หลังจากลอง Dino test มีปัญหากราฟแรงบิดมีลักษณะ แนบสนิทไปกับกราฟแรงม้า ไม่ชู้ดโด้งคร กราฟแรงม้าก็ดูปรกติ.รบกวนขอคำแนะนำว่าปัญหาน่าจะมาจากอะไรบ้างครับ ควรเริ่มแก้ไขอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
ผมว่าดูโอเคเลยนะครับ แค่ 3000 รอบ ต้นๆ ก็บิดเต็มแล้ว แถมบิด Hold อยู่ในระดับนั้น ยาวกือบถึง 6000 รอบ น่าจะขับดีทีเดียว ส่วนเรื่องจำนวนม้า หรือบิดที่ได้ ไม่ต้องไปซีเรียส เพราะเครื่องไดโนฯ ที่คุณขึ้นมาหนืดมากๆๆๆๆ
ขออนุญาติเจ้าของกราฟนี้ด้วยครับ แบบว่าเห็นแล้วชอบ ถ้า fit เครื่องไหม่บนพื้น standard จะได้กราฟแบบนี้หรือปล่าวครับ หรืออาจจะต้องทําอะไรเพิ่มบ้าง???
ปวดหัวแทนพี่โอ 555.. เอาแบบนี้ครับ รถรุ่นเดียว เครื่องเดียวกัน สเป็คเครื่องเหมือนกัน กราฟไดโน่ ก็ไม่จำเป็นว่าจะออกมาได้เหมือนหรือใกล้เคียงกันเสมอไปหรอกครับ เอากราฟอันอื่นมา แล้วจะทำให้เหมือนกันเลยคงจะเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร เพราะเราไม่รู้ว่ารถเจ้าของกราฟทำอะไรไปบ้าง ถึงจะรถสเป็คเดียวกัน แต่แค่ อัตราบูสท์ไม่เท่ากัน หรือเทอร์โบ คลัตซ์ เกียร์ กล่อง น้ำมัน ไฟ สมบูรณ์ไม่เท่ากัน กราฟก็หน้าตาออกมา ไม่เหมือนกันแล้วครับ ฉะนั้นการจะออกแบบรถเรา ให้กราฟเหมือนอย่างรูปที่ต้องการ ทำได้ครับ แต่บานปลายเสียเงินหลายรอบเปล่าๆ สู้ทำรถของเราให้สมบูรณ์และไล่เก็บรายละเอียดจากกราฟของเราขึ้นไปเอง น่าจะตรงจุดและไม่หลงทางมากกว่าครับ การออกแบบคาแรคเตอร์ของรถซักคัน ซิ่งที่ควรจะตั้งโจทย์คือ 1. รถอะไร เครื่องอะไร 2. เอารถมาใช้งานอะไร 3. งบประมาณ 4. ออกแบบสเป็คเครื่องและของต่างๆลงไป 5. แล้วค่อยเลือกว่าจะใช้เทอร์โบอะไร บูสท์เท่าไร น้ำมันอะไร ต้องตั้งโจทย์พื้นฐานเหล่านี้ก่อนครับ ไม่งั้นหลงทางเปล่าๆ ส่วนกราฟรูปที่ 1 ถ้าอยากได้แรงบิดอ้วนขึ้นแบบกราฟรูปที่ 2 สิ่งที่ควรเพิ่มเติมคือ แคมซัก272 + ออกเทน95 + ปรับบูสท์เพิ่มไปซัก 1.2 บาร์ + กล่องจูน + คลัตซ์ดีๆซักชุด เพราะกราฟรูปที่2 เท่าที่มองก็ใกลเคียงเครื่องอีโว3 TD05Hธรรมดาๆ ที่มีสภาพเครื่องสมบูรณ์ตัวหนึ่ง แต่ดันบูสท์เพิ่ม และมีแคม+กล่อง เข้ามาช่วย เท่านั้นครับ บูสท์ซัก บาร์สอง กราฟน่าจะออกมาใกล้เคียงกันครับ ---------- Post added at 09:40:17 ---------- Previous post was at 09:40:06 ---------- ปวดหัวแทนพี่โอ 555.. เอาแบบนี้ครับ รถรุ่นเดียว เครื่องเดียวกัน สเป็คเครื่องเหมือนกัน กราฟไดโน่ ก็ไม่จำเป็นว่าจะออกมาได้เหมือนหรือใกล้เคียงกันเสมอไปหรอกครับ เอากราฟอันอื่นมา แล้วจะทำให้เหมือนกันเลยคงจะเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร เพราะเราไม่รู้ว่ารถเจ้าของกราฟทำอะไรไปบ้าง ถึงจะรถสเป็คเดียวกัน แต่แค่ อัตราบูสท์ไม่เท่ากัน หรือเทอร์โบ คลัตซ์ เกียร์ กล่อง น้ำมัน ไฟ สมบูรณ์ไม่เท่ากัน กราฟก็หน้าตาออกมา ไม่เหมือนกันแล้วครับ ฉะนั้นการจะออกแบบรถเรา ให้กราฟเหมือนอย่างรูปที่ต้องการ ทำได้ครับ แต่บานปลายเสียเงินหลายรอบเปล่าๆ สู้ทำรถของเราให้สมบูรณ์และไล่เก็บรายละเอียดจากกราฟของเราขึ้นไปเอง น่าจะตรงจุดและไม่หลงทางมากกว่าครับ การออกแบบคาแรคเตอร์ของรถซักคัน ซิ่งที่ควรจะตั้งโจทย์คือ 1. รถอะไร เครื่องอะไร 2. เอารถมาใช้งานอะไร 3. งบประมาณ 4. ออกแบบสเป็คเครื่องและของต่างๆลงไป 5. แล้วค่อยเลือกว่าจะใช้เทอร์โบอะไร บูสท์เท่าไร น้ำมันอะไร ต้องตั้งโจทย์พื้นฐานเหล่านี้ก่อนครับ ไม่งั้นหลงทางเปล่าๆ ส่วนกราฟรูปที่ 1 ถ้าอยากได้แรงบิดอ้วนขึ้นแบบกราฟรูปที่ 2 สิ่งที่ควรเพิ่มเติมคือ แคมซัก272 + ออกเทน95 + ปรับบูสท์เพิ่มไปซัก 1.2 บาร์ + กล่องจูน + คลัตซ์ดีๆซักชุด เพราะกราฟรูปที่2 เท่าที่มองก็ใกลเคียงเครื่องอีโว3 TD05Hธรรมดาๆ ที่มีสภาพเครื่องสมบูรณ์ตัวหนึ่ง แต่ดันบูสท์เพิ่ม และมีแคม+กล่อง เข้ามาช่วย เท่านั้นครับ บูสท์ซัก บาร์สอง กราฟน่าจะออกมาใกล้เคียงกันครับ
ช่วยสอนหน่อยซิครับ ว่ากราฟเส้นไหน (สีไหน) บอกแรงม้า บอกแรงบิด และ อีก 2 เส้น บอกอะไร ครับ ขอบคุณล่วงหน้า ครับ
ต้องอธิบายจากแกนกราฟก่อนครับ ต้องดูให้เป็นกราฟ 3 แกน แนวระนาบครับ แกน Y1 ฝั่งซ้ายมือ = แรงม้าหน่วยเป็น BHP แกน Y2 ฝั่งขวามือ = แรงบิดหน่วยเป็น N-m แกน X แนวนอน = ความเร็วรอบเครื่องยนต์เชิงมุมต่อนาที หน่วยเป็น RPM P-norm = Power normal เป็นเส้นแรงม้าครับ ในรูปขึ้นไป 215 แรงม้าที่ 5400 รอบ/นาที M-norm = Torque normal เป็นเส้นแรงบิดครับ ในรูปขึ้นเท่าไรต้องดูจากแกน Y2 ซึ่งไม่ได้สแกนมาครับ P-Wheel = Power at Wheel เป็นเส้นแรงม้าลงพื้นครับ P-Drag = Drag Power เป็นการวัดการสูญเสียแรงม้าไปกับระบบส่งกำลัง ว่าในเกียร์ที่ทดสอบ เช่นที่เกียร์3 จากในรูปจะพบว่าที่ 5000 รอบ เราสูญเสียแรงม้าไปในระบบส่งกำลังประมาณ 30 BHP ครับ ดูไล่ตามแต่ละรอบเครื่องยนต์ไป การจะดูว่าลูกกลิ้ง Dyno ที่ไหนหนืด หรือ คลัตซืเราไม่ดี ก็อ้างอิงจากกราฟเส้นนี้ได้ครับ ซึ่งการแรงม้าทั้งที่ Flywheel และ Wheel ของ เครื่องDyno เป็นหลักการวัดแรงบิดและรอบ จากลูกกลิ้งครับ แต่เป็นหลักการวัดโดยอนุมาณจากอัตราทดต่างๆของเครื่องมือวัดเช่น Motion / Force / Power ส่วนมากจะอาศัยหลักการจากการแปลงค่าสัญญาณทางกลผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วเครื่องDynoคำนวณออกมาอีกครั้ง ส่วนจะแม่นยำหรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องมือวัดและโปรแกรมคำนวณครับ เพราะที่เราว่าม้าหายมั้ง ลูกกลิ้งหนืดมั้ง ก็มาจากระบบเครื่องมือวัดของDYnoแต่ละยี่ห้อไม่เท่ากันครับ เพิ่มความเข้าใจเพิ่มเติม ขอยกตย. บทความของคุณ Dyno Test มาให้อ่านครับ ก่อนอื่น ขอแยกเป็นชนิดของ DYNO และหน่วยวัดครับ เครื่องมือ DYNAMOMETER ที่เราๆ เรียกกันมี 3 ชนิด ชนิดที่ 1 วัดที่เครื่อง ENGINE DYNO ใช้ตามโรงงานรถยนต์ ใช้เซ็นเซอร์จับกับเพลาข้อเหวี่ยง , และ FLYWHEEL ชนิด ที่ 2 วัดที่ล้อ CHASSIS DYNO เอาแรงเฉื่อยจากการหมุนที่ล้อรถไปยังลูกกลิ้ง (มีแบบ 1ลูก และ 2 ลูก) และมีแบบวัดได้ทั้ง 2 ล้อ กับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ จะต้องมีลูกกลิ้ง 2 ชุด ชนิดที่ 3 วัดที่ล้อ แต่ถอดยางออกก่อน ใส่ ADAPTER ล้วยึดกับดุมล้อ จะดีตรงยางไม่ SLIP หน่วยที่วัด SAE HP ค่าที่ลงขึ้นผ่านชุดขับเคลื่อน ล้อ MAGและยาง BHP ค่าจาก FLYWHEEL ไม่ผ่านชุดขับเคลื่อน (ค่าที่ได้จะมากกว่าประมาณ 10 -15%) ในเมืองไทยเป็น CHASSIS DYNO ทั้งหมด - POWER LAB ถ.วิภาวดี ที่นิยมวัดกันมากที่สุดเนื่องจากค่าออกมาเป็น BHP วัดได้ ทั้งขับสอง และขับสี่ อีกทั้งยังมีกราฟของอัตราส่วนอากาศและน้ำมันพร้อมระดับบูสธ์ของ turbo ประกอบทุกรอบของรอบเครื่องยนต์ ทำให้สามารถเช็ครถปรับปรุงข้อผิดพลาดได้ - STRYDER บางนา ( ค่าออกมาเป็น SAE HP ) - DYNOJET BY WORLD TEC อ่อนนุช ( ค่าออกมาเป็นที่ล้อ SAE HP) - GT 1 สามเสน ( ค่าออกมาเป็น BHP ฟลายวีล ) *สังเกตที่แขนกราฟแนวตั้งจะเขียนว่า BHP จะได้ไม่เข้าใจผิดกันครับ - SIGNAL THAILAND รามคำแหง (ค่าออกมาเป็นSAE ที่ล้อ) *สังเกตที่แขนกราฟแนวตั้งจะเขียนว่า SAE
ขอบคุณมากครับ เป็นประโยขน์อย่างมากมายที่สุดเลยเสียตังค์ทั้งที ต้องสามารถวิเคราะห์ และ นำไปปรับปรุงในทางที่ดีขึ้นได้ จะได้ไม่หลงทาง + อ้างถึง ตอบกลับ