ดรัมเบรก

การสนทนาใน 'Daihatsu Club' เริ่มโดย crazymann, 27 กรกฎาคม 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. crazymann

    crazymann Member Member

    120
    0
    16
    ดรัมเบรก

    ดรัมเบรกมีหลักการทำงานเหมือนกับดิสก์เบรก โดยที่ดิสก์เบรกใช้ผ้าเบรกหนีบเข้ากับจาน ส่วนดรัมเบรกใช้ผ้าเบรกอัดกับดรัม และใช้แรงเสียดทานลดความเร็วของรถ

    ดรัมเบรกของรถส่วนใหญ่อยู่ที่ล้อหลัง และดิสก์เบรกที่ล้อหน้า ส่วนประกอบของดรัมเบรกซับซ้อนกว่าดิสก์เบรก แต่ราคาถูกกว่า ส่วนเบรกมือหรือเบรกฉุกเฉินใช้ดรัมเบรก

    ส่วนประกอบภายในของดรัมเบรกดูเหมือนซับซ้อน แต่จริงๆพื้นฐานแสนง่ายดาย

    ดรัมเบรกประกอบด้วย เบรกชูว์ (Brake shoes) 2 อัน ลูกสูบ 1 กระบอก ตัวปรับ (adjuster) เบรกมือ (emergency brake) และสปริงอีกจำนวนหนึ่ง

    เมื่อคุณใช้เท้าแตะเบรก ลูกสูบไฮดรอลิกจะดัน เบรกชูว์ออกไปอัดกับดรัม ในรูปมีสปริงอยู่ด้วย คุณคงสงสัยว่าสปริงมีประโยชน์อะไรใช่ไหมครับ

    ตรงนี้มีความสลับซับซ้อนเล็กน้อย เมื่อเบรกชูว์สัมผัสกับดรัม จะเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า wedging ทำให้แรงกดบนผ้าเบรกเพิ่มขึ้น แต่เพราะว่าผลของ wedging ทำให้ผ้าเบรกต้องอยู่ห่างจากดรัมระยะหนึ่ง ใกล้มากไม่ได้ ดังนั้นเมื่อปล่อยเบรก ถ้าไม่มีสปริงดึงผ้าเบรกกลับ เบรกชูว์จะติดอยู่กับดรัม ปัญหามีอยู่ว่า ถ้าเกิดผ้าเบรกสึกช่องว่างจะเพิ่มขึ้น เราจะต้องคอยปรับให้ช่องว่างคงที่ตลอด

    ตัวปรับเบรก

    เบรกชูว์จะต้องอยู่ใกล้กับดรัม แต่ต้องไม่สัมผัสกับดรัม ถ้าอยู่ห่างเกินไป (เช่นผ้าเบรกสึก) กระบอกสูบต้องใช้น้ำมันมากไหลเข้าไปในกระบอกสูบเพื่อให้กระบอกสูบเคลื่อนที่ไปอัดเบรกชูว์เข้ากับดรัม นั่นหมายความว่าคุณจะต้องเหยียบเบรกจนจมจึงจะสามารถเบรกได้ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้องมีตัวปรับอัตโนมัติ (auytomatic adjuster)

    คุณจะสังเกตเห็นว่าเมื่อเบรกหลวม จะเกิดช่องว่างขึ้นระหว่างเบรกชูว์กับดรัม เมื่อเบรกชูว์กดไปที่ดรัม ถ้าช่องว่างมีระยะการเคลื่อนที่มากกว่าที่ตั้งไว้ กลไกจะหมุนเฟืองไป 1 ฟัน แต่ถ้าช่องว่างแคบ กลไกนี้จะไม่มีระยะพอที่จะหมุนเฟืองได้ ซึ่งจะมีลักษณะการหมุนของน๊อต มันจะเลื่อนช่องว่างให้แคบลง เมื่อผ้าเบรกสึกหลังจากการใช้งานไปอีกระยะหนึ่ง กลไกก็จะหมุนเฟืองไปอีกฟันหนึ่ง รักษาระยะห่างให้คงที่ตลอดเวลา

    รถบางรุ่นออกแบบมาให้ตัวปรับทำงาน เมื่อคุณยกเบรกฉุกเฉิน ดังนั้นถ้าคุณไม่เคยยกเบรกฉุกเฉินขึ้นเป็นเวลานาน ตัวปรับจะไม่สามารถปรับระยะห่างได้ ดังนั้นถ้าคุณซื้อรถที่มีตัวปรับแบบนี้ให้ยกเบรกมืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

    เบรกมือ

    เบรกฉุกเฉินหรือเบรกมือไม่ได้ใช้ระบบไฮดรกลิกของรถยนต์ แต่ใช้การดึงสายเคเบิลเป็นกลไกในการเบรก เมื่อสายเคเบิลถูกดึงด้วยคนขับ เบรกชูว์จะถูกกดเข้ากับดรัม

    การดูแลรักษา

    ดรัมเบรกไม่ต้องดูแลมากเท่าไรนัก ส่วนใหญ่ถ้าผ้าเบรกหมดก็เปลี่ยนเบรกชูว์ ดรัมเบรกของรถบางรุ่นมีช่องอยู่ทางด้านล่าง เมื่อคุณมองผ่านช่องสามารถตรวจสอบได้ว่าเนื้อของผ้าเบรกยังเหลืออยู่พอหรือไม่

    ถ้าเราใช้ดรัมเบรกไปเรื่อยๆโดยไม่มีการเปลี่ยน จะทำให้เนื้อเบรกหมดและดรัมไปครูดกับหมุด ทำให้ดรัมเป็นรอยครูด รอยครูดอาจจะเกิดจากเม็ดทรายหรือเม็ดกรวดก็ได้ วิธีแก้ไขเหมือนกับดิสก์เบรก คือการกลึงผิวให้เรียบ การกลึงทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางภายในของดรัมใหญ่ขึ้น ยิ่งกลึงบ่อยก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น ดรัมเบรกจึงมีสเปคของเครื่องกำหนดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในว่าสามารถใหญ่สุดได้เท่าไร ( Maximum allowable diameter )
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้