การมาของน้องออน น้องออนมาปรากฎโฉมในบ้านเราราวปี95 ในนามเกียร์ออโต้และเครื่องขนาด 2.0ลิตรเท่านั้น และมีเกียร์ธรรมดาเข้ามาในราวปี 96 จากนั้นน้องออนก็หายไปจากบ้านเราราวปี 98 ทั้งที่หลังจากนั้นที่ต่างประเทศน้องออนกลับได้รับความนิยมจึงมีทั้งตัว 1.6/ 1.8/ 2.0 /2.4 แถมยังควงน้องโบมาเป็นเพื่อนอีกต่างหาก แสดงว่าจริงๆแล้วน้องออนก็ต้องมีดีทีเดียวไม่งั้นคงไม่ยืนยาวมาถึงทุกวันนี้ได้(ยกเว้นในบ้านเรา) รายละเอียดทางเทคนิค(บางส่วน) เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด..... เกียร์ธรรมดา เครื่องยนต์ SOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ใช้สายพานขับเพลาราวลิ้น ขนาดความจุ(ซีซี) ..........1996....................... 1996 ขนาดกระบอกสูบ(มม) .....87.0....................... 87.0 ระยะชักกระบอกสูบ(มม) ..83.0....................... 83.0 อัตราส่วนกำลังอัด .........9.8 : 1 ....................9.8 : 1 แรงม้าสูงสุด/รอบ .....132/6000......... 132/6000 แรงบิดสูงสุด(กก-ม)/รอบ ..17.9/5000...... 17.9/5000 ความยาวรถ(มม) .............4364...................... 4364 ความกว้างรถ(มม) ...........1708...................... 1708 ความสูงรถ(มม) ..............1391...................... 1391 ความยาวฐานล้อ(มม)....... 2642...................... 2642 ฐานล้อหน้ากว้าง(มม)....... 1458.................... 1458 ฐานล้อหลังกว้าง(มม)...... .1458...................... 1458 น้ำหนักรถ(กก) ...........1080-1180 .......1080-1150 อัตราทดเกียร์1 .................2.600................... 3.538 อัตราทดเกียร์2 .................1.550................... 2.125 อัตราทดเกียร์3 .................1.000 ....................1.360 อัตราทดเกียร์4 .................N/A..................... 1.029 อัตราทดเกียร์5 .................N/A....................... 0.718 อัตราทดเกียร์ถอยหลัง ......2.800.................... 3.420 อัตราทดเฟืองท้าย ...........2.980 : 1.............. 3.944 : 1 ความเร็วสูงสุด(กม/ชม) .....195...................... 205 อัตราเร่ง0-100 (วินาที) ....10.2-10.8 ...........8.8-10.2 อัตราบริโภคเฉลี่ย(กม/ลที่ 60-110กม/ชม) 8.5-13.5.... 9.5-14.5
ข้อดีและเด่น 1. เครื่องยนต์SOHC ออกแบมาเพื่อความทนทานดูแลง่ายไม่จุก และประหยัดน้ำมัน 2. แม้จะเป็นเครื่องยนต์ SOHC แต่สามารถลากรอบได้จัดและเรียกกำลังออกมาใช้ได้ดีชนิดผิดธรรมชาติของเครื่องยนต์แบบนี้เลยทีเดียวซึงจัดเป็นจุดเด่นของเครื่องตัวนี้แม่ตอนหลังจะทำDOHC ออกมาด้วยก็ตาม 3. การที่มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำทำให้การทรงตัวถือว่าดีมากทีเดียวระดับความเร็วเกิน 180 จัดว่าไม่เครียดแต่เกิน 180ไปจนถึงราว 200นิดๆนี่ก็เกร็งเหมือนกัน แถมระบบช่วงล่างเวลาวิ่งช้าหรือถนนไม่ดีก็ให้ความนิ่มนวลได้ดีทีเดียวเป็นประเภทนิ่มแต่หนึบ 4. การใช้ลูกสูบทรงเตี้ยแบบในรถแข่งช่วงชักสั้นน้ำหนักเบาจึงเรียกรอบออกมาใช้ได้ทันใจดีทีเดียว 5. เครื่องยนต์เดินเรียบและเงียบมากแม้จะไม่ใช่ DOHC 16 วาล์วแท้ๆแต่เป็นSOHCใช้เพลาลูกเบี้ยวที่มีแค่ 12 ชุดสั่งการทำงานของวาล์ว 16 วาล์ว 6. ระยะห่างของวาล์วปรับตั้งโดยแรงดันน้ำมันเครื่องผ่านลูกไฮโดรลิกลิฟเตอร์ ไม่ต้องดูแลมากถ้าเอาใจใส่เรื่องน้ำมันเครื่องให้ดี 7. ประเก็นฝาสูบเป็นไฟเบอร์ชั้นดีที่ทนทานมากทั้งทนความร้อนและการผุกร่อนน้อยผิดกับประเก็นไฟเบอร์โดยทั่วไป 8. จุดสัมผัสของเพลาราวลิ้นกับกระเดื่องใช้เป็นระบบลูกปืนหรือลูกกลิ้งจึงลดการสึกหรอได้ดี-เสียงเงียบและทนทานมาก 9. ในตัวที่เป็นเกียร์ออโต้ที่ให้มาเพียง 3สปีดแต่ไม่มีโอเวอร์ไดร์ฟมาให้แต่ไม่กินรอบเครื่องซึ่งไม่ต่างจากโอเวอร์ไดร์ฟของออโต้ 4 สปีดเลย จึงประหยัดน้ำมัน เรียกแรงได้ต่อเนื่อง แถมไม่ต้องมาคอยพะวงกับการกดปุ่มโอเวอร์ไดร์ฟ
ข้อเสียและจุดเสีย(ที่พบส่วนตัวเท่านั้น) 1. การดูแลรักษาจากผู้นำเข้าตั้งแต่เป็นรถใหม่ใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ 5W-30 แถมเปลี่ยนถ่ายทุก 1 หมื่นโล จึงไม่เหมาะกับเมืองร้อนอย่างบ้านเราทำให้เกิดการสึกหรอของเครื่องยนต์สูง กว่าจะหมดประกันก็ 2 ปี คันไหนยังเข้ารับบริการอยู่ต่อไปพอเข้าปีที่ 4 รถ จะวิ่งไม่ออก-ซดน้ำมันทั้งน้ำมันเบนซินและน้ำมันเครื่อง แต่ถ้าคันไหนพอเลยระยะประกันแล้วออกมาดูแลเองข้างนอกมักจะเกิดปัญหาช้ากว่าราวปีที่ 6 ซึ่งก็จัดว่าไม่ผิดปกติเท่าไหร่ 2. จากข้อที่ 1 นั้นการตั้งวาล์วของน้องออนต้องอาศัยแรงดันน้ำมันเครื่องเมื่อใช้น้ำมันเครื่องใสเกินไปก็ส่งผลถึงระบบปรับตั้งวาล์วด้วยยิ่งมาเจอระบบลูกปืนที่ใช้เชื่อมจุดสัมผัสทำให้กว่าจะรู้ตัวหรือกว่าเสียงแขกจะโผล่มาให้ได้ยินมันก็โทรมสุดๆแล้วชนิดว่า วาล์วสึก-ก้านคด-ลูกปืนแตก-สปริงตาย เสียง 160 แต่รถวิ่งแค่ 70 อะไรประมาณนั้นซึ่งเป็นปัญหาคลาสสิคปัญหาหนึ่งของระบบปรับตั้งวาล์วอัตโนมัติ 3. แม้เครื่องยนต์จะสามารถลากรอบได้จัดก็จริงแต่จุดประสงค์หลักก็ยังเป็นการใช้งานในรอบต่ำช่วง 1500-3000 รอบ หรือ 60-110 อยู่ดี ดังนั้นถ้าลากรอบหรือขับเกินกว่านั้นมันจะซดชนิดเกจ์ตกเห็นๆกันเลยทีเดียว ยิ่งถ้าลากแช่เกิน 4000 รอบไปอันนี้ทำได้ 5 กม/ล.นี่ถือว่าประหยัดแล้ว การเร่งที่จะให้ประหยัดจึงควรค่อยเป็นค่อยไปกดคันเร่งเรื่อยๆช้าๆสม่ำเสมอจะดีกว่า(แต่อดใจไม่ไหวหรอกเชื่อเหอะ) 4. จุดเสียบปลั๊กตรงเซ็นเซอร์ที่ปีกผีเสื้อเมื่อยางหุ้มขั้วเปื่อยจึงมีความชื้นเข้าไปที่จุดต่อของปลั๊กเซนต์เซอร์จนเป็นสนิมทำให้เครื่องสะดุดชนิดหาสาเหตุไม่เจอ 5. สายหัวเทียนที่ติดรถมาเดิมๆตรงปอกกับสายไม่ได้หล่อหรือยึดติดเป็นชิ้นเดียวกันสามารถขยับได้เล็กน้อยเมื่อถอดขัดหรือเปลี่ยนหัวเทียนบ่อยๆทำให้เกิดสายขาดในได้ง่ายๆขับๆอยู่เครื่องกระตุกแรงๆหรือรถจอดติดไฟแดงอยู่เครื่องดับไปเฉยๆก็มี ทิ้งไว้ซัก พักติดเครื่องใหม่ก็เป็นปกตินี่ซิมันแสบ อันนี้กว่าจะหาเจอเล่นอยู่หลายวันทีเดียว แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้สายหัวเทียนรุ่นที่ดีหน่อยหรือแบบที่หัวกับสายหล่อเป็นชิ้นเดียวกันปัญหานี้จะไม่เกิดอีกเลยอย่างน้อยก็ผ่านอีก 5หมื่นโลไปได้ 6. สายไฟในห้องเครื่องกรอบ-แตก-ช็อตลงกราวด์หรือ-ช็อตกันเองบางทีก็ควันกลบห้องเครื่องไปเลย ราวปีที่ 4-6 น่าจะมาจากการใช้วัสดุเกรดเมืองหนาวทำให้ไม่ทนทานต่อความร้อน ซึ่งวัสดุพวงนี้น่าจะทนทานมากกว่านี้ไม่น่าจะเกิดปัญหาแค่อายุรถ 5ปี ยิ่ง อัดบ่อยๆที่ห้องเครื่องร้อนนานๆก็ยิ่งเร่งให้เกิดปัญหาเร็วขึ้นพยามตรวจจุดต่อสายไฟกับมันสายไฟที่มัดรวมกันบ่อยๆก็ดีว่าตรงไหนเริ่มบวมหรือเกิดรอยอาร์คควรเปลี่ยนใหม่ทันที 7. เช่นเดียวกับข้อ 6 คือกล่องสมองเสียราวปีที่ 5 อาการคือรถเร่งไม่ขึ้น-เครื่องน็อค-น้ำมันท่วม-กดคันเร่งแล้วเครื่องสะดุด-สุดท้ายสตาร์ทไม่ติด แต่ยังไม่เคยเจอว่ามันเสียจริงๆเท่าที่เห็นคือลายวงจรในแผ่นปริ๊นท์มันขาดเฉยๆเนื่องจากเส้นมันเล็กและบางมาก เมื่อร้อนมากๆก็ขาด(แต่ฟิวส์ไม่ขาด)แค่ต่อวงจรใหม่ก็ใช้ได้และที่เจอเพราะตอนนั้นหากล่องไม่ได้เลยรื้อออกมาดู..อุอุ..อันนี้ฟลุ๊ค ถ้าเจอปัญหาเช่นนี้หรือช่างวิเคราะห์ว่ากล่องเสียก่อนที่จะควักเงิน 1.4 หมื่นไปซื้อมือสองมาลองเสียเวลาถอดดูซักนิดอาจจะเจอ ลักษณะเดียวกันได้ครับ 8. อะไหล่หายาก-เทียบยาก-และแพงมาก ของมือสองก็ต้องสั่งและต้องรอ ส่วนของใหม่ก็ต้องรอเช่นกันแถมเจ้าของรถได้ยินราคาเท่านั้นหน้าซีดแล้วซีดอีก 9. หาช่างซ่อมยากเพราะส่วนใหญ่เห็นรถก็ถอดใจกันแล้ว แต่ถ้ากล้าจับมันจะพบว่ามันไม่ได้มีอะไรลึกลับซับซ้อนเท่าไหร่ พวกเครื่องยนต์และช่วงล่างก็คล้ายๆลูกผสมของมิตซูกับมาสด้า มองดีๆนึกว่าแลนเซอร์แชมป์ด้วยซ้ำไป ซึ่งถ้าเป็นช่างมาสด้าโดยเฉพาะหรือช่างมิตซูโดยเฉพาะมาจับตัวนี้ก็อาจจะเล่นยากหน่อย แต่ถ้าเป็นช่างจับฉ่ายเคยจับทั้งมาสด้ากับมิตซูมาถ้าไม่ถอดใจก่อนสามารถซ่อมตัวนี้ได้แถมยิ่งเคยจับเปอร์โย-โอเปิล-เรโนล์มาด้วยแจ๋วเลย ว่าไปว่ามาสรุปคือหาช่างซ่อมมันยากนั่นแหละเพราะตัวนี้มันผสมมาเยอะเหมือนกัน
ต้องออกตัวตรงนี้ว่า ผมไม่ใช่ช่างนะครับ เพียงแต่ไปพบเจอข้อมูลดีๆ ก็เลยเอามาฝากกัน มันก็พอจะเอามาเป็นแนวทางได้ระดับนึงละครับ
เพิ่มอีกนิด เว็บเดิมยังอยู่นะ แต่อัพเดทไม่ได้แล้ว (ขาดการติดต่อไปนาน) http://neonclubthailand.atspace.com/ + อ้างถึง ตอบกลับ