ชุดคลัทช์ (Clutch) ชุดคลัทช์ ทำหน้าที่ตัดหรือต่อกำลัง ที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ เพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนเกียร์ โดยอาศัย ความฝืดระหว่างแผ่นคลัทช์ กับแผ่นกดคลัทช์ และล้อช่วยแรง (Fly wheel) วิธีส่งแรงกระทำไปให้คลัทช์ทำงานมีหลายวิธี เช่น วิธีใช้แกนคันส่ง วิธีใช้สลิงดึง แต่วิธีที่นิยมใช้กัน ในรถยนต์รุ่นปัจจุบัน คือ วิธีใช้ระบบไฮดรอลิค ในการส่งกำลัง รูปแบบคล้ายกับ ระบบเบรค (Brake system) ที่ต้องใช้แม่ปั๊มพ์เบรค (Master cylinder) และลูกปั๊มพ์เบรค (Brake wheel cylinder) การส่งกำลังแบบไฮดรอลิค อุปกรณ์ที่งานในจุดตัดต่อกำลังที่สำคัญ ล้อช่วยแรง (Fly wheel) หมุนไปตามเพลาข้อเหวี่ยง หน้าสัมผัสของล้อช่วยแรงด้านหนึ่ง จะสัมผัสกับแผ่นคลัทช์ แรงสัมผัสนี้ มีน้ำหนักมากพอ ที่เวลาล้อช่วยแรงหมุนแล้ว แกนเพลาคลัทช์ที่สิ่งเข้าไปในห้องเกียร์ สามารถ หมุนตามได้ แผ่นคลัทช์ (Clutch disc) มีลักษณะเป็นจานกลม ขนาดเส้นผาศูนย์กลาง จะเล็กกว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง ของล้อช่วยแรง ที่หน้าสัมผัสของแผ่นคลัทช์ เรียกว่า "ผ้าคลัทช์" (Clutch lining) เป็นวัสดุที่ทำมาจากใยหิน และสารสังเคราะห์ ผสมรวมกัน มีคุณสมบัติเหนียว ทนทานต่อแรงเสียดทานได้ดี ฉาบอยู่ด้านหน้า และด้านหลังจานคลัทช์ ที่บริเวณจุดศูนย์กลางของแผ่นคลัทช์ จะมีรูโลหะตรงกลาง ทำเป็นฟันเฟือ งสำหรับเสียบเพลาคลัทช์ (Clutch shaft) เพื่อส่งกำลังเข้าห้องเกียร์แผ่นคลัทช์ติดตั้งอยู่ ระหว่างล้อช่วยแรง และแผ่นกดคลัทช์ ด้านหนึ่งสัมผัสกับล้อช่วยแรง อีกด้านหนึ่ง สัมผัสกับแผ่นกดคลัทช์ แผ่นกดคลัทช์ (Clutch pressure plate) ที่เรียกกันทั่วไปว่า "แผ่นกดประกบ" จะยึดติดอยู่กับฝาครอบคลัทช์ และฝาครอบคลัทช์ จะยึดติดอยู่กับล้อช่วยแรง เมื่อล้อช่วยแรงหมุน แผ่นกดคลัทช์ และฝาครอบคลัทช์ จะหมุนตามไปด้วย โดยปกติแผ่นกดคลัทช์ จะกดแผ่นคลัทช์ให้ติดแน่นกับล้อช่วยแรงอยู่แล้ว เมื่อล้อช่วยแรงหมุน แผ่นคลัทช์-แผ่นกดคลัทช์-ฝาครอบคลัทช์ จะหมุนไปด้วยกัน จนกว่าจะมีกลไกบางอย่าง มาทำให้แรงกด ที่กระทำต่อแผ่นคลัทช์ให้น้อยลง เมื่อต้องการตัดกำลัง ที่ส่งมาจากเพลาข้อเหวี่ยง จะต้องลดแรงกดที่กระทำต่อแผ่นคลัทช์ จนแผ่นคลัทช์อิสระ จากล้อช่วยแรงที่อยู่ด้านหน้า และแผ่นกดคลัทช์ที่อยู่ทางด้านหลัง วิธีลดแรงกดแผ่นคลัทช์ จะใช้สปริงเป็นตัวช่วย ระบบคลัทช์บางชนิด ใช้สปริงขด บางชนิดใช้แผ่นสปริงไอดะเฟรม (โดยทั่วไป ปัจจุบันจะใช้แบบนี้) เป็นต้น การทำงาน ระบบคลัทช์ที่ใช้แผ่นสปริงไดอะเฟรม (ที่เรียกกันว่า "หวีคลัทช์") จะมีแบริ่งกดแผ่นไดอะเฟรม ซึ่งแบริ่ง จะติดตั้งอยู่ในแกนเพลาคลัทช์ และถูกควบคุมการเคลื่อนที่ โดยกระเดื่องกดแบริ่ง ที่มีปลายอีกข้างหนึ่ง ยื่นออกไปนอกห้องคลัทช์ เมื่อผู้ขับขี่ออกแรงเหยียบแป้นคลัทช์ที่อยู่ในห้องโดยสาร แรงเหยียบนี้ จะถูกถ่ายทอดออกไปสู่ กระเดื่องกดแบริ่ง ซึ่งมีแกนยื่นออกมานอกห้องคลัทช์ เมื่อกระเดื่องกดแบริ่งได้รับแรงมา ก็จะส่งแรงเข้าไปกดแบริ่ง ที่ติดตั้งอยู่บนแกน เพลาคลัทช์ และอยู่ติดกับบริเวณ ศูนย์กลางของแผ่นสปริงไดอะเฟรม ทำให้บริเวณจุดศูนย์กลาง ของแผ่น สปริงไดอะเฟรมยุบลงไป ในขณะที่บริเวณศูนย์กลางของแผ่นสปริงไดอะเฟรมยุบลงไป จะทำให้ขอบแผ่นสปริงไดอะเฟรมกระดกขึ้น ซึ่งปลายขอบแผ่นสปริงไดอะเฟรมนี้ จะยึดติดกับด้านหลังของแผ่นกดคลัทช์ การกระดกขึ้นของ ปลายขอบแผ่นสปริงไดอะเฟรม เสมือนหนึ่งไปดึงแผ่นกดคลัทช์ ให้ถอยหลังออกมา เมื่อเป็นเช่นนี้ แรงกดที่กระทำต่อแผ่นคลัทช์ ก็จะลดน้อยลง ยิ่งถ้าผู้ขับขี่เหยียบแป้นคลัทช์ ให้สุดระยะแป้นเหยียบคลัทช์ ก็จะยิ่งทำให้ แผ่นคลัทช์เป็นอิสระมากขึ้น จุดนี้เอง ที่จะเป็นประโยชน์ตอนเปลี่ยนเกียร์ เมื่อเปลี่ยนเกียร์เรียบร้อย ผู้ขับขี่ก็คืนเท้าออกมาจากแป้นเหยียบคลัทช์ สปริงไดอะเฟรม ก็จะดันแบริ่งบนเพลาคลัทช์ กลับคืนสู่ที่เดิม พร้อมทั้งแผ่นกดคลัทช์ ก็จะกลับคืนไปกดคลัทช์ดังเดิม ลืมๆ แก้ไข ใส่อ้างอิง ง๊าบ Link