จากมวลน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลบ่าจากนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง อยุธยา...

การสนทนาใน 'Neon Club Thailand' เริ่มโดย Bond Comsquare, 25 ตุลาคม 2011

< Previous Thread | Next Thread >
  1. Bond Comsquare

    Bond Comsquare Guest

    0
    0
    0
    จากมวลน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลบ่าจากนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง อยุธยา เข้าสู่กรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ในขณะนี้ โดยที่ยังไม่มีใครระบุได้แน่ชัดว่ามวลน้ำที่กำลังทะลักเข้ามามีปริมาณมากขนาดไหนและเราจะต้องรับมือกับน้ำอย่างไร TEAM GROUP บริษัทที่ปรึกษามืออาชีพด้านน้ำได้ให้ข้อมูลพร้อมคำอธิบายไว้เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2554 ดังนี้ สถานะการณ์น้ำท่วมภาคกลางยังไม่ดีขึ้น แม้ระดับน้ำที่อยุธยาจะลดลง 2 ซม. และระดับน้ำที่บางไทรได้เริ่มคงที่ ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำในทุ่งเจ้าพระยาที่ยังมีมากกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเสมือนมีอ่างเก็บน้าเขื่อนภูมิพลอีก 1 อ่าง อยู่ที่บางไทรและปริมาณน้้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยา แม้จะลดลงแต่ยังมีปริมาณมากกว่าน้ำที่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ เช่น เมื่อ 21 ต.ค. มีน้ำไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยาวันละ 419 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่สามารถระบายน้าลงสู่ทะเลทั้งที่ปากแม่น้าเจ้าพระยา ท่าจีน และทางทุ่งและคลองฝั่งตะวันออกรวมทั้งสิ้นได้วันละ 403 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้้ำเหลือสะสมเพิ่มเติมในทุ่งเจ้าพระยาอีกวันละ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงทำให้ระดับนำในทุ่งเจ้าพระยาตอนล่างเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ นครชัยศรี บางเลน บางใหญ่ เมืองนนทบุรี ปากเกร็ด ลาดหลุมแก้ว เมืองปทุมธานี คลองหลวง ธัญบุรี สายไหม ลำลูกกา หนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง บางเสาธง และบางบ่อ หากไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้มากกว่านี้ จะมีผลทำให้พนังกั้นน้้ำที่อ่อนแอกว่าพังลง น้ำจะไหลพุ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น และพนังกั้นน้ำที่ไม่แข็งแรงหรือความสูงไม่เพียงพอ ก็จะพังลงเรื่อยๆ ตามลำดับ นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.นี้เป็นต้นไป น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไปหนุนสูงสุดในวันที่ 31 ต.ค. ทำให้ระดับน้ำในแม่น้าเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ อยู่ที่ +2.45 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง (สูงกว่าเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ประมาณ 15 ซ.ม.) ซึ่งจะมีผลเสริมทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำและมีคลองเชื่อมโยงกับแม่น้าเจ้าพระยาและ ท่าจีน หลังจากนั้นระดับน้ำจะทรงตัว และ จะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ จนถึงหลังวันที่ 15 พ.ย.ไปแล้ว ระดับน้าในพื้นที่ อ่างทอง อยุธยา สุพรรณบุรี จึงจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในพื้นที่ บางไทร ปทุมธานี นนทบุรี นครชัยศรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ระดับน้ำจะลดลงอย่างช้าๆ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่น้ำจะท่วม ได้แก่ พื้นที่บริเวณอ.วังน้อย อ.หนองเสือ ทางตะวันออกของอ.ธัญญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อ.บางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต อ.ลาดบัวหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว อ.สามโคกอ.เมืองปทุมธานีอ.บางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้าท่าจีน จะต้องเสริมความแข็งแรงให้พนังกั้นน้ำต่างๆ และ เสริมเพิ่มความสูงให้เพียงพอ และให้คงทนอยู่ได้ถึงหลังวันที่ 15 พ.ย. ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูง โรงงาน และนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องป้องกันน้ำท่วมเป็นพิเศษที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้วและฝั่งตะวันออกของถนนบางพลี-บางตารุ ควรเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้าให้มั่นคง และให้มีระดับความสูงไม่น้อยกว่า +3.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวโดย: หนังสือพิมพ์มติชน
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้