เพื่อนโดนจับรถ...โหลด...

การสนทนาใน 'HILUX Club' เริ่มโดย mail_poo, 2 ตุลาคม 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. mail_poo

    mail_poo New Member Member

    3,298
    14
    0
    เพื่อนผมโดนตำรวจสามพราน เรียกจะจับเรื่องรถโหลด....ตำรวจบอกดัดแปลงสภาพรถ แต่ตอนนี้แค่ตักเตือน เร็ว ๆ นี้จับแน่นอน.....เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ผมก้อเคยโดนจับอยู่ครั้งหนึ่งที่ด่านอโศก-พระรามเก้า....ก้อเลยอยากถามทุกท่านว่า มีกฎหมายออกมาแล้วเหรอ....ท่านใดรู้ช่วยตอบหน่อยคับ.....เซ็งแม่ง จิง ๆ เลย :mad::mad:
     
  2. Duang@Hlc

    Duang@Hlc Active Member Member

    3,924
    19
    38
    อัพรอผู้รู้
     
  3. ชายต้น

    ชายต้น New Member Member

    3,490
    39
    0
    เรื่องโหลด วัดจากพื้นถึงกลึ่งกลางไฟหน้าห้ามต่ำกว่า 60เซนติเมตรครับ
     
  4. PALM@HLc

    PALM@HLc New Member Member

    882
    8
    0
    เอามาให้อ่านคร๊าบบ


    ทุกคำตอบได้มาจาก พ.ต.ท.ยอดชาย ผู้สันติ รองผกก.2 บก.จร. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บก.02 กองบัญชาการตำรวจนครบาล

    ท่อไอเสีย
    รถยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไอเสีย หม้อพัก และปลายท่อด้านท้ายมีขนาดใหญ่กว่าปรกติ มีความผิดหรือไม่ครับ
    คำตอบ
    ไม่ผิดครับ แต่สำคัญอย่าให้เสียงดังเกินกว่าที่กม.กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ ไม่เกิน 100 เดซิเบล รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 95 เดซิเบล

    กระจกมองข้าง
    กระจกมองข้างถ้าเราติดอันเล็กจะผิดกฎหมายมั๊ยครับ
    คำตอบ
    การติดกระจกมองข้างอันเล็ก ไม่ผิดกม.ครับ สามารถติดได้ เหตุผลเพราะ
    พ.ร.บ.รถยนต์พ.ศ.2522 บัญญัติว่า รถยนต์ต้องมีและใช้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถดังต่อไปนี ้
    - เครื่องมองหลัง เป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้า นข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
    เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวนหรือขนาดของเครื่องมองหลัง ดังนั้นจึงสามารถติดเพิ่มจากเดิมได้โดยไม่ผิดกม.
    - กรณีเป็นรถจักรยานยนต์ กม.ก็บัญญัติไว้เช่นเดียวกันครับ

    รถโหลด
    รถ เก๋งโหลดเตี้ยผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ หรือมีกฏหมายบังคับให้โหลดได้ไม่เกินเท่าไหร่ เพราะรถบางคันท้ายโด่งมา บางคนโหลดให้ดูพองาม ซึ่งผมโดนตำรวจจับข้อหาดัดแปลงสภาพรถ และรถผมก็เป็นรถมือสอง ซื้อมาใช้สภาพนี้ครับ (ก็ไม่เตี้ยมากครับน่าจะประมาณ 1 - 2 นิ้ว สามารถก้มไปดูใต้ท้องรถได้)

    อยากรู้ว่า
    1. ถ้าผิดกฏหมาย ทำไมถึงปล่อยให้เต๊นท์รถขายรถทำมาหรือดัดแปลงรถได้คร ับ และทำไมเวลาตรวจสภาพรถก่อนต่อทะเบียนถึงผ่านละครับ (แต่เวลาขับถูกจับ) และหนังสือลงโฆษณาขายโช้คโหลดอย่างนู้นอย่างงี้ ปล่อยให้เค้าขายได้อย่างไร (เท่ากับขายของที่ทำให้ผิด กฏหมายนะ)
    2. ถ้ารถที่ดัดแปลงสภาพรถผิดกฏหมาย รถที่ใส่ไฮโดรลิค ยืดขึ้นยืดลง ใส่เครื่องเสียงดังๆรบกวนชาวบ้าน (เลียนแบบมอเตอร์โชว์) รถเก๋งเล็กที่ใส่เครื่อง J เทอร์โบ (แรงเกินขนาดของรถ) รถที่ยกสูงถือว่าดัดแปลงสภาพรถหรือเปล่า
    3.ตอนผมจอดติดไฟแดงตำรวจมาขอ ดูใบขับขี่ พอผมยื่นให้ดู กับเดินกลับไปที่รถของเค้าเพื่อเขียนใบสั่ง ทิ้งให้ผมนั่งงงอยู่ในรถ โดยไม่แจงข้อหา ผมต้องขับออกไปแล้วจอดข้างทาง แล้วรีบเดินมาหาเค้าถามว่าเกิดอะไรขึ้นเค้าจึงบอกว่า ดัดแปลงสภาพรถ ผมบอกว่าผมซื้อมาสภาพนี้ หรือพูดอย่างไรก็ไม่สนเก็บใบขับขี่เข้ากระเ***แล้วให ้ไปเสียค่าปรับที่โรงพัก พอไปเสียค่าปรับ จะปรับตั้งพันหนึ่ง (มันความผิดผมเหรอ ผมซื้อมาสภาพนี้น่ะ) ผมว่าบางครั้งตำรวจทำเกินไปในบางครั้งไม่รับฟังเหตุผ ลบ้าง น่าจะชี้แจงให้เข้าใจว่ามันผิดอย่างนี้ๆนะ ไปแก้ไขซะ ถ้าเจออีกจับแน่นอนอะไรประมาณนี้
    4. คุณว่าการมีส่วนในเรื่องของเงินค่าปรับมีส่วนเกี่ยวข ้องไหม มีคนบอกว่า(ซึ่งผมก็เห็นด้วย) พอมีเอี่ยวส่วนแบ่งในเงินค่าปรับทำให้บางคนไม่เคยโดน จับก็โดน(ผมใช้ขับรถมา 2 ปี ไม่เคยโดนจับไปทำธุระหลายจังหวัดเพิ่งมาโดน) บางครั้งผมเห็นว่ามันเอื้อการนำมาใช้หาผลประโยชน์กับ คนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องกฏหมายมากเกินไป เหมือนดาบมีสองคมใช้ในทางที่ดีก็ดีไป เท่าที่ผมอยากรู้ก็มีเท่านี้ละครับ ซึ่งผมคิดว่าประชาชนทั้งหลายที่ใช้รถ ก็คงอยากจะทราบเหมือนกับผม
    คำตอบ
    ขออนุญาตแยกตอบเป็นหัวข้อหลักๆ อาจจะข้ามหรือกระโดดไปบ้าง ดังนี้
    -- การใช้รถนั้น หากเป็นรถที่ซื้อต่อจากผู้อื่น (รถมือสอง) ผู้ที่ซื้อรถคันดังกล่าวมาหรือผู้ขับขี่รถ (จะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ก็ตาม) จะต้องรับผิดชอบทั้งในเรื่องของการขับขี่รถและของตัว รถที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตรวจพบว่าผิดกม.
    สรุปว่า การใช้รถมือสองหรือการยืมรถคนอื่นมาขับ หรือการเป็นลูกจ้างแล้วนายจ้างสั่งให้มาขับรถ เช่นไปส่งของหรือเป็นคนขับรถ หาสกพบว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดกม. จะอ้างว่าไม่ใช้เจ้าของรถหรือเป็นรถซื้อต่อมา ย่อมไม่ได้ ยกเว้นจะมีกม.กำหนดไว้เป็นความผิดเฉพาะตัวเจ้าของ
    -- รถโหลดเตี้ยหรือรถยกสูงไม่ผิดกม. เว้นแต่ 2.1 รถโหลดเตี้ย หากโหลดแล้ว มีผลต่อเนื่องไปทำให้ส่วนอื่นของรถผิดกม.ก็จะมีความผ ิดไปด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือ การโหลดเตี้ยทำให้ระดับของไฟหน้ารถผิดไปจากที่กม.กำห นดไว้ ได้แก่ รถยนต์: ไฟหน้ารถถูกกำหนดให้สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลาง ดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 ม. แต่ไม่เกิน 1.35 ม. หากนำรถไปโหลดเตี้ยแล้ว ลองเอาไม้บรรทัดวัดดูว่าน้อยกว่า 0.60 ม.หรือไม่ หากน้อยกว่าก็ผิดกม.ครับ

    1. รถอยู่ในเต๊นท์ยังไม่ผิดกม.ครับ จอดไว้ในเต๊นท์ยังไม่ผิดจะผิดเมื่อเอาออกไปใช้ขับขี่ ส่วนโชคอัพรถนั้นยิ่งไม่ผิดกม.ใหญ่ เว้นแต่จะผิดตามพ.ร.บ. ผลิตภัณท์มาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) เกี่ยวคุณสมบัติของโชคอัพ ครับ
    เท่าที่ทราบ การตรวจสภาพรถผ่านสถานที่ตรวจรถเอกชนไม่ได้ตรวจเรื่อ งความเตี้ยของรถครับ มีแต่ตรวจเรื่องอุปกรณ์อื่น
    2. รถยกสูงหากไฟสูงเกิน 1.35 ม.ก็ผิดกม.เช่นเดียวกันครับ รถใส่เครื่องเทอร์โบ หรือเปลี่ยนเครื่องใหม่ ต้องให้นายทะเบียนกรมการขนส่งทางบกตรวจสภาพก่อน หากตรวจผ่านก็ไม่ผิดครับ
    3.ประเด็นว่าเป็นรถมือสองคงเข้าใจดีแล้วนะครับ ว่า ใช้เป็นเหตุผลในการทำให้พ้นผิดไม่ได้ แต่ประเด็นกรณีที่ตำรวจไม่แจ้งข้อหาหรือความผิดให้ทร าบนั้น ไม่ถูกต้อง โดยหลักแล้วต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าผิดอะไร แล้วจึงออกใบสั่ง
    4. เรื่องการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมได้รับเงินราง วัลจากค่าปรับจราจรนั้น เป็นเพราะมีกม.บัญญัติไว้ว่า เงินค่าปรับจราจรร้อยละห้าสิบให้แบ่งให้แก่กรุงเทพมห านคร และเป็นรายได้แผ่นดิน (กระทรวงการคลัง) ส่วนที่เหลือนั้นให้เป็นรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่ตำรว จผู้จับกุม ซึ่งในส่วนของตำรวจจราจรก็มีการเปลี่ยนแปลงกันหลายคร ั้ง ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุจูงใจที่ทำให้มีการกวดขันจับกุมผ ู้ฝ่าฝืนกม.มากขึ้น แต่การกระทำความผิดใดๆก็ตาม หากไม่เคยถูกจับมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเปลี่ยนสิ่งที่ผิดกม.เป็นสิ่งที่ถูกกม.ไปได้ ไม่ว่าจะไม่เคยถูกจับมา 2 หรือ 3 ปีหรือขับรถผ่านมากี่จังหวัดแล้วก็ตาม

    ไฟตัดหมอก
    อยากทราบว่าการเปิดไฟตัดหมอกนั้นผิดกฎหมายไหมครับแล้ วถ้าผิดกฎหมายแล้วจะเสียค่าเปรียบเทียบปรับเท่าไหร่
    คำตอบ
    ขณะนี้กม.เปิดโอกาส ให้รถที่ต้องการติดไฟตัดหมอก
    1.สามารถ ติดได้ที่หน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเด ียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพ่งไกล (ไฟสูง) และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น ้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
    2. ไฟตัดหมอกจะเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะ ขับรถผ่าน มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ ดังนั้น สรุปว่า
    1. การติดไฟตัดหมอก มีเงื่อนไขตาม ข้อ 1
    2. การใช้ไฟตัดหมอก ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม ข้อ 2

    การใส่ part รอบคัน
    รถตู้ใส่กันชนรอบคันและมีเสาอากาศอยู่ด้านหลังจะผิดก ฏหมายหรือเปล่าครับ
    คำตอบ
    รถ ตู้หรือรถอื่นที่ติดกันชนรอบคัน หากพิจารณาจากการติดตั้งแล้ว ไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้ อื่น เช่นไม่ติดยื่นยาวจนเกินไป หรือไม่มีลักษณะเป็นของแหลมคม เมื่อมีคนเดินผ่านรถไปเฉี่ยวถูก ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ก็ยังไม่เป็นความผิด การติดเสาอากาศก็เช่นเดียวกัน การติดกันชนรอบคัน แม้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวรถ แต่ก็เสียเงิน และทำให้น้ำหนักรถเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ เปลืองน้ำมันรถเปล่าๆ กันชนเดิมก็มีอยู่แล้ว

    ฟิมล์กรองแสง
    ขอตอบคำถามด้วยบทความดังต่อไปนี้ (ตอนที่ 1)
    “ ฟีล์มกรองแสง ปัญหาอยู่ที่กรองแสงหรือสะท้อนแสง ”
    ฟี ล์มกรองแสง หรือวัสดุกันแสง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะเข้าไปรถ ทำให้อุณหภูมิภายในห้องโดยสารของรถเย็นเร็วขึ้น ลดอันตราย ที่เกิดจากการแตกกระจายของเศษกระจกได้ดีเยี่ยม รวมทั้งช่วยลดความ*****งของบุคคลภายในรถ (สตรี) ทั้งจากการถูกมอง หรือสังเกต จากภาย นอกโดยเหล่ามิจฉาชีพทั้งหลาย และเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่การจราจรติดขัด ยิ่งกว่านั้นเมื่อถึงคราวจำเป็น เร่งด่วน ยังได้อาศัยเป็นห้องแต่งตัวพอแก้ขัดไปได้ และรักษาอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถ เช่น คอนโซลหน้า-หลังไม่ให้ซีดหรือแห้งกรอบ ช่วยประ หยัดพลังงานที่เกิดจากการทำงานของเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ฟีล์ม กรองแสงยังช่วยลดรังสีอุลตราไวโอเล็ต และรังสียูวี ที่สำคัญยังช่วยป้องกันปัญหาทางสุขภาพอนามัย เช่น มะเร็งผิวหนัง ต้อนัยน์ตา และยังช่วยป้องกันรอยขีดข่วยที่อาจเกิดกับกระจกรถได้ อีกด้วย ตำรวจเอากม.อะไรมาจับ เอาเหตุผลอะไรมาตอบสังคม ก่อนที่ท่านจะอ่านข้อความต่อไปนี้ ขอให้สูดลมหายใจลึกๆไว้ก่อนครับ

    ฟีล์มกรองแสงโดยรวม มี 3 ชนิด คือ
    ชนิด ที่ 1 ฟีล์มกรองแสงทั่วไป เป็นชนิดไม่มีการเคลือบโลหะ ฟีล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติในการลดแสงที่ส่องผ่านกระจก ไม่มีการสะท้อนแสงหรือมีน้อยมาก เพิ่มความเข้มของสีกระจก เนื้อฟีล์มจะบาง ไม่มีความเงามัน
    ชนิดที่ 2 ฟีล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะ มีการพัฒนาคุณสมบัติจากชนิดที่ 1 โดยการผสมโลหะหนัก เช่น ไอสารอลูมินั่ม นิเกิล ทองแดง หรือโลหะอัลลอยด์อื่นๆ ผิวฟีล์มจะมีสีเหลือบเป็นมันเงา สีจะแตกต่างกันตามประเภทของไอโลหะ เนื้อฟีล์มจะหนากว่าชนิดที่ 1 ลดการส่องผ่านของแสงได้มาก มีการสะท้อนแสงได้ดี ค่าการสะท้อนแสงมากน้อยขึ้นอยู่กับส่วนผสมของโลหะที่ เคลือบบนผิวฟีล์ม
    ชนิด ที่ 3 ฟีล์มกรองแสงชนิดใช้กับกระจกอาคาร-สำนักงาน (เรียกกันทั่วไปว่า ฟีล์มฉาบปรอท ทั้งที่ไม่มีส่วนผสมของปรอทเลย แต่เรียกกันตามสีที่คล้ายสีของปรอท ) มีส่วนผสมของโลหะมากที่สุด สะท้อนแสงมากกว่า 50% ไม่เหมาะกับการนำมาติดกับกระจกรถอย่างยิ่ง เนื่องจากค่าของการสะท้อนแสงมีมาก ทำให้เข้าสะท้อนเข้าตาของผู้ขับขี่รถทั้งที่วิ่งสวนท างและตามหลังเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นสิ่งต่างจากภายในรถของ ผู้ขับขี่รถเสียไป (ฟีล์มชนิดนี้สังเกตุได้ง่าย จะมีการสะท้อนแสงได้มาก จนบางครั้งถึงกับหวีผม หรือบีบสิวได้)

    กม.ที่เกี่ยวข้องกับฟีล์มสะท้อนแสง (เฉพาะพ.ร.บ.จราจรทางบกฯ และพ.ร.บ.รถยนต์ฯ)
    1. พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่ไม่อาจแลเห็นทางพอแก่ความปลอดภ ัยมาใช้ในทางเดินรถ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้อธิบดีมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับใช้วัสดุกรองแสง กับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    - ระเบียบกรมตำรวจ ว่าด้วย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำ มาใช้ในทางเดินรถ พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 24 ก.พ. 2541
    - ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ลงวันที่ 24 ก.ย.2542
    - ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การยกเลิกการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดิ นรถ พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 มิ.ย.2544

    2. พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 12 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปก รณ์สำหรับรถไม่ครบ ถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อ ื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต ้องหรือเอาออกแล้ว ก่อนที่จะมีการบังคับใช้ฟีล์มกรองแสงนั้น ได้มีการต่อต้าน ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมาก ประกอบกับสถานการณ์ในขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วัสดุกรอง แสง กับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ สมควรที่จะทำการศึกษาความเหมาะสมในเรื่องวัสดุกรองแส งติดรถยนต์ให้เป็นที่ชัดเจนเสียก่อน จึงให้ยกเลิกการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทาง เดินรถ เมื่อปี พ.ศ.2544 ผลของการยกเลิกกม. ทำให้สามารถติดฟีล์มกรองแสงที่รถได้โดยเสรี เนื่องจากไม่มีกม.บังคับไว้ ประกอบกับได้มีการพัฒนาคุณสมบัติของฟีล์มจากชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่ 2 โดยมีหลักสำคัญคือ การเคลือบโลหะลงบนแผ่นฟีล์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดแสงหรือความร้อนที่จะผ่ านเข้าไปภายในรถ ( Visible Light Transmission ) ซึ่งมีระดับค่าตั้งแต่ 8% - 66% และการสะท้อนแสงหรือความร้อน ( Visible Light Reflectance ) ซึ่งมีระดับค่าตั้งแต่ 5% - 43 % และเป็นที่นิยมของผู้ใช้รถอย่างมาก
    อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมา คือ ความแตกต่างกันระ –หว่างระดับต่ำสุด ( 5% ) และสูงสุดของค่าการสะท้อนแสง ( 43% ) ทำให้รถติดฟีล์มดังกล่าว มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งรถที่มีการสะท้อนแสงน้อยสุดไปจนถึงมากสุด ประกอบกับมีผู้นำรถติดฟีล์มชนิดที่ 3 (สำหรับอาคารสำนักงาน) และนำออกมาใช้ในถนนเพิ่มขึ้น ต่อมาในวันที่ 27 ส.ค.2547 ได้มีการร้องเรียนผ่านนายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ ผู้ตรวจ การแผ่นดินของรัฐสภา ไปยังนายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่ง ชาติ กรณีเริ่มมีรถยนต์ติดฟีล์มกันแดดแบบฉาบปรอทสะท้อนแสง ( ชนิดที่ 3 ) ซึ่งเมื่อถูกแสงแดดจะสะท้อนไปเข้าตาผู้ขับรถคันอื่นท ี่ขับตามมาหรือขับข้างๆ ทำให้ตาพร่า อันก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่งจากอุบัติเหตุ อีกทั้งง่ายต่อการก่ออาชญากรรม เพราะฟีล์มชนิดดังกล่าวจะไม่เห็นคนข้างใน เนื่อง จากกันสายตาโดยสิ้นเชิง ซึ่งปัญหาอันอาจเกิดภัยอันตรายร้ายแรงดัง กล่าว โดยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้ประสพด้วยตัวเองมาแ ล้ว จึงได้มีการสั่งการโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะหน ่วย งานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรทั่วประ- เทศทำการประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือผู้ขับขี่รถยนต์ติดฟีล์มกันแดดแบบปรอทส ะท้อนแสง ( ชนิดติดอาคารสำนักงาน ) งดใช้ฟีล์มประเภทดัง กล่าว หากพบมีผู้ฝ่าฝืนให้กวดขันจับกุมและดำเนินคดี ในความผิดฐาน เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปที่รถซึ่งอาจก่อให้เกิดอั นตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่นตาม มีอัตราโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท

    ปรากฏ ว่าในการกวดขันจับกุมตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 นั้น เนื่องจากไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ของค่ าการสะท้อนแสงที่อาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจข องผู้อื่นไว้ คงให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรผู้ปฏิบั ติในการพิจารณา ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละปัจเจกบุคคล รวมทั้งเวลา ตลอดจนสภาพแวดล้อม รวมทั้งความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่างผู้ขับขี่รถท ี่ถูกตรวจจับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในประเด็นการจับกุมความผิดฐาน ติดฟีล์ม กรองแสง ซึ่งได้มีการยกเลิกกม.ไปแล้ว กับความผิดฐาน เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปที่รถซึ่งอาจก่อให้เกิดอั นตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น (สิ่งใดสิ่งหนึ่งในที่นี้ อาจหมายรวมถึงวัสดุอื่นใด เช่น ผ้าม่าน กระดาษ สติกเกอร์โฆษณาต่างๆ มู่ลี่กันแดด ฉากกั้น ฯลฯ )
    สำหรับการกำหนดค่ามาตรฐานการสะท้อนแสงของฟี ล์ม กรองแสงนั้น ผู้ประกอบการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเป็นผู้ประสานให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกร รม (สมอ.)กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน เพื่อใช้กำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป ดังนั้น เพื่อไม่ให้ผู้ใช้รถที่ติดฟีล์มกรองแสงไปแล้ว ได้รับความเดือดร้อนและเกิดความสับสนอันอาจนำไปสู่ปั ญหาความขัดแย้งของสังคม ในขณะที่ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานการสะท้อนแสงของฟ ีล์มกรองแสง ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื ่น สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจจรา จร ในวันที่ 27 ก.ย.2547 จึงได้มีบันทึกสั่งการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ใช้มาตรการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือผู้ขับขี่แล ะร้านค้าผู้ติดฟีล์มที่อาจเกิดอันตรายดังกล่าวไปพลาง ก่อน
    อย่างไรก็ ตาม รถที่ติดฟีล์มกันแดดแบบปรอทสะท้อนแสง ( ชนิดติดอาคาร-สำนักงาน ) ซึ่งเป็นชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจ ิตใจของผู้อื่นอย่างชัดเจน จะมีการกวดขันจับกุมอย่างเข้ม งวดต่อไป
    ส่วน รถที่ติดฟีล์มกรองแสงชนิดที่ 1 หรือ ชนิดที่ 2 ไปแล้ว ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลอกออกในขณะนี้ สามารถใช้ต่อไปได้ จนกว่าจะมีการกำหนดค่ามาตรฐาน หรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาก่อน
    ปัญหา คือ รถที่กำลังจะติดฟีล์มกรองแสงใหม่ หรือรถใหม่ ยังคงสามารถจะติดฟีล์มได้ แต่ควรทำความเข้าใจในรายละเอียดของฟีล์มที่จะติด ไม่ว่าจะเป็นชนิด ประเภท คุณสมบัติ โครงสร้าง และสิ่งสำคัญที่สุดได้แก่ ค่าการสะท้อนแสง ซึ่งเป็นหน้าที่ของร้านค้าประดับยนต์ที่จะต้องชี้แจง ให้ข้อแนะนำกับผู้บริโภคได้เข้าใจอย่างถูกต้อง รวมถึงการให้ร้านค้าผู้ประกอบการออกใบรับรองคุณสมบัต ิของฟีล์มที่ติด เพื่อไว้ตรวจ สอบในอนาคต
    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการกวดขันของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรนั้น ยังอยู่บนพื้นฐานของดุลยพินิจที่กม.กำหนดไว้กว้างๆ อาจจะเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจจรา จรผู้ปฏิบัติกับผู้ขับขี่รถบ้าง ดังนั้นเมื่อมีการตรวจจับและออกใบสั่ง หากยังไม่ยอมรับในดุลยพินิจของเจ้าข้าหน้าที่ตำรวจผู ้จับกุม ข้อแนะนำคือ ขอให้นำใบสั่งพร้อมรถไปพบพนักงานสอบสวน สารวัตรจราจรหรือ รองผู้กำกับจราจร หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ เพื่อตรวจสอบให้เกิดความถูกต้องและลดความขัดแย้งที่จ ะเกิดขึ้นในที่สุด
    สรุป ฟิลม์อะไรก็ได้ไม่ผิดกฎหมาย จะผิดต่อเมื่อ เป็นฟิล์มปรอท หรือติดเกิน25% ของกระจกบานหน้าครับ

    อ้างข้อความจาก MooNoiKonDee [^o^]™ [Light Side 000] ขออนุญาติครับ
     
  5. Belle gti

    Belle gti New Member Member

    442
    6
    0
    ความรู้ล้วนๆๆเลยคร๊าบบ

    อิอิ
     
  6. GAUSS

    GAUSS Well-Known Member Member

    4,354
    50
    48
    จขกท มาอัฟข้อมูลเลยครับ เพื่อนๆ จัดมาให้แล้ว
     
  7. Moo Tiger Raikhing

    Moo Tiger Raikhing New Member VIP

    12,412
    29
    0
    ตำรวจแม่งก้ออย่างนี้แหละคับ
    เก่งแต่จ้องจะจับแต่รถแต่งนี้แหละ
    ขโมย ขโจรไม่ไปจับหล่ะ
    ผมก้อเคยโดนนะ รถดัดแปลงสภาพ โหลดเตี้ย
    ตรูอยากจะรู้จิง ๆ มันเตี้ยตรงไหนวะเนี้ย แซรดดดดดดดดดด
     
  8. Out Off Control

    Out Off Control New Member Member

    2,322
    26
    0
    ตามอารมณ์มันครับ.....
     
  9. trucking

    trucking New Member Member

    2,442
    29
    0
    บอกไปเลยว่า กระผม .. ลุกหลานตำรวจครับ ..

    แล้วจะรอด

    เพราะผมเคยไปกับท่านปลาทาน แมน

    และท่านได้ใช้คำพูดแบบนี้ครับ....อิอิ
     
  10. เคยโดนเหมือนกัน
    ท่านพูดว่า " รู้สึกรถคุณพี่จะเตี้ยไปหน่อยนะ "
    ยื่นไป 40 บาท แล้วก็ไปต่อ..............
     
  11. PALM@HLc

    PALM@HLc New Member Member

    882
    8
    0
    :D:D อย่างงี้ขอเอาไปใช้หน่อยน่ะครับ ป๋าาาาา
     
  12. กระบะตูดดำ

    กระบะตูดดำ New Member Privilege

    3,739
    32
    0
    ตำรวจ..... คบไม่ได้คับ..... ขนาดรู้จักมัน มันยังหั้ยคนอื่นจับแทนเลย.....เซ็ง สามพรานเนี่ยแหละ.....



    ที่สำคัญ ท้องที่นี้ มีรถแข่งอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ มีคนร้องเรียนไปมาก ทำให้มันอดดูบอลมั้ง มันก้อเลยเกลียดหน่ะคับ......
     
  13. Mr.Taweesit

    Mr.Taweesit New Member Member

    3,356
    10
    0
    ประเด็นร้อนอีกแล้วครับ
     
  14. mail_poo

    mail_poo New Member Member

    3,298
    14
    0
    สงสัยจะเป็นอย่างคุณอาทว่า.....มันอดดูบอล....ที่สำคัญมันเสียบอลด้วยอ่ะจิ.....เลยรมณ์เสีย....จับดะ
     
  15. ไม่มีใครกล้ากับผมหรอแถวนี้ ผมไม่ขับไปไหน อะอะอะ
     
  16. panphorm

    panphorm New Member Member

    476
    6
    0
    ได้ความรู้อีกแล้วครับ
     
  17. BEN360@HLc

    BEN360@HLc New Member Member

    2,536
    35
    0
    ตำรวจไทยไง
     
  18. buscom15

    buscom15 New Member Privilege

    2,293
    17
    0
    นี้แหละคนมีสี
     
  19. ballgto

    ballgto New Member Member

    4,721
    53
    0
    ยื่นตลับเมตรให้เค้าไปวัดดูเลย.......
     
  20. Mr.Taweesit

    Mr.Taweesit New Member Member

    3,356
    10
    0
    นายสั่งมาให้ทำรึเปล่า
     
  21. tpcc

    tpcc New Member Member

    895
    13
    0
    ย้ายไปอยู่ที่อื่นดีกว่าคับ ตำรวจสามพรานไม่ดีจับบ่อย
     
    เลี้ยงพวกมัน เลี้ยงหมาดีก่ามั้งงงงงงงงงง
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้