....ตอน..ช่วงล้าง..ช่วงล่าง.... ...ยางหุ้มเพลา ... ..ยางหุ้มเพลามีหน้าที่หลักคือ..เป็นตัวกักเก็บจารบีที่มีหน้าที่หล่อลื่นลูกปืนเพลาเพลาให้ทำงานได้โดยไม่มีการสึกหรอ...หรือสึกหรอน้อยที่สุด ภายใต้การหล่อลื่นโดยจารบี...หากขาดจารบีหล่อลื่นลูกปืนเพลาก็จะสึกหรออย่างรวดเร็ว...ฉนั้นอย่างหุ้มเพลาจึงมีบทบาทสำคัญในการรับษาอายุการใช้งานของเพลาขับ ...การดูแลรักษา ... ..การดูแลรักษา ผู้ใช้รถไม่จำเป็นต้องดูแลลูกปืนเพลา..หากแต่ต้องดูแลและหมั่นตรวจเช็คยางหุ้มเพลาอย่างน้อยเดือนละครั้ง ...วิธีสังเกต... ..สังเกต รอยเปื้อนที่เกิดจากการกระเด็นของจาระบีเพลา..จากการหมุนของเพลา...รอยดังกล่าวเป็นร่องรอยของจาระบีเหลวๆ จึงสังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจน..บริเวณเกียร์..ปีกนก..โช๊คอัพ..ล้อด้านใน ..รวมถึงคาน หากพบรอยดังกล่าว..จะต้องเปลี่ยนยางหุ้มเพลาอย่างรวดเร็ว เพลาขับเคลื่อนจะอยู่กับคุณไปอีกนาน... ...เพลาขับเคลื่อน... ..เพลาขับเคลื่อนมีหน้าที่รับและส่งต่อพลังงานกล..จากเกียร์ไปสู่ล้อในลักษณะการหมุน..ฉนั้นเพลาขับเคลื่อนต้องทำงานหนักมากที่สุดตัวหนึ่ง..จึงเกิดการสึกหรอได้ง่ายมากหากขาดซึ่งการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธี ดังที่กล่าวมาแล้ว...หากได้รับการดูแลอย่างดี...เพลาขับจะมีอายุการใช้งานถึง 300,000 กม. หรือมากกว่านั้น... ...วิธีสังเกต ... ..เพลาขับจะแบ่งชิ้นส่วนสำคัญออกเป็นสามอย่างด้วยกันคือ.. ...1 เพลาขับด้านใน (in board drive shaft)... ...การสึกหรอและการสังเกต... ..เพลาขับด้านใน..มีลักษณะการทำงานไม่ยุ่งยากมากนัก คือจะรับแรงบิดที่ส่งผ่านมาจากเกียร์ การส่งกำลัง..ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งการเสียดสีมากนักจะมีการเปลี่ยนแปลงก็แต่แนวนอนไม่เกิน1นิ้ว(รถใช้งานปกติ) ฉนั้นการสึกหรอจึงเกิดขึ้นเฉพาะที่..ระหว่างลูกปืนและกระโหลกเพลา เท่านั้น... ...การสังเกตุ... ..ขณะที่เร่งความเร็วอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแรงบิดมากในระบบส่งกำลัง..จะเกิดอาการสั่นสะท้านทั่วบริเวณรถทำให้รู้สึกได้...หากสังเกตุให้ดี ลักษณะจะเหมื่อนอาการสั่นที่เกิดจากล้อและยางที่ไม่ได้ถ่วงสมดุลย์.. หากแต่การสั่นที่เกิดจากเพลาขับด้านใน จะหยุดสั่นทันที..หากไม่มีแรงบิดที่ออกมาจากเกียร์..ก็คือการ ถอนคันเร่ง..ซึ่งจะแตกต่างจากการสั่นจากล้อที่จะยังคงสั่นไปตลอดจนกว่าจะถึงความเร็วหนึ่งจะหยุดไปเ ...เรื่องการสังเกตุอาการสั่นของเพลาขับด้านในมีน้อยคนที่จะรู้...แม้กระทั่งร้านอย่างหรือร้านตั่งศูนย์ถ่วงล้อเอง..ก็มักจะงงและไม่เข้าใจกับอาการนี้ ส่วนใหญ่มักจะมุ่งประเด็นไปที่ล้อและยาง..ลูกปืนเพลา..ลูกหมาก..หรือแม้กระทั่งจานเบรด... ...2 เพลาขับเคลื่อน (drive shaft)... ..เพลาขับเคลื่อนเมื่อถูกแยกส่วนออกมาแล้ว(เฉพาะเพลา) หากเป็นรถที่ใช้งานทั่วๆแทบไม่มีการสึกหรอเลย..เพราะไม่ค่อยมีแรงเครียดเกิดขึ้นสักเท่าไหร่..การดูแลรักษาง่าย..ผมจะไม่กล่าวถึงให้ละเอียดนัก... ...3 เพลาขับด้านนอก (out board drive shaft)... ..การสึกหรอและการสังเกตุ... ..เพลาขับด้านนอก จะมีการทำงานที่ยุ่งยากและจะต้องรับแรงกระทำที่เกิดจากแรงบิด..ในหลายทิศทางโดยการบิดตัวของหัวเพลา..เมื่อรถถูกบังคับเลี้ยว เมื่อหัวเพลาถูกบิดออกจากทิศทางเดิม(เฉือนแนวดิ่ง).. ขณะที่รถกำลังถูกบังคับเลี้ยว หัวเพลาจะถูกบิดหนีออกจากตำแหน่ง(ไม่เกิน40องศา)...แรงกระทำ..จะทำให้เกิดความเครียดและแรงตึงผิวมากขึ้น(Strain)..โดยเฉพาะหากมีการเร่งเครื่องยนต์อย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจจะทำให้หัวเพลาแตกได้ง่ายมาก...รถยนต์ที่วิ่งใน Circuit จะให้ความสำคัญอันดับต้นๆของการ Modify... ...การสังเกต... ..การสึกหรอของหัวเพลาด้านนอกจะง่ายกว่าการสังเกตหัวเพลาด้านใน..เพราะการสึกหรอของหัวเพลาด้านนอก เมื่อมีการเลี้ยวในวงแคบๆ และเร่งเครื่องจะมีเสียงดังมาจากหัวเพลาได้ยินชัดเจน(แก๊กๆๆๆๆๆๆ) ..แต่เมื่อขับรถในทิศทางตรงก็จะไม่มีเสียงดังเกิดขึ้น ... ...การเปลี่ยนขนาดจานเบรด... ..ปัจจุบันการเปลี่ยนขนาดจานเบรคมีให้เห็นเป็นจำนวนมาก..มีขายเป็นชุดคิดส์ แบบสำเร็จรูป มีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ..ผมมีโอกาสได้ลองรถที่เปลี่ยนจานเบลคอยู่บ่อยๆ จึงแอบสังเกตดูว่า จานเบรคที่เปลี่ยนมานั้นสามารถช่วยให้เบรคอยู่ได้ดี จริงหรือไม่..คำตอบก็ง่ายนิดเดี่ยวครับ..แน่นอนเมื่อมีเส้นผ่าศูนย์กลางโตขึ้น..การจับให้อยู่หรือการเสียดสีที่สามารถทำให้ล้อนั้นๆหยุดได้ ย่อมทำได้อย่างง่ายดาย..แต่ด้วยเหตุผลนั้นเองที่ทำให้เป็นผลเสียมากกว่าผลดี..เนื่องจากการกระจายน้ำหนักของรถและการกระจายแรงเบรค..ที่ปกติมีที่ล้อหน้ามากกว่าล้อหลังอยู่แล้ว เมื่อถูกเปลี่ยนเส้นผ่าศูนย์กลางของจานเบรคเข้าไป ก็เท่ากับเร่งให้ล้อหน้าล็อคเร็วกว่าล้อหลังมาก ... ..แน่นอนผู้ขับอาจจะรู้สึกว่า เมื่อเปลี่ยนจานเบรคขนาดใหญ่เข้าไปแล้ว..เวลาเบรคใช้แรงน้อยกว่าเมื่อตอนก่อนเปลี่ยน อันนั้นถูกต้อง..แต่เมื่อเกิดเหตุที่จะต้องเบรคอย่างกระทันหันจริงๆ ล้อหน้าจะถูกล็อคก่อน..โดยที่ล้อหลังยังไม่ได้มีอาการหยุดหรือจะหยุดเลย..ถึงแม้ผู้ขับจะรู้สึกว่าตัวเองขับรถเก่ง ไม่เบรกแบบล้อล๊อค..ระยะเบรคก็จะยาวขึ้น และเมื่อล้อหน้าล๊อค..แน่นอนย่อมไม่สามารถบังคับรถในทิศทางที่สมควรได้..ฉนั้นการเปลี่ยนดีสเบรคโดยไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้จึงเป็นอันตรายมาก..เรื่องนี้ไม่ค่อยมีคนเอามาพูดกันเพราะว่า ส่วนมากคนที่เปลี่ยนมาจะไม่มีโอกาสได้เล่าเรื่องราว ส่วนใหญ่จะตายก่อนไว้อันควรครับ ไม่ได้ขู่น่ะครับ เรื่องจริง...เปลี่ยนแค่ขนาดที่พอเหมาะจะดีกว่าครับ..เช่น ของตระกูล เครื่อง Specตัวนอกจะมีขนาดจานเบลคโตกว่า Specในไทย..ก็สามารถดัดแปลงใส่ได้ครับ... ..การเปลี่ยนเบรคจากดรัมเบรคเป็นดีสเบรค เรื่องนี้ก็เช่นกันครับ..กรณีนี้ไม่แตกต่างจากกรณีดังกล่าวสักเท่าไหร่ เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้รถและหลงเชื่อในโฆษณา ที่มุ่งเน้นหาแต่ผลกำไร..เราจะมาเล่ากันเป็นเรื่องๆ... ..ดรัมเบรก มีจุดเด่นคือ สามารถเบรกได้ดีกว่าดีสเบรกขณะที่ใช้แรงในการกดเท่าๆกัน..เนื่องจากดรัมเบรกมีพื้นที่หน้าสัมผัส..มากกว่าดีสเบรก..แต่ข้อเสียหลักๆของดรัมเบรกคือ..ไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีพอและไม่สามารถรีดน้ำออกได้ขณะที่รถต้องวิ่งลุยน้ำ.. ..ดีสเบรก มีจุดเด่นคือ สามารถระบายความร้อนได้ดี และสามารถระบายน้ำออกได้รวดเร็วเมื่อต้องวิ่งลุยน้ำ การดูแลรักษาง่ายกว่า การถอดประกอบง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า.. ..ในรถซีดานทั่วๆไปส่วนใหญ่จะเป็นหน้าดีสหลัง ดรัม และจะมีรุ่นพิเศษเป็น ดีสเบรกสี่ล้อ..ท่านเจ้าของรถที่ใช้ดรัมเบรกอยู่ ก็มักจะอยากจะเปลี่ยนเป็นดีสเบรก..ให้เหมือนกับรุ่นพิเศษ ที่เป็นดีสเบรกสี่ล้อ โดยการหาซื้อของมือสองจากญี่ปุ่น..ซึ่งหาซื้อง่าย..ราคาไม่แพงนำมาเปลี่ยนใส่กันเป็นจำนวนมาก..โดยไม่คำนึงถึงลักษณะการทำงานของวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก..หรือ ความต้องการแรงดันมากน้อยที่แตกต่างกันระหว่างดีสเบรกและดรัมเบรก... ...แน่นอนเมื่อถูกเปลี่ยนใส่เข้าไปแล้ว..ก็จะอุปทานกันเอาเองว่า..เบรกดีกว่าเดิม เพราะเมื่อมีการเหยียบเบรก แรงดันน้ำมันเบรกที่ถูกส่งไปล้อหลังจะถูกลดลงโดยวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก...เพื่อให้เกิดการสมดุลย์ ของรถที่ใช้ดรัมหลัง..แต่เมื่อถูกเปลี่ยนเป็นดีสเบรคแล้วน้ำมันที่มีแรงดันต่ำไม่สามารถดันลูกเบรกให้ออกมาจับที่เบรกได้อย่างเพียงพอ..ทำให้การทำงานของเบรกหลังด้อยลงไปทันที..หรือบางครั้งอาจจะไม่ถูกทำงานเลยด้วยซ้ำ..ผมเคยเอารถน้องที่เปลี่ยนดีสเบรคหลังมา..เพื่อให้เค้าเข้าใจอย่างจริงจัง..ผมทดลองเบรกอยู่พักใหญ่ โดยการเบรกให้ล้อเกือบล๊อค หรือจุดที่ดีที่สุดในการเบรก..แล้ววัดระยะเบรคเพื่อเปรียบเทียบกับรถ แสตนดาร์ดให้เค้าดู..รถแสตนดาร์ดสามารถหยุดรถได้ดีกว่ามาก..(เป็นEGทั้ง2คัน)..เมื่อนำรถเข้ามาจอดหลังจากลองกันอย่างหนัก คราวนี้มาทดลองดูซิว่าความร้อนที่เกิดจการเบรค..เป็นอย่างไร ระหว่างล้อหน้าและหลัง ผลที่ได้รับคือ ที่ล้อหน้าเมื่อเอามือสัมผัสดูเบาๆ..จะรู้สึกว่าร้อนมากๆ..แต่ส่วนล้อหลังที่เปลี่ยนเป็นดีสเบรก แทบจะไม่มีความร้อนเลย..หรืออาจจะบอกได้ว่ามันยังแทบไม่ได้ทำงานเลย..หากจะใส่ดิสหลัง..ผมเนะนำว่าควรเปลี่ยน..หรือปรับตัววาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรคด้วย..จะดีกว่า ...เบรคสั่น เกิดจากอะไร... ..เบรกสั่นส่วนมากจะเกิดจากการใช้งานที่เกินขีดความสามารถของจานเบรก..ในการทนความร้อนและความสามารถในการกลับคืนรูปเดิม..ส่วนมากจะเกิดกับนักขับที่ชอบขับรถเร็วๆ น้ำหนักรถมากๆ เนื่องจากรถในแต่ละรุ่นถูกสร้างขึ้นมาให้วิ่งได้เร็วมากขึ้นเรื่อยๆ..เน้นที่กำลังเครื่องยนต์เพื่อนำมาเป็นจุดขาย..แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงขีดความสามารถของระบบเบรกสักเท่าไร..ตัวอย่างเช่น รถยนต์ Toyota Vios 1500cc.สามารถทำความเร็วได้ถึง180-200 km/h แต่ระบบเบรคมีขีดความสามารถเพียง 120 km/h เท่านั้น เมื่อถูกใช้งานเกินขีดความสามารถเช่นนั้นบ่อยๆ จานเบรคจะเกิดอาการ คด เนื่องจากความร้อนที่เกิดจากการเบรก..การคืนตัวของโลหะ ทำให้จานเบรกส่วนใหญ่คดงอ..ผ้าเบรคก็จะไหม้และเบรคไม่อยู่ในที่สุด ค่อนข้างอันตรายในการใช้รถเกินขีดความสามารถของการเบลค... ...วิธีแก้ไข... ..คือการเจียร์จานเบรค...การเจียร์จานก็คือการปรับหน้าสัมผัสของจานเบรกกับผ้าเบรกให้เรียบเสมอขณะที่หมุน..ทำให้ไม่เกิดการสั่น..ข้อเสียคือ การเจียร์จานเบรก จะต้องเอาส่วนที่คดหรือโค้งออก ทำให้จานเบรคบางลง..แน่นอนย่อมจะทำให้จานเบรค คดง่ายกว่าที่มีขนาดความหนามากกว่า ฉนั้นหากเคยเจียร์จานเบรกแล้ว 1 หรือ 2 ครั้งการตาม จานเบรกจะคดงอง่ายกว่าเดิม... ...ผ้าเบรกดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนขับ(เชื่อหรือไม่)... ..คุณเชื่อหรือไม่ ว่าผ้าเบรกดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับนิสัยคนขับ..อันนี้เป็นอะไรที่อธิบายกันแล้วเข้าใจยากเหมือนกัน..หลายคนคงเคยสังเกตเวลาเลือกซื้อผ้าเบรค..ที่ข้างกล่องจะต้องมีระบุไว้ว่า..จะใช้งานได้ดีในอุณหภูมิ ตั่งแต่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่..เช่น 50-250องศา C แน่นอนครับ..อันนี้คนที่ขับรถเร็วถ้าเอาไปใช้ก็จะต้องบอกว่าไม่ดี..มันเฟรสง่าย อันตรายมาก เวลาขับเร็วแล้วเบรกไม่อยู่ เช่นกัน ถ้าผ้าเบรกที่มีอุณหภูมิตั่งแต่ 100-450 องศาC ซึ่งจะมีราคาแพงมาก..เอาไปใส่กับคนที่ขับรถค่อนข้างช้า ก็จะต้องบอกว่าเป็นผ้าเบรกที่แย่มากๆ..เพราะเบรกไม่อยู่ ครับเมื่ออุณหภูมิไม่ถึงค่าที่กำหนดเบรกจะไม่ค่อยอยู่เป็นปกติ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำเนื้อผ้าเบรกแตกต่างกัน..การใช้งานก็แตกต่างกันด้วย ฉนั้นการเลือกซื้อผ้าเบรกไม่จำเป็นว่าราคาสูงๆจะต้องดีกว่า...มันขึ้นอยู่กับผู้ใช้ครับ... ...สายอ่อนเบรก... ..สายอ่อนเบรกมีบทบาทอย่างไร..ทำไมพวกรถแข่งชอบเปลี่ยนสายอ่อนเบรกเป็นแบบสายถัก..อันนี้หลายคนเปลี่ยนแล้วยังไม่เข้าใจว่าเปลี่ยนเพื่ออะไร..หรือว่ามันแพงแล้วต้องดี..หรือว่ามีความคงทนมากกว่า..หรือว่าสีสันที่สวยงาม..ส่วนใหญ่เห็นเค้าเปลี่ยนกันเลยเปลี่ยนบ้าง..อันนี้ต้องบอกเลยว่า...ที่เปลี่ยนกันจุดประสงค์ไม่ได้เป็นอย่างที่กล่าวมาแล้วทั้งสิ้น... ..การเปลี่ยนสายอ่อนเบรกในรถแข่ง..เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงและแน่นอนในการเบรก..โดยไม่สูญเสียแรงดันน้ำมันเบรก..ไปกับสายเบลคที่ปูดบวม..ให้มั่นใจว่าเบรกทั้งสี่ล้อได้รับแรงดันน้ำมันเบรกที่เท่าเทียมกัน..การเบรกแบบรุนแรงจะสามารถบังคับรถได้ดีกว่า..และหยุดรถได้ระยะทางที่สั่นกว่า.. ...ทำไม(Why)... ..คำตอบง่ายๆครับ เนื่องจากสายอ่อนเบรกของรถเดิมๆ จะมีลักษณะเป็นท่อยางซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามแรงดัน..ถึงแม้จะเป็นท่อที่ทนต่อแรงดันสูงก็ตาม..เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำก็คือยาง..ส่วนสายถักยี่ห้อต่างๆจะทำมาจาก โพลิเมอร์และถูกห่อหุ้มด้วยแสตนเลสถัก..เพื่อป้องกันการเสียดสีและการขยายตัวของตัวท่อเอง..เมื่อไม่มีการขยายตัวของสายเบลค..การควบคุมแรงดันก็จะเท่ากันทั้งสี่ล้อ หรือตามที่กำหนดโดยไม่สูญเสียแรงดันไปกับการขยายตัวของของสาย..............