[Free] คลายกังวลใจ ด้วย 5 วิธีขอสินเชื่อให้ผ่าน ฉลุย

การสนทนาใน 'สินค้าทั่วไป ไม่มีหมวดหมู่' เริ่มโดย waanbotan, 4 ตุลาคม 2023

< Previous Thread | Next Thread >
  1. waanbotan

    waanbotan Guest

    0
    0
    0
    ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์เพื่อการลงทุนทางธุรกิจ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซ่อมแซมบ้าน หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาและค่ารักษาพยาบาล เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่โดยมากแล้วผู้คนนิยมขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งการขอสินเชื่อแต่ละครั้งผู้ยื่นกู้ต้องจัดเตรียมเอกสารมากมาย พร้อมกับคำถามในใจว่าการยื่นกู้จะได้รับการอนุมัติหรือไม่ หาก ขอสินเชื่อไม่ผ่านทำไงดี ไม่มีสลิปเงินเดือนจะขอกู้ได้ไหม หมดความกังวลใจด้วย 5 วิธีขอสินเชื่อให้ผ่าน ฉลุย


    ประวัติการเงินดี มีสิทธิ์ได้รับการอนุมัติสูง

    เมื่อมีแพลนที่จะขอสินเชื่อ สิ่งแรกที่ควรทำคือตรวจสอบประวัติการเงินของตนเองโดยเฉพาะเครดิตบูโร หากพบว่าติดแบล็กลิสต์หรือมีประวัติค้างชำระควรต้องจัดการปัญหาให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วค่อยยื่นกู้


    เคลียร์หนี้เก่าให้เบาบาง เพื่อขยับทางให้หนี้ใหม่

    การขอสินเชื่อ ให้ผ่านแบบง่าย ๆ นั้นผู้ยื่นกู้ควรมีภาระหนี้สินไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน หากเกินกว่านี้สถาบันการเงินจะมองว่ามีโอกาสในการผิดชำระหนี้สูงจึงมักไม่ค่อยปล่อยอนุมัติ ดังนั้นถ้าสำรวจตนเองแล้วพบว่าต้องจ่ายทั้งค่าบ้าน ค่ารถ ค่าบัตรเครดิต ผ่อนของ หรืออื่น ฮวงจุ้ยร้านค้า ๆ รวมแล้วเกินกว่า 30% ควรต้องวางแผนจัดการเรื่องเงินใหม่ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและพยายามเคลียร์หนี้ให้เหลือยอดน้อยที่สุดแล้วค่อยยื่นกู้


    เบิกทางยื่นกู้ให้ดีเทคนิคการขอสินเชื่อให้ผ่าน ต้องมีเอกสารพร้อม

    วิธีขอสินเชื่อธรุกิจรายย่อยให้ผ่าน อีกประการคือเอกสารต่าง ๆ ต้องพร้อมก่อนยื่นกู้ ซึ่งนอกจากทำให้มีโอกาสได้รับการอนุมัติสูงแล้วยังไม่เสียเวลาในการดำเนินการด้วย โดยเอกสารที่ต้องใช้มี 3 กลุ่ม ได้แก่

    1. เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, บัตรข้าราชการ ทั้งของตนและคู่สมรส (ถ้ามี)

    2. เอกสารค้ำประกัน เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ สำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย หลักฐานการจ่ายชำระเงินดาวน์ หากขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจต้องเตรียมแผนธุรกิจมายื่นด้วย

    3. เอกสารแสดงรายได้
    • สำหรับมนุษย์เงินเดือนหรือผู้มีรายได้ประจำไม่ค่อยจะมีปัญหาเนื่องจากมีสลิปเงินเดือน แต่ควรจะมีเงินเหลือติดบัญชีอยู่บ้างไม่ใช่ว่าพอเงินเดือนโอนเข้าแล้วถอนออกทันทีไม่มีเหลือ โดยเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองการทำงาน สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน และสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

    • สำหรับเจ้าของกิจการหรือประกอบธุรกิจส่วนตัวต้องใช้เอกสารสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน ใบทะเบียนการค้า สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้และผู้กู้ร่วม สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ทั้งในนามบุคคลและกิจการ) ซึ่งกรณีนี้การเดินบัญชีถือเป็นเรื่องสำคัญต้องมีเงินเข้าสม่ำเสมอทุกเดือนเพื่อให้ธนาคารเห็นว่ามีรายได้มากพอที่จะชำระหนี้ได้

    • สำหรับผู้ที่ทำงานอิสระจำเป็นต้องมีเอกสารทางการเงินแทนสลิปเงินเดือนเพื่อยืนยันกับทางธนาคารว่าตลอด 6 - 12 เดือน ที่ผ่านมามีรายรับเข้าตลอด

    ขอสินเชื่อให้ดูดี ไม่ควรยื่นขอถี่จนเกินไป

    ขอสินเชื่อไม่ผ่านทำไงดี ? บางคนเลือกแก้ปัญหาด้วยการยื่นขอสินเชื่อถี่ ๆ คิดว่าไม่เป็นอะไรสักวันคงได้รับการอนุมัติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการขอสินเชื่อบ่อย ๆ สถาบันการเงินจะมองว่าเรากำลังร้อนเงินและส่งผลต่อเนื่องไปถึงการขอสินเชื่อในครั้งต่อไป เนื่องจากเมื่อเราสมัครขอสินเชื่อข้อมูลทุกอย่างที่ยื่นจะถูกดึงเข้าระบบของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ผู้กู้สามารถสอบถามได้ว่าติดขัดปัญหาอะไร แล้วค่อยหาทาง แก้ไขหรือเว้นระยะห่างสักประมาณ 1 เดือน แล้วค่อยเดินเรื่องใหม่ จำไว้ว่าการยื่นขอสินเชื่อบ่อยไม่ได้อยู่ในเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติของธนาคาร


    อนุมัติง่ายหากเลือกสินเชื่อที่เหมาะกับวัตถุประสงค์และความสามารถในการชำระหนี้

    สินเชื่อแต่ละประเภทถูกกำหนดวัตถุประสงค์การใช้งานแตกต่างกัน ทั้งยังมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกันด้วย เช่น สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน เป็นต้น ซึ่ง การขอสินเชื่อ ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้คืน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ธนาคารจะอนุมัติวงเงินให้ไม่เกิน 40% ของรายได้ นั่นหมายความว่าจำนวนเงินกู้ที่ธนาคารจะอนุมัติให้นั้นจะมียอดผ่อนชำระไม่เกิน 40% ของรายได้ในแต่ละเดือน


    นี่คือ 5การขอสินเชื่อเพื่อให้อนุมัติง่ายและไวขึ้น อย่างไรก็ตามในการยื่นกู้นั้นผู้กู้ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติของแต่ละธนาคารด้วยเพราะบางแห่งกู้ยาก บางแห่งอาจกู้ง่าย บางแห่งดอกเบี้ยสูง บางแห่งดอกเบี้ยต่ำ ที่สำคัญต้องไม่ใจร้อน ควรศึกษาและวางแผนให้ดีก่อนยื่นขอสินเชื่อในแต่ละครั้ง
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้