เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการกู้ร่วมซื้อบ้าน ให้ผ่านได้ง่าย

การสนทนาใน 'สินค้าทั่วไป ไม่มีหมวดหมู่' เริ่มโดย waanbotan_, 25 สิงหาคม 2023

< Previous Thread | Next Thread >
  1. waanbotan_

    waanbotan_ New Member Member

    0
    0
    0
    เมื่อเรามีคนรัก หรือมีครอบครัวที่อยากจะมีบ้าน มีที่อยู่อาศัยด้วยกัน การ กู้ร่วมซื้อบ้าน คือ การลงนามสัญญากู้เงินซื้อบ้านร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้สถาบันการเงินเห็นว่าผู้ขอ กู้ร่วม มีความสามารถทางการเงินในการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามสัญญา โดยที่ผู้กู้คนเดียวอาจมีฐานรายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีหลักฐานทางการเงินครบถ้วน ไม่น่าเชื่อถือ หรือมีประวัติไม่ดี


    ข้อดีของการกู้ร่วม

    1. ช่วยให้สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

    2. มีโอกาสได้รับวงเงินสินเชื่อที่มากขึ้น

    3. มีผู้ร่วมรับผิดชอบการชำระหนี้


    โดยข้อกำหนดจะต้องญาติที่มีนามสกุลเดียวกัน เช่น เป็นคู่สมรส พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือลูก กรณีที่ผู้กู้ร่วมมีการเปลี่ยนนามสกุล ต้องแสดงหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน เช่น สูติบัตร หรือทะเบียนบ้าน เป็นต้น หรือกรณีที่คู่สมรสไม่ได้จดทะเบียน ก็สามารถแสดงหลักฐานการสมรส เช่น รูปภาพงานแต่งงาน หนังสือรับรองบุตรได้ เป็นต้น


    นอกจากผู้ กู้ร่วม ต้องมีนามสกุลเดียวกันกับผู้กู้แล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ด้วย

    1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย

    2. อายุ 20 ปีขึ้นไป

    3. มีรายได้เพียงพอ

    4. มีความสามารถในการชำระหนี้ ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้


    โดยสำหรับนอกจากข้อดีของ การกู้ร่วมกู้สินเชื่อทำบ้าน มีทั้ง

    1. การกู้ร่วมไม่ใช่การค้ำประกัน เนื่องจากบุคคลค้ำประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้เมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้ และผู้ค้ำประกันไม่จำเป็นต้องเป็นญาติกับผู้กู้

    2. การมีภาระหนี้ร่วมกัน หมายถึงการรับผิดชอบชำระหนี้ร่วมกัน ไม่ใช่การเป็นหนี้คนละครึ่ง ดังนั้นเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้ สถาบันการเงินสามารถเรียกชำระหนี้จากผู้กู้คนใดคนหนึ่งได้

    3. การส่งผลต่อการกู้เงินครั้งต่อไป กรณีที่ผู้ร่วมกู้คนใดคนหนึ่งต้องการกู้เงินซื้อบ้านหลังใหม่ จะถือว่ายังมีภาระหนี้ของบ้านหลังเดิมอยู่ ซึ่งมีผลการกับพิจารณาสินเชื่อ

    4. การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกู้ร่วมสามารถระบุผู้รับกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลเดียวได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อของผู้ร่วมกู้ทุกคน

    5. การส่งผลต่อการขายหรือการโอน กรณีที่ผู้กู้ร่วมเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้าน การขายหรือการโอนบ้านต้องได้รับความยินยอมจากทุกคน กรณีคนใดคนหนึ่งไม่ยินยอมก็ไม่สามารถทำธุรกรรมได้

    6. สิทธิการลดหย่อนภาษี จะหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม โดยไม่สนใจว่าผู้ร่วมกู้ชำระหนี้คนละเท่าไหร่

    7. เมื่อผู้กู้ร่วมไม่สามารถกู้ร่วมต่อได้ กรณีที่ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต ธนาคารจะพิจารณาให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ชำระหนี้ร่วมกัน แต่ในกรณีที่ผู้กู้ร่วมต้องการถอนการกู้ร่วม ธนาคารจะพิจารณาว่าผู้กู้ที่เหลือสามารถชำระหนี้ต่อได้หรือไม่ และอาจพิจารณารีไฟแนนซ์ หรือหากไม่สามารถชำระหนี้ได้จะอาจต้องขายบ้าน


    แต่ข้อสำคัญเมื่อตัดสินใจกู้ร่วม กรุงไทย เพื่อซื้อบ้านแล้ว ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้

    1. เอกสารส่วนบุคคล ได้แก่ บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบมรณบัตร เอกสารเปลี่ยนชื่อนามสกุล และเอกสารอื่นเพื่อยืนยันสถานะทางครอบครัว

    2. เอกสารทางการเงิน ได้แก่ หนังสือรับรองเงินเดือน สลิปเงินเดือน สมุดบัญชีธนาคาร รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาทะเบียนการค้า บัญชีเงินฝาก รายการเดินบัญชีเงินฝากกระแสรายวันย้อนหลัง 6 -12 เดือน หลักฐานรายได้และสินทรัพย์ กรณีประกอบอาชีพอิสระหรือธุรกิจส่วนตัว

    3. เอกสารหลักประกัน ได้แก่ สัญญาจะซื้อจะขาย สำเนาโฉนด หรือสำเนากรรมสิทธิ์ห้องชุด

    เอกสารสำหรับรีไฟแนนซ์บ้าน อาจมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงควรสอบถามธนาคารทุกครั้งเมื่อต้องการยื่นกู้ร่วม


    การกู้ร่วมซื้อบ้าน เป็นวิธีที่ช่วยให้ได้สินเชื่อง่ายขึ้นและสามารถซื้อบ้านซื้อคอนโด ต้องมีเงินเท่าไหร่ กรุงไทย แนะว่าควรไตร่ตรองให้รอบคอบเนื่องจากเงื่อนไขของการกู้ร่วมที่ถือว่าเป็นภาระหนี้ร่วมกัน เมื่อผู้กู้ร่วมคนใดคนหนึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็เป็นหน้าที่ของคนที่เหลือที่ต้องรับภาระชำระหนี้เองต่อไป สำหรับใครที่สนใจเกี่ยวกับธุรกรรมสามารถดูข้อมูลเอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน ที่

    https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1553 หรือกู้เงินทำบ้าน ที่
    https://krungthai.com/th/personal/loan/housing-loan/16
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้