>>> รูปหล่อๆ อยากทราบหน่วยวัดแวคคั่มจ้า ???

การสนทนาใน 'Racing Forum (Cars Forum)' เริ่มโดย DUKE_68, 1 สิงหาคม 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. DUKE_68

    DUKE_68 Well-Known Member Privilege

    6,189
    129
    63
    หนูสงสัย...
    [​IMG]

    พอดีไปเจอบทความนี้มา...

    "แวคคั่ม มิเตอร์ (VACCUM METER)
    มาตรวัด VACCUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลา เครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสุญญากาศ ถ้าค่าสุญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 300 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg"


    mmHg
    [​IMG]

    inHg
    [​IMG]

    เลยอยากทราบว่า หน่วยวัดในเกจVACUUM นี้มีกี่แบบ เพราะบางอันเป็น cmHg และบางอันเป็น inHg แต่ละที่ใช้กันอย่างไร และสูตรเพื่อแปลงค่าหน่วยให้มันเท่ากันคืออย่างไร ขอบคุณครับ :D


    [​IMG]
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 สิงหาคม 2009
  2. Rush_OverSize

    Rush_OverSize Member Moderator

    413
    12
    18
    cmHg หมายถึง หน่วยเซนติเมตรปรอทครับที่เหลือ(in)ก็เป็นนิ้วและ(mm)มิลลิเมตรครับ
     
  3. DUKE_68

    DUKE_68 Well-Known Member Privilege

    6,189
    129
    63
    ครับผม ขอบคุณครับ แล้วทีนี้...

    ในเกจวัดVACนี้มีหน่วยทั้งสามแบบเลยไหม ใช้ต่างกันอย่างไร นิยมใช้กันเป็นแบบไหน ทั่วไปใช้แบบไหน

    แล้ว 1นิ้วปรอท เท่ากับ กี่ ซม.ปรอท และ เท่ากับกี่มม.ปรอท ขอบคุณมากครับ

    แล้วค่าปกติสำหรับเกจแวคคั่มนั้น ควรอยู่ที่เท่าไร ในทั้งสามหน่วยครับ
    :D
     
  4. zatan

    zatan New Member Member

    153
    21
    0
    เป็นความรู้ดีครับ ช่วยดัน :D :D :D
    ปล.รูปหนูสงสัยแน่นจริงๆ :eek:
     
  5. End Motor Sport

    End Motor Sport Active Member Member

    652
    34
    28
    1 inHg เท่ากับ 25.4 mmHg หรือ 2.54 cmHg
     
    chai import และ lording1 ถูกใจสิ่งนี้
  6. Ea"RT"h

    Ea"RT"h New Member VIP

    7,434
    191
    0
    เข้ามาหาความรู้
     
  7. procagivaracing

    procagivaracing New Member Member

    1,336
    21
    0
    เข้ามา ดู รูป ครับ
     
  8. INTER_ZONE

    INTER_ZONE Well-Known Member Member

    7,700
    280
    83
    กางไม้บรรทัดเทียบค่า จากนิ้ว เป็น ซม. ได้เลยครับ...

    ยกตัวอย่างค่ามาตรฐานให้ดูครับ...
    ตัวเลขต่างๆบอกได้ซึ่งอาการของรถครับ...

    [​IMG]
     
  9. Rush_OverSize

    Rush_OverSize Member Moderator

    413
    12
    18
    1 in น่าจะเท่ากับ 25.4 cm แล้ว 1 cm เท่ากับ 10 mm.
    1 in น่าจะเท่ากับ 25.4x10=254mm
    ส่วนนิ้วคงเป็นมาตราที่ใช้การแถวอเมริกาที่ชอบวัดว่าค่าเป็นนิ้ว-ฟุต-หลา-ไมล์
    ส่วน ซม. กับ มม.เป็นมาตราเมตริกของอังกฤษและแถงเอเซียเช่นญี่ปุ่น-ไทย เป็นต้น
    ส่วนค่าปรกติอันนี้ไม่แน่ใจครับของผมใช้โอโมริ รอบเดินเบาจะอยู่ที่40-45 มม.แต่เวลาวิ่งแล้วถอน
    คันเร่งจะอยู่ที่ 50-60 มม.ครับ
    ปลใรอผู้รู้มาต่ออีกที่:D
     
    chai import ถูกใจสิ่งนี้
  10. lording1

    lording1 New Member Member

    1,130
    54
    0
    ....จอฟ้าก็ มี แต่ไม่ เคยดู............หน่วย เดียวกันปล่าว ต้องกลับไปดูก่อน.................ความรู้ใหม่ ขอบคุณคับ

    โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg"
     
    End Motor Sport ถูกใจสิ่งนี้
  11. DUKE_68

    DUKE_68 Well-Known Member Privilege

    6,189
    129
    63
    ขอบคุณมากเลยจ้า...

    [​IMG]
     
  12. DUKE_68

    DUKE_68 Well-Known Member Privilege

    6,189
    129
    63
    ขอบคุณมากเลยคับ สรุปสูตรได้ดังนี้คับ "ความดันที่ 1 บรรยากาศ จึงมีแรงดันเท่ากับ 760 mmHg หรือ 29.92 inHg (in = inch = นิ้ว)" ดังนั้น 1 inHg=25.4mmHg คับ

    จากบทความนี้...

    "เริ่มต้นกันที่หลักการของ “ความดัน” ก่อนนะครับ
    “ความดัน คือ แรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่”
    เช่น ถ้าวางวัตถุหนัก 1 kg ลงบนพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร
    จะเกิดแรงดันที่พื้นที่นั้นเท่ากับ 1 kg/cm2 (พิมพ์ยกกำลังไม่ได้ ขออภัย)

    ทีนี้ ถ้าหากเราต้องการวัดความดันของอากาศ เราก็ต้องกำหนดจุดอ้างอิงขึ้นมา
    ซึ่งในอดีตนั้น ใช้ที่ “ระดับน้ำทะเล” เป็นจุดอ้างอิง และกำหนดให้ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเล มีค่าเท่ากับ “1 บรรยากาศ (atmosphere - atm)” หรือเรียกอีกอย่างว่า “1 bar”
    (จริงๆ แล้ว 1 atm จะเท่ากับ 1.01 bar)
    ซึ่งจะเท่ากับน้ำหนักของอากาศทั้งหมด ตั้งแต่ผิวน้ำทะเล จนสุดบรรยากาศโลก ที่กดลงบนพื้นที่ที่พิจารณา

    แล้วจะวัดอย่างไร ในอดีต (อีกนั่นแหละ) ทำการวัดโดยใช้ปรอทเหลว (สูตรเคมี Hg) ใส่ลงในหลอดแก้วยาวๆ.. รูปร่างเหมือนหลอดทดลอง
    แล้วคว่ำลงในอ่างที่มีปรอทบรรจุอยู่ (ตั้งอ่างไว้ที่ระดับน้ำทะเล)
    ผลที่ได้คือ ระดับปรอทที่เป็นแท่งสูงอยู่ในหลอดแก้วนั้น จะสูง 760 มิลลิเมตร (760 mm.) วัดจากระดับผิวหน้าของปรอทในอ่าง
    ไม่ว่าจะเพิ่มความยาวของหลอดแก้วให้มากกว่านั้นเท่าไรก็ตาม
    เนื่องจากแรงดันของอากาศที่กดลงบนผิวหน้าปรอทในอ่าง สามารถพยุงน้ำหนักของปรอทให้เป็นแท่งสูงได้เท่านั้น
    เพราะฉะนั้น ความดันที่ 1 บรรยากาศ จึงมีแรงดันเท่ากับ 760 mmHg หรือ 29.92 inHg (in = inch = นิ้ว)ถ้าหากเปลี่ยนจากปรอท เป็น น้ำ จะได้แท่งน้ำสูง 10.33 เมตร
    ซึ่งจะเรียกเป็นหน่วย mH2O (พิมพ์ตัวห้อยไม่ได้) หรือคิดเป็นความดัน 10.33 mH2O

    จากการนำน้ำหนักของปรอท (หรือน้ำ) มาคำนวณ จะได้ว่า ความดันที่เกิดขึ้นที่ 1 บรรยากาศ
    เท่ากับ 14.7 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว (14.7 psi)
    (หากใช้หลอดแก้ว พื้นที่หน้าตัด 1 ตารางนิ้ว น้ำหนักของปรอทที่อยู่ในหลอดแก้ว วัดจากระดับผิวหน้าของปรอทในอ่าง จะเท่ากับ 14.7 ปอนด์)
    หรือ 1.03 kg/cm2

    หน่วย Pa เป็นตัวย่อของหน่วย Pascal ซึ่งมีค่าเท่ากับ แรง 1 Newton กระทำลงบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร
    (หรือ 1 N/m2)
    ความดันบรรยากาศ 1 atm มีค่าเท่ากับ 101.3 kPa (kilo Pascal = 1000 Pascal)
    ส่วนหน่วย hPa คือหน่วย hecto Pascal โดยที่ hecto เป็น prefix ที่หมายถึง 100 ครับ
    (หน่วยนี้ใช้ในวงการอุตุนิยมวิทยา ไม่ค่อยเห็นใช้ในวงการอื่น)"


    [​IMG]
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 สิงหาคม 2009
  13. chai import

    chai import New Member VIP

    2,241
    167
    0
    เข้ามาเก็บความรู้ครับ
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้