ด้วยการทุ่มงบประมาณลงทุนสูงถึง 6,000 ล้านยูโร พร้อมด้วยบุคลากรคุณภาพกว่า 1,200 ตำแหน่ง ทั้งหมดนี้เพื่อการถือกำเนิดของปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) เท่านั้น พร้อมกับการมุ่งมั่นปรับปรุงพัฒนาสายการ ผลิตใหม่ Porsche Production 4.0 ผสานกับแคมเปญเผยแพร่องค์ความรู้ให้ กระจายทั่วถึงทุกภาคส่วนภายในองค์กร: ตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นต่อพันธกิจการสร้างสรรค์อนาคตของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า บริษัทผู้ผลิตยนตรกรรมสปอร์ต ระดับแนวหน้าของโลก กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างยิ่งใหญ่ และนี่คืออีกหนึ่งครั้งที่หน้าประวัติศาสตร์วงการ ยานยนต์จะต้องจารึกเอาไว้
"เราคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของรถยนต์ปอร์เช่รุ่นใหม่ที่วางจำหน่าย จะเป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อน ด้วยพลังงานไฟฟ้า" ข้างต้นคำกล่าวของ Lutz Meschke รองประธานและสมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้รับผิดชอบกำกับ ดูแลส่วนงานการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศของปอร์เช่ งบประมาณดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการลงทุนในภาคปฏิบัติ อีกด้วย อาทิ การพัฒนาหน่วยงานและปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต นอกจากนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในแง่ของผลกำไรขั้นต้นซึ่งจะต้องทำให้ได้อย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์นั้นยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด "นอกเหนือจากกระบวนการผลิตที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพ ในส่วนของรายรับจากผลิตภัณฑ์และบริการด้านดิจิทัลควร จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากความสำเร็จของธุรกิจหลักของเรา" Meschke กล่าวเสริม
อีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงถึงศักยภาพระดับสูงของกระบวนการผลิตรถยนต์และการประยุกต์ใช้ทรัพยากรในสายการผลิตปอร์เช่ ไทคานน์ ใหม่ (The new Porsche Taycan) นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า "factory within a factory" ในโรงงานหลักที่ Zuffenhausen ปอร์เช่เริ่มส่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงการยกระดับตนเองออกจากขั้นตอนการผลิตรูปแบบเดิม Albrecht Reimold สมาชิกคณะกรรมการบริหารผู้ดูแลรับผิดชอบสายการผลิตและโลจิสติกส์ อธิบายว่า: "ด้วยการนำกระบวน การผลิตแบบยืดหยุ่นมาปรับใช้งาน ปอร์เช่จะกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ใช้ระบบการขนส่งของสายงานแบบ driverless transport systems อย่างต่อเนื่องในสายพานการผลิต" สิ่งนี้จะช่วยให้เกิดการผสมผสานข้อได้เปรียบนานับ ประการระหว่างวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมอันรวดเร็วและวิธีการผลิตแบบยืดหยุ่นที่เต็มไปด้วยความอเนกประสงค์ ยิ่งไปกว่านั้นวิธีการดังกล่าวยังช่วยเพิ่มจำนวนรอบในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น โดยที่ใช้พื้นที่ในการผลิตเท่าเดิมด้วยแนวคิด ที่ยึดตามหลัก "smart, green, lean" ปอร์เช่ยังสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรสำหรับการผลิตได้อย่างดี เยี่ยมอีกด้วย กระบวนการผลิตปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) นั้น ไม่ก่อให้เกิดมลพิษจากสารประกอบคาร์บอน สายการผลิต แห่งนี้ตั้งเป้าหมายเพื่อการเป็นโรงงานที่ปราศจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยสมบูรณ์ในอนาคต การผลิตปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) ช่วยสร้างตำแหน่งงานใหม่กว่า 1,200 งานให้แก่โรงงาน Zuffenhausen "ปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) นับเป็นหนึ่งในโครงการที่สร้างสรรค์ตำแหน่งงานมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของบริษัท" Andreas Haffner สมาชิกคณะกรรมการบริหารผู้ดูแลรับผิดชอบส่วนงานทรัพยากรบุคคลและพัฒนาสังคม กล่าวย้ำความสำคัญ พนักงานใหม่ทุกคนจะไม่เพียงทำหน้าที่ผลิต ไทคานน์ (Taycan) เท่านั้น; แต่พวกเขายังรับบทบาท ในการผลิตรถสปอร์ต 2 ประตูรุ่นอื่นๆ อีกด้วย เป้าประสงค์หลักของปอร์เช่สำหรับรองรับการมาถึงของไทคานน์ (Taycan) คือการสร้างสรรค์ทีมงานที่เต็มไปด้วยส่วนผสมอันลงตัวระหว่างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการผลิตรถสปอร์ตกับบุคลากรรุ่นใหม่ การพัฒนาดังกล่าวประกอบด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมพิเศษสำหรับบุคคลจำนวนมากซึ่งจะเกิดขึ้น ได้ด้วยการเนรมิตโถงของโรงงานผลิต Zuffenhausen ให้กลายเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์เพื่อการเรียน รู้ในรูปแบบดิจิทัลมากกว่า 1,200 ช่องทางการฝึกอบรม และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหาหลักสูตร ได้โดยอิสระและตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรแต่ละคน นอกจากนี้สำหรับพนักงานปัจจุบันสามารถเข้าร่วม การอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งของยุคสมัยแห่งยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าจากปอร์เช่
ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดขององค์ความรู้ที่มีการเคลื่อนไหวและถ่ายทอดระหว่างสายงานมอเตอร์สปอร์ตและสายการผลิตรถยนต์ปกตินั้นจำเป็นต้องได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รถแข่งปอร์เช่ 919 ไฮบริด (Porsche 919 Hybrid) ผู้พิชิตชัยชนะจากการแข่งขัน Le Mans มาแล้วหลายครั้ง ทั้งนี้นวัตกรรมเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนด้วยแรง ดันไฟฟ้า 800 โวลต์ ที่ได้รับการติดตั้งใน ไทคานน์ (Taycan) คือสิ่งที่ส่งต่อมาจากรถแข่งพลังแรงคันดังกล่าว ระบบขับเคลื่อนสุดล้ำที่เป็นหัวใจหลักของปอร์เช่ 919 (Porsche 919) มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดบรรทัดฐานให้ กับแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าในรถยนต์: ไม่ว่าจะเป็นชุดแบตเตอรี่ การจัดวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึงปริมาณ ความจุและกระบวนการชาร์จพลังงาน ทั้งหมดข้างต้นล้วนแล้วแต่ผ่านการค้นคว้า วิจัย พัฒนาอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ เหมาะสมกับศักยภาพระดับสูงของระบบ 800 โวลต์ ปอร์เช่ผลักดันทุกความเป็นไปได้โดยมี จุดมุ่งหมายในการก้าว ข้ามขีดจำกัดเดิมในด้านเทคนิคให้หมดสิ้นไป โดยแบตเตอรี่แบบ liquid-cooled lithium-ion เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรม ที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้สามารถสนองตอบต่อเงื่อนไขของการประลองความเร็วบนสนามแข่งขันอันสุดแสนทรหด ปอร์เช่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีมากมายมาเป็นระยะเวลายาวนานจนกระทั่งประสบความสำเร็จด้วยการสร้างอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่มีความจุมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สำหรับ ไทคานน์ (Taycan) ผลจากความล้ำหน้า ของสถาปัตยกรรม 800 โวลต์ คือเครื่องยืนยันถึงประสิทธิภาพชั้นเลิศในการชาร์จ พลังงานย้อนกลับมายังแบตเตอรี่ lithium-ion ด้วยระยะเวลาเพียง 4 นาที สามารถชาร์จพลังงานเพียงพอสำหรับการเดินทางไกลถึง 100 กิโลเมตร (ทดสอบตาม มาตรฐาน NEDC) การถ่ายทอดข้อมูลความรู้ในลักษณะดังกล่าวจะได้รับการยกระดับขึ้นไปอีกขั้น หลังจากปอร์เช่เข้าร่วม การแข่งขันในรายการ Formula E ตั้งแต่ฤดูกาล 2019/2020
กระบวนการ Quick charging มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบชาร์จพลังงานสำหรับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า นั่นคือเหตุผลที่โครงการปอร์เช่ E-Performance ตัดสินใจลงมือพัฒนาในหลากหลายจุด ครอบคลุมทั้งระบบสาธารณูปโภค ที่สามารถตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาการใช้งานทั้งภายในที่พักอาศัยและระหว่างการเดินทาง ด้วยปริมาณความจุพลังงาน ไฟฟ้าสูงสุดกว่า 22 กิโลวัตต์ ระบบ Porsche Mobile Charger Connect จึงถึงพร้อมด้วยความรวดเร็ว สะดวกสบาย และเมื่อทำการชาร์จพลังงานให้แก่ ไทคานน์ (Taycan) ในยามจอดข้ามคืนที่บ้าน ผู้ใช้งานสามารถทำการชาร์จผ่าน ระบบเทคโนโลยีเหนี่ยวนำ หรือ inductive technology ได้อีกด้วย ในส่วนของการจับมือทำธุรกิจกับพันธมิตรชั้นนำอย่าง Ionity - ซึ่งร่วมดำเนินงานกับ BMW, Daimler และ Ford - ปอร์เช่จะก่อสร้างและเปิดให้บริการสถานีชาร์จพลังงาน ไฟฟ้ากำลังสูงซึ่งติดตั้งหัวจ่ายความจุ 350 กิโลวัตต์ กว่า 400 แห่งทั่วภาคพื้นยุโรปภายในสิ้นปี 2019 ในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา เครือ VW Group และบริษัทผู้ให้บริการด้านสถานีพลังงานชั้นนำ Electrify America จะเริ่มทำการติดตั้งจุดชาร์จพลังงานไฟฟ้า (ความจุสูงสุด 350 กิโลวัตต์) ในกว่า 300 สถานีตลอดเส้นทางมอเตอร์เวย์ ตั้งแต่ปี 2019 นอกจากนี้ปอร์เช่ยังมีแผนติดตั้งจุดบริการชาร์จพลังงานแบบ AC เพิ่มเติมมากกว่า 2000 แห่ง อาทิ ภายในบริเวณโรงแรมต่างๆ ในกว่า 20 ประเทศ ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับกำหนดการเปิดตัวของปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการเข้าถึงโครงข่ายการชาร์จพลังงานผ่านบริการ Porsche charging service อย่างทั่วถึง โดยโครงข่ายดังกล่าวจะรับบทบาทใน การตอบสนองการใช้งานสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าของ กลุ่มลูกค้าทั่วทั้งทวีปยุโรป และเป็นการร่วมกันบริหารจัดการจากหลากหลายผู้ให้บริการ ทั้งนี้ปอร์เช่จะรับหน้าที่เป็นศูนย์ กลางในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยของพลังขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าอย่างแท้จริงกับ ปอร์เช่ ไทคานน์ ใหม่ (The new Porsche Taycan)
การสนทนาใน 'News' เริ่มโดย News, 25 ตุลาคม 2018
ความคิดเห็น
การสนทนาใน 'News' เริ่มโดย News, 25 ตุลาคม 2018