พอดีกำลังหาชุดเบรคที่จะมาหยุดม้าฝูงน้อยๆของผม เลยไปเจอของดี เอามาฝากคับ อิอิ จาก : http://racingweb.net/forums/showthread.php?t=210613 ถาม : ขยายจานเบรคอย่างเดียว โดยใช้คาลิปเปอร์เดิม แล้วก้อใช้อแดปเตอร์ แปลงขายึดคาลิปเปอร์อย่างเดียว มีข้อดี/เสียยังไง เพราะในความคิดผม ผมว่า เปลี่ยนทั้งชุด น่าจะดีกว่า คือทั้งคาลิปเปอร์ แล้วก้อ จานเบรคด้วย อีกอย่าง เหมือนเคยรู้มาว่า ถ้ามวลของจานเบรคเยอะ พวกจานใหญ่ๆ มันจะสะสมอุณหภูมิ ซึ่งเบรคจะ fade ได้ง่ายกว่า จานที่มวลน้อยๆ เช่น จานขนาดเดิม หรือ จานเจาะ ตอบ : - จานเบรคมีน้ำหนักมากขึ้น ทำให้เก็บความร้อนได้มากขึ้น เบรคก็จะร้อนช้ากว่าเดิมครับ - จานเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้น ทำให้ต้องเลื่อน Caliper ออกจากศูนย์กลางล้อ ดังนั้นที่ Brake torque เท่าเดิมจะใช้ความดันในสายเบรคลดลง แป้นเบรคจะเบาขึ้นและตัวคาลิปเปอร์จะ"เบี้ยว"น้อยกว่า ได้ความรู้สึกที่ Firm ขึ้น (เวลาที่เปลี่ยนสายเบรคเป็นสายถักก็เพราะเราต้องการให้มัน Firm กว่าเดิม) - ส่วนที่ว่าเปลี่ยนทั้งจานและคาลิปเปอร์นั้นดีกว่าก็ไม่แน่ครับ เพราะถ้าของเดิมเป็น Floating caliper แล้วของใหม่ก็เป็น Floating caliper มันก็ไม่ได้ดีไปกว่าเดิมนัก ถ้าเปลี่ยนไปเป็น Fix caliper ก็จะได้ความรู้สึกแป้นเบรคที่ดีกว่า คือมัน Firm ขึ้น - ส่วนข้อเสียที่นอกจากเสียตังค์คือ น้ำหนักของ Unsprung mass มากกว่าเดิมทำให้การยึดเกาะถนนลดลงเวลารถขับผ่านผิวถนนที่ขรุขระ และการเพิ่มน้ำหนักที่ต้องหมุนไปกับล้อทำให้ความเฉื่อยมากขึ้น กินแรงรถครับ - ระบะเบรคอาจจะไม่ได้ลดลงจากปรกติ ถ้าเบรคเดิมไม่เคยร้อนจนผ้าเบรคไหม้หรือน้ำมันเบรคเดือด อาจจะแย่กว่าเดิมถ้ากดเบรคแรงๆแล้วล้อหน้าล๊อกก่อนล้อหลังเยอะ ซึ่งโดยมากเบรคทั่วไปเค้าก็ทำมาให้ล้อหน้าล๊อกก่อนล้อหลังอยู่แล้ว ยิ่งเบรคหน้าใหญ่ขึ้นโอกาสที่ล้อหน้าจะล๊อกก็มีมากขึ้น คาลิเปอร์ หรือคนไทยบางคนเรียกว่า ก้ามปูเบรคนั้น มีทั้งหมด 3 แบบครับ คือ 1. แบบตายตัว 2. แบบกึ่งลอยตัว 3. แบบลอยตัว คาลิเปอร์แบบตายตัว (Fixed Caliper) นั้นจะถูกยึดติดเข้าด้วยกัน ภายในจะมีลูกสูบอยู่ 2 ข้าง (คู่) โดยมีจากดีสหมุนอยู่ตรงกลาง เมื่อเวลาเกิดการเบรค แรงดันน้ำมันไฮดรอลิคจะผลักดันลูกสูบทั้ง 2 ข้าง ให้จับจานดีสเพื่อต้านแรงการหมุนครับ คาลิเปอร์แบบนี้ จะมีประสิทธิภาพการเบรคสูง แต่การระบายความร้อนก็มีจำกัดไปด้วย เพราะว่าถูกติดตั้งตายตัว คาลิเปอร์ชนิดนี้ จึงจะมีจำนวนลูกสูบ (Pot) เป็นเลขคู่ เริ่มจาก 2 Pot, 4 Pot, 6 Pot เป็นต้น คาลิเปอร์แบบกึ่งลอยตัว (Semi-Floating Caliper) แบบนี้จะติดตั้งอยู่กับแผ่นรับแรงบิดด้วยสลักยึด 2 ตัว เมื่อมีแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคมาผลักดันลูกสูบและแผ่นผ ้าเบรคให้เกิดแรงต้านกับจานดีส ทำให้ตัวเสื้อคาลิเปอร์และผ้าเบรคอีกด้านเกิดปฏิกริย าต้านกลับ เคลื่อนตัวเข้าด้านใน จึงเกิดการจับจานดีสให้หยุดหมุน คาลิเปอร์แบบนี้ มีโครงสร้างของกลไกแบบง่าย และง่ายต่อการบำรุงรักษา จึงนิยมใช้กับระบบเบรคของล้อหลังครับ คาลิเปอร์แบบนี้ จึงอาจจะมี 1 Pot หรือ2 pot ก็ได้ครับ คาลิเปอร์แบบลอยตัว (Floating Caliper) ถูกออกแบบให้ลูกสูบติดตั้งอยู่ด้านในของตัวเรือนคาลิ เปอร์ เมื่อมีแรงดันไฮดรอลิคจากแม่ปั๊มเบรคมากระทำกับลูกสู บ ลูกสูบจะไปดันให้แผ่นผ้าเบรคเกิดแรงต้านการหมุนของจา นดีส ในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดปฏิกริยาแรงต้านกลับขึ้น ในแผ่นผ้าเบรคด้านตรวกันข้าม เป็นผลให้แรงดันไฮดรอลิคที่เกิดกับแผ่นผ้าเบรคทั้งสอ งด้านเท่ากัน คาลิเปอร์แบบนี้ จึงอาจจะมี 1 Pot หรือ2 pot หรือ 3 pot หรือ 4 pot ก็ได้ครับ แหล่งอ้างอิง : http://www.clubjz.net/showthread.php?t=40332 นอกจากนั้น ยังมีอีก จาก : http://www.w-classcluster.net/webboard/index.php?topic=1184.0;prev_next=prev#new กล็ดความรู้เรื่องของจานเบรก เขียนโดย นภดล เธียรเจริญ ลองตามไปดูนะคับ มานยาว ขอบคุณผู้ให้ความรู้ แก้ไขล่าสุดโดย Lee_ES_turbo เมื่อ จันทร์, 22 กุมภา 2010 21:48, ทั้งหมด 1 ครั้ง