หลังจากได้นำตำนานของผู้พี่มาลงไปแล้ว จึงตามมาด้วยข้อมูลของรุ่นน้องที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันครับ โตโยต้า โคโรลล่า (Toyota Corolla) เป็นรถโตโยต้ารุ่นที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านการขายและการเป็นที่นิยมมายาวนาน โดยเฉพาะในเมืองไทย รู้จักรถโคโรลล่านี้มาอย่างกว้างขวางและยาวนาน โดยเฉพาะในปัจจุบัน นิยมเอารถโตโยต้า โคโรลล่า อัลติส (Toyota Corolla Altis) มาทำรถแท็กซี่ในเมืองไทย โดยรถโตโยต้า โคโรลล่า จัดอยู่ในระดับรถขนาดเล็กมาก (Subcompact) ในโฉมที่ 1-5 ส่วนโฉมที่ 6 เป็นต้นมา จัดอยู่ในระดับรถขนาดเล็ก (Compact) โคโรลล่า เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ ฮอนด้า ซีวิค และ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ในฐานะที่เป็นรถที่ไม่เล็กเกินไปในการใช้เป็นรถครอบครัว แต่ก็สมรรถนะสูง กระชับ ไม่เทอะทะสำหรับการใช้เป็นรถสปอร์ต และมีราคาถูกกว่ารถสปอร์ต ทำให้สามรุ่นนี้เป็นรถที่พบเห็นได้ค่อนข้างมากบนท้องถนนไทยในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน แบ่งเป็น 10 รูปโฉม ได้แก่...
Generation ที่ 1 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1966-1970) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 1โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1966 รหัสตัวถัง KE10 โดยในช่วงแรก ผลิตเพียงตัวถังแบบ sedan 2 ประตู แล้วตัวถังแบบ sedan 4 ประตูเริ่มมีใน ค.ศ. 1967 และตัวถัง station wagon 4 ประตู ก็เริ่มผลิตใน ค.ศ. 1968 และตามด้วยรถ coupe 2 ประตูปิดท้ายรุ่น โดยรถคูเป้ 2 ประตู โคโรลล่าได้ตั้งชื่อเฉพาะให้ว่า โคโรลล่า สปรินเตอร์ รหัสตัวถัง KE15 โดยในระหว่างโฉมแรกนี้ มี 2 ขนาดเครื่องยนต์ให้เลือก คือ 1.1 ลิตรในช่วงแรก และ 1.2 ลิตรในช่วง ค.ศ. 1969 เป็นต้นไป ระบบเกียร์ในสมัยนั้น ไม่เน้นการประหยัดน้ำมัน และเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า ระบบเกียร์ในรถโคโรลล่าโฉมนี้ จึงมี 2 ระบบให้เลือก คือ เกียร์ธรรมดาเพียง 4 สปีด และเกียร์อัตโนมัติเพียง 2 สปีด แต่การที่มีเครื่องยนต์ลูกสูบขนาดเล็ก ทำให้รถประหยัดน้ำมัน ชดเชยการที่เกียร์มีไม่กี่สปีด โคโรลล่าเลิกผลิตโฉมนี้ใน ค.ศ. 1970 เนื่องจากมีการเปิดตัว โคโรลล่า โฉมที่ 2
Generation ที่ 2 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1970-1978) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 2โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1970 รหัสตัวถัง KE20 โดยรถรุ่นโคโรลล่า สปรินเตอร์ (Corolla Sprinter) มีการเพิ่มรูปแบบตัวถัง sedan เข้าไปในเมนูผลิต และมีการเปิดตัวรถรุ่น โคโรลล่า เลวิน (Corolla Levin) และ โคโรลล่า ทรูโน (Corolla Trueno) โดยนำตัวถังแบบ coupe GT มาใช้ และทางโตโยต้า เห็นว่า รถโคโรลล่าประสบความสำเร็จสูงมาก จึงแยกธุรกิจการขายรถโตโยต้า โคโรลล่า ออกเป็น 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจขายรถโคโรลล่า สปรินเตอร์ กับ ธุรกิจขายรถโคโรลล่า , โคโรลล่า เลวิน , โคโรลล่า ทรูโน รูปแบบตัวถังมีความหลากหลายมากขึ้น ได้แก่ coupe 2 ประตู , station wagon 3 กับ 5 ประตู , sedan 4 ประตู และ van 5 ประตู และมีการเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ เป็น 1.2 , 1.4 , 1.6 ลิตรให้เลือก และรถโฉมนี้ประสบความสำเร็จสูงมาก ดังจะเห็นได้จากการที่ถึงแม้โคโรลล่าจะเปิดตัวโฉมที่ 3 ใน ค.ศ. 1974 แต่โฉมที่ 2 นี้ ผลิตอย่างต่อเนื่องไปจนถึง ค.ศ. 1978 จึงเลิกผลิต
เอ่อ Sprinter Trueno นะครับ ไม่ใช่ Corolla Trueno จริงๆ เหตุผลที่ต้องมี Corolla กับ Sprinter เพราะว่า Toyota ไปศัญญาว่า จะให้เฉพาะ Dealer ที่ใช้ชื่อ "Corolla Mise" (แปลตามตัวก็ ร้านโคโรลล่า ไงครับ) เพราะฉะนั้นถ้าจะขาย Corolla ให้ Dealer อื่นๆ ของ Toyota ก็ง่ายๆ ครับ "เปลี่ยนชื่อ และศัลยกรรมมันซะ คุณก็เป็นคนใหม่ได้ เอ้ย!!! รถใหม่" เลยเป็นที่มาของ Sprinter ไงครับ โดย Sprinter จะขายใน ร้าน Toyota Auto (ต่อมาคือ Netz ที่พวกขาซิ่งทั้งหลายชอบไปเอาโลโก้เขาไปติดบน Yaris หรือไม่ก็ Wish เอ๊ะแต่ยังไม่มีคนทำให้เห็นนะครับ ใครทำก็เอามาโชว์หน่อย แต่จะเป็นตัวหลังๆ ที่ไม่มี W อยู่ข้างหน้าแล้วครับ ถึงจะมี logo Netz ติดอยู่) ที่ญี่ปุ่นมันจะมีอะไรแบบนี้แหละครับ ประมาณว่าพอเอารถรุ่นนึงขายใน Dealer นึงปุ้บ ก็เอามันมาแต่งหน้าทาปาก แล้วก็เอาไปขายในอีกเครือข่ายนึงตัวอย่างเช่น Civic Ferio (Civic 4 ประตู) ขายในศูนย์ Premo แต่ Integra SJ (Isuzu Vertex บ้านเราไง แค่คนละ Logo เอง) จะขายในศูนย์ Verno เอาละครับ ก็เอวังด้วยประการฉะนี้
ขอบคุณครับ คือมันเป็นที่เข้าใจกันในทีนะครับว่า... SPRINTER มันก็อยู่ในไลน์ของCOROLLA มันเหมือนเป็นเพียงSYMBOLICที่ใช้ชื่อต่างกันด้วยเหตุผลบางประการของทางผู้ผลิตครับ
Generation ที่ 3 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1974-1981) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 3โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1974 รหัสตัวถัง KE30 , KE40 , KE50 และ KE60 มีการเพิ่มรูปแบบตัวถัง hardtop coupe 2 ประตูเข้าไป ส่วนตัวถังแบบอื่นมีดังเดิม มีและเริ่มมีการพัฒนาและได้ผลิตระบบเกียร์ให้เลือกเพิ่มเป็น 4 ระบบ คืออัตโนมัติ 2 กับ 3 สปีด และ ธรรมดา 4 กับ 5 สปีด ขนาดเครื่องยนต์ 1.2 กับ 1.4 ลิตร หลังจากการเปิดตัวรถโคโรลล่าโฉมที่ 4 ใน ค.ศ. 1979 ทั่วโลกก็เริ่มทยอยหยุดขายหยุดผลิตโฉมที่ 3 และโฉมนี้ได้หยุดผลิตอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1981
Generation ที่ 4 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1979-1983) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 4โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1979 รหัสตัวถัง KE70 ในโฉมนี้ ได้เพิ่มความหลากหลายของรูปตัวถังขึ้น โดยเพิ่มรูปตัวถัง sedan 2 ประตู และ liftback 3 ประตูเข้าไปเพิ่ม แต่ได้ระงับการผลิตตัวถังแบบ coupe 2 ประตู ระบบเกียร์ 4 ระบบดังเดิม ขนาดเครื่องยนต์ 3 ขนาด ได้แก่ 1.3 , 1.6 และ 1.8 ลิตร และรูปโฉมนี้ เป็นรูปโฉมสุดท้ายที่รถโคโรลล่าขับเคลื่อนล้อหลังเพียงอย่างเดียว ซึ่งโฉมต่อจากนี้ จะค่อยๆ ยกเลิกระบบขับเคลื่อนล้อหลังของโคโรลล่าไป และจะแทนที่ด้วยระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และโฉมนี้ก็เป็นโฉมสุดท้ายที่มีการผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติ 2 สปีด และระบบเกียร์ธรรมดา 4 สปีดด้วยเช่นกัน โฉมนี้ เลิกผลิตในปีเดียวกับการเปิดตัวรถโคโรลล่าโฉมที่ 5 ใน ค.ศ. 1983
Generation ที่ 5 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1983-1987) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 5โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1983 เป็นโฉมแรกของโคโรลล่า ที่ขับเคลื่อนล้อหน้า รหัสเครื่องยนต์ AE80 แต่ยกเว้น โคโรลล่า เลวิน และโคโรลล่า ทรูโน ที่ยังเป็นขับเคลื่อนล้อหลัง ใช้รหัสตัวถัง AE86 โฉมนี้ โคโรลล่าได้ปรับรูปแบบตัวถังใหม่ ได้แก่ coupe 2 ประตู , hatchback 3 ประตู , sedan และ station wagon 4 ประตู , liftback 3 ประตู และโฉมนี้ เป็นโฉมแรกที่โคโรลล่า มีการผลิตรถที่ใช้น้ำมันดีเซล(สำหรับเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร) และใช้เบนซิน (สำหรับเครื่องยนต์ 1.3 และ 1.6 ลิตร) พร้อมๆ กัน โดยโฉมนี้ มีระบบเกียร์เหลือให้เลือก 2 ระบบ คือ อัตโนมัติ 3 สปีด และธรรมดา 5 สปีด ลักษณะโฉมแบบนี้ วงการรถไทยมักเรียกว่า "โฉมท้ายตัด" โฉมนี้ ได้รับการออกแบบทั้งสมรรถนะ การขับเคลื่อน 3 แบบให้เลือก (ล้อหน้า,ล้อหลัง,4ล้อ) ในช่วงนี้ รถขับเคลื่อนล้อหลังเริ่มมียอดขายลดลง เพราะคนเริ่มไปซื้อรถขับเคลื่อนล้อหน้า แต่ในภาพรวมทั้งหมด เทคโนโลยีต่างๆในรถและรูปทรงที่ล้ำสมัยมากในยุคนั้น ทำให้ในปัจจุบัน โฉมนี้ไม่ถือเป็นสิ่งล้าสมัย ยอดขายรถโคโรลล่าโฉมนี้ รวมยอดผลิตได้มากกว่า 3.3 ล้านคัน ในขณะที่รถโคโรลล่าทั้ง 10 โฉมรวมกันแล้ว ได้ยอดขาย 31 ล้านคัน และจนถึงปัจจุบัน นักเลงรถในญี่ปุ่น ก็จะยังรู้จักและขับรถโคโรลล่าโฉมนี้อยู่ โดยไม่ถือว่าล้าสมัย และโฉมนี้ ก็เป็นโฉมสุดท้ายที่จัดเป็นรถขนาด Subcompact ที่อยู่ในตระกูลโคโรลล่า โฉมนี้ เลิกผลิตในปีเดียวกับการเปิดตัวรถโคโรลล่าโฉมที่ 6 ใน ค.ศ. 1987
Generation ที่ 6 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1987-1992) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 6เมื่อความนิยมในการซื้อรถโคโรลล่าโฉมที่ 5 ไปถึงจุดอิ่มตัว ก็ได้มีการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 6 ใน ค.ศ. 1987 และส่งเข้าตีตลาดขายแทนโฉมที่ 5 ในปีค.ศ. 1988 โฉมนี้ เป็นโฉมที่รถโคโรลล่า ได้เลื่อนขั้นจากรถขนาดเล็กมาก (Subcompact) เป็นรถขนาดเล็ก (Compact) โฉมนี้ ระบบขับเคลื่อนล้อหลังหายไป ได้มีการเพิ่มการผลิตรูปแบบตัวถัง hatchback 5 ประตู และโฉมนี้ ผลิตในช่วงที่ระบบเกียร์อัตโนมัติถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รถโฉมนี้ ได้เริ่มมีการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด มา แต่ก็ยังผลิตรถรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีดอยู่ เครื่องยนต์ก็ยังมีทั้งระบบเบนซิน (ในขนาดเครื่องยนต์ 1.3 , 1.5 , 1.6 ลิตร) และแบบดีเซล (ในขนาดลูกสูบ 2.0 ลิตร) และยังมีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อด้วย นอกจากนี้ ในช่วงโฉมนี้ โคโรลล่า เลวิน , โคโรลล่า ทรูโน และโคโรลล่า สปรินเตอร์ ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และโฉมนี้ พ่อค้าเต๊นท์รถในประเทศไทยนิยมเรียกว่า "โฉมโดเรมอน" โฉมนี้ ในเมืองไทยจะรู้จักกันดีในฐานะของโฉมที่มีเทคโนโลยีเครื่องยนต์ 16 วาล์ว รุ่นแรกที่มีขายในไทย ในช่วงนั้น มักมีสัญลักษณ์อักษรเขียนว่า "TWINCAM 16 VALVE" ไว้เป็นสัญลักษณ์ที่ประตูรถในรถบางคัน นอกจากนี้ รุ่นท้ายๆ ของโฉม โคโรลล่าในไทยได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ระบบหัวฉีด ซึ่งประหยัดน้ำมันกว่า และสามารถเติมแก๊สโซฮอล์ ได้ แต่อย่างไรก็ตาม โฉมโดเรมอนส่วนใหญ่ ยังเป็นคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งไม่เหมาะกับเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ โฉมนี้ เลิกผลิตใน ค.ศ. 1992 หนึ่งปีหลังจากการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 7
Generation ที่ 7 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1991-1997) โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1991 โฉมนี้ ได้เริ่มมีการผลิตเกียร์ธรรมดา 6 สปีดขึ้น ควบคู่กับการผลิตรถเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 และ 3 สปีด เครื่องยนต์ยังมีระบบดีเซล (2.0 ลิตร) และเบนซิน (1.3 , 1.5 , 1.6 , 1.8 ลิตร) ทันทีที่เปิดตัวในไทย โคโรลล่าโฉมนี้ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ยอดการจองรถทะลุ 10,000 คันอย่างรวดเร็วกว่าที่โรงงานคิดไว้มาก และยอดจองยังมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้โรงงานทุกโรงงานในไทยจะเร่งผลิตเต็มที่ งัดแผนสำรองมาใช้ ก็ยังไม่ทัน ต้องสั่งนำเข้าจากญี่ปุ่นมา 1,000 คัน และเพิ่มราคาขายคันละ 5,000 บาท รูปแบบตัวถังมี 6 รูปแบบ เหมือนโฉมโดเรมอน ได้แก่ sedan 4 ประตู , hatchback 3 กับ 5 ประตู , coupe 2 ประตู , liftback 3 ประตู และ station wagon 4 ประตู โฉมนี้ พ่อค้ารถในไทย เรียกว่า "โฉมสามห่วง" เพราะเป็นโฉมแรกของโคโรลล่า ที่ตราสัญลักษณ์วงรีไขว้สามวง(สามห่วง)ถูกนำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของโตโยต้า (ก่อนหน้านี้ใช้เขียนเป็นอักษร TOYOTA ไม่ใช่สัญลักษณ์สามห่วง) โฉมนี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของตระกูลโคโรลล่า เพราะก่อนนี้ โคโรลล่าจะมีลักษณะเป็นรูปทรงเหลี่ยมๆ แต่โฉมนี้ จะเริ่มเปลี่ยนจากความเหลี่ยม เป็นความโค้งมน และรถตั้งแต่โฉมสามห่วงเป็นต้นมา ก็มีความโค้งมนมากขึ้นเรื่อยๆ และโคโรลล่าโฉมนี้ เครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ในรถเก๋งค่อยๆ หายไป จนในที่สุดก็เลิกผลิตไป กลายเป็นแบบหัวฉีดทั้งหมด โฉมสามห่วง เลิกผลิตใน ค.ศ. 1997 2 ปี หลังการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 8
Generation ที่ 8 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1995-2002) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 8โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1995 แต่กว่าจะได้โด่งดังแทนที่โฉมสามห่วง ก็ล่วงไปถึง ค.ศ. 1998 ทางโตโยต้า ต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้มีความหลากหลายและสร้างความเป็นที่นิยมให้ปรสบความสำเร็จสูงเหมือนโฉมสามห่วง ดังนั้น ผลการปรับปรุงคือ โฉมที่8 แตกแขนงออกเป็น 2 โฉมย่อย คือ โฉมตองหนึ่ง ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1995 - ค.ศ. 1997 , โฉมไฮทอร์ก เริ่มผลิตเมื่อ ค.ศ. 1998 ซึ่งโฉมไฮทอร์กนี้ ได้สร้างความนิยมโดยมีคนซื้อไปทำแท๊กซี่เป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ ใน ช่วงโฉมไฮทอร์กนี้ โคโรลล่า ยังได้เปิดตัวเนื้อหน่อใหม่ในตระกูลโคโรลล่า ที่เป็นที่นิยมในไทยจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ โคโรลล่า อัลติส (Corolla Altis) โดย Altis จะเป็นรถที่มีความหรูหรา มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย Options ต่างๆ ดีกว่า แต่รูปโฉมตัวรถจะคล้ายโคโรลล่าทั่วไป โฉมที่ 8 นี้ ระงับการผลิตรูปแบบตัวถังประเภท hatchback 5 ประตู liftback 3 ประตู และ station wagon 4 ประตู แต่ได้เอา liftback และ station wagon 5 ประตูมาผลิตแทน โฉมที่ 8 เลิกผลิตใน ค.ศ. 2002 2 ปี หลังการเปิดตัวของรถโคโรลล่า โฉมที่ 9
Generation ที่ 9 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 2000-2008) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 9โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 2000 แต่กว่าจะเป็นอันดับหนึ่งแทนโฉมที่ 8 ก็ล่วงไปถึง ค.ศ. 2003 แต่เมื่อได้รับความนิยมแล้ว ก็มีชื่อเสียงมาถึงปัจจุบัน เมื่อทางโตโยต้า ตัดสินใจผลิตโคโรลล่า อัลติสต่อในโฉมที่ 9 และยังมีการปรับปรุงทั้งขนาด ความสะดวก และสิ่งอื่นๆอีกมาก โดยรุ่นที่เป็นที่นิยมในเมืองไทยมากที่สุดก็ยังเป็น อัลติส และโฉมที่ 9 ยกเลิกการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด และยกเลิกการผลิตตัวถัง coupe 2 ประตู และ liftback 5 ประตู แล้วเอาแบบ van และ hatchback 5 ประตูมาผลิตแทน และยังคงผลิตรุ่นเครื่องดีเซล ขนาดเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย) ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน ก็เป็น 1.4 , 1.5 , 1.6 , 1.8 ลิตรเหมือนเดิม โฉมนี้ กลุ่มพ่อค้ารถในไทยมักเรียก "โฉมหน้าหมู" โฉมนี้ ในประเทศไทย โคโรลล่าได้มีการออกรุ่นใหม่ คือ LIMO (ลิโม) โดยจะเป็นรถโคโรลล่า ที่มี Options ต่างๆ น้อย แต่รถจะมีราคาถูกกว่าโคโรลล่าทั่วไป และโคโรลล่า อัลติส อย่างมาก อย่างไรก็ตาม LIMO จะไม่มีขายเป็นรถนั่งส่วนบุคคล โตโยต้าประเทศไทย ขาย LIMO โฉมนี้ เพื่อทำเป็นแท็กซี่เท่านั้น โฉมที่ 9 เลิกผลิตใน ค.ศ. 2008 2 ปี หลังการเปิดตัวของรถโคโรลล่า โฉมที่ 10
Generation ที่ 10 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 2006-ปัจจุบัน) โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 10โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 2006 แต่ใช้เวลาค่อนข้างนานในการพิชิตตลาดต่างๆเพื่อไปแทนโฉมที่ 9 โดยเฉพาะในไทย โฉมที่ 10 เพิ่งเข้ามาในไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ระบบเกียร์ในครั้งนี้ จะผลิตระบบเกียร์แบบธรรมดา 5 หรือ 6 สปีด สำหรับเกียร์อัตโนมัติ จะเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติแบบใหม่ CVT 4 หรือ 5 สปีด โฉมนี้ เครื่องยนต์ดีเซลเลิกผลิตไป เหลือแต่เครื่องเบนซินขนาด 1.5 , 1.8 , 2.4 ลิตร และได้ยกเลิกรูปแบบตัวถังออกไปมาก เหลือแต่แบบ sedan และ station wagon 4 ประตู และเฉพาะในออสเตรเลีย มีการผลิต hatchback 5 ประตู ส่วน LIMO ในโฉมนี้ มีการผลิตรถรุ่น LIMO CNG ซึ่งเป็นรถลิโม ที่ติดระบบการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ มาตั้งแต่ในโรงงานโตโยต้า และ LIMO โฉมนี้ จะเริ่มขายให้กับประชาชนทั่วไปเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลด้วย
สรุปยอดขายตลอดเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1966 - ค.ศ. 2007 รถโคโรลล่าถูกขายไปมากกว่า 30 ล้านคัน เฉลี่ยแล้ว จะมีรถโคโรลล่า 1 คัน ถูกซื้อทุกๆ 40 วินาที นับเป็นรถที่ประสบความสำเร็จสูงมากของโตโยต้า ใน 10 โฉมนี้ แต่ละโฉมต่างมีชื่อเสียงมากในยุคสมัยของมัน และในปัจจุบัน บนท้องถนนของหลายประเทศ ยังพบเห็นการใช้งานรถรุ่นโคโรลล่าโฉมต่างๆ ได้อยู่