แค่ชื่อก็ไม่เพราะแล้วครับ 555+ สปริงแบบนี้เป็นสปริงที่มีขดลวด2ขนาดอยู่ในตัวเดียวกัน ก็คือมีขดถี่(ยุบง่าย) และขดห่าง(ยุบยาก) ทำให้มีความ นิ่มนวลมากกว่าในการวิ่งถนน เพราะผิวถนนที่เป็นคลื่น เล็กน้อยสปริงส่วนที่เป็นขดถี่จะรับภาระในส่วนนี้ เหมือน กับรถใส่สปริงนิ่ม แต่พอถึงจังหวะที่รถมีช่วง Bump แรงๆ เช่นตกหลุมใหญ่หรือเข้าโค้งหนักๆ สปริงส่วนที่เป็นขดถี่ จะบีบตัวติดกัน และตอนนั้นสปริงที่เป็นขดห่างที่แข็งกว่า มันจะทำงานในตอนนั้นครับ ข้อดีก็คือเหมาะกับรถใช้งาน ที่ไม่ต้องการความแข็งกระด้างมากเกินไป แต่ข้อเสียก็คือ การทำงานที่ช้ากว่า ทำให้ขับแล้วรถเหมือนย้วยๆไม่ค่อย ตึงมือครับ ส่วนสปริง2ชั้นก็หลักการทำงานคล้ายๆกัน แต่หน้าที่หลักต่างกัน สปริง2ชั้นจะมีขดเล็ก และขดใหญ่แยกออกจากกัน ขดเล็กเรียกว่า helper spring หน้าที่หลักก็คือใส่กับโช๊คที่มีแกนยาว แต่สปริง สั้น ถ้าปรับให้โช๊คเตี้ยมากสปริงจะลอยออกจากเบ้า ในจังหวะที่ แกนโช๊คยืดออก เพราะสปริงสั้นไขสตรัทลงมาต่ำ ก็เท่ากับว่าจะมี ช่องว่างระหว่างโช๊คกับสปริงมาก จึงต้องมีสปริงขดเล็กไว้คอยรอง ไม่ให้สปริงขดใหญ่ลอยออกเวลาโช๊คยืดตัว แต่ถ้าเวลาโช๊คยุบตัว สปริงขดเล็กก็จะแบนติดกัน และใช้สปริงขดใหญ่ทำงานเหมือนเดิมครับ
แบบที่พี่โพสท์มาคือสปริง2ชั้นครับ ตัวเล็กคือ helper ลองนึกดูว่าสตรัทอยู่ระดับนั้นซึ่งเป็นระดับที่รถเตี้ยพอดี แต่ไม่มี helper สปริงก็จะลอยไม่ถูกบีบอยู่ หรืออีกอย่าง ไม่มี helper แต่ขันสตรัทขึ้นมาสูงพอดีกับสปริงรถก็จะสูง อยู่ระดับนั้น ซึ่งอาจจะสูงเกินไปครับ และแบบที่ผมโพสท์คือสปริงอีกแบบนึงที่เจ้าของกระทู้ถามมา