เทรนด์หุ้มสติกเกอร์เปลี่ยนสีรถร้อนแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนถึงวันนี้กระแสก็ยังไม่ตก กูรูหุ้มสติกเกอร์ “ภีมวัชช์” ทายาทรุ่นที่ 2 ของ “วิชัย นุชพุ่ม” หรือ ร้านแดง สติกเกอร์ ได้ย้อนอดีตเรื่องราวการหุ้ม สติกเกอร์ในประเทศไทยว่ามีมากว่า 10 ปี ส่วนใหญ่ เป็นการทำธุรกิจโฆษณา รถที่ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ การแปลงโฉมเฮลิคอป เตอร์ ก็ทำกัน การหุ้มสติกเกอร์เปลี่ยนสีรถที่ฮิตแบบแรง ๆ ในบ้านเราเทรนด์เข้ามาเมื่อปี 2552 เริ่มจากกลุ่มคนเล่นรถ 20-30 คัน เมื่อเผยแพร่ออกไปปรากฏว่ากระแสตอบรับดีมาก ดังนั้นจึงมีร้านรับหุ้มสติกเกอร์ผุดขึ้นมาเพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะ ในจำนวนนี้มีทั้งร้านที่ทำงานดี ใช้ของคุณภาพ ส่วนสติกเกอร์ที่ใช้สนนค่าหุ้มต่อคันตั้งแต่ 8,000 บาท จนถึงหลายแสนบาทขึ้นไป ซึ่งแล้วแต่ผู้บริโภคจะเลือกสรร คุณ ภาพสติกเกอร์กลุ่มพรีเมียมมีราคาสูงหรืออยู่ที่ม้วนละ 100,000 บาท (ความยาว 50 ตร.ม.) มีอายุใช้งาน 3 ปี โดยสีเดิมของตัวรถไม่เสียหรือซีดจาง แต่ถ้าเลือกของถูกก็จ่ายเบา ๆ เริ่มต้นที่ 8,000 บาท แต่เมื่อลอกสติกเกอร์ออก รถสุดรักก็จะมีสีใหม่เข้ามาแทนที่ อย่างนี้ต้องทำใจ “สำหรับสีที่ได้รับความนิยมและเปลี่ยนมากที่สุด คือ สีดำด้าน สีเมทัลลิก หรือในช่วงเวลานั้น ๆ มีกระแสอะไรเข้ามาแรงหรือลวดลายกราฟิก เป็นต้น และปัจจุบันนี้ผู้หญิงนิยมนำรถมาหุ้ม 30-40%” ที่ผ่านมารถที่ นิยมหุ้มสติกเกอร์คือ กลุ่มรถซูเปอร์คาร์ รถสปอร์ต โดยเฉพาะรถ ใหม่ที่ยังไม่ได้ทะเบียน จึงไม่ต้องแจ้งต่อกรมการขนส่งทางบกเพื่อเปลี่ยนสีรถ และการหุ้มสติกเกอร์นี้ส่งผลดีต่อเมื่อเจ้าของต้องการขายรถ ได้ราคาขายต่อดี ราคาไม่ตกเหมือนกับรถที่ทำสีหรือเปลี่ยนสีทั้งคัน ในทรรศนะของ “กีกี้-ศักดิ์ นานา” นักดริฟท์ที่คร่ำหวอดในวงการรถยนต์ อธิบาย ว่า การ หุ้มสติกเกอร์เป็นพฤติกรรมของวัยรุ่นอเมริกันที่ต้องการเปลี่ยนสีรถแต่มี เงินน้อย ก็เลือกหุ้มสติกเกอร์แทน เพราะสามารถเปลี่ยนได้บ่อย ในความเป็นจริงการนำวัสดุหรือสติก เกอร์ไปหุ้มบนสีรถไม่เหมาะเพราะขั้นตอนการติดสติกเกอร์ จะต้องฉีดสารเคมีลงบนบริเวณที่จะติดรวมทั้งมีการรีดสติกเกอร์ให้ติดกับพื้น ผิว ทำให้กระทบกระเทือนสีรถ และเมื่อติดไปแล้วทำให้สีรถซีดลงในที่สุด ดังนั้นการหุ้มสติกเกอร์ ควรจะคิดให้รอบคอบว่าคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อเปลี่ยนสีรถก็ต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถไปยังกรมการขนส่งทางบก โดย ใช้หลักฐานดังนี้ ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี), สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้าเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม, ใบเสร็จรับเงินค่าทำสีรถหรือหนังสือยืนยันการทำสีรถเอง, แบบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถ (เปลี่ยนสี) ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำร้องเรียบร้อยแล้วและหนังสือมอบ อำนาจ โดยติดต่อได้ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ การเปลี่ยนสี ด้วยการหุ้มสติกเกอร์ตามกฎหมายถือว่าเป็นการเปลี่ยนสีรถ ดังนั้นต้องแจ้ง เปลี่ยนสีรถให้ถูกต้องไม่เช่นนั้นอาจเป็นเหตุให้ต้องเสียค่าปรับ ถ้าจะตามแฟชั่นก็ให้เล่นตามกติกา สบายใจกว่ากันเยอะ. ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก
แปลกแต่จริง...วิธีป้องกันรถโดนเข็นชน ความแออัดยัดเยียดภายในลานจอดรถสถานีรถไฟฟ้า"บีทีเอส"หมอชิต แต่ละวันจะมีรถจากชานเมืองเข้าไปจอดเพื่อขึ้นรถไฟฟ้าเลี่ยงการจราจรที่คับ คั่งบนท้องถนนโดยสารรถไฟลอยฟ้าไปทำงาน ทำให้ภายในลานจอดมีรถยนต์เต็มพื้นที่ ใครถึงก่อนมีสิทธิ์ก่อนเพราะพื้นที่ที่จำกัดทำให้รถที่เข้ามาใช้บริการจอด ฟรีอาจต้องใช้ความพยายามมองหาที่ว่างซึ่งเริ่มแน่นตั้งแต่ 8 โมงเช้าแล้ว ใคร ที่มาสายอาจต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการจอดซ้อนคันต้องโยก พวงมาลัยหลายครั้งเพื่อให้เข้าไปแทรกอยู่ระหว่างกลางรถคันอื่น ซึ่งเหลือพื้นที่แบบพอดิบพอดี เหลือช่องว่างให้หายใจเพียงเล็กน้อย ส่วนใครที่มาถึงหลังสุดก็ต้องพยามเฉลี่ยที่ว่างระหว่างช่องไฟที่เหลือเพียง เล็กน้อยโดยการผลักดันรถคันหน้าไปจูบกับคันถัดไปเรื่อยๆ อาจต้องเข็นรถถึง 10 คัน หรือ 20 คัน เพื่อหาช่องว่างสอดแทรกเข้าไปจอดแนบชิดติดกันแบบมดเดินผ่านไม่ได้เลยทีเดียว ดังนั้นจึงเห็นว่ารถที่ไปอาศัยลานจอด รถสถานีรถไฟฟ้าหมอชิตจะ มีอุปกรณ์กันกระแทกติดไว้ที่หน้ารถและท้ายรถเพื่อป้องกันไม่ให้สีรถกระเทาะ หลุดลอกจากการปะทะเล็กๆ หรือบางครั้งอาจจะเจอพวกพลังช้างสาร เข็นทีเดียว 3 คันรวด กรณีนี้รถของคุณอาจจะตกเป็นคันกลางหรือคันแรกที่ต้องไปชนกับคันหน้าอย่าง เลี่ยงไม่ได้เข็นแบบไม่เกรงใจใคร อุปกรณ์กันกระแทกที่ว่า ก็พวกขวดน้ำ พลาสติกผูกเชือกห้อยปิดหัวท้าย บ้างก็ใช้โฟม ฟองน้ำ สุดแต่จะคิดกันได้ตามแบบภูมิปัญญาชาวไทยมาแปะติดแบบว่าไม่สนความสวยงามขอเซฟ ไว้ก่อนเป็นดีที่สุด นี่ แค่ตอนเข้าจอดยังโหดขนาดนี้ ไม่อยากนึกถึงตอนที่ต้องนำรถออกก่อนเวลาที่ขบวนรถจะเคลื่อนพร้อมกัน ต้องเข็นรถอีกกี่สิบคันเพื่อแหวกช่องหาทางออกจากค่ายกลแห่งนี้ได้ (ฮา) ตึกไหนที่ลานจอดรถแออัด(โดยเฉพาะแถวๆแจ้งวัฒนะ)ก็ลองนำไปทำดูก็ได้นะครับ ลานจอดรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก