เหตุผลที่พนักงานประจำควรจะต้องมีประกันชีวิต

การสนทนาใน 'สินค้าทั่วไป ไม่มีหมวดหมู่' เริ่มโดย suradet142, 30 ธันวาคม 2024

< Previous Thread | Next Thread >
  1. suradet142

    suradet142 New Member Member

    2
    0
    1
    พนักงานประจำ หรือ มนุษย์เงินเดือน มีแค่ประกันกลุ่ม หรือ ประกันสังคมบางคนคิดว่าเพียงพอแล้ว จะทำประกันชีวิตเพิ่มทำไม สุขภาพยังแข็งแรงดีแค่ดูแลตัวเองดีๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่ถ้าเราลาออกหรือเกษียณอายุแล้ว สวัสดิการทั้งหมดที่มีก็จบลงไปด้วย แต่ในเมื่อชีวิตยังต้องดำเนินต่อไป และความเจ็บป่วยก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ยิ่งในอนาคตที่เราเริ่มมีอายุร่างกายก็อ่อนแอลงโรคร้ายต่างๆ ก็อาจจะเป็นได้ง่าย
    การทำประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพ จึงเป็นตัวช่วยที่ดีและเราควรรีบวางแผนเอาไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อการรับมือกับปัญหาสุขภาพตั้งแต่วันที่ยังมีโอกาส เพราะหากเจ็บป่วยขึ้นมาเราก็ยังมีตัวช่วยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล

    [​IMG]

    ประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพ เพิ่มจากสวัสดิการที่มีอยู่
    เหตุผลที่พนักงานประจำ หรือ มนุษย์เงินเดือนอย่างเราควรทำประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพเพิ่มจากสวัสดิการ จะมีอะไรบ้างนั่น มาดูกันเลย
    1. ประกันชีวิต ประกันสุขภาพเป็นสวัสดิการที่เลือกเองได้
    สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทให้อาจไม่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลบางอย่าง เช่น ถ้าเราเป็นโรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน ก็จะสามารถเบิกได้บางส่วน นอกนั้นเราต้องเป็นคนที่ออกส่วนเกินของค่ารักษาพยาบาลเอง ดังนั้นการซื้อประกันชีวิต เสียชีวิตทุกกรณี หรือประกันสุขภาพนั้น เราสามารถเลือกได้เลยว่า ต้องการครอบคุมโรคใดบ้าง และได้รับวงเงินค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่เมื่อเราเกิดอุบัติเหตุ กรณีที่เราต้องนอนรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเป็นเวลานานประกันก็จะมีค่าชดเชยต่างๆ ให้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นภาระทางการเงินของครอบครัว
    2. เพิ่มทางเลือกในการวางแผนช่วงวัยเกษียณ
    สวัสดิการของบริษัทก็จะมีแค่ประกันกลุ่ม หรือประกันสังคม ถ้าเกษียณไปแล้วสวัสดิการเหล่านี้ก็จะจบลงไปด้วยเหมือนกัน และเมื่อเราเข้าสู่วัยเกษียณแล้วแน่นอนร่างกายคงไม่แข็งแรงเหมือนเก่า เจ็บป่วยแต่ละครั้งก็มีค่าใช้จ่ายสูง การมีประกันชีวิตและสุขภาพไว้ช่วยดูแลตั้งแต่เนิ่น ๆ การมีประกันโรคร้าย จึงถือเป็นการวางแผนรับมือค่ารักษาพยาบาลในอนาคตไว้อีกทาง โดยเฉพาะการเจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคร้ายแรง อย่างเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ที่มีค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาโดยไม่กระทบเงินออมยามเกษียณที่เราออมมาตลอดชีวิตอีกด้วย
    3. เพื่อการออมเงินในรูปแบบการประกันชีวิตในระยะยาว
    การออมเงินในรูปแบบการประกันชีวิตผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิต จะช่วยให้มีการออมในรูปแบบการประกันชีวิตอย่างมีระเบียบวินัยและมีความต่อเนื่อง ได้รับความคุ้มครองชีวิตพร้อมการออมเงินในรูปแบบการประกันชีวิตไปในตัว ช่วยให้เราอุ่นใจว่าในอนาคตว่าเราจะมีเงินเเละมีความคุ้มครองชีวิตของเราอยู่ อีกทั้งยังมีความแน่นอนของจำนวนเงินที่จะได้รับ ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เสียชีวิตผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินตามจำนวนเงินเอาประกันที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีในเรื่องของการกระจายความเสี่ยง

    [​IMG]
    4. ลดหย่อนภาษีได้
    การทำประกันชีวิตและสุขภาพไม่ใช่แค่ช่วยคุ้มครองแค่เรื่องค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย แต่ค่าเบี้ยประกันที่เราจ่ายไปนั้น สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย และการทำประกันนั้นสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 ส่วนคือ
    สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนแรก
    สำหรับเบี้ยประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ ที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และประกันสุขภาพ สามารถลดหย่อนรวมกันได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ซึ่งในกรณีใช้สิทธิส่วนนี้ไม่ถึง 100,000 บาท สามารถนำเบี้ยประกันแบบบำนาญมารวม เพื่อให้ครบ 100,000 บาทได้

    สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนที่สอง
    สำหรับเบี้ยประกันแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 15%ของรายได้ สูงสุด 200,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี

    มนุษย์เงินเดือนควรจะเริ่มต้นการวางแผนการเงินกับการรักษาพยาบาลเพราะบางทีการมีประกันกลุ่ม หรือประกันสังคมอาจไม่เพียงพอ ทางที่ดีควรทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพควบคู่กันไปด้วย หากใครกำลังสนใจทำประกันเราขอแนะนำประกันดีๆ จาก ไทยประกันชีวิต ที่มีให้เลือกทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ที่สำคัญสามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว

    เลือกความคุ้มครองของประกันได้ตามงบประมาณที่เราพอใจ สามารถปรับรูปแบบตามความต้องการของเราได้ และความคุ้มครองจะเริ่มต้นทันทีที่ซื้อหลังจากได้รับอีเมลยืนยันกรมธรรม์ เพียงแค่นี้ เราก็จะมีตัวช่วยในการใช้ชีวิตให้เราอุ่นใจมากยิ่งขึ้น
     
< Previous Thread | Next Thread >

ผู้ใช้งานที่ได้อ่านหัวข้อนี้ (ทั้งหมด: 1)

แบ่งปันหน้านี้