ทำสังฆทานได้เป็นเปรต? ทำบุญได้บาป? เกิดเป็นสัตว์ง่ายกว่าคน? กินมังสวิรัติไดบุญรึ 1. การนำเงินให้พระ ไม่ได้บุญแต่ ทั้งพระทั้งฆราวาสได้บาปหนักแทน พระท่านนั้นห้ามรับเงินผิดศีลอยู่แล้ว ฆราวาสไม่ผิดศีลแต่สร้างบาปให้กับตนและกับพระ หากจะถวายเงินก็ควรให้ฆราวาสที่ดูแลการเงินของวัดนั้นได้จัดการหรือมอบให้พระไวยาวัชกร(พระที่ได้รับมอบหมายจากมติสงฆ์ให้ดูแลการเงินได้) จัดการ โดยเอ่ยปากกับพระที่เราจะถวายเงินว่าถวายเงินเท่าไร และกล่าวต่อว่า หากพระท่านจะใช้เงินเพื่อการใดที่สมควรแก่สมณะแล้ว ก็แจ้งเอากับผู้ที่ดูแลเงินนั้นเถิด อันนี้จึงจะถูกต้อง 2. สังฆทาน ความหมายคำนี้ การทำทานกับพระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป หากทำแค่รูปเดียวถือว่าไม่ใช่สังฆทานเพราะจะเป็นการทำเฉพาะบุคคลนั้นเอง ทำไมต้อง 4 รูป เพราะว่าพระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้หากเป็นพระอรหันต์นั้นสามารถทำสังฆทานกับท่านได้เลย แต่หากเป็นพระทั่วไปต้อง 4 รูป จึงจะเรียกว่าทำสังฆทาน และพระ 4 รูปนั้นต้องมีศีลบริสุทธิ์ 227 ข้อ สังฆทานนั้นจึงจะได้บุญเทียบเท่าทำกับพระอรหันต์แต่กำลังไม่เท่ากัน เท่านั้นครับ ส่วนสิ่งของที่ทำทานกับพระนั้นเป็นถังๆ อย่างที่เราเห็นกันนั้นนั้นท่านถือว่าเป็นเพียงบริวารสังฆทานเท่านั้นครับ สังฆทานที่ครบถ้วนก็อย่างเช่นเราถวายอาหารพระและปัจจัยต่างๆ (ยกเว้นเงิน ดูข้อที่ 2) นั้นแหละครับจึงเรียกว่าของถวายสังฆทานที่ถูกต้อง ส่วนอาหารหรือของสิ่งใดที่ถวายสงฆ์แล้วพระไม่ได้ทำการ อปโลกป์ (การสละซึ่งสิ่งนั้น) อาหารที่พระหรือของพระนั้น ฆราวาสจะเอามากินต่อโดยคิดว่ากินแล้วได้บุญเป็นของพระ หรือนำสิ่งของนั้นไปใช้เพราะพระท่านให้มา (แต่ไม่ได้ทำการอปโลกป์) พวกท่านทั้งหลายเป็นเปรตนับหลายล้านปีแน่นอนครับ เพราะอาหารหรือสิ่งของนั้นหากพระยังไม่ได้ทำการสละ แม้ท่านจะยกให้หรือไม่ยกให้ก็ตาม ผิดแน่นอน เป็นเปรตหลายล้านปีครับ วิธีการแก้ไขคือการชำระหนี้สงฆ์ (มีวิธีขั้นตอน http://www.firstbuddha.com/Buddha/dh...มอีกนิดสิ่งใดๆ ก็ตามเป็นของสงฆ์ แม้ใบไม้ใบเดียวก็ตามเอามาจากวัด อันนี้ก็เป็นเปรตได้ครับ >> 3. การสมาศีลและการวิรัติศีล (ต่อศีลเมื่อศีลขาด) >> จำเป็นมากหากไม่ทำ มีโอกาสตกไปในอบายภูมิ (เดรัสฉาน, อสุรกาย, เปรต, นรก) แน่นอน เพราะ การเกิดมาเป็นมนุษย์ได้นั้นเป็นสิ่งที่เกิดยากมากๆ เป็นอันดับ 3 ของโลก อันดับหนึ่งคือพระพุทธเจ้า และการเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้นั้นต้องรักษาศีล 5 อย่างต่ำเท่านั้นและต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ตลอดชีวิตนั้น ท่านกล่าวไว้ว่าต้องสมาทานศีลหากศีลขาดต้องรีบต่อศีลหรือการวิรัติศีลนั่นเองแต่อย่าให้ขาดเกินวันนั้นที่รักษาอยู่ หากเกินควรสมาทานศีลเริ่มใหม่อีกครั้ง หากคิดว่ารักษาที่ใจก็ได้ไม่ต้องสมาทานศีล อันนี้ใช้ไม่ได้ครับ เปรียบเหมือนเราถือแก้วใบหนึ่งในถือเราก็ถือจริงๆ หากเราทำท่าถือแก้วในมือแต่ไม่ได้ถือแก้วจริงๆ อันนี้ก็เห็นภาพชัดเจนนะครับ หรือหากเราถือแก้วอยู่แล้วหล่นตกแตกเปรียบเหมือนทำศีลขาด หากเราไม่ต่อศีลแก้วนั้นจะกลับมาเหมือนเดิมให้เราถือไหมล่ะครับ ส่วนการสมาทานศีลที่ถูกต้องเริ่มด้วย มะยังภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเป็น วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ แทนอันนี้ก็แปลว่ารักษาศีลเป็นข้อๆ ในพระไตรปิฏกไม่มีนะครับและศีล 2 ศีล 3 หรือศีล 4 ก็ไม่มี มีแต่ศีล 5 อย่างเดียวเท่านั้นอย่าไปรู้ดีกว่าพระพุทธเจ้ากันเลยครับ แต่หากท่านใดทำศีลข้อใดก็หนึ่งขาด ก็ผิดศีลและบาปเฉพาะข้อนั้น แต่ศีล 5 ก็ขาดแล้วครับ (การต่อศีล 5 เริ่มด้วย ตั้งนะโม 3 จบ ระลึกคุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ ข้าพเจ้าทำศีลข้อที่ ..... ขาด ทำอะไรถึงขาด .............. ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่าต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะขอรักษาศีล 5 ให้ครบถ้วนบริสุทธิ์ ดังเดิม และกล่าว อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ 3 จบ กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) 4. บุญและทาน หลายท่านเข้าใจผิด ว่าหากทำบุญให้ทำกับพระ ทำทานให้กับขอทาน อะไรประมาณนี้ อันนี้เป็นการเข้าใจผิดอย่างรุนแรงมาก เพราะเมื่อคุณทำทานกับพระกับเพื่อนหรือกับใครก็ตามคุณสร้างกุศลกรรมคือได้บุญนั่นเอง แต่สังคมไทยน้อยคนนักที่จะเข้าใจว่า ทานนั้นลึกซึ่งขนาดไหนทานมีกี่ประเภท แต่บุญที่ทำแล้วได้มากที่สุดเป็นลำดับดังนี้ 1. การนั่งฌาณสมาธิ 2. การรักษาศีล 3. การทำทาน ยกตัวอย่าง ตักบาตรทุกเช้า 10 วัน ยังไม่เท่ารักษาศีลให้บริสุทธิ์ครบถ้วน 1 วัน รักษาศีล 10 วัน ยังไม่เท่าการเข้าฌาณสมาธิ 1 ครั้ง อันนี้เป็นตัวเลขสมมุติให้เข้าใจง่ายแต่ความเป็นจริงมันต่างกันมากกว่าที่ผมยกตัวอย่างมานี้อีกมากนัก อันนี้หากคนจนต้องการบุญมากๆ ไม่จำเป็นต้องรวยก็ได้รักษาศีลหมั่นนั่งฌาณสมาธิ อันนี้ก็ได้บุญมากกว่าคนรวยที่เค้าทำทานที่ละหมื่นทีละแสนทีละล้านแล้วครับ (รายละเอียดปลีกย่อยมีมากเอาเป็นว่าอธิบายพอเป็นที่เข้าใจและปฏิบัติได้) 5. กินมังสวิรัตหรือเจ ได้บุญ ? พระพุทธเจ้าท่านกล่าวเพียงว่า “..... ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.....” ชีวกสูตร ม. ม. (๕๗) ตบ. ๑๓ : ๔๘-๔๙ ตท.๑๓ : ๑๓ : ๔๗ ตอ. MLS. II : ๓๓ ใช้สติคิดกันให้ดี พระตถาคตไม่ได้ห้ามกินเนื้อสัตว์ (กฎธรรมชาติมีว่าคนบาปหาให้คนบุญกิน สัตว์ที่ถูกฆ่าก็เพราะกรรมของมันเอง คนที่ฆ่าก็เพราะกรรมของเค้าเอง ทุกคนเกิดมามีกรรมเป็นทายาท เกิดมาเพื่อสืบกรรมอันไม่จบไม่สิ้นเป็นสงสารวัฏนั่นเอง) นอกเหนือจากที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว ใครจะมาบอกว่าการไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจะได้บุญ อันนี้จะรู้เกินพระพุทธเจ้าไปแล้วครับเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างรุนแรง ได้บาปหนักแทนนะครับ ปล.พิจารณาบทความกันเอาเองนะครับมิได้นำเสนอให้เชื่อทั้งหมดแต่มิได้ลบหลู่เช่นกัน