โครงการ 7 วันอันตรายในช่วงสงกรานต์ 2560 กับและมาตรา 44 รถกระบะ

การสนทนาใน 'Articles' เริ่มโดย Content, 7 เมษายน 2017

โดย Content เมื่อ 7 เมษายน 2017 เมื่อ 12:24
  1. Content

    Content Member Super Moderator

    30
    0
    6
    [​IMG]

    - สงกรานต์ 2560 มีบังคับใช้มาตรา 44 ในการเดินทางด้วย คือ นั่งรถโดยสารสาธารณะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง และห้ามขนน้ำขึ้นรถกระบะและนั่งท้ายกระบะในถนนสายหลักอนุโลมเฉพาะเขตชุมชน
    - บีพสช7 วันอันตรายช่วงสงกรานต์ 2560 แบ่งเป็นช่วงรณรงค์ตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.- 10 เม.ย. 60 และช่วงควบคุมเข้มข้น 11-17 เม.ย. 60
    - หัวข้อการรณรงค์ปีนี้คือ "ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร" โดยอาศัยมาตรการ "1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย" ในแต่ละจังหวัด
    - สาเหตุหลักของอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ปี 2559 คือ เมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกิดกำหนด และคนขับหลับใน
    - ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุอันดับหนึ่งของปี 2559 คือ รถมอเตอร์ไซค์ และรองลงมาคือ รถกระบะ ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในปี 2559 คือ 16.00-20.00 น. โดยเกิดที่ถนนสายรองมากที่สุด รองลงมาคือถนน อบต./หมู่บ้าน
    - การต่อประกันรถก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ช่วยทำให้เราเดินทางได้อย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้น

    7 วันอันตรายช่วงสงกรานต์ 2560
    มีการรณรงค์เพื่อเฝ้าระวังและลดการเกิดอุบัติเหตุตั้งแต่ 22 มี.ค.-10 เม.ย. 2560 และช่วงควบคุมเข้มข้น 11-17 เม.ย. 2560 เน้นชูแคมเปญ "ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร" ซึ่งก็อย่างที่เรารู้กันเรื่องของมาตรา 44 ที่เริ่มบังคับใช้แล้ว โดยรัฐบาลจะคุมเข้มรถโดยสารสาธารณะกำหนดความเร็วไว้ที่ไม่เกิน 90 ก.ม./ชั่วโมง และการมีน้ำใจในการขับรถให้มากขึ้นเพราะทุกคนก็อยากกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยเหมือนกัน

    ใช้มาตรการ "1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย" ในแต่ละจังหวัดเพื่อการคุมเข้มเรื่องของการใช้ความเร็วในบริเวณที่เล่นน้ำสงกรานต์ ไม่บรรทุกน้ำท้ายกระบะและยืนเล่นสงกรานต์ในท้ายกระบะ มอเตอร์ไซค์สวมหมวกกันน็อก และที่สำคัญที่สุดคือ "เมาไม่ขับ" นะครับ

    [​IMG]

    สาเหตุหลักของอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์
    เป็นสาเหตุที่เราเดากันได้ทุกปี คือ เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว และคนขับหลับใน ซึ่งช่วงเวลาที่เกิดเหตุ คือ 16.00-20.00 น. เกิดที่ถนนสายรองมากที่สุด รองลงมาคือถนน อบต./หมู่บ้าน นั่นหมายความว่าเราจะเจอด่านตรวจในช่วงเวลานี้มากขึ้นโดยเฉพาะถนนสายรองและถนนตามหมู่บ้าน

    ส่วนการป้องกันอุบัติเหตุในช่วงนี้ต้องร่วมกันรณรงค์และสอดส่อง "อย่าดื่มถ้าต้องขับรถ" เพราะนอกจากคุณกำลังเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุแล้วยังทำให้เพื่อนร่วมทางคันอื่นเกิดอุบัติเหตุไปด้วย ส่วนการขับรถเร็วเกินอัตรากำหนดแค่เพียงคุณลดความเร็วลงซัก 10-20 ก.ม./ช.ม. เชื่อไหมว่าคุณจะมีเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากขึ้นอีก 1-2 วินาทีและเจ้าเสี้ยววินาทีที่ว่านี้ล่ะครับคือ "วินาทีในการเอาชีวิตรอด" ที่มีค่าที่สุดเลยครับ

    เรื่องการหลับใน ผมเข้าใจครับว่าการพักผ่อนให้เพียงพอก่อนเดินทางเป็นเรื่องที่เราทำกันอยู่แล้ว แต่ระหว่างการเดินทางที่ต้องเจอกับแดดร้อนๆ ทำให้เราเพลียแดดและเกิดอาการง่วงนอนได้ เพราะงั้นการพักผ่อนก่อนการเดินทางอย่างเดียวอาจจไม่พอ หาตัวช่วยที่ทำให้คุณสดชื่นขึ้น เช่น ดื่มน้ำหวานเย็นๆ ซักแก้ว หรือจัดกาแฟเย็นๆ ซะหน่อยก็น่าจะช่วยได้ แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ หาผลไม้เปรี้ยวจี๊ดกินไประหว่างทางก็เข้าทีนะครับเพราะคุณจะต้องแวะปั้มเข้าห้องน้ำระหว่างทางบ่อยขึ้นทำให้หายง่วงได้ฮะ

    หลักการขับรถทางไกลทั่วไปจะแนะนำให้เราจอดพักรถและเปลี่ยนอิริยาบททุกๆ 2-3 ช.ม.ซัก 15-30 นาทีแต่ถ้าคุณรู้สึกง่วงหรือเพลียอย่าฝืนโดยเด็ดขาดหาที่จอดพักเถอะครับ อย่าลืมว่ายังมีคนที่คุณรักรอคุณอยู่ที่บ้านนะครับ

    มาตรา 44 เริ่มกวดขันรถโดยสารสาธารณะอะไรบ้าง?
    ข่าวที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรา 44 เข้ามาช่วยคุมเข้มช่วงสงกรานต์ 2560 นั้น รวมไปถึงมาตรการกวดขันรถขนส่งสาธารณะที่เราต้องใช้เดินทางกลับบ้านช่วงสงกรานต์นี้ด้วยเป็นประเด็นร้อนจริงๆ เราจึงขอสรุปสิ่งที่เราควรรู้ไว้ก่อนการเดินทางไกลมาให้อ่านกันนะครับ อาจจะฟังดูเรื่องเยอะไปหน่อยแต่ทั้งหมดก็เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางไกลของเราเองนั่นล่ะครับ (ตอนนี้ไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกในการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร รองจากลิเบียที่ประเทศเกิดสงคราม) เพราะทุกปีที่เรามีการรณรงค์ 7 วันอันตรายก็เพื่อความปลอดภัยของเราเองใช่ไหมล่ะครับ

    [​IMG]

    ห้ามนั่งท้ายกระบะช่วงสงกรานต์ 2560
    ข่าวที่พูดถึงอย่างมากและฮอทสุดๆ ในตอนนี้ คือ การเดินทางกลับบ้านช่วงสงกรานต์ 2560 นี้สำหรับรถกระบะทะป้ายทะเบียนขาวตัวอักษรเขียวเราไม่สามารถนั่งท้ายกระบะโล่งๆ และนั่งในแคปของรถกระบะได้นะครับ ถ้าขับไปเจอด่านตรวจโดนเปรียบเทียบปรับได้นะฮะเพราะถือเป็นการใช้งานรถผิดประเภทจากกระบะบรรทุกส่วนบุคคลที่ใช้ขนของ ที่จริงแล้วมีกฎหมายบังคับใช้เรื่องการโดยสารรถกระบะมานานเป็นสิบปีแล้วนะครับใน พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และมาตรา 44 ที่เพิ่งประกาศออกมานั้นเพื่อให้บังคับใช้อย่างจริงจังอีกรอบ แต่ยังมีการอนุโลมให้ใช้ได้ในเขตชุมชน

    ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งตลอดการเดินทาง
    เรื่องการประกาศให้คาดเข็มขัดนิรภัยทั้งในรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์โดยสารสาธารณะนั้นถูกปัดฝุ่นมาบังคับใช้อย่างจริงจังแล้วนะครับ เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2560 เป็นต้นไป คือ รถโดยสารสาธารณะคนขับต้องแจ้งเตือนผู้โดยสารก่อนออกรถทุกครั้งหรือมีป้ายบอกให้คาดเข็มขัดตลอดทางบอกไว้ ถ้าโดนตรวจแล้วไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยคนขับโดนปรับนะครับ ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลก็ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง (ทั้งเบาะหน้าและเบาะหลัง) ด้วยนะครับ

    รถกระบะแต่ละประเภทนั่งได้กี่คนล่ะ?
    เริ่มจากประเภทของรถก่อนเลยครับว่าเป็นไปตามข้อมูลที่เราจะทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกว่าเป็น
    - รถกระบะบรรทุกส่วนบุคคล(ป้ายทะเบียนสีขาวตัวอักษรสีเขียว)ที่ใช้สำหรับการบรรทุกหรือขนของเท่านั้น เสียภาษีตามน้ำหนักรถ
    - รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน(ป้ายทะเบียนสีขาวตัวอักษรสีดำ)ที่สำหรับเพื่อโดยสารเท่านั้นเสียภาษีตามซีซีของเครื่องยนต์
    - รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คนแต่ไม่เกิน 11 คน(ป้ายทะเบียนสีขาวตัวอักษรสีน้ำเงิน)ที่ต้องมีเบาะและหลังคาคลุมท้าย(แคป)สำหรับการโดยสาร เสียภาษีตามน้ำหนักรถ ปัจจุบันกระบะ 4 ประตูจะให้จดทะเบียนเป็นป้ายดำแทนแล้ว

    ส่วนคำถามว่าแล้วกระบะแต่ละประเภทนั่งได้กี่คนล่ะ? คำตอบแบบง่ายๆ คือ ให้ดูตามจำนวนเข็มขัดนริภัยที่อยู่ในรถนั่นล่ะครับ ส่วนรถที่มีแคปถามว่านั่งได้ไหม? ก็ให้ดูตามประเภทรถกระบะที่จดทะเบียนเป็นหลักนะครับ

    แล้วประกันรถยนต์รถกระบะล่ะคุ้มครองอย่างไร?

    [​IMG]

    คำถามเกี่ยวกับการประกันภัยสำหรับรถกระบะนั้น ทำให้หลายคนสงสัยว่าแล้วถ้าทำประกันแล้วคุ้มครองจำนวนคนนั่งในรถอย่างไร? ด้วยความที่การจดทะเบียนรถกระบะทำได้หลายแบบทางบริษัทประกันจึงออกแบบแพ็กเกจมาหลายแบบมากเพื่อให้เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการความคุ้มครองจำนวนคนในรถกี่คนโดยสูงสุดที่ 7 คน สอบถามเพิ่มเติมเรื่องความคุ้มครองรถกระบะได้ที่นี่นะครับ

    สวัสดีวันปีใหม่ไทย 2560 เที่ยวสงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัยทุกครอบครัวนะครับ

    ข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ประกันรถยนต์ออนไลน์ที่จริงใจที่สุดในโลก
     

ความคิดเห็น

การสนทนาใน 'Articles' เริ่มโดย Content, 7 เมษายน 2017

แบ่งปันหน้านี้