ถ้าจะเอาจานไปเจาะ/เซาะร่อง น่ะคับ คิดว่ายังไง เพราะไปถามบางที่ ก็ว่าดี บางที่ก็ว่าไมดี ช่างที่โรงกลึงเค้าบอกว่าไม่มีปัญหาเรื่องความเสียหาย แต่จะเสียก็เรื่องเปลืองผ้าเบรคอย่างเดียวน่ะคับ รบกวนผู้รู้ทีนะคับ...
ถ้าถามว่า เปลืองผ้าเบรคขึ้นมั้ย ตามทฤษฏี น่าจะเปลืองขึ้น เพราะร่องที่เซาะมา อาจจะมีคม ทำให้กินผ้าเบรคมากกว่าเดิม แต่ในทางปฏิบัติ ใช้มา ก็ไม่เห็นจะเปลืองจนรู้สึกได้เลย ผ้าเบรคชุดนึง ใช้ลืมไปหลายปี ข้อดีของเซาะร่องน่าจะเป็น การให้ลม ระบายฝุ่นจากผ้าเบรค ออกไป ความปลอดภัย น่าจะอยู่กับร้านที่ทำ ว่า เซาะร่องแค่ไหน ลึกเกินไปมั้ย แต่จานซิ่งดี ๆ ร่องดักลมที่อยู่ตรงกลางจาน จะเอียง กวักลมได้ดีกว่า จานปรกติครับ ปล. รอท่านอื่นมาเสริมละกัน
มาดูประโยชน์ของมันก่อน เรื่องของการเจาะรู กับเซาะร่อง หลายคนบอกว่า การเจาะรูจาน ก็เพื่อเป็นการระบายความร้อนของจานเบรคเวลาใช้งานหนัก ๆ ซึ่งมันก็ถูกบางส่วน แต่โดยหลักใหญ่ๆ แล้วไม่ใช่ การเจาะมีไว้เพื่อเป็นการระบาย ไอของผ้าเบรคที่เกิดการระเหิดเมื่อมีการใช้เบรคอย่างรุนแรง และบ่อยๆ จนกระทั่งเกิดความร้อนสูง จนเป็นเหตุให้เบรคเกิดการเฟด เพราะฟองอากาศที่เกิดจากระเหิดนั้น มันไม่มีทางออก ทำให้เกิดเป้นฟิมล์อากาศคั่นระหว่าผ้าเบรคกับจานเบรค ส่งให้ประสิทธิภาพในการเบรคลดลง การเจาะรูระบายไอดังกล่าว จึงทำให้เบรคดีขึ้น ยึดระยะอุณหภูมิของการเฟดของผ้าเบรคให้สูงขึ้น จนกว่าผ้าเบรคจะทนไม่ไหว หมดประสิทธิภาพไปเอง ส่วนการเซาะร่อง ก็เพื่อทำให้ หน้าของผ้าเบรคมีความเรียบสม่ำเสมอ สัมผัสพื้นที่เบรคได้มากขึ้น และระบายไอได้ส่วนหนึ่ง ข้อควรระวัง สำหรับการเจาะจานเบรค การเจาะจานเบรค เท่าที่จำได้จะมีอยู่ 3 แบบ คือ 1.เจาะตรงๆ 2. เจาะแบบเทเปอร์ 3. เจาะแบบแคมเฟอร์ การเจาะแบบ 1 ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้จานแตกร้าวได้ง่าย ส่วนการเจาะแบบที่ 2 ก็มีโอกาสแตกแต่น้อยกว่า ส่วนแบบที่ 3 มีโอกาสน้อยที่สุด (การเจาะแบบแคมเฟอร์ คือการเจาะคล้ายๆ กับเทเปอร์ แต่ว่า จะเป็นลักษณะที่โค้งลง ไม่เหลี่ยมแบบเทเปอร์) การเจาะ ไม่ควรให้ถี่เกินไปนัก และถ้าเลือกได้ ผมแนะนำให้ใช้จานแต่งจะดีกว่า เพราะมีการออกแบบมาเฉพาะ ไม่ต้องเสี่ยงต่อจานแตก การติดตั้งจานแบบเซาะร่อง ว่าจะติดย้อน หรือติดตามการหมุนนั้น ตรงนี้แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน ซึ่งไม่เห็นมีใครบอกว่าทำไมจึงติดแบบนั้น ส่วนตามความคิดผม ...ผมคิดว่าติดตามการหมุน น่าจะดีกว่า เพราะเมื่อฝุ่นเบรคตกลงมาอยู่ในร่อง มันจะถูกสะบัดออกไปอยู่ที่ปลายจาน ได้ง่ายกว่า ติดทวนการหมุน ซึ่งเวลามีฝุ่น มันจะกระจุกตัวอยู่ด้านในมากกว่ากระจายออกด้านนอก ....อันนี้เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ อาจจะมีเหตุผลอื่นที่มาหักล้างก็ได้ครับ
เจาะรูต้องระวังอย่าไปตรงแกนที่เป็นครีบระบายความร้อนนะครับ ไม่ดีเดี๋ยวมีโอกาสเสียหาย แต่ถ้า สไลด์ ร่องไม่ลึกไม่น่ามีปัญหานะครับ
แนะนำให้เซาะร่อง ดีกว่าเจาะครับ เพราะเจาะต้องเจาะให้แม่น ๆ ถ้าเจาะ ไปโดนแกน แล้วตัวที่รองรับแรงมันจะไม่มี อาจเกิดการแตกได้ครับ มีคน เคยจานแตก เพราะเจาะจานมาแล้ว