พอดีอ่านเจอมาครับ เครดิต http://www.racing-club.net/board/index.php?topic=263.0 คุณ Mokan ตอบไว้ครับ Heel & Toe...คำถามยอดฮิต แต่ตอบกันผิดเป็นประจำ... Heel & Toe นั้นเป็นเทคนิคที่ใช้ในการ Shift down หรือ เปลี่ยนเกียร์ลงเกียร์ต่ำขณะที่กำลังเบรคก่อนที่จะทำการเลี้ยวเข้าโค้ง เน้น..."เบรคก่อนที่จะทำการเลี้ยวเข้าโค้ง" โดยที่ไม่ให้เกิดอาการที่เรียกว่า Engine Braking และขอย้ำอีกครั้งว่า ถ้าใครในโลกนี้ทำตัวเป็น"กูรู้"สอนขับรถแข่ง แล้วบอกให้คุณใช้ Engine Braking ละก้อ กรุณาเดินหนีให้ไกลๆ แล้วไม่ต้องฟังมันพูดอีก Heel & Toe นั้นจะ Effective หรือมีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์ ต้องใช้ควบคู่กับ Double De-clutching ด้วย ตามที่คุณโก้(ที่ตอบมาเป็นภาษาอังกฤษ)นั้นบอกมานั้นเกือบถูก แต่หายไปหนึ่งสเตปคือสเตปของ Double De-clutching แล้วไอ้ Heel & Toe with Double De-clutching นี่ มันทำยังไง โอเค เตรียมตัวนะ จะบอรวดเดียวไม่มีเว้นวรรค เพราะตอนที่ทำ คุณจะมีเวลาแค่ 3-5 วินาที ก่อนที่จะต้องเลี้ยวเข้าโค้ง ....ขับสุดคันเร่งมาจนถึงจุดเบรคก่อน ถึงโค้งยกเท้าขวาจากคันเร่งแล้วกดแป้นเบรคด้วยเท้าขวาเต็มตีนแบบThreshold Brakingโดยไม่ทำให้ล้อใดล้อหนึ่งล๊อค(เกือบล็อคโอเคแต่อย่าล็อค)ในขณะที่ เท้าซ้ายกดลงบนแป้นคลัทช์มือซ้ายขยับหัวเกียร์จากเกียร์5(สมมุติว่าสุดทาง ตรงที่สนามพีระฯ)มาที่"เกียร์ว่าง"เท้าซ้ายถอนคลัทช์แล้วใช้ส้นหรือขอบเท้า ของเท้าขวาBlipหรือ"เบิ้ล"คันเร่งในขณะที่ยังเบรคอยู่เท้าซ้ายเหยียบแป้น คลัทช์อีกที่มือซ้ายขยับหัวเกียร์ลงมาเกียร์4เท้าซ้ายถอนคลัทช์ถ้าต้องใช้ เกียร์3เหยียบคลัทช์อีกทีเข้าเกียร์ว่างถอนคลัทช์เบิ้ลคันเร่งเหยียบคลัทช์ อีกที่เข้าเกียร์3ถอนคลัทช์Trailเบรคแล้วเริ่มเลี้ยวเข้าโค้ง.....ทำทัน ไม๊?....ต้องทำให้ทันเพราะทั้งหมดนี้ต้องทำในขณะที่เบรคก่อนที่จะเลี้ยวเข้า โค้ง ถ้าเปลี่ยนจาก 5 มา 4 มา 3 มันทำไม่ทัน จะเปลี่ยนจาก 5 มา 3 เลยก้อได้ แต่ค้องรอให้รถช้าลงมาให้รบพอดีก่อน ในกรณีที่เกียรเป็น H-pattern เราเปลี่ยนเกียร์ข้ามได้ แต่ถ้าใช้เกียร์ Sequential ก้อต้องไล่ลงมาทีละเกียร์ หลายคนป่านนี้คงมึนกับตรงที่...กดคลัทช์ เข้าเกียร์ว่างถอนคลัทช์เบิ้ลคันเร่งเหยียบคลัทช์เข้าเกียร์ต๋ำถอนคลัท ช์...แล้วถามว่า "ทำไมต้องทำด้วยวะ?" คำตอบก้อคือ มันทำให้ Synchromech engagement ในขณะ shift down มันง่ายขึ้น ถ้าคุณไม่เข้าเกียร์ว่างถอนคลัทช์ แต่แค่เหยียบคลัทช์แล้วเบิ้ลคันเร่งเฉยๆ คุณแค่ match รอบเครื่องให้เท่ากับรอบของเกียร์เฉยๆ แต่คุณยังใช้ Synchro ring ให้มันทำงานอยู่ ถ้าเกียร์ ratio ของคุณมันยังห่าง Synchro ring มันยังต้องใช้เวลานิดนึงในการทำงานอยู่ shift down ของคุณมันก้อจะช้า การเข้าเกียร์ว่าง ถอนคลัทช์ แล้วเบิ้ลคันเร่ง ทำให้เราใช้เครื่องต่อกับเกียร์ผ่านคลัทช์ไปช่วยหมุนเฟืองเกียร์ให้ทัน match รอบกันเร้ซขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการทำงานของ Synchro ring การ shift down ก้อจะงายขึ้น เร็วขึ้น แถมไม่เปลือง Synchro ring อีกต่างหาก หรือคุณจะถอด Synchro ring โยนทิ้งไปเลยก้อได้ มึนไม๊ละครับพี่น้อง เหอๆ ครับ...เข้าใจครับ จนป่านนี้แล้วยังมีคนสอนให้ใช้ Engine Brake กันอยู่ มันก้อเลยยังมีคนใช้กันอยู่ในการแข่งรถบ้านเรา ในขณะที่บ้านอื่นเมืองอื่นเขาเลิกใช้กันไปนานแล้วววว... Engine Brake นั้นมันเกิดขึ้นมาเพราะสมัยก่อนเบรคในรถยนต์และรถแข่งมันยังไม่มี ประสิทธิภาพ ผ้าเบรคเองก้อยังไม่ได้ใช้วัสดุอะไรมากมาย เบรคไหม้ เบรคเฟด เบรคหมด เบรคแตก กันเป็นประจำ ก้อเลยต้องใช้ Engine Brake เข้าช่วยในการชะลอความเร็ว ก่อนที่จะใช้เบรค มาปัจจุบัน technology ขอเบรคมันล้ำไปเยอะแล้วครับพี่น้อง กดจาก 300 kmph ลงมา 60 kmph กันได้ภายใน 4 วินาทีบน F1 บนรถเราๆทั่นๆที่แข่งๆกันก้อทำได้ดีกว่าสมัยก่อนเป็นร้อยเท่า อีกอย่าง เบรคอ่ะนะครับ ชุดนึงบนรถแข่งอย่างเจ๋งๆก้อหลักแสน แต่เครื่องแข่งอย่างเจ๋งๆมันราคาเป็นล้าน บนรถที่เราแข่งกันอาจจะพูดถึงหลักหมื่นสำหรับเบรค และหลักแสนสำหรับเครื่อง แต่ยังไงซะ เบรคมันก้อยังถูกกว่าเครื่องอยู่ดี ใช้เบรคจนหมดมันยังดีกว่า shift down ใช้ engine brake แล้วพลาด....รอบพุ่งไปหมื่นกว่า จากนั้นก้อกระจายเป็นชิ้นๆ แต่ถ้าชอบทำเครื่องใหม่บ่อยๆ เงินแสนเป็นเรื่องจิ๊บๆ ก้อใช้ engine brake ต่อไปนะครับ คำถามคือ "ทำไปเพื่ออะไร?" เอางี้...จะอธิบายก่อนว่า ถ้าไม่ทำ...จะเกิดอะไรขึ้น? เรื่องของเรื่องมันเกิดขึ้นมาตอนสมัย อยุธยาตอนต้น ตอนนั้นบุเรงนองยกทัพมาประชิด...ขออภัย ผิดเรื่อง เรื่องของเรื่องคือมันเกิดปัญหาตอนที่นักแข่งกำลังเบรคตรงสุดทางตรงเพื่อที่ จะ Turn-in เขารู้ว่าออกจากโค้งนี้เนี่ย มันต้องใช้เกียร์ 3 (สมมุติอ่ะนะ)เพื่อเร่งออกจากโค้ง ก้อเลย Shift down ลงมาจากเกียร์ 5 ลงมาที่เกียร์ 3 ล่วงหน้าเอาไว้ก่อน จะได้ออกจากโค้งได้ ปื๊ด..ปื๊ด หน่อย แต่พอปล่อยคลัทช์ออกมา (ตอนนี้ก้อยังเบรคอยู่นะ) ปัง...ล้อหลังมันล็อค แหกปากดัง เอี๊ยด แล้วรถมันก้อหมุนติ้วหลุดออกจาก track ไปก่อนคนขับจะร้องว่า "เฮ้ย..."ด้วยซ้ำไป (ถ้ารถขับหน้า ล้อหน้ามันก้อจะล็อค แล้วแหก ไถ แถด ตรงไปเข้ากำแพง) เหตุนั้นเนื่อง จากว่า ขณะที่กำลังเบรคยู่นั้น เท้าขวานั้นยกจากคันเร่ง เพื่อที่จะมากดแป้นเบรค รอบเครื่องมันก้อ"เหี่ยว"ลงมาเกือบจะเดินเบา เท้าซ้ายก้อเหยียบแป้นคลัทช์ ปลดเกียร์ออกจากเครื่อง พอเปลี่ยนเกียร์จากเกียร์ 5 ลงมาเข้าเกียร์ 3 ได้สำเร็จ แผ่นคลัทช์มันก้อหมุนจี๋ขี้นมาสูงกว่ารอบเครื่องที่กำลังหมุนแบบเหี่ยวๆอยู่ พอคนขับถอนเท้าซ้ายออกจากแป้นคลัทช์ ชุดคลัทช์จับหมับเข้ากับฟลายวีล มันก้อจะพยายามอย่างยิ่งที่จะหมุนเครื่องยนต์ให้รอบมันหมุนตามขึ้นมาด้วย แต่เนื่องจากชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่หมุนอยู่นั้นมีน้ำหนัก (Recipocating parts have recipocating weight) บวกกับกำลังอัดในกระบอกสูบที่มี บวกกับแรงเสียดทานอื่นๆภายในเครื่องยนต์ มันก้อเลยเกิดแรงต้านที่จะหมุนตามไปด้วย อาการที่เรียกว่า Engine Braking ก้อเลยเกิดขึ้น ถ้าโชคร้ายเครื่องหมุนตามง่าย รอบเครื่องก้อจะหมุนทะลุหมื่นรอบและกระจายเป็นชิ้นๆ ถ้าโชคดีเครื่องไม่ยอมหมุนตามล้อก้อจะล็อคแล้วรถทั้งคันก้อจะเข้ากำแพง แต่ ถ้ารอจนความเร็วของรถมันลดลงมาแล้ว ถอนคลัทช์ออกมารอบเครื่องก้ออาจจะไม่เกินหมื่นได้ แต่ก้อยังเกิด Engine braking อยู่ดี ซึ่งยังมีโอกาศทำให้ล้อขับเคลื่อนนั้นล็อคได้อยู่ ซึ่งในขณะที่เรากำลัง threshold braking ตรงปลายทางตรงนั้น เราไม่อยากให้มันเกิดขึ้น ในรถขับหลัง ล้อหลังนั้นมันแทบจะล็อคอยู่แล้ว เพราะ weight transfer ไปล้อหน้าซะเกือบจะหมดอยู่แล้วขณะเบรค พอมี Engine braking มาแถมเข้าไปด้วยก้อ พระเจ้าช่วยกล้วยปิ้ง ล้อหลังล็อค หมุนติ้ว ในรถขับหน้านั้น ยางหน้าถูกเบรคซะจนหน้าจะเขียวอยู่แล้ว พอมี engine braking เข้ามาแถมก้อเลย ล็อคดีกว่ากู ไถพรืดเข้ากำแพง ด้วยเหตุนี้ Heel&Toe ก้อเลยเกิดขึ้น เพื่อจะได้มีการ blip throttle หรือ เบิ้ลคันเร่ง เพื่อที่จะลด หรือ ปราศจากอาการ Engine Braking ส่วน Double Declutching down shifting นั้น เกิดขึ้นมาจาก Rally เพื่อที่จะลดการทำงานของ Synchromate ring (สมัยก่อนยังใช้เกียร์ Synchromate กันอยู่อ่ะ) จะได้มีใช้ได้ตลอดการแข่งขัน ซึ่งถึงแม้ว่าจะใช้เกียร์ Dogbox แล้วก้อยังใช้ได้อยู่ เพื่อทำให้การ shift down นั้นง่ายขึ้น นุ่มนวลขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน.....(ทุกอย่างย่อม มี"แต่"ตามมาเสมอ) สำหรับยี่สิบสายแรก....ไม่ใช่ละ ไอ้ Heel & Toe และอะไรๆที่พูดกันมาทั้งหมดนี้นั้น.... จะไม่ทำก้อได้ (หลายๆคนคงบอกในใจว่า "อ้าว!! ไรวะ") คุณก้อแค่เบรคที่ปลายทางตรงพร้อมกับเหยียบคลัทช์ shift down สบายๆมาที่เกียร์อะไรก้อแล้วแต่ trail braking แล้วเลี้ยวเข้าโค้ง พอคุณจะออกจากโค้งก้อค่อยๆถอนคลัทช์ออกมา พร้อมๆกับสวนคันเร่งลงไป ถ้าจังหวะคุณดี คลัทช์คุณจะมี slip กำลังพอเหมาะที่จะออกจากโค้งได้อย่างนุ่มนวลเช่นกัน เหอๆๆๆ งงไม๊ล่ะ....อย่าเพิ่งเชื่อ ไปลองทำดูแล้วจะรู้
เติมลมยางเท่าไหร่ดี เติมลมยาง 30 วิ่งไป 5รอบสนาม ลมยาง หน้าขึ้นมา ประมาร 36 หลังประมาณ34 ถ้าผมจะใช้ลม 30 ผมต้องเติมตอนยางเย็น ล้อหน้า 24 หลัง 26 ได้มั้ยครับ ก่อนอื่นนะครับ.....ใครบอกเหรอครับว่าต้องใช้ลมยาง 30 psi ตอนร้อนแล้ว??? ถ้ามีคนบอกช่วยเลิกคบด่วน! แรงดันลมยางขึ้นจาก 30 เป็น 34-36 นั้นเป็นเรื่องปกติ พอวิ่งในสนามประมาณ 5-6 รอบแบบเต็มที่ ความร้อนจะเกิดขึ้นบนหน้ายางและทำให้ลมที่อยู่ในยางนั้นร้อนขึ้น เมื่ออากาศร้อนขึ้นมันก้อขยายตัว พอมันขยายตัวแรงดันมันก้อสูงขึ้น เป็นเรื่องธรรมชาติ ยิ่งถ้าเป็นลมธรรมชาติปกติ แรงดันจะขึ้นสูงประมาณ 5-6 psi บางคนบอกให้ใช้ Nitrogen จะดีกว่า แต่แรงดันก้อขึ้นอยู่ดีเพราะคุณไม่มีทางใช้ Nitrogen เพียวๆได้ ไม่ว่าใครจะโฆษณายังไงก้อตาม ถ้าจะเอาจริงๆต้องเติม Nitrogen ในห้องสูญญากาศ แล้วใครจะบ้าทำ อีกอย่าง ลมธรรมชาติที่เราเติมและหายใจอยู่มันก้อมี Nitrogen ผสมอยู่เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว ทีนี้มาว่ากันด้วยคำถามที่ว่า "ใช้ลมยางเท่าไหร่ดี?" ไม่ว่าจะเคยได้ยินมาจากไหน รึใครบอก รึแม้แต่วิศวะกรหรือ Engineer ของบริษัทยางมาบอกว่าให้ใช้เท่าไหร่ก้อตาม อย่าไปเชื่อมัน!!! คนที่บอกไม่เคยขับรถเรา เซียนที่บอกไม่ได้ขับรถที่เราขับ คนที่ขับรถเหมือนเราและใช้ยางเหมือนเรา...ถ้ามันไม่ได้อยู่แถวหน้าสุดตอนสตา ร์ท ไม่ต้องไปฟังมัน วิศวะกรหรือ Engineer บริษัทยางทำแค่ยาง ไม่ได้ทำรถแข่ง มันไม่เคยรู้ว่ารถแข่งต้องการอะไร มันทำยางขายอ่ะ จะไปเชื่ออะไรมัน วิธีที่ถูกต้องว่าจะใช้แรงดันลมยางเท่าไหร่คือ ดูที่ความร้อนบนหน้ายางขณะที่รถวิ่งในสนาม โอเค อาจจะทำยากไป...เอาแค่ดูความร้อนที่หน้ายางหลังจากที่ขับแบบเต็มที่แล้วจอด ทันทีแล้ววัดความร้อน วัดความร้อนสามจุด ขอบนอก ตรงกลาง และขอบใน ของหน้ายาง ถ้าผลเฉลี่ยของความร้อนขอบนอกบวกขอบในเท่ากับตรงกลาง ลมยางคุณได้ที่ละ ด้านในอาจจะร้อนกว่าด้านนอกเพราะมี negative camber ถ้าตรงกลางร้อนกว่าผลเฉลี่ย ลมยางมากไป ถ้าตรงกลางเย็นกว่า ลมยางน้อยไป จบ ที่ วัดความร้อนยางแบบอินฟาเรดมีขายเยอะแยะ ลองหาดู แล้วไม่ต้องแปลกใจถ้าเห็นลมยางอยู่แถวๆ 34-40 psi ตอนร้อนแล้ว ถ้าอ่านความร้อนหน้ายางได้พอดีก้อคือตรงนั้นแหละ หรือแม้แต่ยางทั้งสี่ข้างจะมีลมยางไม่เท่ากันเลยก้อตาม ใครบอกว่ามันต้องเท่ากันหรือ....ไม่มี ถ้าไม่มีที่วัดความร้อนยาง รือไม่มีแม้แต่ที่วัดลมยาง ให้ใช้สีหรือน้ำยาทารองเท้าผ้าใบสีขาว ทาที่ขอบยางจากดอกยางแถวที่สองด้านนอกอกมาถึงแก้มยาง ทาขวางกับหน้ายางอ่ะนะ แล้วออกไปวิ่งเต็มที่ซัก 4-5 รอบ แล้วเข้ามาดูสี ถ้าสีมันหายไปจนถึงแก้มยาง ลมยางอ่อนไป ถ้าสีมันเหลือบนดอกยางแถวนอกสุด ลมยางมากไป ถ้าสีมันหายจนถึงตรงมุมหัวไหล่ของหน้ายาง เออ...นั่นแหละ แสดงว่ายางกินเต็มหน้า แต่วิธีนี้มันไม่บอกว่า เฟะรอำ camber เรามากหรือน้อยไปหรือไม่ วิธีแรกถึงจะบอกได้
เอ่อ... ใครงงกับการ Double Clutch ให้ดูในคลิปละกันนะครับ ตอนแรกผมก็งง ^^ http://www.youtube.com/watch?v=0j-3xIZK-Bk