ผมใช้gen6อยู่ครับ ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการแต่งรถ เลยอยากจะถามว่าพวกเกจวัดเค้าใช้ทําอะไรกันบ้างครับ ของผม5sเดิมๆเลย ควรใช้ตัวไหนบ้าง จุดประสงค์หลักอยากจะติดไว้เพื่อความสวยงาม แต่อยากรู่ว่าควรเลือกใช้อย่างไรบ้าง เช่น fuel press,A/F,vacuum,RPM,oil temp เป็นต้นครับ ผู้รู้ช่วยตอบทีนะครับ ขอบคุณครับ
Gen 6 ผมเครื่อง 5s เดิมๆ ใส่เกจ์ 3 ตัวครับ คือ Water Temp เพราะบอกได้ละเอียดกว่าในหน้าปัทม์ Boost แต่รถไม่มีโบเลยได้ดู Vac อย่างเดียว เอาไว้คุมน้ำหนักเท้าของเราเวลาเหยียบคันเร่ง จาได้ไม่เปลืองน้ำมัน อิอิๆๆ ตัวสุดท้ายคือ A/F ratio ครับ อันนี้ติดไว้สวยๆ ไฟวิ่งไปวิ่งมา แต่จิงๆ ก็เอาไว้ดูคร่าวๆ ว่าน้ำมันมันหนามั้ย ยิ่งหนายิ่งเปลือง
อยากเห็นรูปภายในรถคุณเอ๋อ่ะครับ ช่วยโพสให้หน่อยจิ รถคุณเอ๋เปลี่ยนเป็นไมล์ขาวด้วยรึเปล่าครับ ผมอยากเปลี่ยนแต่ไม่รู้ว่าไมล์มันจะเพี้ยนมั๊ย แล้วเปลี่ยนได้รึเปล่า แนะนําทีครับ ว่าเปลี่ยนเป็นของอะไรได้บ้างอยากได้เป็นไฟสีฟ้าหรือส้มก็ได้ครับ
ภายในรถผมยังไม่ได้ถ่ายรูปไว้อ่ะครับ ตอนนี้ใส่ไมล์ขาวอยู่ แต่เป็นแผ่นไมล์ G-Shock น่ะครับ ใส่ทับไมล์เดิม ไมล์มันเลยไม่เพี้ยนครับ ส่วนไมล์ขาวของ SS-III ก็แปลงใส่ได้ครับ ไม่เพี้ยนเท่าไหร่ แต่ต้องไล่สายไฟใหม่นะครับ ถ้าให้ผมแนะนำ ผมว่าใส่ไมล์ G-Shock ดีกว่าครับ สีออกฟ้าๆ แล้วก็ไม่ได้แปลงอารัยให้ยุ่งยากด้วยครับ อ้อ สั่งซื้อได้จากในเวป ebay.com นะครับ
คือ.. ขอโทษครับพี่เอ๋ผมเคยเข้าไปดูแล้วนะครับในอีเบย์แต่คำนวนค่าขนส่งไม่เป็นอ่ะครับลงที่ไทยเลยมีมั้ย แล้วราคาทั้งหมดประมาณเท่าไหร่อ่ะครับตัวG-shockอ่ะครับ(เผอิญจำราคาไม่ได้)รบกวนหน่อยครับ
เอามาจากในเวปนี่แหละครับ เกจวัดทำหน้าที่อะไรบ้าง 1. มาตรวัดบูสต์ (BOOTS METER) มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบทุกคันที่มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของ แวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก และในส่วนของเทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่สำหรับการดูค่าอัตราบูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง รือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะของวาล์วเป็นต้น นอกจากนี้หากบนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากที่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับมาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ 2. มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER) สำหรับมาตรวัดความร้อน ตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของความร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียดมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น นั่นหมายความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก ทว่าถ้าเป็นในรถธรรมดา อาจจะยังไม่ก่อปัญหามากนัก ขณะที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้เลยทีเดียว โดยปกติ เซ็นเซอร์ ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้นก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการเหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน 3. มาตรวัดรอบ (TACHO METER) RPM สำหรับมาตรวัดรอบ ก็เหมือนกับมาตรวัดความร้อน คือรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งมาให้จากโรงงานอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่มีบางคนต้องไปติดเพิ่มอาจจะมาจากเหตุผลต่างกันไป บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสร้างความสวยงาม หรือความเท่ แต่กับบางคนอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ อย่างรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเปลี่ยนไปใช้แคมฯ องศาสูงมาก ๆ จนทำให้สามารถเร่งรอบได้มากกว่าเดิม ซึ่งวัดรอบที่มีติดมากับรถ ไม่สามารถแสดงข้อมูลได้เพียงพอ จึงต้องหาอันใหม่มาติดเข้าไป หรือในรถยนต์ที่ทำขึ้นมาสำหรับการแข่งขันควอเตอร์ไมล์ซึ่งจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องการให้ความสำคัญมาก การตัดสินแพ้ชนะอยู่ที่เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ดังนั้นมาตรวัดรอบที่มาพร้อมไฟเตือน จึงกลายเป็นอุปกรณ์ช่วยได้อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามการแพ้ชนะไม่ได้เพียงอุปกรณ์ที่ว่าเท่านั้น จังหวะฝีมือ สมาธิ ในการเปลี่ยนเกียร์ของผู้ขับขี่เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า 4. มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER) อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลายสภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ ไปในแนวทางเดียวกับอุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องให้อยู่ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป 5. มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER) มาตรวัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ น้ำมันเครื่อง โดยค่าที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆหรือขณะที่เครื่องยนต์ มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอมให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลงการสึกหรอ จนถึงการ ระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอกข้อมูลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า "แรงดันต่ำ" จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหลเข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า "แรงดันสูง" จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ 3 - 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2 6. มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER) อุณหภูมิของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำมัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน 7. มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER) สำหรับมาตรวัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่งแล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เราออกแรงกดลงไปบนคันเร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติดเครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดันนี้จะขึ้นไปตามอัตราการบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์ ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดที่ใช้ไม่เพียงพอ เสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็นไม่น้อยสำหรับรถยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่ 8. มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER) มาตรวัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะต้องมีค่าเท่ากับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่งเนื่องจากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น "บาง" กับ "หนา" ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ 9. แวคคั่ม มิเตอร์ (VACCUM METER) มาตรวัด VACCUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลา เครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสุญญากาศ ถ้าค่าสุญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 300 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg
ขอบคุณทุกคนที่ให้ข้อมูลมั่กๆคับ ว่าแต่คุณเอ๋คับผมเข้าไปในebay เข้าหมวดcarแล้วไปไหนต่ออ่ะคับ เยอะมากๆ งง แล้ววิธีการชําระเงิน-ส่งของ ทําอย่างไรคับ ใช่โอนเงินรึเปล่า
เรื่องซื้อของใน ebay ผมก็ไม่เคยซื้อเองอ่ะนะครับ ปกติฝากคนอื่นซื้ออ่ะ ลองดูกระทู้นี้เป็นความรู้ละกันครับ http://celica-club-thailand.com/webboard/index.php?topic=311.0