REVIEW ::: Yakumo's Dyno Test

การสนทนาใน 'DAMS' เริ่มโดย Yakumo, 7 มีนาคม 2010

< Previous Thread | Next Thread >
  1. Yakumo

    Yakumo New Member Moderator

    580
    7
    0
    สวัสดีครับ ก็เป็นเรื่องบังเอิญ อีกเช่นกันครับที่มีโอกาสไปเป็นเพื่อนน้องท่านหนึ่งเพื่อทดสอบการใช้งานสำหรับท่อไปเสียของ Spoon กับ Mugen ไหนๆ ก็ไปดูแล้ว พอเค้าทดสอบเสร็จ ก็เห็น Dyno ว่างอยู่ก็เลยอยากลองดูบ้างว่ารถเราแรงม้าที่ลงไปที่ล้อ ไปที่ถนนมันวิ่งจริงๆ เท่าไหร่กันแน่สำหรับ Horse Power และ Torque

    ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันเรื่อง dyno กันสักนิดสักหน่อยครับ ว่าจริงๆ ที่เค้าเรียกกันสั่นๆ ว่า Dyno Test นั้นจริงๆ คืออะไร

    คือจริงๆ แล้ว Dyno เนี้ยมันคือ Dynamometer และ มีอยู่ด้วยกัน ถึง 3 ลักษณะ/ชนิดครับ คือ

    1. เป็นเครื่องวัดแรงหน้าที่ เครื่องยนต์โดยตรง หรือ Engine Dyno ส่วนใหญ่ที่ใช้กันตามโรงงานยนต์เพื่อสร้างและทดสอบเครื่องยนต์นั้นแหละครับ ปกติแล้วแรงม้าที่เค้าแจ้งให้เราทราบตอนที่เราซื้อรถกันนั้นก็คือแรงม้าที่เครื่อง โดยที่เค้าจะวัดแรงม้าและแรงบิดที่ได้จาก Flywheel โดยตรงเลยครับไม่ใช้ที่ลงไปที่ล้อหรือลงพื้นนะครับ

    2. เป็นเครื่องวัดที่วัดแรงลงไปที่ล้อเลย หรือที่เรียกกันว่า Chassis Dyno จะใช้การเอาแรงเฉื่อยของการหมุนล้อรถไปยังลูกกลิ้ง ซึ่งก็มีอีกว่าจะเป็นแบบ 1 หรือ 2 ลูก หรือว่า วัดแบบได้ทั้ง 2 ล้อหรือว่าทั้ง 4 ล้อ ซึ่งพวกขับ 4 ล้อก็ต้องหา Dyno ที่วัดแบบมีลูกกลิ้ง 2 ชุดนะครับ ส่วนใหญ่ในบ้านเราหลายๆๆๆๆๆๆ ที่ก็เป็นการวัดแบบ Chassis Dyno ครับ จึงจะสังเกตุง่ายๆ ว่าทำไม เวลาโรงงานแจ้งว่าแรงม้าแรงบิดได้มาเท่าไหร่ แต่เมื่อไปวัดแรงม้าแรงบิดกลับได้ออกมาต่ำกว่าที่เค้าแจ้งไว้ ก็เพราะว่า เค้าวัดกันคนละ จุดกันนะครับ เอาเป็นว่าพอถึงตรงนี้ก็คงพอเข้าใจได้นิดๆ หน่อยๆ แล้วนะครับ ไปกันต่อ

    3. เป็นเครื่องวัดที่วัดแรงจากที่ล้อคล้ายกับแบบที่ 2 แต่แบบนี้จะต้องถอดยางออกก่อนแล้วใส่อุปกรณ์ Adapter เพื่อยึดกับดุมล้อโดยตรงแล้ววัดแบบนี้จะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องของการลื่นของยางหรือ Slip

    ถึงต้องนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันมากขึ้นสำหรับเครื่องวัด Dynamometer กันมากขึ้นแล้ว แต่จะรูปแค่นั้นมันก็คงไม่ค่อยจะครบสักเท่าไหร่ มาดูกันอีกสักนิดในส่วนของการอ่านผลการวัดกันหน่อย ก็จำเป็นต้องรู้ในส่วนของหน่วยการวัดกันอีกสักนิด เริ่มกันเลยหน่วยแรกคือ
    1. SAE Horsepower เป็นหน่วยของการวัดค่าแรงม้าที่ลงพื้น คือค่าที่ลงขึ้นผ่านชุดขับเคลื่อน ไปยังล้อ MAG และ ยาง อะไรประมาณนั้นนะครับ
    2. BHP จะเป็นหน่วยของการวัดค่าจาก FLYWHEEL ไม่ผ่านชุดขับเคลื่อน ดังนั้นค่าที่วัดได้จะได้มากกว่าประมาณ 10%-15% เมื่อเทียบกับ SAE

    สำหรับในบ้านเราเมืองไทยของเราเนี้ยที่เห็นๆ กันหลายๆ ที่จะเป็น Chassis Dyno ทั้งหมด แต่จะวัดค่าและแสดงผลออกมาเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ SAE และ BHP ครับ
    1. POWER LAB => BHP
    2. STRYDER => SAE
    3. DYNOJET BY WORLD TEC => SAE
    4. GT 1 => BHP (ตอนนี้ปิดไปแล้ว)

    เอาล่ะครับ ปูพื้นเรื่อง Dyno ไปสักพักแล้ว คราวนี้มาเข้าประเด็นกันดีกว่าครับ รถผมเคยจูนที่ GT-One ตอนนั้นเพื่อใส่ Unichip ซึ่งตอนนั้นผมเองก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย ผลวัดแรงม้าที่ได้ตอนยังไม่ได้ใส่ Unichip ก็ไกล้เคียงกับที่ทาง Honda แจ้งไว้ใน Spec แต่หลังจากใส่กล่องไปแล้ว ผลออกมาว่าม้าเพิ่มมาอีกเป็น 10 กว่าตัว โห จริงเหรอเนี้ยมันทำได้ขนาดนั้นจริงเหรอเนี้ย ตกใจแต่พอเอาไปวิ่งบนถนน อ้าวทำไม มันไม่เห็นแตกต่างกันเท่าไหร่เลยว่ะ ชักสงสัยๆ สรุปแล้ว คือตอนนั้นจูนมามันไม่ดี ก็เลยหาจูนเนอร์คนใหม่ ไปเจอพี่หมู Magafire เข้า คนนี้แหละครับตัวจริง แรงกว่าเดิมเห็นๆ แต่เป็นการจูนวิ่งบนถนน หลังจากนั้นผมก็ ไม่ได้ไปจับอะไรกับกล่องอีกเลยก็ขับไปเรื่อยๆ แต่สุดท้ายมันก็มีอะไรให้ต้องทำอีกจนได้ เพราะว่าเกิดความสงสัยว่ามันแรงหรือดีกว่าจริงเหรอ ไอ้การใส่กล่อง Unichip เนี้ย แล้วก็พอดีได้โอกาศเลยลองกันหน่อยครับ

    ขอดีของ Unichip คือมันสามารถถอดออกได้แล้วก็ทำให้รถยนต์สามารถทำงานได้ปกติเหมือนกับไม่มีการติดตั้งกล่องเพื่อปรับจูนใดๆ ทั้งสิ้น นั้นแหละครับจุดเริ่มต้นสำหรับการ ทดสอบครั้งนี้ การทดสอบของผมครั้งนี้จะมี ขั้นตอนดังนี้นะครับ

    1. ผมจะถอดกล่องออกแล้ววิ่งดูว่าได้แรงม้าแรงบิดเท่าไหร่
    2. ใส่กล่องกลับเข้าไปแล้วลองวิ่งดูว่าได้แรงม้าแรงบิดเท่าไหร่

    เพื่อที่จะได้สรุปผลว่าการใส่กล่องแล้วมีการปรับจูนที่ดีจาก จูนเนอร์มืออาชีพนั้นจะสามารถทำให้ได้แรงม้าและแรงบิดเยอะขึ้นจริงๆ หรือป่าว

    สรุปผลลัพธ์ก็เป็นออกมาแบบนี้ครับ

    [​IMG]

    กราฟสีน้ำเงินคือกราฟของแรงม้าและแรงบิดที่ผมไม่ได้ใส่กล่อง
    กราฟสีชมพูคือกราฟของแรงม้าและแรงบิดตอนที่ผมใส่กล่องเข้าไปครับ

    จะสังเกตุเห็นได้ชัดเจนเลยนะครับว่า

    ไม่มีกล่อง
    แรงม้า = 105.2 SAE HP
    แรงบิด = 134.8 N-m

    ตอนใส่กล่อง
    แรงม้า = 109.3 SAE HP
    แรงบิด = 141.9 N-m

    ค่าความแตกต่าง ระหว่างใส่กล่องไม่ใส่กล่อง
    แรงม้า = 109.3 - 105.2 = 4.1 SAE HP (ได้แรงม้าเพิ่มขึ้นมา อีก 4.1 ตัวหลังจากใส่กล่องเข้าไป)
    แรงบิด = 141.9 - 134.8 = 7.1 N-m (ได้แรงบิดเพิ่มขึ้นมา อีก 7.1 นิวตัน-เมตร)

    สรุปว่าใส่กล่องแล้วก็ได้แรงม้าแรงบิดเพิ่มขึ้นมาจริงๆ นะครับ แฮะๆ และจะสังเหตุเห็นได้ว่ามันยกขึ้นทั้งกราฟ เลยนะครับ

    แล้วแรงม้าที่เพิ่มขึ้นเนี้ย มันจะทำให้การใช้งานเป็นไง ผมก็เลย ลองให้ดูผลการทดสอบอีกอันนะครับ คือการใช้งานโดยที่ผมมีการลากเกียร์ครบทุกเกียร์เลย ก็ลองดูครับว่ามันทำงานได้เท่าไหร่หรือไง ต่อเนื่องหรือป่าว นะครับ

    [​IMG]

    ก็จะเห็นว่ามันก็ยกทั้ง กราฟ จริงๆ อีกเช่นกันนะครับ แฮะๆ

    แรงม้าและแรงบิดที่ลงพื้นเนี้ยอาจจะไม่ได้มากมายอะไร สักเท่าไหร่ ก็เพราะว่า น้ำหนักที่เป็นโหลดที่แกนเพลาเนี้ยแหละครับ ผมใช้ล้อ 17 ของ W Work ซึ่งก็ไม่ได้เป็นล้อน้ำหนักเบาอะไร แถมยังใช้จานเบรค Up Size อีก ยิ่งหนักเข้าไปอีก ดังนั้นถ้าใช้ล้อน้ำหนักเบาและจานเบรคน้ำหนักเบาเพื่อลดโหลดที่แกนเพลาเนี้ย ก็คิดว่าน่าจะได้แรงม้ามากกว่านี้อีกครับ แต่ก็คงยังไม่ใช่ตอนนี้ล่ะครับ ก็ลองเอาข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์กันต่อแล้วกันนะครับสำหรับท่านที่อาจจะปรับแต่งรถ จะได้มีข้อมูลเบื้องต้นแล้วลองเอาไปคิดกันต่อนะครับ
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้