สาระเกี่ยวกับเพลาขับ

การสนทนาใน 'EK Group' เริ่มโดย อนิรุตน์ ประไพบูลย์, 28 มิถุนายน 2009

< Previous Thread | Next Thread >
    สาระเกี่ยวกับเพลาขับ :rolleyes:
    1. เพลาขับหน้าคืออะไร อยู่ตรงไหนของรถยนต์ มีความสำคัญอย่างไร และประกอบด้วยชิ้นส่วนใดบ้าง
    1. เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการส่งกำลังขับเคลื่อนของรถยนต์ข ับเคลื่อนล้อหน้า ต่อจากห้องเกียร์
    ของเครื่องยนต์ไปยังดุมล้อรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าทุ กคัน มีหน้าที่หมุนล้อให้เคลื่อนไหว
    ทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนไปข้างหน้า หรือถอยหลัง
    2. นอกจากการหมุนตัว ยังเป็นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้ ได้แก่ หัวเพลาขับ เมื่อรถเลี้ยวซ้าย
    หรือขวา หรือเมื่อรถลอยตัวหรือกดลงเมื่อขึ้นสะพานหรือลงสะพาน
    3. เพลาขับหน้าประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญดังนี้
    ก) ก้านเพลา มี 2 แบบ แบบตัน และแบบกลวงเป็นท่อแป๊ป
    ข) C.v. Joint หัวเพลาขับซึ่งอยู่ติดกับดุมล้อ ส่วนใหญ่จะใช้ลูกปืน 6 ลูก
    ค) Spider Joint เป็นหัวเพลาขับด้านที่ติดกับห้องเกียร์ มีหลายแบบ ได้แก่
    แบบที่ใช้ ลูกปืน 6 ลูก หรือลูกปืน 3 ลูก
    ง) จาระบี ใส่เพื่อการหล่อลื่นของหัวเพลาทั้งสองข้างในแต่ะเพลา ขับ
    จ) ยางหุ้มเพลา เป็นยางที่ปกปิดมิให้จาระบีกระเด็นหลุดจากหัวเพลาแต่ ละข้างในขณะหมุนตัว
    ฉ) เหล็กรัดยางหุ้มเพลา เป็นแถบเหล็กที่รัดยางหุ้นเพลาให้ติดกับหัวเพลา
    ช) ชิ้นส่วนลดการสั่นสะเทือน (ยางซับสะเทือน) มีในบางเพลาขับติดไว้เพื่อลดการสั่นสะเทือน
    ของเพลาขับขณะหมุนตัว

    2. การดูแล การบำรุงรักษาเพลาขับหน้า และอายุการใช้งาน
    1. เจ้าของรถควรหมั่นก้มดูและตรวจดูสถาพยางหุ้มเพลาขับว ่ามีร้อยร้าวหรือรอยแตกหรือไม่
    หากมีให้เปลี่ยนทันที ปกติยางหุ้มเพลาจะมีอายุใช้งาน 3-4 ปีสำหรับยางหุ้มเพลาของแท้
    จากศูนย์บริการ ส่วนยางหุ้มเพลาอื่นจะมีอายุประมาณ 1-2 ปี ในสภาพการใช้งานปกติ
    2. ควรเปลี่ยนจาระบี เมื่อจาระบีหมดอายุ ซึ่งประมาณ 2 ปี หรือ 40,000 กม.
    ซึ่งจาระบีจะเหือดแห้งไปได้ด้วยตัวเอง
    3. อายุใช้งานของเพลาขับหากมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องจ ะใช้ได้เกิน 100,000 กม.

    3 .อาการที่แสดงว่าเพลาชำรุดและสาเหตุ
    (ก) อาการ
    1. มีเสียงเหมือนโลหะขบกันดังแก็กๆ ที่ล้อหน้า จากหัวเพลาด้านที่ติดกับล้อ มีข้อสังเกตได้คือ หากเลี้ยวขวา
    แล้วมีเสียงดัง จะเป็นเพลาซ้ายที่ชำรุด และหากเลี้ยวซ้ายแล้วมีเสียงดัง จะเป็นเพลาขวาที่ชำรุด
    2. มีอาการสั่นสะท้านขณะใช้ความเร็วหนึ่งสะท้านถึงคอนโซ ลเกียร์ ถึงแม้จะไม่เลี้ยวก็ตาม แม้จะถ่วงล้อ
    แบบจี้แล้วก็ไม่หาย แสดงว่าอาการของเพลา Spider (เพลาหัวในที่ติดกับเกียร์) ชำรุด

    (ข) สาเหตุ
    1. ส่วนใหญ่เกิดจากยางหุ้มเพลาขาด ทำให้หัวเพลาสะบัดจาระบีออกหมด มีฝุ่นและทรายเข้าในหัวเพลา
    และเสียดสีกับเหล็ก หากยางหุ้มเพลาขาด และไม่เปลี่ยนโดยทันที หัวเพลาจะมีปัญหาติดตามมาได้
    2. จาระบีหมดสภาพโดยเจ้าของรถไม่รู้ ถึงแม้ยางจะไม่ขาด แต่จาระบีจะไม่มีสภาพให้การหล่อลื่น
    อีกต่อไป จาระบีที่ใช้ต้องเป็นจาระบีพิเศษสำหรับหัวเพลาขับเท่ านั้น จาระบีทั่วไปจะไม่สามารถใช้ได้
    เพราะจะเสื่อมสภาพความหล่อลื่น ที่ความร้อนสูง
    3. C.v. Joint หรือ หัว Spider จะมีอายุการใช้งานเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่แหล่งผลิต
    และเทคนิคที่ผลิต หากเป็นของเดิมมาจากโรงงานรถยนต์ จะมีอายุการใช้งานนาน
    แต่หากมีการเปลี่ยนด้วยของ After Market แล้วระยะเวลาที่ใช้ได้จะสั้นลง
    อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการดูแลสภาพยางหุ้มเพลาและการเปลี่ยนจาระ บีเป็นหลัก
    4. เกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อมีการซ่อมแซมตัวถัง แล้วจุดยึดหรือโครงสร้างเปลี่ยนไป
    5. ยางแท่นเครื่องยางแท่นเกียร์ขาดหรือทรุดจะทำให้เครื่ องสั่น, เขย่า เป็นสาเหตุให้หัวเพลา
    มีการเคลื่อนไหวของหัวเพลา Spider ทำให้ชำรุดได้

    4. ทางเลือกในการซ่อมแซมแก้ไข
    1. เข้าศูนย์บริการ เปลี่ยนเพลาขับใหม่ทั้งชุด หรือเปลี่ยนชุดซ่อมแซม ซึ่งจะมีเฉพาะยางหุ้มเพลาและจาระบี
    2. ถอดและเปลี่ยนเฉพาะหัวเพลาใหม่ซึ่งเป็นของ After Market
    3. ถอดและซ่อมแซมหัวเพลาเฉพาะจุดที่ชำรุดในหัวเพลา
    4. ถอดและเปลี่ยนเป็นเพลาขับทั้งชุด แต่เป็นชุดที่ได้รับการซ่อมแซมเพลาขับทั้งเส้นในส่วน สึกหรอทั้งหมด
    และเปลี่ยนชิ้นส่วนที่มีอายุการใช้งาน เช่น ยางหุ้มเพลา จาระบี เป็นของใหม่
    5. ใช้ของเก่าจากเชียงกง ซึ่งอาจนำเข้าจากต่างประเทศ หรือเป็นเพลาขับในประเทศที่ชำรุด
    ซึ่งได้รับการซ่อมแซมแล้ว

    5. ชิ้นส่วนที่สำคัญของเพลาขับ วิธีการดูคุณภาพของส่วนประกอบ
    1. ก้านเพลา ไม่คดหรืองอ
    2. หัวเพลา Cv. Joint มีแบบที่มีลูกบอลหรือลูกปืน 6 ลูก ต้องดูแหล่งผลิตและระยะเวลารับประกัน
    3. หัวเพลา Spider มีรอยชำรุด มีตามดภายนอกหัวเพลาหรือไม่
    4. ยางหัวเพลาอย่างดีจะต้องหนา เป็นยาง Nbr ซึ่งจะมีหลายวิธีการผลิต เช่น ผลิตด้วยการอัด
    (compression) หรือ แบบฉีด (injection) มาตรฐานของยางหุ้มเพลา สำหรับรถ
    ที่ออกจากโรงงานรถยนต์จะเป็นแบบฉีดและหนา ส่วนยางที่บาง อาจจะเป็นแบบอัดหรือฉีดก็ได้
    จะราคาถูกเพราะลดต้นทุนการผลิต ทำให้ยางเปราะและฉีกขาดง่าย มีอายุการใช้งานสั้นกว่า
    5. เหล็กรัดเพลา ต้องมีลักษณะไม่คม ไม่ทำให้ยางหุ้มเพลาขาด
    6. จาระบี ต้องเป็นจาระบีพิเศษ เป็นสารผสมลิเที่ยมและโมลิดินั่ม ที่ให้ความหล่อลื่นสูง
    ทนต่อความร้อนอย่างสูงในขณะที่ล้อหมุน

    6. เทคนิคการซ่อมแซม CV JOINT
    CV JOINT ที่ชำรุด คือ CV JOINT ที่มีการสึกกร่อนหรือสึกหรอเป็นรอยในรางลูกปืน เช่นมีหลุม
    มีรอย ที่เกิดจากเศษเหล็กที่หลุดจากรางลูกปืนหรือมีเม็ดทรา ย ฝุ่น เสียดสีในรางลูกปืนจนสึกหรอ
    ดังนั้นจึงมีเทคนิคการซ่อมแซม 2 วิธี

    1. เชื่อมพอกเนื้อเหล็กหรือโลหะไปที่จุดที่สึกหรอ และเจียแต่งให้เข้ารูป
    ข้อดี+ข้อเสีย
    - ร้านที่พอมีฝีมือสามารถทำได้
    - ใช้วัสดุภายใน CV. JOINT ของเดิมทุกอย่าง ทำให้ต้นทุนการทำต่ำ
    - ไม่คงทน เพราะเนื้อเหล็กที่พอกเข้าไปคนละเนื้อและความแข็งแกร ่งของโลหะแต่ละชนิดไม่เท่ากัน
    - การใช้โลหะที่มีความร้อนสูงในการเชื่อมทำให้ค่าความแ กร่งหรือผิวชุดแข็ง (hardness)
    ของโลหะในรางลูกปืนเสียหายหรือหมดสภาพไป กลายเป็นจุดอ่อนของหัวเพลาต่อไป
    - การเจียแต่งไม่เข้ารูป นำมาใช้งานและจะติดขัด หรือดึงรถไปข้างใดข้างหนึ่ง

    2. ขยายรางลูกปืน
    ข้อดี+ข้อเสีย
    - จะซ่อมได้เฉพาะ CV. JOINT ที่มีความสึกหรอน้อยไม่เกินสเปคที่กำหนด
    - ทำขยายรางลูกปืนโดยคล้ายกับขยายคว้านกระบอกสูบโดยขยา ยได้ตามขนาดลูกปืนที่กำหนด
    - เปลี่ยนลูกปืนภายใน CV. JOINT ใหม่หมด และชิ้นส่วนสำคัญนั้นๆ แทนชิ้นส่วนที่ชำรุด
    - ขนาดของลูกปืนใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้นแต่จะไม่ใหญ่จนเกินค วามหนาของการชุบแข็งของ
    หัวเพลาเดิม ทำให้หัวเพลาขับคงมีคุณสมบัติเดิมเท่าของใหม
    - เป็นวิธีที่นิยมและเป็นมาตรฐานทั่วไปในต่างประเ ทศ :eek:
     
    10 SEC. ถูกใจสิ่งนี้
  1. ZAMZAM1

    ZAMZAM1 Well-Known Member Member

    1,676
    42
    48
    เยี่ยมไปเลยครับ
     
  2. EK5039

    EK5039 New Member Member

    52
    8
    0
    เพิ่งเปลี่ยนยางหุ้มเพลาไปไมถึงเดือน แล้วทำไมเกิดเสียงดังก๊อกๆๆๆๆ มากกว่าตอนที่ยังไม่ได้เปลี่ยน
    แบบนี้สงสัยโดนอู่หลอกว่า....เปลี่ยนแล้วแน่ๆเลย
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้