม........ แล้วมีคนสงสัยไหมว่า ถ้าเครื่อง 3100 หมุนเกิน 5000 น่าจะพังได้แล้ว แต่พังบ้างไม่พังบ้าง เนี่ย เราจะรู้ไหมว่าแรงบิดมันหมดไปแล้วหรือยัง......... ปุจฉา เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าแรงบิดของมันเหลือมากน้อยแค่ไหน
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้