ล้อแม็ก มิใช่แค่ความสวย คนไทยดำรงชีวิตควบคู่กับความรักสวยรักงาม แม้แต่รถยนต์ คนไทยก็อดปรับโฉมให้สวยสุดเฉียบไม่ได้ล้อแม็ก- มิได้มีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อความปลอดภัย ประสิทธิภาพการทรงตัว และอายุการใช้งานของรถยนต์อีกด้วย พื้นฐาน โดยผิวเผินแล้ว ล้อแม็กอาจเป็นเพียงอุปกรณ์ประดับรถยนต์ให้สวยงามเท่านั้น แต่เบื้องลึกมีผลกระทบทั้งด้านเด่นและด้อยอีกมากมาย เพราะล้อแม็กต้องถูกห่อหุ้มด้วยยางที่หมุนอยู่ตลอดการขับเคลื่อน และยึดติดอยู่กับระบบช่วงล่างซึ่งทำหน้าที่หลักในการทรงตัว พื้นฐานของล้อแม็กถูกพัฒนาขึ้นต่อเนื่องจากการใช้กระทะล้อเหล็กแบบดั้งเดิม โดยนำวัสดุที่มีน้ำหนักเบามาผลิตเป็นกระทะล้อ แทนการผลิตแบบเหล็กอัดขึ้นรูปแล้วนำมาเชื่อมประกบกัน แมกนีเซียมเป็นวัสดุที่ถูกนำมาผลิตแทนเหล็กเป็นกระทะล้อแบบใหม่ ตั้งแต่หลายสิบปีที่ผ่านมาการลดน้ำหนักกระทะล้อลงมีหลายจุดประสงค์ อาจมีเพียงจุดประสงค์เดียวหรือหลายจุดประสงค์ร่วมกัน จากคุณสมบัติเด่นของล้อแม็กดังนี้ ช่วยระบายความร้อน เหล็กอมความร้อนมากกว่าแมกนีเซียมหรืออะลูมินั่มอัลลอย เมื่อกระทะล้อร้อน ยางก็ร้อนตาม และจานเบรก-ผ้าเบรกที่อมความร้อน ก็จะลดแรงเสียดทานในการเบรกลง จุดประสงค์นี้มักเน้นในวงการรถแข่ง ลดภาระระบบช่วงล่าง เช่นเดียวกับการยืดแขนตรงออกไปแล้วมีสิ่งของหนักหรือเบาแขวนอยู่ที่มือ สิ่งของน้ำหนักเบาย่อมเบาแรงและขยับแขนได้ง่ายกว่า นอกจากนั้นยังเพิ่มอายุการใช้งานของระบบช่วงล่างได้เล็กน้อยอีกด้วย ลดแรงต้านการหมุน กระทะล้อและยางที่มีน้ำหนักมากย่อมหมุนได้ยากกว่า หากลดแรงต้านได้ อัตราเร่งจะดีขึ้น และประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย สามารถเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ เพื่อใส่จานดิสก์เบรกขนาดใหญ่มากๆ หรือเพื่อความสวยงาม โดยยังสามารถควบคุมน้ำหนักของกระทะล้อไว้ได้จากวัสดุน้ำหนักเบา จุดประสงค์นี้มักเน้นในวงการรถแข่ง หรือรถยนต์ทั่วไปที่อยากเพิ่มความสวย หรืออยากใส่ยางแก้มเตี้ยลงแต่ต้องการรักษาเส้นรอบวงเดิมไว้ ความสวยงาม วัสดุที่นำมาผลิตล้อแม็กมีสีเงินวาววับ และสามารถออกแบบลวดลายได้หลากหลาย ต่างจากกระทะล้อเหล็กที่ต้องพ่นสีทับและมีลวดลายจำกัด แท้จริงแล้วจุดประสงค์นี้เป็นผลพลอยได้ แต่กลายเป็นจุดเด่นหลักของล้อแม็กไปแล้ว การผลิต ในอดีตล้อแม็กได้รับความนิยมในกลุ่มรถแข่ง และมีจำหน่ายไม่แพร่หลายนัก เพราะมีต้นทุนการผลิตสูงจากความซับซ้อนของกระบวนการผลิต และโลหะแมกนีเซียมที่มีน้ำหนักเบามากๆ แม้มีราคาแพง แต่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะรถแข่งมีค่าใช้จ่ายเหลือเฟือ ซึ่งต้องการลดแรงต้านการหมุนให้น้อยที่สุด และความร้อนจากจานเบรกก็สูงมาก เมื่อความสวยงามกลายเป็นจุดเด่นของการเลือกใช้ล้อแม็กสำหรับรถยนต์ทั่วไป อะลูมินั่มอัลลอยที่มีราคาถูกกว่า ผลิตง่าย และมีน้ำหนักพอเหมาะ จึงถูกนำมาทดแทนในการผลิตล้อแม็ก (แต่แยกออกไปเป็นหลายระดับราคาและคุณภาพ) ผู้ผลิตล้อแม็กคุณภาพสูง ชื่อดัง ราคาแพง มักเลือก ใช้วัสดุคุณภาพสูง เพื่อให้ทนทานต่อแรงกระแทก โดยในขั้นตอนการหลอมมีการผสมระหว่างวัสดุหลัก คือ อะลูมินั่มอินกอต, แมกนีเซียม, สตอนเซียม และซิลิกอน ตามสูตรอันแตกต่างของผู้ผลิตแต่ละราย ล้อแม็กที่ผลิตจากอะลูมินั่มอัลลอย ได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า -ล้อแม็ก- ซึ่งย่อมาจาก -ล้อแมกนีเซียม- แม้ไม่ได้มีการผลิตด้วยแมกนีเซียมเป็นหลักแล้วก็ตาม แบ่งตามวิธีผลิต มี 3 วิธีหลัก แตกต่างกันไปตามคุณภาพ ความยุ่งยากในการผลิต และต้นทุน ตักเท คุณภาพไม่สูง แต่ผลิตสะดวก ใช้เครื่องมือไม่ซับซ้อนและต้นทุนต่ำ หลอมเนื้อวัสดุด้วยความร้อนจนเหลว เทจากด้านบนลงสู่แม่พิมพ์ด้านล่าง เมื่อแข็งตัวแล้วถอดออกมากลึงให้เรียบ เจาะรู และเสริมความสวยต่อไป ล้อแม็กที่ผลิตด้วยวิธีนี้มีราคาถูก เนื้อไม่แน่น อาจมีฟองอากาศที่ไม่สามารถ ไล่ออกได้แทรกอยู่ภายใน จึงไม่ค่อยแข็งแรงและคด-แตกง่าย แพร่หลายที่สุดเพราะราคาถูก ถ้าเป็นอะลูมินั่มอัลลอยคุณภาพสูงและมีความละเอียด ในการผลิต ก็พอใช้ได้ แรงดันตํ่า คุณภาพดี ต้นทุนสูง และมีราคาเหมาะสมกับความแข็งแรง แม่พิมพ์อยู่ด้านบน หลอมอะลูมินั่มอัลลอยด้วยความร้อนจนเหลวที่เตาด้านล่าง ส่งผ่านท่อซึ่งต่อขึ้นสู่แม่พิมพ์ด้านบนด้วยแรงดันต่ำพอเหมาะ ไม่น้อยหรือช้าเกินไปจนเต็ม เพื่อไล่ฟองอากาศจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน เมื่อแข็งตัว เรียบร้อยแล้วถอดออกมากลึงเรียบ เจาะรู และเสริมความสวยต่อไปได้รับความนิยมทั้งจากผู้ผลิตและผู้บริโภคมากขึ้น เรื่อยๆ เพราะล้อแม็กมีเนื้อแน่น ฟองอากาศน้อย แข็งแรงทนทานต่อการคด-แตก ถ้ามีโอกาสควรเลือกใช้ แรงดันสูง คุณภาพดี ต้นทุนสูง และราคาแพง แม่พิมพ์ปิดผนึก หลอมอะลูมินั่มอัลลอยด้วยความร้อนจนเหลว ส่งผ่านท่อซึ่งต่อเข้าสู่แม่พิมพ์ด้วยแรงดันสูงจนเต็ม พร้อมไล่ฟองอากาศออกไป เมื่อแข็งตัวเรียบร้อยแล้วถอดออกมากลึงเรียบ เจาะรู และเสริมความสวยต่อไป ได้รับความนิยมจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่มากนัก แม้ล้อแม็กมีเนื้อแน่น ฟองอากาศน้อย แข็งแรงทนทานต่อการคด-แตก แต่ต้นทุนเครื่องมือสูงเกินความเหมาะสมกับคุณภาพที่ได้ เลือกล้อแม็กที่ผลิตด้วยวิธีแรงดันต่ำที่ดีก็เพียงพอแล้ว แบ่งตามจำนวนชิ้น/วง 1 ชิ้น และ 2-3 ชิ้น (ไม่นับชิ้นที่ปิดดุมหรือนอตตรงกลาง) ล้อแม็กแบบ 1 ชิ้น แพร่หลายและได้รับความนิยมที่สุด เป็นชิ้นเดียวทั้งวง การผลิตไม่ซับซ้อนและต้นทุนไม่สูง ล้อแม็กแบบแยกชิ้น มีจุดประสงค์หลักคือต้องการลดน้ำหนัก หรือเพิ่มความสวย แต่มีราคาและต้นทุนสูง สามารถลดน้ำหนักได้โดยแยกหล่อชิ้นหน้าแปลนตรงกลาง และ ส่วนขอบใช้วิธีรีดวัสดุ เช่น อะลูมิเนียม ให้บางและเบา แล้วนำมาประกบกันด้วยการยึดนอตหรือเชื่อม เพราะการหล่อทั้งวงย่อมทำให้บางเบาหรือสวยไม่ได้เท่าการ รีดขึ้นรูปส่วนขอบล้อแม็กแบบ 2 ชิ้น ผลิตขอบล้อ 1 ชิ้น และหน้าแปลนช่วงกลาง 1 ชิ้น ล้อแม็กแบบ 3 ชิ้น ผลิตขอบล้อ 2 ชิ้น แล้วนำมาเชื่อมกันก่อน หรือประกบยึดนอตพร้อมหน้าแปลนช่วงกลางอีก 1 ชิ้น นอกจากล้อแม็กแบบแยกชิ้นมีความโดดเด่นในเรื่องการแยกชิ้นผลิตเพื่อลดน้ำหนัก แล้ว ยังสามารถแยกผลิตให้ล้อแม็กลวดลายเดียวมีหลายขนาดความกว้าง หรือความกว้างเดียวมีหลายลวดลาย ด้วยการจับคู่สลับกันระหว่างขอบล้อกับหน้าแปลนช่วงกลางอีกด้วยจำนวนชิ้นต่อ ล้อแม็ก 1 วง ยังเกี่ยวข้องกับความสวยงาม และการแยกชิ้นซ่อมแซม ล้อแม็กหลายชิ้นมักดูสวยกว่า จนล้อแม็กชิ้นเดียวบางลวดลาย ออกแบบหลอกให้ดูเหมือนเป็นล้อแม็กหลายชิ้นด้วยการฝังนอตตัวเล็กรอบๆ ตรวจสอบและเสริมความสวย ไม่ว่าผลิตล้อแม็กด้วยวิธีใดหรือกี่ชิ้นต่อวง หลังการหล่อออกจากแม่พิมพ์ต้องมีการตัดแต่งส่วนเกินและอบแข็ง และต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงเบื้องต้นเสมอ หากตรวจสอบผ่านจึงเข้าสู่ขั้นตอนการกลึงละเอียดพร้อมเจาะรู แล้วทดสอบการรั่วของแรงดันลมโดยใช้แผ่นยางประกบ อัดลมแรงดันสูงเข้าไปแล้วแช่น้ำ เพราะล้อแม็กต้องใช้กับยางแบบไม่มียางใน จึงต้องเก็บลมได้สมบูรณ์ หากทดสอบผ่านก็เข้าสู่ขั้นตอนการเสริมความสวย แบ่งเป็น 2 วิธี คือ พ่นสี หรือปัดเงา วิธีปัดเงาสวยกว่า แต่เนื้อวัสดุต้องเรียบ สีสวย และเนื้อแน่น โดยไม่สามารถเลือกสีให้แปลกออกไปได้เหมือนวิธีแรกที่นิยมกว่า ทั้ง 2 วิธีจะสวยและคงสภาพได้นาน เพียงไรขึ้นอยู่กับรายละเอียด เช่น ถ้าใช้สีแห้งช้าเคลือบแล็กเกอร์ดีๆ จะให้ความทนทานสูงกว่าการใช้สีแห้งเร็วหรือสเปรย์กระป๋องธรรมดา หรือถ้าปัดเงาโดยไม่เคลือบ แล็กเกอร์ดีๆ ไม่นานก็หมอง ทั้งในการเลือกซื้อหรือการซ่อม อย่ามองข้ามรายละเอียดของการเสริมสวยทั้งในด้านความชอบและความคงทน ขนาด การระบุขนาดของล้อแม็กมีอยู่ 2 จุดมีหน่วยเป็นนิ้ว คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง หรือเรียกสั้นๆ ว่าขอบ...นิ้ว เช่น 13, 15,...นิ้ว ต้องพอดีกับเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง (มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร) ที่จะนำมาใส่ และความกว้างหรือเรียกสั้นๆ ว่ากว้าง...นิ้ว มีหน่วยจำนวนเต็มหรือ .5 เช่น 5, 5.5, 8,...นิ้ว เกี่ยวข้องกับหน้ากว้างของยางที่จะนำมาใส่ เมื่อเรียกรวมกันจะระบุบนตัวล้อแม็ก เช่น ขนาด 6 X 15 นิ้ว หมายความว่าหน้ากว้าง 6 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 นิ้ว ในรถยนต์คันเดียวกัน ล้อแม็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมาก ยิ่งสวย และมีราคาแพง ต้องใช้ยางแก้มเตี้ย คด-แตกง่าย ส่วนล้อแม็กหน้ากว้าง ดูดุดันเต็มซุ้มล้อ แต่ยางอาจติดตัวถังด้านในหรือขอบบังโคลนด้านนอก เป็นภาระกับช่วงล่างมากขึ้น ระยะ PCD PCD-PITCH CIRCLE DIAMETER หมายถึง ระยะห่างของรูนอตบนตัวล้อแม็กและดุมล้อที่ต้องเท่ากัน โดยวัดจากกึ่งกลางรูนอตทุกตัวลากเส้นเป็นวงกลม แล้ววัดผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ถ้าเป็นจำนวนเลขคู่ 4 หรือ 6 รูนอตต่อ 1 ล้อ ก็สามารถวัดจากกึ่งกลางรูนอตด้านหนึ่งไปยังด้านตรงข้ามได้เลย แต่ถ้าเป็นจำนวนเลขคี่ 3 หรือ 5 รูนอต ต้องวัดจากแนววงกลมกึ่งกลางรูนอตผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง รถยนต์ขนาดเล็กมักมี 4 รูนอตต่อ 1 ล้อ และรถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นไปมักมี 5-6 รูนอต เพื่อความแน่นหนาในการยึดล้อเข้ากับดุมล้อ ระยะ PCD ของรถยนต์รุ่นใหม่แบบ 4 รูนอต นิยมที่ 100 มิลลิเมตร ส่วนระยะ PCD อื่นมีมากมาย เช่น 98, 108, 110, 114.3 (มาจาก 5 5/8 นิ้ว), 120, 130 มิลลิเมตร ฯลฯ หากล้อแม็กกับดุมล้อมีระยะ PCD ไม่ตรงกัน มีหลายวิธีดัดแปลง เช่น เจาะดุม เจาะล้อแม็ก คว้านรูนอตเดิมแล้วอัดบู๊ชแบบเยื้อง และใส่อแดปเตอร์ ฯลฯ แต่ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจด้อยกว่ามาตรฐานจนเกิดอาการล้อสั่นหรือไม่ได้สมดุลขึ้นได้ และยังมีล้อแม็กหลายยี่ห้อหลายรุ่นให้เลือกอีกมากที่มีระยะ PCD ตรงกับดุมล้อ หากชอบล้อแม็ก ลวดลายนั้นจริงอาจดัดแปลงได้ แต่ต้องใช้ฝีมือช่างและความละเอียดมากๆ (กลายเป็นเรื่องปกติของวงการตกแต่งรถยนต์ของคนไทยไปแล้ว) ปัจจุบันล้อแม็กหลายรุ่นมีการเจาะรูนอตไว้เผื่อสำหรับรถยนต์หลายรุ่นมาเสร็จ สรรพ เช่น 1 วง มี 8 รูนอต โดย 4 รูนอตมีระยะ PCD 100 มิลลิเมตร และอีก 4 รูนอตมีระยะ PCD 114.3 มิลลิเมตร หรือล้อแม็กหลายรุ่นไม่มีการเจาะรูไว้เลย เพื่อให้เลือกเจาะเองได้ตามสะดวกก็มี ออฟเซต OFFSET-ออฟเซต คือ ตำแหน่งของหน้าแปลนด้านหลังของล้อแม็กที่ต้องยึดติดกับดุมล้อ เมื่อเปรียบเทียบกับกึ่งกลางล้อแม็กด้านขวาง ระบุเป็นบวกหรือลบด้วยหน่วย มิลลิเมตรบนตัวล้อแม็กด้านหน้าหรือด้านหลัง เช่น 0, +30, -25 ฯลฯ ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซตเท่ากัน อาจยื่นออกมาจากดุมล้อไม่เท่ากัน ถ้าความกว้างของล้อแม็กไม่เท่ากัน เช่น ล้อแม็ก 2 วง มีค่าออฟเซต 0 มิลลิเมตรเท่ากัน คือ หน้าสัมผัสของล้อแม็กกับดุมอยู่ตรงกลางพอดี แต่วงหนึ่งมีความกว้าง 6 นิ้ว กับอีกวงมีความกว้าง 7 นิ้ว วงแรกจะ ยื่นออกมาจากดุม 3 นิ้ว และวงหลังจะยื่นออกมา 3.5 นิ้ว ทั้งที่มีค่าออฟเซต 0 มิลลิเมตรเท่ากัน ค่าออฟเซตน้อยหรือลบมากเกินไป ล้อแม็กจะยื่นออกมาจากดุมล้อมาก แต่ถ้ามีระยะออฟเซตมากหรือบวกมากเกินไป ล้อแม็กจะหุบเข้าไปในตัวถัง เช่นล้อแม็ก 2 วงมีขนาดเท่ากันทุกอย่าง ทั้งเส้นผ่าศูนย์กลาง และหน้ากว้าง ยกเว้นค่าออฟเซต ล้อแม็กวงหนึ่ง -20 มิลลิเมตร และอีกวง +10 มิลลิเมตร วงแรกเมื่อใส่เข้ากับตัวรถยนต์จะยื่นออกมามากกว่าอีกวง 30 มิลลิเมตร (-20+10=30 มิลลิเมตร) รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังมักกำหนดให้ใช้ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซตเป็นลบ หรือบวกไม่มากนัก ดูแล้วล้อแม็กจะเป็นหลุมลงไป และรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า (หรือขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นใหม่) มักใช้ล้อแม็กค่าออฟเซตเป็นบวก ดูแล้วล้อแม็กจะหน้าเต็มๆ เพราะในการออกแบบและทดสอบพบว่า ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซตมากหรือบวกมาก เมื่อยางแตกรถยนต์จะเสียการทรงตัวน้อย การเปลี่ยนล้อแม็กวงโตกับยางแก้มเตี้ย เช่น ล้อแม็กขอบ 16-17 นิ้ว กับยาง 45-50 ซีรีส์ ตามความนิยมเพิ่มความสวย คนส่วนใหญ่มักมีมุมมองเบื้องต้นว่ายางจะติดขอบบังโคลน ด้านใน เพราะมีขนาดล้อแม็กเพิ่มขึ้น ทั้งที่อาจเกี่ยวข้องกับค่าออฟเซตที่น้อยเกินไป ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการยื่นหรือหุบเข้าไปของล้อแม็กกับขอบบังโคลนของตัวถัง เช่น เปลี่ยนล้อแม็กวงโตแล้วยางกระแทกขอบบังโคลนเมื่อรถยนต์ถูกโหลดลดความสูงหรือ ยุบตัวมากๆ ทำให้หลายคนรีบสรุปว่าล้อแม็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากเกินไป เช่น ขอบ 16-17 นิ้ว ทั้งที่จริงแล้วอาจมีปัญหามาจากค่าออฟเซต ในความเป็นจริง ยางจะติดขอบบังโคลนด้านในหรือเปล่า ? อยู่ที่ 2 กรณีหลัก คือ ขนาดของล้อแม็กและยาง และค่าออฟเซตของล้อแม็ก ถ้าไม่เลือกล้อแม็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่เกินไป เช่น โตโยต้า โคโรลล่า เลือกล้อแม็กขอบ 15-16 นิ้ว แล้วยางยังกระแทกขอบบังโคลนด้านในโดยส่วนใหญ่จะเกิด ปัญหาจากค่าออฟเซตไม่เหมาะสม คือ ล้อแม็กและยางจะยื่นเลยออกมานอกแนวขอบบังโคลน เมื่อโหลดลดความสูงของตัวถังลงมาหรือรถยนต์ยุบตัวมากๆ ขอบ บังโคลนด้านในจะกระแทกกับยางจนเกิดเสียงดังและยางเสียหาย ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่า แม้จะใส่ล้อแม็กแค่ 13 นิ้ว แต่ถ้าออฟเซตลบมากๆ จนล้อแม็กยื่นออกมาเลยขอบบังโคลนด้านใน ยางก็ยังมีโอกาสถูกกระแทกได ้การเลือกเปลี่ยนล้อแม็กขนาดใหม่ ควรอ้างอิงค่าออฟเซตกับล้อแม็กมาตรฐานเดิม โดยอ่านจากตัวล้อแม็กบริเวณด้านหน้าหรือด้านหลังตามหลักการ ไม่ควรเลือก ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซตต่างจากมาตรฐานเดิมเกิน 5-10 มิลลิเมตร แต่ในทางปฏิบัติสามารถประยุกต์ได้ ล้อแม็กที่ใส่แล้วสวยคือใส่แล้วดูเต็มบังโคลน แต่เมื่อรถยนต ์ยุบตัว ยางต้องไม่กระแทกกับขอบบังโคลน หรือเรียกกันกลายๆ ว่า ปริ่มขอบบังโคลน การเลือกแบบประยุกต์หรือสูตรสำเร็จก็คือ ลองใส่ล้อแม็กพร้อมยาง แล้วนำรถยนต์ขับเดินหน้า-ถอยหลังสัก 4-5 ครั้ง เพื่อให้ช่วงล่างปรับเข้าสู่ระยะปกติ หาคนนั่ง ในรถยนต์บนเบาะหลัง 2-3 คน พร้อมขย่มตัวถังเหนือล้อหลัง แล้วดูว่าริมขอบบังโคลนด้านในยุบลงมากระแทกยางหรือเปล่า ถ้าสามารถพับหรือเจียร์ขอบบังโคลน ด้านในหลบได้ก็จัดการไปเลย โดยต้องระวังไม่ให้สีด้านนอกเสียหาย แต่ถ้าติดมาก คือพับหรือเจียร์ขอบบังโคลนด้านในแล้วยังไม่น่าจะพ้น ก็หมดสิทธิ์ใส่ล้อแม็กชุดนั้น แม้ตัวรถยนต์ไม่ได้โหลดลดความสูงลง แต่ก็ต้องทดลองขย่มเผื่อไว้สำหรับการบรรทุกหนักหรือการกระแทกที่อาจเกิดขึ้นได้ ค่าออฟเซตมากหรือบวกเกินไป ล้อและยางจะหุบเข้าไปในตัวถัง ดูไม่สวย อาจติดช่วงล่างบางชิ้น ฐานล้อระหว่างซ้าย-ขวาน้อยลง และสูญเสียประสิทธิภาพการทรงตัวลงไป การดัดแปลงค่าออฟเซต ความอยากสวยห้ามกันยาก เมื่อล้อแม็กลวดลายนั้นประทับใจมาก แต่ค่าออฟเซตน้อย-มากเกินไป จนล้อหุบ-ล้น หรือระยะ PCD ไม่เท่ากัน หรือจำนวนรูนอต ไม่เท่ากันระหว่างดุมล้อกับล้อแม็ก สามารถดัดแปลงในหลายกรณีได้ดี แต่บางกรณีแย่และควรหลีกเลี่ยง ค่าออฟเซตน้อยหรือติดลบเกินไป ถ้าล้อแม็กจะล้นออกมาเกินปกติ แสดงว่าค่าออฟเซตน้อยหรือติดลบเกินไป เมื่อรถยนต์ยุบตัวลงหรือโหลด ยางอาจกระแทกกับขอบบังโคลนด้านใน ถ้าติดหรือกระแทกไม่มาก ก็สามารถพับหรือเจียร์ขอบบังโคลนหลบได้ แต่ต้องระวังไม่ให้สีด้านนอกเสียหายถ้ายังไม่พ้นลองพลิกดูด้านหลังล้อแม็ก บริเวณหน้าสัมผัส ว่ามีเนื้อหนาพอจะเจียร์ให้บางลงสัก 2-3 มิลลิเมตรได้ไหม ถ้าเจียร์ได้ก็ยังพอเพิ่มค่าออฟเซตให้ล้อหุบเข้าไปได้อีกเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจ ว่าล้อแม็กจะไม่บางเกินไปจนแตกหักง่าย ค่าออฟเซตมากไป หากล้อแม็กหุบเข้าไปเกินปกติ แสดงว่าค่าออฟเซตมากไป กรณีนี้ไม่เกี่ยวกับปัญหายางกระแทกขอบบังโคลน แต่อาจดูไม่สวย และล้อหรือยางจะติดขัดกับ ช่วงล่างบางชิ้นหรือซุ้มล้อด้านใน ถ้าไม่มาก สามารถใช้แผ่นอะลูมิเนียมรองแบนกลมบางๆ สเปเซอร์-SPACER ซึ่งมีจำนวนรูให้นอตร้อยผ่านเท่ากับระยะ PCD แทรกระหว่างล้อแม็กกับดุมล้อ เพื่อให้ล้อแม็กล้นออกมามากขึ้น ถ้ารองสเปเซอร์ไม่หนานัก ยังใช้นอตล้อเดิมได้และไม่ค่อยมีผลต่อการแกว่ง แต่ถ้าต้องรองหนากว่า 10 มิลลิเมตร (1 เซนติเมตร) ต้องเปลี่ยนนอตล้อยาว ขึ้นหรือแบบพิเศษ เพื่อให้มีเกลียวยาวยึดได้แน่น แต่ยังเสี่ยงต่อการแกว่งหรือสั่นถ้าต้องรองสเปเซอร์หนามากเกิน 20-30 มิลลิเมตร อาจมีการใช้สเปเซอร์พิเศษ ที่มีนอตล้อเพิ่มอีกชุด (ดูคล้ายอแดปเตอร์ แต่จำนวนรูนอตและระยะ PCD เท่าเดิม) โดยมีตัวสเปเซอร์แบบหนายึดเข้ากับดุมด้วยนอตล้อชุดเดิม แล้วมีนอตล้อชุดใหม่ยื่นออกมาจากสเปเซอร์เพื่อยึดกับล้อแม็ก ตัวสเปเซอร์แผ่นรองแทรกควรมีน้ำหนักเบาที่สุด เพราะแค่มีการยื่นออกมาของล้อแม็กมากๆ ก็สร้างภาระให้กับช่วงล่างมากอยู่แล้ว เมื่อต้องเสริมแผ่น รองหนาพิเศษก็ยิ่งมีน้ำหนักมาก สร้างภาระมากขึ้นไปอีก ระยะ PCD ไม่ลงตัวหรือจำนวนรูนอตไม่เท่ากัน ไม่ใช่ใส่แล้วล้อแม็กหุบหรือล้นเกินไป แต่ยังใส่ล้อแม็กเข้าไปไม่ได้เลย เพราะรูนอตบนล้อแม็กกับดุมล้อไม่ตรงกันการแก้ไขมี 3 วิธีหลัก คือ แก้ไข ล้อแม็ก แก้ไขดุมล้อ หรือทำอแดปเตอร์แทรก แก้ไขล้อแม็ก มีหลายวิธี เช่น 4 รูนอต PCD ใกล้เคียงกัน แล้วมีค่าออฟเซตเหมาะสมอยู่แล้ว เช่น 4 รูนอต PCD 100 แก้ไขเป็น 114.3 มิลลิเมตร หรือ 120 แก้ไข เป็น 114.3 มิลลิเมตร มักดัดแปลงด้วยการคว้านรูนอตเดิมบนล้อแม็กให้ใหญ่ขึ้น แล้วอัดบู๊ชเหล็กใหม่เข้าไปให้ได้ระยะหากเนื้อของล้อแม็กด้านข้างร ูนอตยังเต็มหรือเหลือพอทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง สามารถเจาะรูเพิ่มจากเดิมได้ แต่ต้องได้ศูนย์และตรงกับระยะ PCD พอดี หากไม่สามารถขยายรูนอตและใส่บู๊ชใหม่ได้ หรือไม่มีเนื้อของล้อแม็กให้เจาะรูใหม่ได้ อาจใช้วิธีเชื่อมอุดรูนอตเดิมแล้วเจาะรูนอตใหม่ ทำได้ แต่ต้องมั่นใจว่าเนื้อวัสดุที่เชื่อมอุดผสานกับเนื้อวัสดุเดิมโดยไม่เปราะ และการเจาะรูนอตใหม่ต้องได้ศูนย์จริงๆ แก้ไขที่ดุมล้อ มักทำไม่ค่อยได้ เพราะไม่ค่อยมีเนื้อโลหะให้เยื้องหรือเจาะรูนอตใหม่ได้ แต่ถ้าทำได้ ต้องแน่ใจว่าได้ศูนย์จริงๆ ทำอแดปเตอร์-ADAPTER อแดปเตอร์ คือ แผ่นรองหนา 1-3 นิ้ว ผลิตจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม สำหรับแทรกระหว่างล้อแม็กกับดุมล้อที่มีระยะ PCD หรือจำนวนรูนอต ไม่เท่ากัน มีรูสำหรับยึดอแดปเตอร์เข้ากับดุมล้อ 1 ชุด บนด้านนอกของอแดปเตอร์มีเกลียวหรือนอตล้อสำหรับยึดกับล้อแม็ก ไม่ต้องดัดแปลงทั้งดุมล้อและล้อแม็ก แต่ล้อแม็กชุดนั้นต้องมีค่าออฟเซตมากหรือบวกมากเกินไป คือ ใส่ล้อแม็กแล้วหุบเข้าไปมาก เพราะ การทำอแดปเตอร์แทรกต้องมีความหนาเพิ่มขึ้น ทำให้ล้อแม็กยื่นออกจากตัวรถยนต์มากขึ้น หากล้อแม็กยื่นออกมามากอยู่แล้ว เมื่อทำ อแดปเตอร์แทรกในความหนา 1-2 นิ้ว ก็ยิ่งล้นออกมาจนเกิดปัญหา หากเลือกใช้วิธีนี้ นอกจากล้อแม็กชุดนั้นต้องมีค่าออฟเซตมากหรือบวกมาก อแดปเตอร์ต้องมีการเจาะรูนอตได้ศูนย์ และมีน้ำหนัก ไม่มากจนสร้างภาระกับระบบช่วงล่างมากเกินไป อย่ามองข้ามขนาดรูกลางของล้อแม็ก รถยนต์ทุกคันต้องมีแกนกลางของดุมล้อนูนออกมา เพื่อสวมทะลุเข้าสู่รูกลางบนตัวล้อแม็ก นอกจากต้องมีระยะ PCD, ค่าออฟเซต และขนาดโดยรวมของล้อแม็กเหมาะสมแล้ว ขนาดรูกลางของล้อแม็กต้องกว้างเท่ากันพอดีกับแกนดุมล้อ เพื่อป้องกันการสะบัดหรือแกว่ง ของล้อแม็ก แม้นอตล้อจะยึดแน่นอยู่แล้วก็ตาม หากขนาดรูกลางของล้อแม็กเล็กเกินไป ย่อมสวมเข้ากับดุมล้อไม่ได้ ต้องกลึงคว้านด้วย ความละเอียดให้มีขนาดรูกลางเท่ากับแกนดุมล้อพอดี อย่าให้หลวมถ้าขนาดรูกลางของล้อแม็กใหญ่กว่าแกนดุมล้อ ควรอัดบู๊ชหรือคว้าน แล้วอัดบู๊ชให้พอดีกัน เพื่อป้องกันการแกว่ง หากต้องการรองสเปเซอร์หนุนล้อแม็กออกมาในล้อหน้า หรือเมื่อต้องรองหนาถึง 1 เซนติเมตรขึ้นไป ด้านในของสเปเซอร์ต้องม ีขนาดพอดีกับแกนดุมล้อ ส่วนด้านนอกต้องมีบ่ายื่นออกมาเป็นแกนสำหรับใส่ล้อแม็กสวมเข้าไป ในขนาดเท่ากับขนาดรูกลางของ ล้อแม็ก คือ สวมแล้วแน่นทั้งตัวสเปเซอร์กับดุมล้อและสเปเซอร์กับรูกลางล้อแม็ก เช่นเดียวกับการรองอแดปเตอร์เปลี่ยนระยะ PCD หรือจำนวนน๊อตล้อ แกนกลางก็ต้องสวมกันได้แน่นพอดีทุกจุดทั้งนอกและใน ข้อมูล นี้ นำมาจากเวบที่มีสาระประโยชน์มาก คือ http://www.yonsawad.com/maxi.html เครดิตให้กับ พี่อู๋ NFC Meeting Verify