เรื่องของน้ำมันเครื่อง ลองอ่านดู

การสนทนาใน 'MiNi Truck Club' เริ่มโดย RUT, 14 กุมภาพันธ์ 2008

< Previous Thread | Next Thread >
  1. RUT

    RUT New Member Member

    1,222
    3
    0
    เกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่องมาตรฐาน API
    API = American Petroleum Institute คือ สถาบันหรือหน่วยงานกลางที่ทำการทดสอบคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องในด้านต่างๆ เช่น การหล่อลื่น การระบายความร้อน การป้องกันสนิม ความสามารถในการชะล้างทำความสะอาด ฯลฯ ซึ่งถ้าผ่านการทดสอบก็จะกำหนดเป็นเกรดชั้นคุณภาพมาตรฐานซึ่งนอกจากจะมีตัวอักษรย่อบ่งบอกถึงชั้นคุณภาพของน้ำมันเป็น API S.../C...แล้วยังต้องมีสัญลักษณ์วงกลมรูปโดนัทระบุรายละเอียดอีกด้วย
    ถ้าไม่มีสัญลักษณ์นี้หมายความว่าไม่ได้ผ่านการทดสอบจากทางสถาบัน แต่อาจเป็นการทดสอบโดยผู้ผลิตนั้นเองหรือสถาบันอื่นเป็นผู้ทดสอบให้โดยอ้างอิงจากมาตรฐานAPI แล้วกำหนดมาเป็นตัวอักษร API S.../ C...
    เกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่องได้ถูกแบ่งไว้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ เกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และ เกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
    เกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน
    ใช้ตัวอักษรย่อS (Service-Spark Ignition) ตามหลังตัวอักษรย่อAPI แล้วตามด้วยตัวอักษรที่บอกเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง โดยเริ่มต้นจากชั้นคุณภาพแย่ที่สุดซึ่งใช้ตัวอักษร A แล้วไล่เรียงชั้นคุณภาพที่ดีกว่าขึ้นไปเรื่อยๆ คือ B, C, D......L เช่น API SG, API SH, API SJ เป็นต้น ซึ่งในขณะนี้ชั้นคุณภาพที่ดีที่สุดสำหรับเครื่องยนต์เบนซินในปัจจุบัน คือ ชั้นคุณภาพ API SL รองลงมา คือ API SJ และตามด้วย API SH และในประมาณกลางปีนี้ทาง API เตรียมประกาศใช้เกรดคุณภาพใหม่ล่าสุด คือ API SM ซึ่งจะมีชั้นคุณภาพที่ดีกว่า API SL และ SJ ส่วนชั้นคุณภาพต่ำๆก็จะยกเลิกไปเรื่อยๆอย่างเช่น API SA, API SB ในปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้วเนื่องจากไม่เหมาะที่จะใช้กับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นใหม่ๆ
    รายละเอียดในแต่ละชั้นคุณภาพ
    SA=เลิกใช้แล้ว เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานล้วนๆไม่มีการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพใดๆทั้งสิ้น
    SB=เลิกใช้แล้ว มีการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพภาพบางชนิด เช่น สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการเกิดสนิม และสารป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน
    SC=เลิกใช้แล้ว มีการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการเกิดตะกอน และ สนิม เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ปี 1967 หรือเก่ากว่า
    SD=เลิกใช้แล้ว มีสารเพิ่มประสิทธิภาพเหมือนกับ SC เหมาะสำหรับรถยนต์ในปี 1968-70
    SE=เลิกใช้แล้ว มีการพัฒนาคุณภาพ และ การป้องกันที่เหนือกว่าชั้นคุณภาพ SD เหมาะสำหรับรถยนต์ในปี 1971-1972
    SF=เลิกใช้แล้ว มีการเติมสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่สูงกว่าSEในด้านการป้องกันการสึกหรอ และ การทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ใช้กับเครื่องยนต์ในปี 1988 หรือ เก่ากว่า
    SG=เลิกใช้แล้ว มีการเติมสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่สูงกว่าSF เหมาะสำหรับรถยนต์ในปี1989-1993
    SH=ยังพอที่จะใช้ได้ มีประสิทธิภาพเหนือกว่าSG พร้อมทั้งลดมลภาวะได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ในปี1996 หรือ เก่ากว่า
    SJ=ยังสามารถใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพเหนือกว่าSH มีอายุการใช้งานนานขึ้น ยืดอายุการใช้งานให้กับCatalytic Converter ช่วยลดมลพิษได้ดีขึ้น ลดการระเหย ลดการสึกหรอได้ดี กว่า ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ดีกว่าเก่า และ มีสารป้องกันต่างๆที่ดีขึ้น เหมาะที่จะใช้กับรถยนต์ในปี 1996-2001
    SL=เป็นเกรดคุณภาพที่สูงสุดในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพสูงกว่าSJ ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น การป้องกันการสึกหรอ การเกิดสนิม ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ลดการเกิดตะกอนที่อุณหภูมิสงได้ดีกว่า ลดการสิ้นเปลืองและช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีขึ้นเหมาะที่จะใช้กับรถยนต์ตั้งแต่ปี 2001ขึ้นไป
    เกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
    ใช้ตัวอักษรย่อC (Commercial Service Compression Ignition) ตามหลังตัวอักษรย่อAPIเช่นกัน ต่อจากนั้นก็จะตามด้วยตัวอักษรที่บอกเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่องโดยเริ่มจากเกรดคุณภาพต่ำสุด คือ A แล้วไล่เรียงชั้นคุณภาพขึ้นไปเรื่อยๆเหมือนกับเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์เบนซินทุกประการ เช่น API CE, API CF-4, API CG-4, API CH-4 ตัวเลข 4 ต่อท้ายหมายถึง เหมาะที่จะใช้กับเครื่องยนต์4จังหวะ เท่านั้น สำหรับเกรดคุณภาพที่สูงสุดในปัจจุบัน คือ CI-4 ซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่า API CG-4 และ CH-4 ส่วนเกรดคุณภาพต่ำๆก็จะเลิกใช้ไปโดยปริยาย
    รายละเอียดในแต่ละชั้นคุณภาพ
    CA=เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลงานเบา
    CB=เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดปานกลาง ในปี1940-1960
    CC=เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปี 1961
    CD=เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปี 1965 สามารถใช้กับเครื่องเทอร์โบได้
    CE=เลิกใช้แล้ว เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปี 1987 สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีรอบสูงและเครื่องยนต์เทอร์โบได้
    CF=แนะนำในปี 1994 ยังสามารถใช้ได้อยู่ เหมาะสำหรับรถยนต์off-road เครื่องยนต์ดีเซลชนิด indirect injectedและเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของกำมะถันมากกว่า 0.5%
    CF-4=แนะนำในปี 1990 ยังสามารถใช้ได้อยู่ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะที่มีรอบสูง และ เครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ
    CG-4=แนะนำในปี 1995 ยังสามารถใช้ได้อยู่ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะที่มีรอบสูงและใช้น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของกำมะถันน้อยกว่า 0.5% นอกจากนี้ยังเหมาะที่จะใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผ่านมาตรฐานด้านมลพิษในไอเสียปี 1994อีกด้วย
    CH-4=แนะนำในปี 1998 ยังสามารถใช้ได้อยู่ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะที่มีรอบสูง ใช้น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของกำมะถันไม่เกิน 0.5% นอกจากนี้ยังเหมาะที่จะใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผ่านมาตรฐานด้านมลพิษในไอเสียปี 1998ด้วย
    CI-4=แนะนำในวันที่ 5 กันยายน ปี 2002 เป็นเกรดคุณภาพที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะที่มีรอบสูงและผ่านมาตรฐานด้านมลพิษในไอเสียปี2004 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ติดตั้งระบบหมุนวนไอเสีย (EGR = Exhaust Gas Recirculation) และใช้น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของกำมะถันไม่เกิน0.5%
    ความหมายของน้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพรวม
    API SL / CG-4=น้ำมันเครื่องชนิดนี้ใช้ได้ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลแต่เกรดคุณภาพของทางเบนซินเด่นกว่าจึงนำมาไว้ข้างหน้า
    API CI-4 / SH=น้ำมันเครื่องชนิดนี้ใช้ได้ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลเช่นกันแต่เกรดคุณภาพทางดีเซลเหนือกว่า
    2. เกรดความหนืดของน้ำมันเครื่อง
    SAE = Society of Automotive Engineer เป็นหน่วยงานที่ทำการวัดทดสอบความหนืดของน้ำมันแล้วกำหนดมาเป็นเกรดความหนืดมาตรฐาน โดยจะมีตัวอักษรย่อของทางสถาบันนำหน้าแล้วตามด้วยตัวเลขเกรดความหนืด ตัวเลขมาก หมายความว่า มีความหนืดมาก ในทางกลับกัน ตัวเลขน้อย หมายถึง มีความหนืดน้อย กล่าวคือ ใสนั้นเอง เช่น SAE 20W-50 โดยมีการผลิตและวัดที่ 2 อุณภูมิ คือ
    20W = W คือ Winter มีการวัดที่อากาศหนาวที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส ได้ค่าความหนืด = 20
    50 = วัดที่อากาศร้อนอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ได้ค่าความหนืด = 50
    หมายเหตุ ตัวเลขทั้ง 2 ตัวนี้ไม่ใช่อุณหภูมิแต่เป็นตัวเลขค่าความหนืด

    เกรดความหนืดของน้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 2เกรด คือ น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยว และ น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวม

    น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยว เช่น SAE 10W, SAE 15W, SAE 20W ซึ่งโดยส่วนใหญ่เหมาะที่จะใช้กับประเทศที่มีอากาศหนาว ส่วนถ้าเป็น SAE 20, SAE 30, SAE 40 ก็เหมาะที่จะใช้กับประเทศที่มีอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่

    น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวม เช่น SAE 5W-40, SAE 10W-40, SAE 20W-50 เป็นน้ำมันเครื่องที่ใช้ได้กับทุกสภาพอากาศ เพราะว่ามันสามารถปรับค่าความหนืดให้เหมาะสมได้กับทุกอุณหภูมิ กล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิสูงมันก็จะปรับตัวให้หนืดขึ้น และ เมื่ออุณหภูมิต่ำลงมันก็จะปรับตัวให้ใส
     
  2. LEE YUKARI

    LEE YUKARI New Member Member

    441
    6
    0
    ขอบคุน ครับ ........
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้