ES01 Vtec ติดLPG กำลังจะเปลี่ยนหัวเทียนรบกวนขอคำแนะนำด้วยครับ ใช้แบบไหนเบอร์อะไรดี ถ้ามีราคา และร้านค้าแนะนำยิ่งดีเลยครับ ปล. ผมอยู่แถวศรีนครินทร์ ครับ
ยังไง ก็ดีครับ ใช้เบอร์ เดิม เป็น พอ ครับ อย่าเปลี่ยน เบอร์ อย่าไปเชื่อนะครับ ที่เค้าบอกว่าสำหรับรถติดแก้สแล้ว เบอร์นั้นดีกว่า อ่ะครับ ใช้เบอร์เดิมเข้าไว้ เพราะ อาจมีผลกับเครื่องยนต์ครับ อาจเผาไหม้ ไม่หมด เป็นคราบที่ หัวเทียน วิ่งสะดุด ฯลฯ
ลองอ่านดูครับ เป็นความรู้ เริ่มแรกขอเริ่มที่เบอร์หัวเทียนก่อนนะครับ หัวเทียนในแต่ละยี่ห้อนั้น มันบอกเบอร์ไม่ได้ครับ ตัวเลขของแต่ละแบรนด์ก็ไม่เหมือนกัน ถ้าจะเทียบกันจริง ๆ คงต้องใช้ตารางเทียบว่าแบรนด์นี้ เบอร์นี้ ตรงกับรุ่นอะไร ถึงจะชัวร์ และอย่างที่ใช้กันประจำ ๆ พูดกันติดปากก็ไม่พ้น "NGK" หัวเทียนทั่ว ๆ ไปที่เรียกว่าหัวเทียนร้อน จะเป็นเบอร์ต่ำเสมอ ส่วนหัวเทียนเย็นจะเป็นเบอร์สูง .... ว่าแต่ร้อนกับเย็นมันต่างกันยังงัย.... หัวเทียนร้อน "หัวเทียนร้อนเนี่ย...ตัวมันเองจะระบายความร้อนออกได้ช้า" เมื่อเราใช้งานจริง ในห้องเผาไหม้มันมีความร้อนจากการจุดระเบิด เมื่อหัวเทียนรับความร้อนนั้นมา จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมที่หัวเทียนอยู่อย่างนั้น หัวเทียนเย็น "หัวเทียนเย็นก็คือ...ตัวมันเองสามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็วกว่าหัว เทียนร้อน" แต่ไม่ใช่ว่ามันจะหายร้อนเลยนะครับ อย่างนั้นไม่ใช่ จริง ๆ แล้ว หัวเทียนจะมีความร้อนสะสมอยู่ระดับหนึ่งเพื่อให้แห้งตลอดเวลาเป็นทั้งหัว เทียนร้อนแล ะเย็น เพียงแต่ว่าหัวเทียนเย็นสามารถถ่ายเทความร้อนได้เร็วกว่าเท่านั้นเอง มันเหมือนกับเหล็กเผาไฟนั่นแหละ เมื่อโดนน้ำ มันก็จะดัง "ฟู่" ควันฉุยแล้วก็หายไป แต่เหล็กนั้นมันก็ยังร้อนเหมือนเดิม ซึ่งเงื่อนไขมันเป็นอย่างนี้ "ไอดี" มันเป็น "ความชื้น" เมื่อความชื้นพ่นมาโดนอะไรสักอย่าง มันก็จะทำให้ของชิ้นนั้นเปียก ดังนั้นถ้าเราเปรียบของชิ้นนั้นเป็นหัวเทียน ถ้ามันเปียก ก็จะส่งผลให้ "หัวเทียนบอด" ผมลองยกตัวอย่างให้ดูนะครับ รถที่วิ่งใช้งานในเมืองทุกวัน วิ่งช้า ๆ ตลอด คลานกระดึ้บ ๆ ไปเรื่อย ๆ ชิว ชิว รถพวกนี้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะต่ำมากเลย ซึ่งถ้าในสถานการณ์นี้ควรเลือกใช้ "หัวเทียนร้อน" เพราะเราต้องการระบายความร้อนช้า ๆ เพื่อเก็บความร้อนสะสมไว้ ไม่ให้ "หัวเทียนบอด".....ไงจ๊ะ... กลับกัน ถ้าเป็นรถที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ ถ้าเราใช้หัวเทียนร้อน มันจะทำให้ระบายความร้อนไม่ทัน อาจสร้างความ "ชิ.....หาย" ได้ ต่าง ๆ นานา เช่น หัวเทียนละลาย กระเบื้องแตก และ เกิดการชิงจุดก็เป็นไปได้ "คือว่าหัวเทียนมันร้อนเกินไป มันก็เหมือนโลหะเผาไฟ ร้อนแดง เมื่อมีไอดีเข้า มันเป็นเชื้อเพลิงพร้อมที่จะจุดระเบิด พอมากระทบตัวหัวเทียนปุ๊บ ซึ่งมันยังไม่ทันถึงจังหวะจุดระเบิด มันก็จุดระเบิดทันที จากความร้อนสะสมของหัวเทียน" ซึ่งรถที่ใช้ความเร็วตลอดควรเลือใช้ "หัวเทียนเย็น" เพื่อการระบายความร้อนที่ดีกว่า แต่ว่า.....มันก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานให้ถูกประเภท (เฉพาะกิจ) ด้วย อย่างแต่งเครื่องซิ่ง...สุดประเทศ..! มันจะมีความร้อนสูงมากกว่าเครื่องยนต์สแตนดาร์ดทั่ว ๆ ไป และส่วนมากมักเป็นเครื่องที่มีเทอร์โบ ซึ่งเครื่องยนต์ประเภทนี้เป็นเครื่อง (over lap) มาก จุดระเบิดไม่ค่อยดีในรอบต่ำ หัวเทียนที่ใช้จึงเป็นหัวเทียนเย็นเสมอ แต่ถ้าเรานำเครื่องซิ่ง วิ่งผิดประเภท (ในเมือง รถติด ๆ ) อันนี้ก็นต้องจบข่าว.... เพราะเครื่องประเภทนี้มันต้อง "เหนี่ยว" อย่างเดียว แต่ถ้ามาวิ่งผิดที่ รับรองวิ่งไม่ได้ เพราะเครื่องซิ่งเหล่านี้ ส่วนมากรอบต่ำมันวิ่ง "หมา ไม่แด....อยู่แล้ว" ยิ่งเจอรถติดในเมือง รับรองแม่เจ้า...ไม่รอด "บอดสนิท" ทุกราย ซึ่งถ้าจะมาใช้ในเมืองจริง ๆ คงต้องเปลี่ยนเป็นหัวเทียนร้อนแทน แต่ถ้าดันทุรังมีหวัง "หลับ" ทุกราย ในปีลึก ๆ ที่ผ่านมา แกนหัวเทียนจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ถ้าเป็นพวก "แพลทตินั่ม" ก็จะมีลักษณะสามเหลี่ยมคล้ายยอด "พีลามิด" ซึ่งแกนเนี่ยสำคัญ มันเป็นตัวปล่อยให้กระแสไฟไหลผ่าน ยิ่งปลายยอดแกนยิ่งเล็กยิ่งดี ซึ่งมันมีที่มาที่ไปคือ ในห้องเผาไหม้มันมีกำลังอัดสูง ไฟฟ้า มันจะโดดยากบนเงื่อนไขที่มีแรงดันสูง แต่ที่เราเห็นในร้านประดับยนต์ทั่วไป กับชุด "display" ที่โชว์กระแสไฟแรง ๆ นั่นน่ะ ซึ่งถ้ามันอยู่บนเงื่อนไขสถาณการณ์จริง ๆ ในห้องเผาไหมแล้ว มันแทบจะไม่ยิงให้เห็นเลย ยิ่งเครื่องบูสต์หนัก ๆ นั้น แทบจะไม่ออกเลย ดังนั้นหัวเทียนรุ่นใหม่ ๆ ผู้ผลิตจึงเน้นแกนให้เล็กลง เพื่อให้กระแสไฟมาไหลอยู่ที่ปลายแกนแบบเข้ม ๆ แล้วค่อยยิงออกไป ซึ่งถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่เป็นแกนเบ้อเริ่ม ก็เพราะว่าโลหะสมัยก่อน มันยังพัฒนาไม่เต็มที่เหมือนปัจจุบัน ถ้าทำแกนหัวเทียนออกมา เล็ก ๆ แล้ว ส่วนมากมักทนความร้อนไม่ไหว ก็ละลายในที่สุด ยุคปัจจุบันคำว่า "แพลทตินั่ม" เริ่มเบาหูลง เพราะอิทธิพลของ "อิริเดียม" เข้ามายืนแป้นแทน เนื่องจากจุดหลอมเหลวหรือจุดสึกหรอ จากการ "สปาร์ค" มันแทบจะไม่มี ดังนั้น "อิริเดียม" มันจึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เขี้ยวหัวเทียน ก็ว่ากันเรื่องแกนไปแล้ว แถมเรื่องของ "เขี้ยวหัวเทียน" ต่อเลยละกัน เขี้ยวหัวเทียนมันจะมีขนาดใหญ่ ๆ เป็นตัว U บ้าง V บ้าง สารพัดเลย และบางรุ่นก็ใจป้ำ คือ "ไม่มีเขี้ยว...!" แต่สุดท้ายเนี่ยก็คือ "ยิ่งเขี้วใหญ่ก็ยิ่งขวางทาง" อันนี้เป็นทริคเล็ก ๆ นะครับ ขณะที่เราขันหัวเทียน ฝั่งที่เป็นขาของเขี้ยวหัวไปทางฝั่งไอเสีย ส่วนด้านฝั่งที่เปิดอยู่ก็หันไปทางไอดีเสมอ ซึ่งตรงจุดนี้ มันสร้าง "เพาเวอร์" ให้กับรถอีกนิดหน่อยเลยล่ะ สาเหตุมาจาก มวลไอดี มันจะเข้มมากในห้องเผาไหม้ทางฝั่งไอดี พอหัวเทียนสั่งจุดระเบิด มันจะจุดฝั่งที่มีไอดีเข้มและขยายตัวไปจนเต็มห้องเผาไหม้ มันจะเป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า อายุการใช้งาน สำหรับอายุการใช้งานของมันไม่ตายตัว ส่วนมากมักไม่ค่อนสึก เว้นแต่พวก "ไฟแรงทรงเครื่อง" นั่นแหละ ใส่ออฟชั่นเสริม MSD ประมาณนี้ ก็อาจจะมีสึกบ้าง ซึ่งถ้าจะให้ชัวร์จริง ๆ ก็ควรตรวจสอบทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร น่าจะดีกว่า