Subject: FW: พี่ที่ESSOส่งมาให้ครับ (ทำไมรัฐต้องพยายามหาทางขั้นราคา LPG) ผมได้มีการรวบรวมข้อมูลและประมวลสถานะการ์ณต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้ เรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย ไม่ว่าเป็น ดีเซล เบนซิน แก๊สโซฮอล NGV หรือ LPG ต่างก็ยังไม่ได้ลอยตัวครับ ถ้าให้ลอยตัวเหมือนกันหมดราคาเชื้อเพลิงที่ กล่าวถึงก็คงจะขึ้นราคา แต่คงไม่เกิน 3 บาทต่อลิตรครับ แต่ที่ ปตท. ซึ่งไม่ใช่หน่วย งานของรัฐ เป็นบริษัทเอกชน เช่น เอสโซ เชลล์ มาออกข่าวว่าต้องขึ้นราคาแก๊ส LPG อีก 11 บาทนั้น เขาอ้างอิงจากราคาตลาดโลก แต่ประเทศไทยผลิตได้เองส่วนหนึ่งจาก แหล่งผลิตในประเทศ และจากการกลั่นน้ำมันดิบ ประเทศในยุโรป ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย และอีกหลายประเทศ รัฐบาลเขามีนโยบาย สนันสนุนผู้ใช้แก๊ส ทั้ง NGV และ LPG ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ในครัวเรือน หรือ ในการขนส่ง ด้วยสาเหตุที่ว่า แก๊ส LPG และ NGV เป็นเชื้อเพลิงสะอาด (clean fuel) หรือพลังงานสะอาด (clean energy) ลดมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการใช้ เชื้อเพลิงประเภทเบนซินหรือดีเซล ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนตรงนี้คุ้มกว่าผล เสียที่ก่อให้เกิดทางสังคม เช่นโรคทางเดินหายใจ หรือโรคอื่นๆ มาก หลายประเทศ รัฐบาลเขาออกมาประกันราคา NGV และ LPG ว่าจะไม่ขึ้นภายในเวลาหนึ่ง เพื่อส่ง เสริมให้ประชาชนเขาลงทุนติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์ ในประเทศไทย การใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์มีมามากกว่า 20 ปีเท่าทีผมจำความได้ หรือมากกว่านั้น ถ้าจำไม่ผิดรัฐบาลเองในยุคก่อนมีนโยบายส่งเสริมการใช้ LPG เหมือน กับประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ แต่มาในยุค ปตท. แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจที่เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ ไปเป็นบริษัท เอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (ด้วยการขายหุ้นราคาถูกกว่าราคาจริงเบื้องต้น เปรียบ เสมือนเอาสมบัติของประเทศมาขายในราคาต่ำกว่าราคาจริง ให้กับพวกพ้องคนรวยไม่กี่ ตระกูล) รัฐบาลกับมีนโยบายสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์ โดยให้คำมั่นว่าจะคง ราคา NGV ไว้ที่ กก. ละ 8.50 บาท ส่วน LPG ที่เคยส่งเสริมนั้นไม่พูดถึง แต่มา เร็วๆ นี้ ปตท. และ รัฐบาล ออกมาอ้างว่าต้องขึ้นราคา LPG เพราะอุ้มสุดตัว และบีบ ผ่านทาง ปตท. ไม่ให้เกิดปั้มแก๊ส LPG หรือด้วยวิธีการอื่นๆ และจะขึ้นราคา NGV อีก ... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG มีดังนี้ 1. ปตท. เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจ NGV แต่ผู้เดียวในประเทศไทย ไม่มีการแข่งขัน 2. ปตท. รับซื้อแก๊สธรรมชาติ (natural gas) จากพม่าผ่านทางท่อส่งมายังราชบุรี ซึ่งการวางท่อส่งแก๊สนี้ทำให้เกิดปัญหากระทบกระเทือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการลงทุน ของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท. ที่เรารู้กันอยู่ ปตท. จำเป็น ต้องขาย NGV ให้มากที่สุดเพื่อคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายให้พม่าเป็นค่าแก๊ส 3. ปตท. ต้องแสดงผลประกอบการเป็นกำไร เพื่อให้ผู้ถือหุ้น (ใหญ่) พอใจ เพื่อให้ผู้ บริหาร ปตท. ได้อยู่ในตำแหน่ง ได้รับผลประโยชน์เป็นเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการ ที่ สูงลิ่ว 4. นักการเมืองที่ดูแลกระทรวงพลังงาน เป็นอดีตพนักงานระดับสูงของ ปตท. 5. ปตท. สนับสนุนการใช้ NGV ด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนราคา ถังแก๊ส NGV จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ยอมลงทุนสร้างปั้มแก๊ส NGV ให้ทั่วประเทศ และระบบ ส่งแก๊ส NGV ไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนจากเอกชนรายอื่นๆ ได้ เพราะเขารู้ว่าไม่คุ้มค่า ทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของ ปตท. เอง (ขอย้ำว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์ต่อสังคม) อีกทั้งข้อจำกัดทางเทคนิค ไม่เป็นที่นิยมของผู้ใช้รถยนต์เท่า LPG ปตท. จึงต้องหามาตรการอื่นมาบีบ การที่ ปตท. ทำอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจเพราะเป็นบริษัทเอกชน ย่อมหาหนทางใดๆ ก็ได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์ ของสังคม) แต่การที่ภาครัฐผ่านทางกระทรวงพลังงานเลือกปฏิบัติโดยสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์สุดตัว โดยไม่สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ เช่น ระบบการส่งแก้ส NGV ปั้มแก๊ส NGV และบีบการใช้ LPG ในรถยนต์ ถือว่าไม่เหมาะสม รัฐบาลควรให้ข้อมูลกับ ประชาชนอย่างถูกต้องถึงผลได้ผลเสียต่อสังคมของการใช้พลังงานทางเลือก และควร กำกับดูแลไม่ให้บริษัทเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่งเอาเปรียบสังคม เรื่อง ปตท. บีบไม่ให้ตั้งปั้มแก๊ส LPG เป็นเรื่องจริงครับ เมื่อ 26 ธ.ค. 48 ผมคุยกับ เจ้าของกิจการโรงบรรจุแก๊สแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เขาบอกว่าค่าการตลาดจากการขาย แก๊ส LPG สูงคุ้มค่ากับการลงทุนเปิดปั้มแก๊สเติมรถยนต์มากกว่าการเปิดปั้มเบนซิน ดีเซล แต่ ปตท. บีบไม่ให้ตั้ง มิฉะนั้นจะไม่ส่งแก๊ส LPG ให้ และแก๊สที่มาส่งก็มาจากแหล่งผลิต ในประเทศที่ลานกระบือนี่เอง ส่วนการตั้งปั้มแก๊ส NGV เขาไม่กล้าลงทุน เพราะแพง มาก มีรถยนต์ใช้น้อยไม่คุ้ม และมีอุปสรรคเรื่องระบบขนส่งแก๊ส NGV ... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG LPG สามารถกลั่นจาก น้ำมัน(ซึ่งมีต้นทุนสูงนำเข้า) และก๊าซธรรมชาติ (ซึ่งมาจากอ่าวไทยของเราเอง) NGV (ก๊าซมีเทน)ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งมีอยู่ประมาณ 66 mol% LPG (c3+c4) 6 mol% แล้วทำไมจะไม่ควรสนับสนุนการใช้ NGV จะซื้อน้ำมันต่างชาติมาก ลั่นทำไม อ้างอิงข้อมูลของกระทรวงพลังงานที่เป็นข้อมูลราชการ ที่ http://www.eppo.go.th/info/T25.html เรานำเข้า natural gas ปี 2005 156,733 bbl/day จากปริมาณการใช้ 568,742 bbl/day หรือ 27.55 % ของการใช้ในประเทศไทย ซึ่งก็คือนำเข้าจาก พม่า เสียเงินตราต่างประเทศให้พม่า ข้อมูลการส่งออก LPG ครับ จากกระทรวงพลังงาน ตาราง 34 ที่ http://www.eppo.go.th/info/T34.html ไทยส่งออก LPG ปี 2005 เฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านลิตร เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 8.5 % จากปี 2004 (นั่นคือส่งออก LPG มากขึ้น) ขณะที่ปริมาณแก้ส LPG ที่ใช้ในรถยนต์ของ ไทยประมาณปีละ 100 ล้านลิตร หรือแค่ 10% ของแก้ส LPG ที่ส่งออกทั้งปี ยังมีเหลือ อีกมากสำหรับสนองความต้องการในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม LPG ได้มาจากสามแหล่งครับ คือ หนึ่ง เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบทำเบนซิน ดีเซล ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สอง ปนมากับน้ำมันดิบที่ขุดได้จากบ่อน้ำมันหรือแก้ส ถ้าไม่ ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สาม กลั่นจากแก้สธรรมชาติ (natural gas) ส่วน NGV ได้มาจาก การกลั่นจากแก้สธรรมชาติ NGV เหมาะสำหรับรถสาธารณะขนาดใหญ่เนื่องจากอุปกรณ์ยุ่งยากราคาสูงและต้องใช้ถัง แก้สความดันสูงจำนวนมาก จากการศึกษารายงานนโยบายการใช้พลังงานของ APEC ที่ไทยเป็นสมาชิกหนึ่งในยี่สิบ เอ็ดประเทศ ไทยเป็นประเทศเดียวที่จำกัดการใช้ LPG และส่งเสริม NGV ในรถยนต์ ทั้งๆ ที่ผลิต LPG ได้เกินความต้องการต้องส่งออกไปขาย และยังต้องสั่งแก้สธรรมชาติ จากพม่าเป็นปริมาณประมาณหนึ่งในสี่ของการใช้ในประเทศ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย ต่างส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แก้ส LPG ในรถยนต์ ด้วยมาตรการทางภาษีและสนับสนุนราคา LPG ให้ต่ำกว่าเบนซิน ดีเซล ประมาณครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กล่าวมายกเว้นออสเตรเลียต่างต้องนำเข้า LPG ไม่มีแหล่ง เองเหมือนประเทศไทย ฮ่องกงเอง ได้เปลี่ยนให้รถแทกซี 90 เปอร์เซ็นต์มาใช้แก้ส LPG ด้วยการให้เงิน สนับสนุน และกำลังมีโปรแกรมใหม่ที่จะเปลี่ยนรถบัสเล็ก 5,000 คันมาใช้แก้ส LPG (ย้ำ LPG) ด้วยเงินสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาล เราผลิต LPG ได้ปีละประมาณ 3,200 ล้านลิตร ส่งออกประมาณ 800 ล้าน (25%) ใช้กับยานยนต์ (แบบเว่อร์ๆ 2 เท่าเลย) 200 ล้านลิตร ที่เหลืออีก 2,200 ล้านลิตร หายไปไหนครับ??? ไปอยู่ภาคครัวเรือน ให้ประชาชนใช้หุงต้ม 1,000 ล้าน อยู่ภาคอุตสาหกรรม ทำอาหาร ทำแก้ว หลอมโลหะ ฯลฯ อีก 1,200 ล้าน แล้วไอ้ที่มาโกหกปาวๆๆๆ ว่า รถยนต์ใช้แกส ทำให้โครงสร้างพลังงานเสียหาย เพราะ รัฐฯ ต้องชดเชยถึงกิโลละ 11 บาท .. หรือลิตรละ 6 บาท (มาได้งัยก็ไม่รู้) .. ชด เชยให้ใครกัน? ชดเชยให้คนใช้รถ .. 200x6 = 1,200 ล้าน ชดเชยให้คนทำกับข้าวกิน .. 1,000x6 = 6,000 ล้าน (สาธุ) ชดเชยให้พ่อค้านายทุน ผลิตสินค้า = 1,200x6 = 7,200 ล้าน (ก็ ... ยังดี .. ของ จะได้ไม่แพง) ชดเชย ((Embedded image moved to file: pic06840.gif)Huh!!!!?? ชด เชยทำไม) ให้กับการส่งออก 800x6 = 4,800 ล้าน!!!!! บ.น้ำมัน ไม่รวยพุงปลิ้นวันนี้ ก็ไม่รู้จะพูดงัยแล้ว... เบนซิน91 หรือเบนซิน95 ต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 100 % แก๊สโซฮอล นำเข้าเป็นน้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นเบนซิน 90 % และยังเป็นเอธานอลส่วน หนึ่งที่เราผลิตไม่พอ ดังนั้นเท่ากับนำเข้ามากกว่า 90 % แต่รัฐบาลโปรโมตสุดลิ่มทิ่ม กบาล LPG ไม่ต้องนำเข้าเพิ่มเติม ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบส่วนหนึ่ง กับแยกจากแก๊ส ธรรมชาติของไทยหรือพม่าอีกส่วนหนึ่ง มีเหลือขายต่างประเทศ ลองใช้หัวแม่เท้าคิดดูก็แล้วกันครับ ใช้เบนซิน 100 ล้านลิตร หรือแก๊สโซฮอล 90ล้านลิตร ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบในจำนวนที่ มากกว่า ใช้ LPG 100 ล้านลิตร ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพราะจากกระบวนการกลั่นเหลือ ใช้จนต้องขายต่างประเทศ การนำLPG 100 ล้านลิตรมาใช้แทนน้ำมัน เมื่อเทียบกับการใช้เบนซิน 90ล้านลิตร หรือ เบนซินในแก๊สโซฮอล 80กว่าลิตรแบบไหนจะเสียเงินตราของชาติมากกว่ากัน (ให้อัตราสิ้นเปลืองLPGมากกว่าประมาณ 10 %)แบบไหนประหยัดเงินตราของชาติ มากกว่ากัน ต่อให้คิดโดยเสมอภาคนั่นคือหากชดเชยก็ชดเชยเท่ากัน หรือไม่ชดเชยก็ต้อง ไม่ชดเชยเหมือนกัน ค่าการตลาดต่อลิตรเท่ากัน ***จุดที่จะประหยัดเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคือ จุดที่มีจำนวนผู้ใช้ LPG มากขึ้นจน แทบไม่มีเหลือส่งออก เพราะเราก็ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าเดิม หากจำนวนคนที่ใช้ LPG เพิ่มขึ้นจากเดิมจนถึงจุดที่เราแทบไม่เหลือ LPG ส่งออกนอกนั้น ใช้เบนซินหรือโซล่า หรือแม้แต่แก๊สโซฮอลก็ตาม จะต้องนำเข้าน้ำมันดิบอีกเท่าไหร่ อย่าเพิ่งไปกลัวเลยครับ ผมว่าที่ปตท ออกมาขู่เรื่องราคาแก๊ส lpg ว่าราคาจะลอยตัว ราคาที่แท้จริงต้องบวกเพิ่มอีก 9บาท ต่อลิตร ตกลิตรละ18บาท สงสัยจะเป็นอุบาย ของปตท ที่จะทำให้คนที่คิดจะติดlpg ลังเลใจแล้วมาติด ngvแทน เพราะปัจจุบัน ngv ขายไม่ออก ที่เขาบอกว่าlpg ราคาขึ้นเป็น600ดอลล่า/ตัน ถ้าวิเคราะห์ดูดีๆ ตันหนึ่งมี 1000 กก 1กกมี1.8ลิตร 1ตันเท่ากับ 1800ลิตร 600ดอลล่าเท่ากับ 24000บาท คิด แล้วลิตรหนึ่งตก 13บาทกว่าเท่านั้นเอง นี่ยังไม่รวมถึงแหล่งที่มาของราคาที่เขาใช้เป็น ราคากลางด้วยว่า600ดอลล่า/ตัน มาจากที่ไหน ที่อื่นที่ถูกกว่านี้ก็มี เช่นซื้อมะม่วงแถว ต่างจังหวัด ราคาย่อมถูกกว่าที่ไปซื้อที่สีลมอยู่ดี อีกอย่างlpg เราก็ผลิตได้เองบางส่วน จะมาอ้างราคาตลาดโลกได้อย่างไร ทำไมไม่ตั้งราคาขาย มะม่วงทุเรียน และผลผลิต ทางการเกษต ที่เราผลิตได้ในประเทศ ให้มีราคาสูงเหมือนที่ขายในญี่ปุน ในอเมริกาละ โดยอ้างราคาตลาดโลกบ้าง ขายทุเรียนลูกละซัก2000บาทไปเลยซิ คิดว่าประชาชนโง่ เหมือนควายเหรอครับ รัฐบาลอย่ามาขูดรีดขูดเนื้อประชาชนเลยครับ นี้คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ขอให้ทุกท่านร่วมหาทางแก้ไขอีกทั้ง รัฐบาลเราคงหวัง เพิ่งพาอาศัยไม่ได้แล้ว
เรื่องนี้จิงมั้ยคับ เราเป็นคนไทยควรพิจารณาว่าเป็นจิงมั้ย ถ้าเป็นจิงเราควรทำอย่างไรดี ถ้าจริง รัฐบาลก็โครตเหี้ยเลย อ่านเหอะ ใครดูรายการช่อง 9 > > ของคุณสัญญา คุณากร > > > > > ได้คุยเรื่องน้ำมันในประเทศไทย > > ฟัง > > > > > เเล้วช๊อคจริงๆครับเพื่อนๆ > > > > > > > ทางคุณสัญาได้เชิญอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงพลังงาน > > มาเล่าให้ > > > > > ฟังซึ่งผู้ใหญ่ท่านนี้เป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานในสมัย > > พลเอกเปรม > > > > > ได้ฟังท่าน > > > > > เล่าเเล้วผมขนลุก...ครับ > > > > > > > ผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าเมืองไทยไม่สามารถผลิตนำมันได้เองต้องนำเข้า > > > จากต่างประเทศ > > ซึ่งท่านบอกว่าเมืองไทยมีกำลังผลิตได้ > > 1,000,000 > > > บาร์เรล/วัน(ปตท.) > > เเละเมือง > > > ไทยใช้น้ำมันวันละ > > 700,000 บาเรล/วัน > > เเละเมืองไทยส่งออกน้ำมันประมาณ > > 100,000 > > > > > บาเรล/วัน > > > > > ฟังเเล้วเพื่อนคิดยังงัยครับ > > เเละที่เเย่กว่านั้น > > > > > น้ำมันที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศ > > ราคาถูกกว่าที่ขาย > > > ในเมืองไทยหลายบาท > > ถ้าเทียบต่อลิตร > > > > > ตอนนี้มาเลเซียใช้น้ำมันเบนซินเเละดีเซลประมาณลิตรละ > > 20 > > > บาทต้นๆ > > ท่านบอกว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำมันราคาเเพง > > เพราะว่าอธิบดี > > > > > หรือผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง > > > > > พลังงานถือหุ้นบริษัทโรงกลั่น > > ทำให้ไม่มีการเข้ามาจัดการเเละดูเเล > > > > > > > ราคาที่ปรับขึ้นทีละ > > .50 บาทเป็น > > > > > การขึ้นจากโรงกลั่นซึ่งราคาที่ปรับขึ้นไม่ได้มาจาก > > cost ต้นทุน > > > > > เเต่ป็นราคาที่ตั้งขึ้นมาลอยๆ > > โดยอ้างอิง > > > > > จากตลาดที่ผันผวนมากที่สุด > > ในที่นี้ท่านยกตัวอย่างตลาดสิงคโปร์ > > > > > > > เเต่จริงๆเราซื้อจากตะวันออกกลาง > > > > > เเละอีกอย่างที่น่าตกใจ > > ท่านบอกว่าในประเทศไทยมี > > stock น้ำมัน 2 > > > > > เดือนเเละหมุนเวียนอย่างนี้ > > > เรื่อยๆ > > พอเวลากระทรวงปรับน้ำขึ้นพวกพ่อค้าเอาน้ำมันใน > > stock > > > > > มาปรับขึ้นด้วยคิดดูเอาเองว่าเป็น > > > เงินเท่าไหร่ > > ไทยใช้ 700000 บาเรล/วัน > > 2เดือนกี่ลิตร ลิตรละ > > .50 บาท > > > ลองคูณดู > > > > > บริษัทที่ได้กำไรเยอะมากคือ > > ปตท เพราะมีโรงกลั่น 5 > > โรง อีก 2 > > > โรงเป็นของเอกชน > > รวมใน > > > > > ประเทศไทยมีโรงกลั่น 7 > > โรง เป็นของ ปตท 5 โรง > > เเล้วท่านสรุปกำไรของปตทในรอบ > > > > > 10 ปีที่ผ่าน > > > มา ประมาณปี 2540-2544 ปตท > > กำไรปีละ 22,000 > > ล้านบาทครับ > > > > > ฟังเเล้วเป็นงัยครับพี่น้อง > > กำไร > > > เท่ากับงบประมาณ 1 > > กรมเลยทีเดียว > > เเละที่สุดยอดกว่านั้น > > ปี 2545-2550 > > > ปตทกำไรเพิ่มเป็น > > > 50,000ล้านบาท /ปี > > เเละที่สุดๆ > > กำไร195,000ล้านบาทในปี 2548 > > > > > ฟังเเล้วอยากให้ลูกทำงานบริษัท > > > ปตท > > มั้ยครับเพื่อนๆ > > กำไรดังกล่าวมาจากอะไรลองคิดดูครับ > > > > > > > ประชาชนตาดำๆอย่างเราเสียค่าน้ำมันลิตร > > > ละ 36 บาท ณ ปัจจุบัน > > รัฐบาลก่อนๆ > > น้ำมันขึ้น 3 บาท > > รัฐมนตรี นายก > > > ต้องก้นร้อนเเล้ว
สุดจะบรรยายแล้วเว้ยยย แม่งง มะวาน ก้อ ตาลีตาเหลือกไปต่อ เข้าคิดว ต่อแถวรอเติมแก๊ส ร่วม 45 นาที........เสียเวลาทำมาหาแดก กรู ฉิ๊บหาย พอมาวันนี้ แม่งไม่ขึ้นราคาซะงั้น..........เชี้ยเอ้ยยยยย รัฐบาล สมัยนี้..............มันเป็นส้นตรีน อารัยของมันวะเนี่ยย
ท่านประทานเรายังไม่หาย อิอิ ถูกต้องที่สุด ประท้วงเรื่องไรตรูไม่เกี่ยว แต่ถ้าเรื่องแก๊สขึ้นมาประท้วงกันเมื่อไหร่ตรูจะไปด้วยเรย แม่มเอ้ยยยยย แสรดดดดด วันนี้ต้องหาเติมแระเหมือนกานพี่ อิอิ กระพริบแระ
แท็กซี่ยิ้ม รัฐตั้งกก.อุ้ม เคลียร์ก๊าซหุงต้มไม่ขาด 107 ปั๊มเติมได้ 24 ชม. [2 ก.ค. 51 - 04:26] พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน เปิดเผยมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซหุงต้มว่า จากการติดตามรายละเอียดของทุกฝ่าย ทั้งสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศและกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ พบว่าด้านปริมาณก๊าซหุงต้มยังยืนยันไม่ขาดแคลนเพราะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เพิ่มกำลังส่งก๊าซหุงต้มจากเขาบ่อยา จ.ชลบุรีไปยังผู้ค้ามาตรา 7 เพิ่มอีก 600 ตันต่อวัน จากเดิม 1,800 ตันต่อวัน เป็น 2,400 ตันต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค.เป็นต้นไป ขณะที่การนำเข้าก๊าซหุงต้มจากต่างประเทศ ปตท.จะนำเข้ามาในเดือน ก.ค.นี้อีก 20,000 ตัน เชื่อว่าปัญหาการขาดแคลนในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะยุติลงได้ และได้หารือกับกลุ่มรถแท็กซี่ว่า เบื้องต้นภาครัฐจะได้เร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนด้วยการจัดให้มีปั๊มก๊าซหุงต้มใน 4 มุมเมืองทั่วกรุงเทพฯ เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง 107 แห่งจาก 3 ค่าย ได้แก่ ปตท. 27 แห่ง เวิลด์แก๊ส 40 แห่ง และสยามแก๊ส 40 แห่ง ส่วนข้อเรียกร้องของชมรมรถแท็กซี่เกี่ยวกับการขอให้ตรึงราคาก๊าซหุงต้มต่อไปอีกนั้น ในส่วนราคาก๊าซหุงต้มที่จะแยกเป็น 2 ราคาระหว่างภาคขนส่ง-อุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ยืนยันว่าจะทำตามแผนเดิมคือในเดือน ก.ค.นี้ แต่เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับแท็กซี่ ภาครัฐ จึงสรุปว่าจะดูแลกลุ่มรถแท็กซี่ไปก่อนจนกว่าระบบก๊าซเอ็นจีวีในรถยนต์จะรองรับได้ทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการรถแท็กซี่ โดยมีนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และมีกรมการค้าภายใน และกรมการขนส่งทางบกร่วมกันเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในระยะยาวอย่างเป็นระบบว่าภาครัฐจะมีมาตรการใดๆมาช่วยเหลือ เมื่อได้ข้อสรุปก็จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) หาข้อสรุปในขั้นตอนต่อไปทันที นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้มีจำนวนรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ 80,000 คัน มีการติดตั้งเอ็นจีวีแล้ว 30,000 คัน อีก 50,000 คันยังไม่มีการติดตั้ง แม้ว่ารถแท็กซี่ในส่วนนี้ต้องการติดตั้งเอ็นจีวีแต่ก็ยังติดปัญหาปริมาณเอ็นจีวีของ ปตท. ยังไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ได้ครบตามจำนวนของรถแท็กซี่ในแต่ละวัน และแม้จะมีปั๊มเอ็นจีวีก็ต้องเข้าคิวรอเติมนาน จนเสียเวลาให้บริการผู้โดยสาร ดังนั้น หากจะมีการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคขนส่ง รัฐบาลก็จะต้องดูแลกลุ่มรถแท็กซี่เป็นพิเศษ โดยรายละเอียดจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะช่วยเหลือรถแท็กซี่อย่างไร แต่จะไม่มีการนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนให้อย่างแน่นอน ด้านนายวิฑูรย์ แนวพาณิชย์ ประธานสหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด กล่าวว่า กลุ่มรถแท็กซี่พอใจกับแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซหุงต้มในระดับหนึ่ง แต่คงไม่ทั้งหมด เพราะแท็กซี่ต้องการติดเอ็นจีวีแต่ไม่มีงบประมาณเพียงพอ และแม้จะมีการติดเอ็นจีวีก็ไม่แน่ใจว่าจะมีปริมาณเอ็นจีวีให้เพียงพอกับจำนวนรถแท็กซี่ นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า ธพ.จะเป็นผู้จัดสรรก๊าซหุงต้มในส่วนของ ปตท.ที่นำเข้ามาในงวดใหม่นี้ และภาครัฐไม่ได้มีการปิดกั้นไม่ให้ผู้ค้ารายอื่นๆนำเข้าก๊าซหุงต้มหากต้องการนำเข้า แต่ยอมรับว่าการที่ ปตท.นำเข้าก็ต้องเห็นใจ ปตท.เพราะต้องแบกภาระเมื่อนำขายในประเทศก็ขาดทุนกว่า 600 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ขณะเดียวกัน นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.กล่าวว่า ปตท.ยืนยันว่าได้จ่ายก๊าซแอลพีจีให้แก่ลูกค้าของ ปตท. และผู้ค้าตามมาตรา 7 ตามที่กรมธุรกิจพลังงานเป็นผู้กำหนดในปริมาณปกติมาโดยตลอด ทั้งนี้ ปัจจุบันปริมาณก๊าซแอลพีจีมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ทั้งประเทศ ไม่ขาดแคลน เนื่องจากความต้องการใช้แอลพีจีของทั้งประเทศในเดือน มิ.ย. 51 มีปริมาณ 285,000 ตัน โดยเป็นการจ่ายแอลพีจีในส่วนของ ปตท. ประมาณ 214,000 ตัน และโรงกลั่นฯ (ไม่รวมที่เป็นวัตถุดิบปิโตรเคมี) จ่ายได้ประมาณ 71,000 ตัน โดย ปตท.ได้จัดส่งให้ผู้แทนจำหน่าย ปตท. 105,000 ตัน และได้ส่งให้ผู้ค้ามาตรา 7 ใน 109,000 ตัน ทั้งนี้ ปัจจุบันการใช้ก๊าซแอลพีจีในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมในปีที่ผ่านมาประมาณ 3 ล้านตัน เป็น 3.5 ล้านตัน ในช่วงครึ่งปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 14.2% ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากการใช้ในรถยนต์ถึง 22.7%.
ปตท.ชักเบื่อไม่อยากอุ้มแอลพีจี 'เจ๊ติ๊ง' ย้ำจัดก๊าซราคาถูกย้ำสิ้นมีปั้มกว่า300แห่ง ปตท.ชักเบื่อไม่อยากอุ้มแอลพีจี 'เจ๊ติ๊ง' จัดแอลพีจีราคาถูกย้ำสิ้นปีจะเพิ่มรถแท็กซี่เอ็นจีวีเป็น 40,000 คัน เพิ่มปั้มกระจายทั่วประเทศ ก.ค.นี้จะเพิ่มเป็น 245 แห่ง 355 แห่งในสิ้นปี ครม.เงาปชป.แนะ3วิธีแก้ 'เจ๊ติ๊ง' ย้ำจัดหาแอลพีจีราคาถูก พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินการขยายการบริการ และการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป การบริการเอ็นจีวีมีความพร้อมมากขึ้น ทั้งการจัดส่ง การรอคิวเติมในปั๊ม เนื่องจากมีการลงทุนสร้างปั๊มเอ็นจีวีสำหรับผู้ใช้ 3 กลุ่มโดยเฉพาะ คือ รถบ้าน รถแท็กซี่ และรถขนส่งขนาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาการรอคิว เพราะรถบ้านใช้เวลาในการเติมเพียง 1-2 นาที ขณะที่รถขนาดใหญ่ใช้เวลาเติมถึง 20 นาที โดยปั๊มสำหรับรถแท็กซี่จะอยู่ในทำเลและแหล่งที่มีรถแท็กซี่หนาแน่น และสถานีเฉพาะรถขนาดใหญ่ กระจายบนเส้นทางหลวงต่างจังหวัดและในที่ตั้งของรถเหล่านั้น โดยในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้จะเพิ่มเป็น 245 แห่ง และเพิ่มเป็น 355 แห่งในสิ้นปี มีรถขนส่งเอ็นจีวีทั้งหมด 496 คันและปลายปี 2551 จะมีรถขนส่งเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า เป็น 933 คัน การขยายจำนวนอู่ติดตั้งและดัดแปลงรถเอ็นจีวีนั้นปัจจุบันมีแล้ว 114 แห่ง จะมีมาตรการเพิ่มบุคลากรในอู่ติดตั้งเฉพาะจุด โดยเฉพาะในอู่ที่ติดตั้งให้กับแท็กซี่ เพื่อแยกอู่กับรถสาธารณะทั่วไป โดยกระทรวงพลังงานจะร่วมมือกับอาชีวศึกษา และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่วนรถเอ็นจีวีล่าสุด มี 84,161 คัน เป็นรถเบนซิน 67,833 คัน รถดีเซล 13,247 คัน และรถที่ผลิตจากโรงงาน 3,081 คัน มีปริมาณการใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นเป็น 2,013 ตันต่อวัน (72 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) ขณะที่กำลังผลิตก๊าซที่พร้อมจ่ายเข้าระบบมีถึง 2,455 ตันต่อวัน และสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 5,465 ตันต่อวัน 'เฉพาะรถแท็กซี่เอ็นจีวีมีอยู่แล้ว 20,000 คัน จากรถแท็กซี่ทั้งหมด 50,000 คัน ภายในสิ้นปีจะเพิ่มรถแท็กซี่เอ็นจีวีเป็น 40,000 คัน แต่จากการหารือกับผู้ประกอบรถแท็กซี่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา แท็กซี่แจ้งว่าพร้อมจะเปลี่ยนเป็นเอ็นจีวีทั้งหมด หากปั๊มมีความพร้อม ส่วนเรื่องก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) นั้น กระทรวงจะมีการช่วยเหลือผู้ใช้ภาคครัวเรือน กลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งแท็กซี่ไม่ให้รับผลกระทบจากการปรับราคา แนวทางหนึ่งคือการจแอลพีจีราคาถูกให้ ส่วนจะถูกกว่าเท่าใด ใครเป็นผู้รับภาระขอให้คณะทำงานที่ตั้งขึ้นพิจารณา'พล.ท.(หญิง) พูนภิรมย์กล่าว ปตท.ชักเบื่อไม่อยากอุ้มแอลพีจี นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาแอลพีจีคงจะไม่จบง่ายๆ แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นราคาขายในประเทศให้สะท้อนกลไกราคาในตลาดโลกทั้งหมด ซึ่งจะต้องปรับขึ้นประมาณ 20 บาทต่อกิโลกรัม เพราะถ้าเทียบกับราคาน้ำมันในขณะนี้ก็ถือว่ายังต่ำกว่ามาก ต่ำกว่า 50% อย่างไรก็ตาม ควรจะมีการปรับราคา ไม่เช่นนั้นก็ต้องมีการนำเข้าไปตลอด ซึ่ง ปตท.คงจะรับภาระไปได้ระดับหนึ่งเท่านั้น การแก้ปัญหาคือต้องยอมรับความจริง ค่อยๆ ปรับราคาให้เท่ากับความจริง หากในตอนนั้นผู้ใช้แอลพีจียังอยากใช้อยู่ ก็ต้องปล่อยไป ปตท.ไม่ได้ปัดความรับผิดชอบ แต่ต้องอยู่บนความพอดี การช่วยเหลือทำได้กับบางประเภท บางกลุ่ม แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น อะไรที่เกินตัวทำไม่ได้ ถ้าจะให้ ปตท.ทำอะไรที่เกินตัว ให้อุ้มไปทุกอย่าง ก็บอกมาเลยว่าจะให้เป็นองค์กรที่ไม่หวังกำไร และให้ออกจากตลาดหุ้นไป นายประเสริฐกล่าว นายประเสริฐกล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าจะต้องนำเข้าแอลพีจีประมาณ 3-4 แสนตัน คิดป็นมูลค่าประมาณ 4-5 พันล้านบาท และในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเอาเงินจากไหนมาอุดหนุน ถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ปีถัดไปจะทำอย่างไร ปตท.ช่วยได้ส่วนหนึ่ง ไม่ได้มีกำลังที่จะต้องอุ้มไปตลอดสำหรับภาระการอุ้มแอลพีจีทั้งระบบในปีนี้ คิดเป็นภาระประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท เป็นภาระในส่วนของ ปตท. 60-70% หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมภาระจากการตรึงราคาเอ็นจีวี 6-7 พันล้านบาท และน้ำมันอีกมากกว่า 5 พันล้านบาท ครม.เงาปชป.แนะ3วิธีแก้แอลพีจี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน (เงา) กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เงา ได้หารือปัญหาการขาดแคลนก๊าซแอลพีจี โดยเห็นว่านโยบายรัฐบาลในเรื่องแอลพีจีนั้นสับสน ในที่สุดนำไปสู่ความปั่นป่วนมาก ขณะที่นายกฯบอกว่าจะขึ้นราคาแน่ในวันที่ 1 กรกฎาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังบอกว่าอาจจะขึ้นปลายเดือนกรกฎาคม ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานบอกว่ายังไม่มีความคิดที่จะขึ้นราคา เมื่อเป็นเช่นนี้นอกจากทำให้ตลาดปั่นป่วนแล้ว ก็มีการเก็งกำไร และการแก้ปัญหาล่าช้ามาก ขณะนี้ต้องยอมรับความจริงว่าบางปั๊มเปิดเช้าแต่พอเที่ยงก๊าซแอลพีจีก็หมด และรัฐบาลก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด และจะลามไปถึงก๊าซหุงต้มด้วย 'ก๊าซแอลพีจีในประเทศไทยไม่ขาดแคลน แต่ขาดตลาด จึงเป็นไปได้ที่จะกักตุน ดังนั้น รัฐบาลต้องเข้าไปตรวจสอบว่าคนกักตุนคือใคร ปตท.หรือผู้ค้าตามมาตรา 7 เพราะเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ปตท.บอกว่าปริมาณก๊าซแอลพีจีขาดแคลน และต้องนำเข้าจำนวน 22,000 ตัน แต่เมื่อดูตัวเลขสิ้นเดือนเมษายนที่นำเข้ามาแล้ว ปรากฏว่าสต๊อคก๊าซมีเหลือถึง 110,000 ตัน ตัวเลขนี้จึงเห็นชัดว่าก๊าซแอลพีจีไม่ได้ขาด เพราะนำเข้ามาแล้ว แต่รัฐบาลกลับไปจัดเงินชดเชยให้กับ ปตท.ถึง 323 ล้านบาท จึงอยากให้รัฐบาลไปเร่งตรวจสอบตัวเลขนี้ด้วยว่าจริงหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แสดงว่า ปตท.พยายามสร้างสถานการณ์ว่าก๊าซแอลพีจีมีไม่พอ และต้องนำเข้า และยังได้รับเงินชดเชย จึงนำไปสู่การเรียกร้องจะขึ้นราคา นายจุรินทร์กล่าวว่า ข้อเสนอที่ประชุม ครม.เงา คือ 1.อยากเห็นการแก้ไขปัญหาให้ทันกับความเดือดร้อนประชาชน 2.ถ้าก๊าซขาดตลาด ในระยะสั้นก็ไม่ควรนำเข้าก๊าซแอลพีจี เพราะถ้านำเข้ารัฐบาลจะต้องไปชดเชยให้กับ ปตท.ตันละประมาณ 500-600 เหรียญสหรัฐ แต่ควรใช้วิธีการไปเอาก๊าซแอลพีจีที่มีอยู่ในโรงกลั่น 5-6 โรง มาป้อนตลาดแทน แล้วให้โรงกลั่นนั้นไปใช้น้ำมันเตาแทน ส่วนช่องว่างของราคาก๊าซแอลพีจีและน้ำมันเตานั้น รัฐบาลก็ต้องเข้าไปชดเชย ถือว่าถูกกว่าการชดเชยการนำเข้าก๊าซประมาณ 1 เท่าตัว 3.รัฐบาลควรชะลอการขึ้นราคาแอลพีจีในภาคขนส่งไปก่อน จนกว่าก๊าซเอ็นจีวีจะพร้อม 100% โดยเฉพาะปั๊มที่มีเป้าหมายจะสร้าง 350 ปั๊มภายในปีนี้ แต่ ปตท.กลับระบุว่าสร้างได้เพียง 250 ปั๊มเท่านั้น รวมไปถึงการกระจายก๊าซเอ็นจีวีไปยังสถานีต่างๆ สิ่งเหล่านี้ควรมีความพร้อม 100% ก่อนจะมาปรับราคา ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=39166&catid=5 + อ้างถึง ตอบกลับ