Continental เปิดตัวระบบเรดาร์ระยะใกล้รุ่นใหม่

การสนทนาใน 'News' เริ่มโดย News, 10 กรกฎาคม 2019

โดย News เมื่อ 10 กรกฎาคม 2019 เมื่อ 10:08
  1. News

    News Member Super Moderator

    982
    3
    18
    [​IMG]
    ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินขณะกำลังเลี้ยวขวา ช่วยเหลือผู้ขับขี่ในสถานการณ์ที่อาจเกิดความสับสนในการเลี้ยวขวา และมองไม่เห็นผู้ใช้ถนนทางด้านหลัง

    คอนติเนนทอล ผู้พัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะสําหรับผู้ใช้ยานยนต์เปิดตัวระบบเรดาร์ระยะใกล้รุ่นใหม่ที่มีการพัฒนาระบบตรวจจับสภาพแวดล้อมรอบยานยนต์ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจากปัจจุบันที่เคยใช้เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ 24 GHz สำหรับติดตั้งในยานยนต์เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ 77 GHz เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเซ็นเซอร์เรดาร์ให้สามารถตรวจจับสภาพแวดล้อมด้วยความละเอียดที่สูงขึ้นและเพิ่มระดับความแม่นยำมากยิ่งขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ ดังนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวจึงสามารถตรวจจับผู้ใช้ถนน เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้เดินทางเท้า นักปั่นจักรยาน หรือผู้ที่ยืนรอรถโดยสารสาธารณะ รวมถึงสิ่งกีดขวางต่างๆ บนท้องถนนอีกทั้งยังสามารถตรวจจับทิศทางการเคลื่อนไหวและความเร็วของยานยนต์ได้แม่นยำและละเอียดยิ่งขึ้นกว่าเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ 24 GHz ที่ถูกใช้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นชิ้นส่วนในระบบเรดาร์ระยะใกล้รุ่นใหม่อย่างเสาอากาศ (Antenna) และไมโครชิพคลื่นความถี่วิทยุ (Radio-Frequency Chip) จึงถูกติดตั้งไว้ในพื้นที่ที่เล็กลง ทำให้เซ็นเซอร์มีขนาดกะทัดรัดยิ่งขึ้น และสามารถติดตั้งในยานยนต์ได้ง่ายยิ่งขึ้นแม้มีพื้นที่ที่จำกัด

    [​IMG]
    ระบบเรดาร์ระยะใกล้รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ 77 GHz สามารถตรวจจับทิศทางการเคลื่อนไหว และความเร็วของยานยนต์ได้แม่นยำ และละเอียดยิ่งขึ้นกว่าเทคโนโลยีรุ่นก่อนหน้านี้

    หนึ่งในระบบเรดาร์รุ่นใหม่นี้สามารถติดตั้งได้รอบด้านยานยนต์ทั้งสี่ด้านเพื่อทำให้สามารถตรวจจับสภาพแวดล้อมภายนอกได้แบบ 360 องศา ซึ่งระบบเรดาร์ที่มีการใช้เซ็นเซอร์เช่นนี้จะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูงอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ระบบตรวจจับยานพาหนะที่อยู่ในจุดอับสายตาทางด้านซ้ายและขวา (Blind Spot) ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ในการเปลี่ยนช่องจราจร (Lane Change Assist) ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินขณะมียานยนต์วิ่งมาทางสี่แยกหรือผู้ที่กำลังเดินข้ามทางม้าลาย (Intersection and Emergency Brake Assist systems) และระบบแจ้งเตือนผู้ขับขี่ขณะกำลังเปิดประตูลงออกจากยานยนต์ว่าไม่มีนักปั่นจักรยานหรือยานพาหนะอื่นๆ กำลังเข้ามาใกล้ทางด้านหลัง

    [​IMG]

    เทคโนโลยีฟังก์ชั่นต่างๆ เหล่านี้ยังรวมถึงระบบช่วยเบรกฉุกเฉินขณะกำลังเลี้ยวขวา (Right-Turn Assist System) สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่เมื่อผู้ขับขี่อยู่ในสถานการณ์ที่อาจเกิดความสับสนขณะกำลังเลี้ยวขวาหรือไม่เห็นว่ากำลังมีนักปั่นจักรยานเข้ามาใกล้ด้านหลังยานยนต์ระบบเรดาร์จะส่งสัญญาณไปยังเบรกเพื่อทำให้ยานยนต์หยุดก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุการชนขึ้น ซึ่งฟังก์ชั่นความปลอดภัยดังกล่าวยังปกป้องผู้เดินทางเท้าและผู้ขับขี่สกู๊ตเตอร์ด้วยเช่นกัน

    ด้วยระบบการช่วยเหลือผู้ขับขี่ที่กล่าวถึงคอนติเนนทอลยังคงพัฒนาและนำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ อีกมากมายที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ คือ การลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์หรือที่เรียกว่า "Vision Zero" นอกจากนี้เทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุดยังผ่านมาตรฐานทางด้านความปลอดภัยขององค์กรทดสอบการชนของรถยนต์แห่งยุโรป (European New Car Assessment Programme หรือ EURO NCAP) ที่จะประกาศใช้ในปี 2022 เป็นต้นไป คือการป้องกันอุบัติเหตุหรือการเสียชีวิตของผู้เดินทางเท้าและนักปั่นจักรยานบนท้องถนน

    [​IMG]

    จากการวิเคราะห์และการศึกษาวิจัยของคอนติเนนทอลทางด้านการเกิดอุบัติเหตุจราจร เทคโนโลยีระบบช่วยเบรกฉุกเฉินขณะกำลังเลี้ยวขวาสำหรับรถโดยสารสาธารณะสามารถช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในประเทศเยอรมนีได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของอุบัติเหตุทั้งหมดที่นักปั่นจักรยานเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส และในประเทศญี่ปุ่น 7 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงในประเทศสหรัฐอเมริกา 8.5 เปอร์เซ็นต์ของอุบัติเหตุทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนักปั่นจักรยาน และอีก 6 เปอร์เซ็นต์ที่นักปั่นจักรยานเกิดอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย อนึ่งการติดตั้งระบบช่วยเบรกฉุกเฉินขณะกำลังเลี้ยวขวาในรถบรรทุกจะมีผลบังคับใช้ทั่วทั้งสหภาพยุโรปสำหรับยานยนต์รุ่นใหม่ทุกรุ่นตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป เนื่องด้วยอัตราตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตที่แสดงให้เห็นว่าทางสหภาพยุโรปจะต้องออกกฎข้อบังคับดังกล่าวโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ในประเทศเยอรมนีได้มีการติดตั้งระบบช่วยเบรกฉุกเฉินขณะกำลังเลี้ยวขวาในรถบรรทุกและสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดที่ทำให้นักปั่นจักรยานเสียชีวิตได้ถึง 36 เปอร์เซ็นต์

    สุดท้ายนี้เทคโนโลยีระบบเรดาร์ระยะใกล้รุ่นใหม่ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ 77 GHz ที่สามารถตรวจจับสภาพแวดล้อมรอบยานยนต์ด้วยความละเอียดสูงและสมบูรณ์แบบ จะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูงอื่นๆ ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบขับขี่อัตโนมัติและระบบขับขี่อิสระอย่างระบบช่วยดึงกลับเข้าเลนแบบฉุกเฉิน (Emergency Steer Assist) ที่สามารถทำงานได้ด้วยการรับข้อมูลพื้นฐานจากระบบเรดาร์รุ่นใหม่ในกรณีที่อาจเกิดสถานการณ์ที่ต้องหักลบหรือเปลี่ยนเลนอย่างกะทันหัน ระบบความปลอดภัยดังกล่าวจะช่วยบังคับพวงมาลัยยานยนต์ให้เบี่ยงออกจากพื้นที่ที่อาจเสี่ยงต่อการชนเมื่อตรวจจับว่ามียานยนต์หรือผู้ใช้ถนนกำลังเข้ามาใกล้ รวมถึงยังสามารถปรับระดับความเร็วของยานยนต์ให้คงที่ ซึ่งระบบความปลอดภัยนี้เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของการลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์
     

ความคิดเห็น

การสนทนาใน 'News' เริ่มโดย News, 10 กรกฎาคม 2019

แบ่งปันหน้านี้