ความรู้ครับ....เยอะไปรึป่าวก้อไม่รู้????

การสนทนาใน 'Primera & Presea Club' เริ่มโดย silver dragon, 16 พฤศจิกายน 2008

< Previous Thread | Next Thread >
  1. silver dragon

    silver dragon New Member Member

    580
    2
    0
    อ่านยาวเลยนะครับ......
    ความรู้เกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง

    เทคนิคเลือกฟิล์มกรองแสง
    เมือง ไทยเป็นเมืองร้อน ร้อยทั้งร้อย เมื่อมีรถใหม่ สิ่งแรกที่เจ้าของต้องติดตั้งเพิ่มเติม คือ ฟิล์มกรองแสง การเลือกฟิล์มกรองแสง สำหรับรถยนต์ โดยทั่วไปแล้ว เป็นเรื่องที่ไม่ยากเย็น แต่จะให้ประหยัดและคุ้มค่า ควรมีความเข้าใจพื้นฐาน และของระบบการทำงาน ของฟิล์มกรองแสง ซึ่งอาจจะช่วยให้ท่าน นำไปตัดสินใจได้ว่า จะเลือกอย่างไร จึงสมเหตุสมผล
    ปัจจุบัน นี้พบว่า ส่วนหนึ่งคนซื้อยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง โดยเฉพาะความเข้าใจระหว่างความทึบแสงกับความสามารถในการป้องกันความร้อน
    ความ เข้าใจที่ว่า ฟิล์มที่มีสีเข้มหรือทึบ ช่วยลดความร้อนได้ดี ในความจริงแล้ว สีของฟิล์มไม่ได้เป็นตัวช่วยลดความร้อน แต่กลับเป็นสารเคลือบตัวอื่นๆ ที่ทำหน้าที่หลักนี้
    รู้จักฟิล์มกรองแสง
    ฟิล์ม กรองแสง ทำจากพลาสติก โพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว บาง เรียบ สามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจก โดยยึดกระจกด้วยกาวที่มีความใส ดังนั้น เราจึงมองผ่านฟิล์มได้ชัดเจน
    ฟิล์ม กรองแสงรถยนต์ที่ต้องการกันความร้อนนั้น ต่างไปกับฟิล์มลด แสงสว่างทั่วไป เพราะฟิล์มกรองแสงทั่วไป ย้อมสีเพื่อกรองแสงสว่างเท่านั้น ในขณะที่ฟิล์มกรองแสงที่กันความร้อนจะต้องลดรังสีอุลตราไวโอเลตได้ด้วย
    ฟิล์ม ย้อมสี เป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่าง ที่ผ่านเข้ามาทางกระจกเท่านั้น แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการลดความร้อน หรือหากมีก็มีเพียงเล็กน้อย เมื่อมีการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ฟิล์มจะกลายสีเป็นสีม่วง ซึ่งให้ทัศนวิสัยในการขับขี่รถยนต์ที่ผิดเพี้ยน เป็นอันตราย แต่หากฟิล์มกรองแสงทั่วไปผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์คุณภาพสูง จะมีคุณสมบัติในการลดรังสีอุลตราไวโอเลตด้วย
    ฟิล์ม กรองแสงลดความร้อน หรือ ฟิล์มเคลือบโลหะ เป็นฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติในการลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางกระจกได้ดี โดยอาศัยคุณสมบัติของไอโลหะที่เคลือบบนฟิล์มในการกรองความร้อน และสะท้อนความร้อน ซึ่งมีผลให้ความร้อนผ่านเข้ามาทางกระจกได้น้อยลง สีของฟิล์มที่ได้จะแตกต่างไปตามประเภทของไอโลหะที่นำมาเคลือบ รวมทั้งยังสามารถย้อมสีของฟิล์มเพื่อให้ฟิล์มมีสีต่างๆ ได้ โดยปกติกระบวนการเคลือบไอโลหะมีขั้นตอนซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง
    กาวสะท้อนคุณภาพฟิล์ม
    ฟิล์ม กรองแสงที่ดีจะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของกาวด้วย กาวที่ดีต้องมีความบางใส และเหนียว เมื่อติดแล้วต้องทนทานต่อสภาวะความร้อนเย็นของกระจกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา ยึดติดกับกระจกได้ดีไม่ทำให้ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ พอง ลอก ล่อน เป็นฟองอากาศ อีกทั้งกาวที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ติดแน่นกับเนื้อฟิล์ม เมื่อต้องการลอกฟิล์มออกมา กาวควรอยู่บนด้านฟิล์มมิใช่ด้านกระจก รวมทั้งกาวจะต้องไม่เปลี่ยนสี ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟิล์มที่ติด ที่เรียกว่าฟิล์มเป็นสนิม
    นอก จากนี้ ฟิล์มที่ดีจะต้องป้องกันรอยขีดข่วน หรือเคลือบสารกันรอยขีดข่วน ฟิล์มกรองแสงทำมาจากโพลีเอสเตอร์ มีจุดอ่อนในเรื่องความอ่อนของผิว ซึ่งมักสามารถเป็นรอยเส้นคล้ายรอยขนแมวได้ง่าย เมื่อมีการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารเคมีที่ทำหน้าที่เคลือบแข็งบนผิวของฟิล์ม ทำหน้าที่ในการป้องกันการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ คุณสมบัตินี้ทำให้ฟิล์มมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และดูสวยงามตลอดอายุการใช้งาน
    จำ ไว้ว่าฟิล์มกรองแสงที่ดีไม่ใช่ฟิล์มที่ช่วยลดแสงจ้าได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความสามารถในการสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายในการขับขี่ รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงานในการทำงานของเครื่องปรับอากาศในรถด้วย ซึ่งการเลือกฟิล์มที่มีค่า SHADING COEFFICENT (SC) ต่ำๆ ยังมีส่วนช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการปรับอากาศได้ และที่สำคัญต้องเป็นฟิล์มที่มีความปลอดภัยสามารถยืดเกาะกระจกได้
    รู้จักฟิล์มนิรภัย
    ฟิล์ม นิรภัย คือ ฟิล์มที่ผ่านขั้นตอนการผลิตแบบเดียวกันกับฟิล์มกรองแสงแสงติดรถยนต์ หรืออาคารทั่วไป มีความแตกต่างตรงการเพิ่มชั้นโพลีเอสเตอร์ และปริมาณกาวชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติในการยึดติดอย่างเหนียวแน่นให้มีมาก ชั้นกว่าฟิล์มทั่วไป การเพิ่มชั้นโพลีเอสเตอร์และปริมาณกาวจะมากกว่าในปริมาณเท่าใด ขึ้นอยู่กับระดับความแข็งแรงทนทานที่ต้องการ
    การ ติดตั้งฟิล์มนิรภัยที่กระจกธรรมดาจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความแข็งแรงในการลดแรงกระแทกจากวัตถุภายนอกได้เมื่อเกิดเหตุ, การระเบิด, แผ่นดินไหว, พายุ ฯลฯ ฟิล์มนิรภัยจะช่วยยึดกระจกที่แตกออกไว้ด้วยกัน (ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจกและกรอบด้วย) ช่วยป้องกันอันตรายและความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินจากเศษกระจก
    เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์
    พลังงาน แสงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสี 3 ชนิดคือ รังสีอินฟราเรด (IR) 53%, รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) 3%, แสงสว่าง 44% ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์ เกิดจากรังสีอินฟราเรดและแสงสว่างรวมกัน รังสีอินฟราเรดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์เท่านั้น ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่รู้สึกได้จากความร้อน
    ส่วน การทดสอบการลดปริมาณความร้อน (ซึ่งมีค่า % ลดรังสีอินฟราเรดรวมกับค่า % ลดความร้อนจากแสงสว่าง) ควรวัดจากแสงแดดโดยตรงจะได้ผลที่ถูกต้องกว่าการวัดปริมาณความร้อนจากไฟ สปอตไลท์ เนื่องจากแหล่งกำเนิดความร้อนทั้งสองมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างสิ้น เชิง

    กราฟเปรียบเทียบค่า % การลดความร้อนจากรังสีอินฟราเรด, สปอตไลท์ และแสงแดดของฟิล์มคุณภาพเยี่ยม
    สรุปวิธีการพิจารณาค่า % การลดความร้อนก่อนเลือกซื้อฟิล์มกรองแสง คือ
    1.ต้องเป็น % การลดความร้อนจากแสงแดดโดยรวมเท่านั้น มิใช่เฉพาะแค่รังสีอินฟาเรด หรือค่าจากแสงสปอตไลท์
    2.ค่า % การลดความร้อนต้องเป็นค่าที่ทดสอบตามมาตรฐาน ASHRAE และ AIMCAL มิใช่ค่าที่ผู้ขายจัดพิมพ์ขึ้นมาเอง

    วิธีการดูแลรักษากระจกหลังการติดตั้งฟิล์มกรองแสง

    • โดยทั่วไปวิธีการติดตั้งฟิล์มกรองแสงจะต้องใช้น้ำผสมแชมพูแบบอ่อน ๆ หรือน้ำยา Film-on ฉีดลงไปบนด้านแผ่นกาวของฟิล์มและกระจกที่ติดตั้ง เพื่อช่วยขยับฟิล์มให้เข้าที่ แล้วจึงรีดน้ำออกด้วยเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ดังนั้น ภายหลังการติดตั้งท่านมิต้องกังวลใจหากพบว่ามีคราบน้ำขัง, กระจกมัว หรือเป็นฝ้า อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1-4 สัปดาห์ เมื่อฟิล์มแห้งสนิทและกาวทำงานอย่างเต็มที่ในการยึดติดกระจก ช่วงระยะเวลา 7 วันแรกหลังการติดตั้งฟิล์มห้ามไขกระจกขึ้นลงเพราะฟิล์มอาจหลุดล่อนได้
    • ห้ามเช็ดถู หรือใช้น้ำล้างกระจกจนกว่าจะพ้น 21 วัน นับจากวันติดตั้ง
    • ใช้ผ้าสะอาดและน้ำสะอาดเท่านั้นเช็ดทำความสะอาดกระจกที่ติดตั้งฟิล์มและเช็ดให้แห้งด้วยผ้านิ่ม ๆ ที่สะอาด
    • ห้ามเช็ดถูด้วยผ้าที่ใช้เช็ดตัวถังรถ, เบาะ หรือวัสดุตกแต่งภายในรถ เนื่องจากอาจจะมีการปนเปื้อนของสารเคมีที่เคลือบวัสดุดังกล่าวไปทำความเสีย หายให้กับผิวฟิล์มได้
    • ห้ามเช็ดถูด้วยผ้าเย็น, ขนแปรง, สก๊อตไบร์ท หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฟิล์มได้
    • ห้ามเช็ดล้างด้วยน้ำยาล้างกระจกที่มีส่วนผสมของสารแอมโมเนียโดยเด็ดขาด
    • รอยต่อของฟิล์มจำเป็นต้องเห็นในกรณีที่กระจกมีความโค้งมาก ๆ และอาจมากกว่า 1 รอยในกระจกบางรุ่น
    • กรณีหลังติดตั้ง 1-7 วัน ถ้าสังเกตเห็นฟองอากาศ แต่มิใช่คราบน้ำขังกรุณานำรถของท่านเข้าศูนย์ติดตั้งเพื่อตรวจสอบทันท

    เทคนิคเลือกฟิล์มกรองแสง
    เมือง ไทยเป็นเมืองร้อน ร้อยทั้งร้อย เมื่อมีรถใหม่ สิ่งแรกที่เจ้าของต้องติดตั้งเพิ่มเติม คือ ฟิล์มกรองแสง การเลือกฟิล์มกรองแสง สำหรับรถยนต์ โดยทั่วไปแล้ว เป็นเรื่องที่ไม่ยากเย็น แต่จะให้ประหยัดและคุ้มค่า ควรมีความเข้าใจพื้นฐาน และของระบบการทำงาน ของฟิล์มกรองแสง ซึ่งอาจจะช่วยให้ท่าน นำไปตัดสินใจได้ว่า จะเลือกอย่างไร จึงสมเหตุสมผล
    ปัจจุบัน นี้พบว่า ส่วนหนึ่งคนซื้อยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง โดยเฉพาะความเข้าใจระหว่างความทึบแสงกับความสามารถในการป้องกันความร้อน
    ความ เข้าใจที่ว่า ฟิล์มที่มีสีเข้มหรือทึบ ช่วยลดความร้อนได้ดี ในความจริงแล้ว สีของฟิล์มไม่ได้เป็นตัวช่วยลดความร้อน แต่กลับเป็นสารเคลือบตัวอื่นๆ ที่ทำหน้าที่หลักนี้
    รู้จักฟิล์มกรองแสง
    ฟิล์ม กรองแสง ทำจากพลาสติก โพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว บาง เรียบ สามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจก โดยยึดกระจกด้วยกาวที่มีความใส ดังนั้น เราจึงมองผ่านฟิล์มได้ชัดเจน
    ฟิล์ม กรองแสงรถยนต์ที่ต้องการกันความร้อนนั้น ต่างไปกับฟิล์มลด แสงสว่างทั่วไป เพราะฟิล์มกรองแสงทั่วไป ย้อมสีเพื่อกรองแสงสว่างเท่านั้น ในขณะที่ฟิล์มกรองแสงที่กันความร้อนจะต้องลดรังสีอุลตราไวโอเลตได้ด้วย
    ฟิล์ม ย้อมสี เป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่าง ที่ผ่านเข้ามาทางกระจกเท่านั้น แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการลดความร้อน หรือหากมีก็มีเพียงเล็กน้อย เมื่อมีการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ฟิล์มจะกลายสีเป็นสีม่วง ซึ่งให้ทัศนวิสัยในการขับขี่รถยนต์ที่ผิดเพี้ยน เป็นอันตราย แต่หากฟิล์มกรองแสงทั่วไปผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์คุณภาพสูง จะมีคุณสมบัติในการลดรังสีอุลตราไวโอเลตด้วย
    ฟิล์ม กรองแสงลดความร้อน หรือ ฟิล์มเคลือบโลหะ เป็นฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติในการลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางกระจกได้ดี โดยอาศัยคุณสมบัติของไอโลหะที่เคลือบบนฟิล์มในการกรองความร้อน และสะท้อนความร้อน ซึ่งมีผลให้ความร้อนผ่านเข้ามาทางกระจกได้น้อยลง สีของฟิล์มที่ได้จะแตกต่างไปตามประเภทของไอโลหะที่นำมาเคลือบ รวมทั้งยังสามารถย้อมสีของฟิล์มเพื่อให้ฟิล์มมีสีต่างๆ ได้ โดยปกติกระบวนการเคลือบไอโลหะมีขั้นตอนซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง

    กาวสะท้อนคุณภาพฟิล์ม
    ฟิล์ม กรองแสงที่ดีจะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของกาวด้วย กาวที่ดีต้องมีความบางใส และเหนียว เมื่อติดแล้วต้องทนทานต่อสภาวะความร้อนเย็นของกระจกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา ยึดติดกับกระจกได้ดีไม่ทำให้ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ พอง ลอก ล่อน เป็นฟองอากาศ อีกทั้งกาวที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ติดแน่นกับเนื้อฟิล์ม เมื่อต้องการลอกฟิล์มออกมา กาวควรอยู่บนด้านฟิล์มมิใช่ด้านกระจก รวมทั้งกาวจะต้องไม่เปลี่ยนสี ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟิล์มที่ติด ที่เรียกว่าฟิล์มเป็นสนิม
    นอก จากนี้ ฟิล์มที่ดีจะต้องป้องกันรอยขีดข่วน หรือเคลือบสารกันรอยขีดข่วน ฟิล์มกรองแสงทำมาจากโพลีเอสเตอร์ มีจุดอ่อนในเรื่องความอ่อนของผิว ซึ่งมักสามารถเป็นรอยเส้นคล้ายรอยขนแมวได้ง่าย เมื่อมีการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารเคมีที่ทำหน้าที่เคลือบแข็งบนผิวของฟิล์ม ทำหน้าที่ในการป้องกันการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ คุณสมบัตินี้ทำให้ฟิล์มมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และดูสวยงามตลอดอายุการใช้งาน
    จำ ไว้ว่าฟิล์มกรองแสงที่ดีไม่ใช่ฟิล์มที่ช่วยลดแสงจ้าได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความสามารถในการสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายในการขับขี่ รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงานในการทำงานของเครื่องปรับอากาศในรถด้วย ซึ่งการเลือกฟิล์มที่มีค่า SHADING COEFFICENT (SC) ต่ำๆ ยังมีส่วนช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการปรับอากาศได้ และที่สำคัญต้องเป็นฟิล์มที่มีความปลอดภัยสามารถยืดเกาะกระจกได้

    รู้จักฟิล์มนิรภัย
    ฟิล์ม นิรภัย คือ ฟิล์มที่ผ่านขั้นตอนการผลิตแบบเดียวกันกับฟิล์มกรองแสงแสงติดรถยนต์ หรืออาคารทั่วไป มีความแตกต่างตรงการเพิ่มชั้นโพลีเอสเตอร์ และปริมาณกาวชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติในการยึดติดอย่างเหนียวแน่นให้มีมาก ชั้นกว่าฟิล์มทั่วไป การเพิ่มชั้นโพลีเอสเตอร์และปริมาณกาวจะมากกว่าในปริมาณเท่าใด ขึ้นอยู่กับระดับความแข็งแรงทนทานที่ต้องการ
    การ ติดตั้งฟิล์มนิรภัยที่กระจกธรรมดาจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความแข็งแรงในการลดแรงกระแทกจากวัตถุภายนอกได้เมื่อเกิดเหตุ, การระเบิด, แผ่นดินไหว, พายุ ฯลฯ ฟิล์มนิรภัยจะช่วยยึดกระจกที่แตกออกไว้ด้วยกัน (ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจกและกรอบด้วย) ช่วยป้องกันอันตรายและความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินจากเศษกระจก

    เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์
    พลังงาน แสงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสี 3 ชนิดคือ รังสีอินฟราเรด (IR) 53%, รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) 3%, แสงสว่าง 44% ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์ เกิดจากรังสีอินฟราเรดและแสงสว่างรวมกัน รังสีอินฟราเรดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์เท่านั้น ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่รู้สึกได้จากความร้อน
    ส่วน การทดสอบการลดปริมาณความร้อน (ซึ่งมีค่า % ลดรังสีอินฟราเรดรวมกับค่า % ลดความร้อนจากแสงสว่าง) ควรวัดจากแสงแดดโดยตรงจะได้ผลที่ถูกต้องกว่าการวัดปริมาณความร้อนจากไฟ สปอตไลท์ เนื่องจากแหล่งกำเนิดความร้อนทั้งสองมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างสิ้น เชิง

    กราฟเปรียบเทียบค่า % การลดความร้อนจากรังสีอินฟราเรด, สปอตไลท์ และแสงแดดของฟิล์มคุณภาพเยี่ยม



    สรุปวิธีการพิจารณาค่า % การลดความร้อนก่อนเลือกซื้อฟิล์มกรองแสง คือ

    1.ต้องเป็น % การลดความร้อนจากแสงแดดโดยรวมเท่านั้น มิใช่เฉพาะแค่รังสีอินฟาเรด หรือค่าจากแสงสปอตไลท์
    2.ค่า % การลดความร้อนต้องเป็นค่าที่ทดสอบตามมาตรฐาน ASHRAE และ AIMCAL มิใช่ค่าที่ผู้ขายจัดพิมพ์ขึ้นมาเอง โดยไม่มีมาตรฐานรับรอง

    ประโยชน์ของการติดฟิล์ม
    • ช่วยลดแสงจ้า ให้ความรู้สึกสบายตา ลดความเครียดของสายตา
    • ประหยัดไฟฟ้า ช่วยให้เครื่องปรับอากาศภายในอาคารไม่ต้องทำงานหนัก
    • ชะลอความซีดจางของวัสดุ เครื่องใช้ และเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน
    • เคลือบสารกันรอยขีดข่วน เพื่อให้ดูแลรักษาง่าย และให้ความสวยงามทนทาน
    • ลดความร้อนจากแสงแดดได้สูงสุดถึง 79% (ขึ้นอยู่กับฟิล์มแต่ละรุ่น)
    • ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) ได้มากกว่า 99%
    • ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินจากการโจรกรรม อุบัติเหตุ
    • ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินจากภัยธรรมชาติ เช่น พายุ แผ่นดินไหว
    • ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินจากภัยระเบิด


    ความหนาของฟิล์มกรองแสงคุณภาพเยี่ยมจะอยู่ระหว่าง 1.5-2.0 มิล (.0015-.0020 นิ้ว) ฟิล์มนิรภัยที่มีความหนาในระดับ 2.0 มิล จะถูกจัดเป็นฟิล์ม Class C เท่านั้น หากเป็นฟิล์มนิรภัยที่มีคุณภาพจะต้องหนาตั้งแต่ 4 มิล หรือ 100 ไมครอนขึ้นไป
    * ฟิล์มนิรภัยไม่สามารถป้องกันการแตกของกระจกได้

    วิธีดูแลฟิล์มกรองแสงหลังติดตั้ง
    โดยทั่วไปวิธีการติดตั้งฟิล์มกรองแสงจะต้องใช้น้ำ ผสมกับแชทพูแบบอ่อนๆ ฉีดลงไปบนด้านแผ่นกาวของฟิล์มและกระจกที่จะติดตั้งเพื่อช่วยให้ขยับฟิล์มให้ เข้าที่แล้วจึงรีดน้ำและอากาศออกด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ ดังนั้นภายหลังจะพบว่าจะมีคราบน้ำขัง , กระจกมัว หรือเป็นฝ้าที่กระจก ก่อนที่อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ภายในเวลา 1-4 สัปดาห์

    เมื่อฟิล์มแห้งสนิทและกาวทำงานอย่างเต็มที่แล้วในการยึดติดกระจก ควรปฎิบัติดังนี้

    . ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลงเป็นเวลา 7 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มอยู่ตัว

    ระยะเวลาในการอยู่ตัวของฟิล์มจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของฟิล์มที่ติดตั้ง อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ คราบความชื้นที่อยู่ระหว่างกระจกกับฟิล์ม อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างนี้แต่จะแห้งและหายหมดไปเอง

    . งดใช้ระบบละลายฝ้าที่กระจกหลังเป็นเวลา 30 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์มเพราะจะทำให้ฟิล์มเกิดการเสียหายได้

    . ห้ามใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ , ผ้าหยาบ , ขนแปรง , สก็อตไบร์ท หรือวัสดุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฟิล์มได้

    . ห้ามเช็ดล้างด้วยน้ำยาล้างกระจกที่มีส่วนผสมของสารแอมโมเนียเช็ดทำความสะอาดฟิล์มโดยเด็ดขาด

    . หากต้องการทำความสะอาดฟิล์ม ให้ใช้ผ้านุ่น และน้ำหรือน้ำสบู่อ่อนๆ เช็ดทำความสะอาดฟิล์ม ซึ่งจะช่วยทำให้เนื้อฟิล์มใสและรักษาเนื้อฟิล์มได้ดี

    . ก่อนเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง ควรตรวจสอบเสมอว่าในผ้าหรือทิชชูใดๆที่ใช้ ไม่มีผงฝุ่นหรือเม็ดทรายในผ้า เพราะจะทำให้คุณสมบัติของสารเคลือบฟิล์มเสียหายหรือลดคุณภาพได้

    . ควรจอดรถตากแดดหลังจากติดตั้งฟิล์ม เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15-21 วันเพราะจะช่วยให้กาวในเนื้อฟิล์มแห้งเร็วขึ้น

    เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราแน่ใจได้ว่า เราได้ฟิล์มติดรถยนต์ที่มีคุณภาพ และทราบการดูแลรักษากระจกรถอย่างถูกวิธี เพราะในการดูแลเอาใจใส่ฟิล์มติดรถยนต์ที่ติดตั้งมาใหม่อย่างถูกวิธีนั้น จะทำให้ฟิล์มที่เราติดตั้งมานั้นอยู่คู่กับรถไปได้ทนทานนาน 7-10 ปีทีเดียว




    .
     
  2. warich

    warich New Member Member

    111
    1
    0
    เจ๋งครับ
     
  3. Super_book

    Super_book New Member Member

    294
    4
    0
    ถูกต้องเลยครับ
     
  4. mommamz

    mommamz New Member Member

    964
    4
    0
    อ่านแล้วอยากติดฟิล์มใหม่จังเยย อิอิ :D
     
  5. Diamond0722

    Diamond0722 New Member Member

    806
    2
    0
    ขออนุญาตก็อปไว้ในเครื่องครับ...แล้วเดี๋ยวเปลี่ยนฟิล์มคราวหน้าเอามาอ่านอีกที....เยี่ยมมากครับ...
     
  6. obeya

    obeya New Member Member

    314
    1
    0
    thankss......คับป๋ม
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้