ระบบเครื่องยนต์เทอร์โบ มีลำดับขั้นตอนการทำงานและขั้นตอนอย่างไรและมี parts อะไรบ้าง และ parts ทำหน้าที่อะไรบ้าง เรามารู้จักชิ้นส่วน turbo กันก่อน compressor และ turbine ทั้งสองส่วนนี้แยกชิ้นกันแต่ต้องพึ่งพากัน compressor มีหน้าที่ดูดอัดอากาศเข้ามา turbine มีหน้าที่ปั่น โดยใช้แรงดันที่ทำให้ใบพัดหมุนจากไอเสียที่ออกมา ก่อนปล่อยทิ้งไปตามท่อไอเสียส่วนประกอบของ ระบบ มีอะไรบ้างมาดูกัน 1. actuator เวสเกตกระป๋อง ที่ติดมากับเทอร์โบนั้นจุดประสงค์หลักก็เพื่อเอาไว้ควบคุมอัตรา บูสท์แต่จะใช้กับเทอร์โบที่ไม่ขนาดใหญ่มาก เราสามารถปรับแต่ง ได้เพราะของเดิมสปริงค่อนข้างอ่อน เปลี่ยนมาใช้สปริงที่แข็งกว่าบูสท์ได้มากกว่า หลักการทำงาน คือ เมื่อแรงดันไอเสีย ที่เข้ามาเพียงพอกับที่เราตั้งไว้ แรงดันนั้นก็จะไปดันสปริงเพื่อผลักแรงดันนั้นออก ทำให้บูสท์ไม่เกินที่กำหนดไว้ 2. waste-gate เหมาะสำหรับผู้ที่เปลี่ยนมาใช้เทอร์โบตัว ใหญ่ต้องการไอเสียมากเพราะตัวเวสเกตจะมีช่องปล่อยไอเสียที่ใหญ่กว่า และสปริงของเวสเกต ยังปรับแข็งอ่อนได้ แต่เวสเกตนั้นจะทำให้เกิดเสียงที่น่ารำคาญ 3. blow off valve หลายท่านอาจจะหามาใส่กันคิดว่า เสียงมันเท่ห์มาก เวลาถอนคันเร่ง เจ้าตัวนี้จะติดตั้งบริเวณ ท่ออินเตอร์ ก่อนเข้าลิ้นปีกผีเสื้อ ประโยชน์ก็เยอะจริงๆครับ ป้องกันไอดีย้อนกลับ ถ้าไม่มีตัวนี้ลมก็จะย้อนกลับไปทำให้ใบพัด เทอร์โบ เกิดความเสียหายได้ เจ้าตัวนี้ยังตอบสนองรอบได้เร็วขึ้นเมื่อเหยียบคันเร่ง แต่ แนะนำให้ต่อท่อวนมาเชื่อมกับท่อของกรองอากาศนะครับจะช่วยได้อีกจุด 4. inter-cooler เป็นอุปกรณ์ลดอุณภูมิก่อนเข้าห้องเผาไหม้ 5.piping ท่อ ที่ต่อไว้กับกรองอากาศ จะได้ดูดอากาศได้มากขึ้นนิยมใส่กรองเปลือยนะครับ ของรถเดิมเป็นแบบพลาสติกเมื่อดูดอากาศเข้าไปมาก ๆ ก็จะเกิดความร้อนอาจจะเกิดการหดตัว 6. exhaust parts ระบบไอเสียทุกส่วน เริ่มตั้งแต่เอาท์เล๊ทไปท์ไปต่อมาที่ฟร้อนไปป์ จนมาถึงท่อไอเสียและหม้อพักนั้น ของเดิมติดรถนั้นจะถูกสกัดกั้นไว้ด้วยปัจจัยหลายทาง ทำให้อากาศไม่เรียบลื่น ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนท่อใหม่เป็นแบบท่อตรงหรือก็เปลี่ยนทั้งท่อ หม้อพักทั้งเส้นเลย หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นสแตนเลส หรือไทเทเนียมเลยก็ได้ ทั้งนี้ต้องเลือกขนาดท่อให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ด้วย 7. boost control ตัวควบคุมอัตราบูสถ์ ที่เราเรียกตัวปรับบูสถ์ มีทั้งปรับไฟฟ้า กับ แมนน่วล ในที่นี้จะขอพูดถึงปรับไฟฟ้าครับ การทำงานของบูสถ์ไฟฟ้านั้นจะมีสายแวคคั่มที่ต่อเข้ากับหัวเวตเกส และท่อไอดี กับกล่องควบคุมเพื่อใช้วัดปรับค่าเเรงดันก่อนจะประมวลผลส่งมายัง ตัวคอนโทรลที่ติดตั้งภายในรถ แสดงผลว่าอัตราบูสถ์เป็นอย่างไร สามารถใช้แทน เกจ์วัดบูสถ์ได้อีกด้วย 8. throttle ลิ้นปีกผีเสื้อ ก็เป็นส่วนที่สำคัญเช่นกันสำหรับระบบเทอร์โบ ลิ้นปีกผีที่มากับรถ NA จะใหญ่กว่ารถรุ่นที่มีเทอร์โบ ทั้งๆ ที่รหัสเครื่องเดียวกันก็ตามส่วนใหญ่จะนำมาขยายกันในเครื่องเทอร์โบ 9. tuning turbine เทอร์โบ การเปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ขึ้นนิยมกันมาก ปัจจุบัน มีชุด kit จำหน่ายไม่ต้องมานั่งคำณวณกันแล้ว สามารถเอามาใส่ได้เลย การเปลี่ยนก็เปลี่ยนทั้งลูก big turbine อันนี้เหมาะสำหรับอยากแรง อีกแบบคือ hi flow turbine คือเปลี่ยนเฉพาะโข่งหน้า อันนี้อยากให้สมรรถนะดีขึ้น 10. fuel parts ระบบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำคัญมากครับส่วนนี้ รถจะพังไม่พังก็อยู่ตรงนี้แหละครับ 11. surge thank ท่อรวมไอดี สำหรับเก็บอากาศไว้ก่อนที่จะนำไปสันดาปในห้องเผาไหม้ บางท่านก็ขยายให้ใหญ่ขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงวัสดุที่นำมาใช้ด้วยครับต้องมีผิวที่เรียบลื่นครับ 12. catalytic ตัวกรองไอเสีย ตัวนี้สำคัญมากครับ ในการกรองไอเสียเพื่อรักษาไม่ให้สิ่งแวคล้อมเป็นพิษ แต่เจ้าตัวนี้ก็มาลดแรงม้าลงได้ครับ นักแต่งรถบ้านเรานิยมนำตัวนี้ออก ปัจจุบัน มีการทำแคตที่สำหรับนักแต่งรถ มาให้ใช้กัน แต่ราคาค่อนข้างสูงเอาการเลยนะครับ Credit : ARC ครับ
โฮ้ว....สุดยอด... ถึงแม้จะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร..เพราะไม่มีพื้นฐานทางเครื่องยนต์เลย.... แต่ก้อเข้าใจหน้าที่ของแต่ละตัวมากขึ้นแล้วครับ.....ขอบคุณมากครับ....
คราวที่แล้วนี่ Autech Parts คราวนี้นี่ Turbo สงสัยโปรเจ็กต่อไปของพี่เก่งนี่ กะวาง SR20 DET แหง่เลยแหะ.. เฮ้อ..อิจฉารถหล่อรายวันจิงๆ
ปกติ อ่านอย่างเดียวนึกภาพไม่ออกว่าอากาศมันวิ่งทางไหน ออกอย่างไร ผมไปอ่านเจออันนี้มา save เก็บไว้นานแล้ว เห็นว่าเข้าใจง่ายดี เลยเอามาให้เพื่อนๆ อ่านกัน ส่วน Project SR20 มาแน่ๆครับ ปล. แอบเห็นรถ คุณ GT_Wagon สวยโคดๆ