ทะเบียน รถนำเข้า มี 2 แบบ 1 จดประกอบ ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากมาก ต้องเสียเงินหลายขั้นตอน ทั้งต้องตรวจมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วย เฉพาะ มอก.ถ้าไม่ผ่านก็จบ เป็นเศษเหล็ก ตรวจได้ 3 ครั้ง และไปเสียภาษี สรรพสามิต และศุลกากร ก็จบ 2 จดรถเก่านำเข้า ต้องครบครองที่ญี่ปุ่น ไม่น้อยกว่า 1-2 ปี และต้องมีใบอินวอย์ ของคนที่ญี่ปุ่นส่งมาด้วย และแจ้งทางญี่ปุ่นว่าจะนำกลับมาใช้ในประเทศไทย โดยไปแจ้งที่กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เช่นกัน เค้าจะออกใบ และคำนวนภาษีให้ก่อน ตัดสินใจว่าจะนำเข้าหรือไม่ มีการตัดค่าเสื่อมราคาให้ 3 ลักลอบ นำเข้า และให้ศุลกากรจับ แล้วจึงไปประมูลจากกลุ่มศุลกากร ขั้นตอนง่าย แต่ภาษีก็แพง อาศัย จนท. กรมศุลกากรช่วย ก็ง่าย โดยกรมศุล จะออกใบให้ไปขอเล่มทะเบียนที่ ขนส่ง ท้ายเล่มมีบันทึก ด้วยว่า เป็นรถประมูล http://www.customs.go.th/Formality/P...Vehicles.jsp#2 1. การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเป็นการชั่วคราวและจะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 6 เดือนจะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า โดยผู้ที่ประสงค์จะนำยานพาหนะส่วนบุคคลประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมง เข้ามาพร้อมกับตนเองเป็นการชั่วคราวต้องปฏิบัติตามหลักเกณ์และเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ให้ครบถ้วน 1.1 เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว (1) ใบขนสินค้าพิเศษและมีสำเนา 5 ฉบับ (2) ทะเบียนยานพาหนะ (3) บัตรประจำตัวและหนังสือเดินทางของผู้ควบคุมยานพาหนะ (4) หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะมิใช่เจ้าของ (5) คำร้องขอนำรถเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราว (6) หลักฐานการซื้อขาย เช่น Proforma Invoice, Invoice (7) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ( สัญญาประกันการส่งกลับ (9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) 1.2 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าชั่วคราวยานพาหนะส่วนบุคคล (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อฝ่ายเอกสิทธิ์และส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า ของสำนักงานหรือด่านศุลกากรที่นำเข้า กรณีมีสิ่งของอื่นหรือผู้โดยสารและสิ่งของติดตัวผู้โดยสารเข้ามาพร้อมกับยานพาหนะ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องแจ้งกรมศุลกากรด้วย (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และกำหนดวงเงินค้ำประกันสำหรับการนำเข้านั้น ๆ (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักประกัน (เงินสดหรือ ธนาคารค้ำประกัน) ไปชำระที่ฝ่ายบัญชีและอากร (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการวางประกันมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร (5) กรมศุลกากรจะตรวจยานพานะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว จะมอบสำเนาใบขนสินค้าพิเศษ ให้ผู้นำเข้าไว้ 1 ฉบับ เพื่อใช้กำกับยานพาหนะและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อนำยานพาหนะออกไปนอกประเทศไทย 1.3 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกยานพาหนะส่วนบุคคล (1) ผู้ส่งออกยื่นใบขนสินค้าพิเศษที่กรมศุลกากรออกให้ขณะนำเข้าและสำเนา 1 ฉบับ พร้อมกับแบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) 1 ฉบับ แก เจ้าหน้าที่ศุลกากร (2) กรมศุลกากรจะตรวจยานพาหนะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะถอนประกันทัณฑ์บนที่ผู้นำเข้าทำไว้กับกรมศุลกากรขณะนำเข้า 1.4 ข้อควรทราบในการนำเข้าชั่วคราวยานพาหนะส่วนบุคคล (1) หากผู้นำเข้าไม่นำรถกลับออกไปในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันทัณฑ์บน กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาทัณฑ์บนเต็มจำนวนที่กำหนดไว้โดยไม่มีการลดหย่อนทั้งสิ้น (2) กรณีผู้นำเข้าต้องการขอขยายเวลาการนำรถออกนอกประเทศไทยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันทัณฑ์บน ก็สามารถขอขยายเวลากับกรมศุลกากรได้อีกแต่ไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เครื่องยนต์เสีย หรือรถยนต์ถูกชนต้องเสียเวลาในการซ่อม ก็อาจขยายเวลาออกไปให้เกินกว่า 6 เดือนได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 เดือน นับแต่วันนำเข้า (3) การประกันและการค้ำประกัน ผู้นำเข้าสามารถวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แต่สำหรับรถจักรยานยนต์ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนำเข้าทางสำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ให้ค้ำประกันตนเองได้ ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่สามารถจะวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารได้จริงๆ กรมศุลกากรก็อาจพิจารณาอนุมัติให้ผู้นำเข้าค้ำประกันตนเองได้ การกำหนดเงินประกันและเงินค้ำประกัน กรมศุลกากรจะกำหนดโดยถือตามราคาบวกค่าภาษีอากรทุกประเภทของรถที่นำเข้าเป็นยอดเงินประกัน (4) การบังคับตามสัญญาประกัน เมื่อครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน หรือผู้นำของเข้าได้แสดงความจำนงก่อนครบกำหนดดังกล่าวว่าไม่ประสงค์จะนำรถกลับออกไป กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาประกันเต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้โดยไม่มีการลดหย่อนใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีผู้นำรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศทางเขตแดนทางบกเป็นการชั่วคราวและจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 1,000 บาท ในกรณีที่ผู้นำเรือเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท (5) คำว่า เรือสำราญและกีฬา หมายถึง เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญ หรือเรือที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้เพื่อการค้า การทหาร หรือการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร ์เรือสำราญและกีฬาหรือเรือประมงที่เข้ามาจากต่างประเทศนั้น นายเรือจะต้องมารายงานเรือเข้าเช่นเดียวกับเรือทั้งหลายที่มาจากต่างประเทศ ส่วนเรือสำราญและกีฬาหรือเรือประมงที่เดินทางไปต่างประเทศ จะต้องยื่นใบสำแดงรายงานเรือออก และขอรับใบปล่อยเรือขาออกจากกรมศุลกากรด้วย 1.5 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายละเอียดพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว สามารถติดต่องานพิธีการ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ 2. การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวรการนำเข้ารถยนต์ส่วนบุคคลหากในลักษณะนี้ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าภาษีอากรตามปกติ หากเป็นรถยนต์ใหม่ก็ให้ปฏิบัติพิธีการนำเข้าเช่นเดียวกับการนำเข้าสินค้าอื่น ๆ แต่หากเป็นรถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วจะถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้ามาในประเทศไทย ในหลักการไม่อนุญาตให้นำเข้า เว้นแต่เป็นการนำเข้าชั่วคราวหรือการนำเข้าเฉพาะตัวที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้เท่านั้น 2.1 หลักเกณฑ์การนำเข้ารถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วแบบถาวร (1) นำเข้ามาใช้ได้เองเพียงคนละ 1 คัน (2) กรณีเป็นชาวต่างประเทศจะต้องเป็นผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสืออนุญาตการเข้าเมืองจากกองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมาแสดงในการนำเข้าด้วย (3) กรณีชาวไทยมีคู่สมรสเป็นชาวต่างประเทศ จะต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นคู่สมรสและนำรถยนต์เข้ามาเพื่อมีภูมิลำเนาในประเทศไทย รวมทั้งผู้นำเข้าต้องถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถยนต์คันนั้นระหว่างอยู่ในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จนถึงวันที่เดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทย (4) กรณีเป็นชาวไทย ต้องเป็นชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี 6 เดือน แล้วเดินทางกลับมามีภูมิลำเนาในประเทศไทย และถือกรรมสิทธิ์ครอบครองรถยนต์คันนั้นอยู่ในระหว่างอยู่ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือนและมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ 2.2 เอกสารที่ควรจัดเตรียมการนำเข้ารถยนต์แบบถาวร (1) เอกสารทั่วไป ใบขนสินค้าขาเข้า ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill) เอกสารการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี) ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1) แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) กรณีสินค้านำเข้ามีราคา CIFเกิน 500,000 บาท ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice) เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ (2) เอกสารเพิ่มเติมกรณีเป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง กรณีย้ายภูมิลำเนา ทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนการใช้งานที่ต่างประเทศมาแล้ว ใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 2.3 ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อฝ่ายการนำเข้าที่ 4 ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้า (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และประเมินค่าภาษีอากรที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระ (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนไปชำระเงินค่าภาษีอากรที่ฝ่ายบัญชีและอากร (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อรับของออกจากอารักขาศุลกากร 2.4 หลักเกณฑ์การประเมินอากร (1) กรมศุลกากรกำหนดเกณฑ์การประเมินราคาโดยใช้ราคา CIF ( ราคา + ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง ) เป็นฐานการประเมินอากรนำเข้า (2) ราคารวมค่าภาษี เป็นราคาที่รวมการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต ( ถ้ามี ) เข้าไว้ ณ. วันที่ชำระค่าภาษีรถยนต์ (3) กรณีที่เป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว จะกำหนดส่วนลดตามระยะเวลาที่จดทะเบียนให้ ดังนี้ อัตราส่วนลดราคารถยนต์นั่งใช้แล้ว 1. จดทะเบียนใช้แล้วไม่เกิน2 เดือน หักส่วนลด 2.50% 2. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน หักส่วนลด 5.00% 3. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน หักส่วนลด 7.50% 4. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 เดือน หักส่วนลด 10.00 % 5. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 เดือน แต่ไม่เกิน 10 เดือน หักส่วนลด 12.50 % 6. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 10 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี หักส่วนลด 15.00 % 7. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 1ปี2 เดือน หักส่วนลด 16.67 % 8. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี4 เดือน หักส่วนลด 18.33 % 9. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี6 เดือน หักส่วนลด 20.00 % 10. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี8 เดือน หักส่วนลด 21.67 % 11. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า1 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี10 เดือน หักส่วนลด 23.33 % 12. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า1 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี หักส่วนลด 25.00 % 13. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี แต่ไม่เกิน 2ปี2 เดือน หักส่วนลด 26.67 % 14. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี4 เดือน หักส่วนลด 28.33 % 15. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี6 ดือน หักส่วนลด 30.00 % 16. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี8 เดือน หักส่วนลด 31.67 % 17. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี10 เดือน หักส่วนลด 33.33 % 18. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 2 ปี10 เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี หักส่วนลด 35.00 % 19. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี2 เดือน หักส่วนลด 36.67 % 20. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี4 เดือน หักส่วนลด 38.33 % 21. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 3ปี6 เดือน หักส่วนลด 40.00 % 22. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี8 เดือน หักส่วนลด 41.67 % 23. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี10 เดือน หักส่วนลด 43.33 % 24. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี หักส่วนลด 45.00 % 25. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี2 เดือน หักส่วนลด 46.67 % 26. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี4 เดือน หักส่วนลด 48.33 % 27. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน4 ปี6 เดือน หักส่วนลด 50.00 % 28. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี8 เดือน หักส่วนลด 51.67 % 29. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 4 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี10 เดือน หักส่วนลด 53.33 % 30. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน5 ปี หักส่วนลด 55.00 % 31. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า5 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี2 เดือน หักส่วนลด 55.83 % 32. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี4 เดือน หักส่วนลด 56.67 % 33. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี6 เดือน หักส่วนลด 57.50 % 34. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี8 เดือน หักส่วนลด 58.33 % 35. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า5 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี10 เดือน หักส่วนลด 59.17 % 36. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี หักส่วนลด 60.00 % 37. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี2 เดือน หักส่วนลด 60.50 % 38. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี4 เดือน หักส่วนลด 61.00 % 39. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี6 เดือน หักส่วนลด 61.50 % 40. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี8 เดือน หักส่วนลด 62.00 % 41. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี10 เดือน หักส่วนลด 62.50 % 42. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี หักส่วนลด 63.00 % 43. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี2 เดือน หักส่วนลด 63.50 % 44. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี4 เดือน หักส่วนลด 64.00 % 45. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี6 เดือน หักส่วนลด 64.50 % 46. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี6เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี8 เดือน หักส่วนลด 65.00 % 47. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี8เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี10 เดือน หักส่วนลด 65.50 % 48. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี หักส่วนลด 66.00 % 49. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี2 เดือน หักส่วนลด 66.33 % 50. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี4 เดือน หักส่วนลด 66.67 % 51. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี6 เดือน หักส่วนลด 67.00 % 52. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี8 เดือน หักส่วนลด 67.33 % 53. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี10 เดือน หักส่วนลด 67.67 % 54. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี หักส่วนลด 68.00 % 55. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี แต่ไม่เกิน 9 ปี2 เดือน หักส่วนลด 68.33 % 56. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี4 เดือน หักส่วนลด 68.67 % 57. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี6 เดือน หักส่วนลด 69.00 % 58. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี8 เดือน หักส่วนลด 69.33 % 59. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี10 เดือน หักส่วนลด 69.67 % 60. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน10 ปี หักส่วนลด 70.00 % 61. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 10 ปี --------ประเมินราคาตามสภาพรถ----------- (4) หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าภาษีอากร เป็นไปตามที่กรมศุลกากรประกาศกำหนดไว้ชัดเจน 2.5 ตารางแสดงอัตราภาษีอากร ประเภทรถยนต์ ขนาดปริมาตรช่วงชักภายใน กระบอกสูบ อากร (%) สรรพสามิต (%) (ตัวคูณ) ภาษีเพื่อ มหาดไทย* (%) VAT (%) อัตราอากร รวม (%) ของ CIF 1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล - ไม่เกิน 2400 ซีซี - เกิน 2400 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี และมีกำลังไม่เกิน 220 แรงม้า - ไม่เกิน 3000 ซีซี หรือมีกำลังเกิน 220 แรงม้า 80 80 80 35 (0.5691057) 42 (0.7468124) 48 (1.0169492) 10 10 10 7 7 7 213.171 250.82 308.051 2. รถยนต์นั่งตรวจการณ์ (OFF ROAD) ตามประกาศกระทรวง- การคลัง - ไม่เกิน 2400 ซีซี - เกิน 2400 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี และมีกำลังไม่เกิน 220 แรงม้า 80 80 29 (0.4258443) 29 (0.4258443) 10 10 7 7 182.819 182.819 * ภาษีเพื่อมหาดไทยจะคิดเป็น 10 % ของภาษีสรรพสามิต วิธีคิดอัตราอากรรวมของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดปริมาตรช่วงชักภายในกระบอกสูบ ไม่เกิน 2400 ซีซี ถ้าราคา CIF ของรถยนต์นั่ง = 100 อากรขาเข้า = 80% ภาษีสรรพสามิต = 35% ภาษีเพื่อมหาดไทย = 10% ภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7% วิธีคำนวณ 1. อากรขาเข้า = (ราคา CIF x อัตราอากรขาเข้า) = (100 x 0. = 80 2. ภาษีสรรพสามิต = (ราคา CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีสรรพสามิต/ 1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต) = (100 + 80) x 0.35/ 1-(1.1 x 0.35) = 180 x 0.5691057 = 102.439 3. ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย = 102.439 x 0.1 = 10.2439 4. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม = ราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย = 100 + 80 + 102.439 + 10.2439 = 292.6829 5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = 292.6829 x 0.07 = 20.4878 รวมอัตราอากรทั้งหมด = 1 + 2 + 3 + 5 = 213.171 2.6 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายละเอียดพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวร สามารถติดต่อฝ่ายการนำเข้า ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ
ขออภัยล่วงหน้าคับ ผมพิมไทยไม่ค่อยได้คับ + ภาษาไทยไม่แข็งแรงคับ ผมขออนุญาตอธิบาย ขั้นตอนที่ผมเพิ่งนำรถเข้ามาเลยนะคับ ผมนำเข้าแบบถาวรจาก Melbourne, Australia ใช้สิทธ์ เป็นนักเรียน และ เป็นเจ้าของรถเป็นเวลา1ปี6เดือนก่อนแล้วจึงนำกลับมาคับ การนำเข้าควรจะทำให้ถูกต้องคับ อย่าเลี่ยงภาษีหรือแอบคับ เพราะอาจจะไม่ได้ขับรถคันนั้นอีกเลย โดนยึดแล้วทุบคับ จากเรื่องนำเข้า Ferrari ทำให้คนนำรถเข้าเดือดร้อนคับ ขั้นตอนที่ลำบากที่สุดคงจะเป็นการขอใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพราะว่าหลักฐานและเอกสารต้องแน่นพร้อมแบบว่าเราเป็นเจ้าของรถเป็นเวลา1ปี6เดือนจริง รถต้องมีหลักฐานว่าจดทะเบียนช่วงการครอบครอง เอกสารที่ใช้ในการขอแค่กระดาษใบนี้ Passport + Student Visa ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน Driving License (Thai & Australian) เล่มทะเบียน (ของAE86 ใน Australia ถ้ายังมีอยู่ก็ดีไปคับ แต่ละStateจะไม่เหมือนกัน ที่Melbourne & Perth จะใช้กระดาษแจ้งค่าภาษีทะเบียนเป็น หลักฐาน) ใบซื้อ+โอนเจ้าของ (ที่สำคัญคือวันที่เราได้เป็นเจ้าของ) Academic Transcripts ผมยื่นตั้งแต่ของปี97 เขาถึงเชื่อว่าเป็นนักเรียนอยู่ที่ Australia Other ID prove Student card ใบยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้า -----!!!!!ใบนี้ห้ามมีอะไรผิดเด็ดขาด ข้อมูลต้องอยู่ในกรอบ ใบยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้า นี้จะขอได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แล้วต้องพิมข้อมูลลงไป จะเป็นพวกVehicle Detail(Vin No., Engine No. & Size, Registration), Date + Port of departure & Landing, Market value (USD), Current Exchange Rate นี้ถามจากตรงนั้นเลยเพราะเศษห้ามปัด เตรียมคำพูดดีๆ ว่ารักรถมากเลยเอากลับมาใช้ด้วย เมืองไทยหายากคับ โดนถามแน่นคับ ห้ามพูดถึงราคากลางในไทยหรือญี่ปุ่นเด็ดขาดเพราะจะเดือดร้อนได้ ราคากลางจะเป็นตัวกำหนดค่าCIF ภาษี ขอย้ำว่าตรงนี้ห้ามพลาดคับ กระทรวงพาณิชย์จะเข้มงวดมากกับการนำเข้ารถคับ เขาจะกันเราทุกทางที่เราเปิดช่อง นับจากวันซื้อจนถึงวันที่เราและรถออกนอกประเทศต้อง1ปี6เดือน แล้วเผื่อสัก2อาทิตย์ ก่อนเราและรถออกนอกประเทศ แสดงเจตนาว่าเราไม่นำเข้าเพื่อการค้า แต่เพื่อตัวเราเอง ใบอนุญาตการนำเข้า กระดาษใบนี้จะต้องได้ก่อนรถจะถึงPort ถ้ารถถึงPortก่อนจะต้องทมด แล้วเรื่องจะไปถึงรัฐมนตรีคับ แล้วโดนปรับอีก20000บาท ใบยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้า ผมทำแล้วยื่น3ครั้งเพราะPrint คลาดไปนอกกรอบประมาณ5mm, MS EXCEL มันปัดจุดทศนิยมของ Exchange Rate ยังไม่รวมที่พิมผิดจาก Type writer และ เซ็นผิดที่ อีก5-6ฉบับ ที่จริงควรจะได้ใบอนุญาตการนำเข้าก่อนแล้วจึงส่งรถขึ้นเรือเพื่อความปลอดภัย ของผมส่งก่อนแล้วค่อยขอโชคดีคับทันพอดี ใช้เวลา1เดือนเป๊ะ โชคดีมากๆ ถ้ามีเส้นจะง่ายคับ ผมไม่มีคับ เหนื่อย วิ่งหลายรอบมาก เพื่อยืนยันหลักฐาน ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ ตรงนี้copy มา 2.2 เอกสารที่ควรจัดเตรียมการนำเข้ารถยนต์แบบถาวร เอกสารทั่วไป ใบขนสินค้าขาเข้า ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill) เอกสารการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี) ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1) แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) กรณีสินค้านำเข้ามีราคา CIFเกิน 500,000 บาท ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice) เ อกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ (2) เอกสารเพิ่มเติมกรณีเป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง กรณีย้ายภูมิลำเนา ทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนการใช้งานที่ต่างประเทศมาแล้ว ใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวง 2.3 ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อฝ่ายการนำเข้าที่ 4 ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้า (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และประเมินค่าภาษีอากรที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระ (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนไปชำระเงินค่าภาษีอากรที่ฝ่ายบัญชีและอากร (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อรับของออกจากอารักขาศุลกากร พอเสร็จแล้วจะได้ใบเอารถไปจดทะเบียนคับ เอารถลากไปด้วยนะ AE86ใส่ป้ายแดงไม่รอดแน่น ภาษีจะคิดจาก CIF X 188% (for engine less than 2000cc) CIF คือ ราคารถ + shipping costs+ insurance ราคารถเขาอาจจะตีราคาจากราคาซื้อจิง หรือ ราคากลาง เขาจะเลือกอันที่สูงกว่า AE86 ส่วนมากจดทะเบียนใช้แล้วเกิน10 ปี ไม่มีส่วนลดแล้วคับ ราคาจะตามสภาพคับ ราคาซื้อจิง หรือ ราคากลาง รูปสภาพรถควรจะเหมือนตัวที่มาถึงจิง ไม่ควรแต่งสวยมากเกินคับ เพราะจะโดนบวกได้คับ Engine NO กับ engine ควรจะเหมือนกัน เพราะเวลาจดเล่มต้องขูดเลขคับ รถที่เปลี่ยนเครื่องแล้วจะต้องแจ้งเปลี่ยนก่อนนะ ต้องจ่ายค่าภาษีภายใน3เดือน ก่อนจะหมดสิทจดเล่ม ขอย้ำถ้ามีเส้นจะง่ายคับ เกิดมาPostยาวสุดก็คราวนี้แหละ ถามหรือติได้คับ ถ้านึกอะไรออกจะมาเพิ่มให้คับ TIPS AE86 ของที่ Australia ใช้ชื่อว่า Toyota Coupe or Toyota Sprinter ราคากลางเลยหลุดจาก AE86 ที่มีภาษีของInitial D คับ เพราะเขาเช๊กจากราคากลางที่ญี่ปุ่น แล้วราคาจะถูกกว่า Trueno Levin เพราะเข้าใจผิด เวลายื่นค่า CIF ให้รวมตัวเลขไปจะมั่วได้ราคาถูกกว่า นายตรวจจะเรียกเงินใต้โต้ะแน่นอนคับ เตรียมไว้คับ เรียกเยอะคับแพงกว่าราคารถที่ผมเขียนไว้ในใบโอนรถอีก แต่ต้องต่อรองนะ แล้วดูว่าเขาเซ็นครบ Landing Port ที่แหลมฉบังจะทำเรื่องขอรถออกง่ายกว่าที่คลองเตยคับ ถ้าไม่มีเส้นจะเอาออกยากมาก
นับถือความพยายามในการพิมพ์ของคุณปันปันมากครับ ความรู้แน่นปึ้ก เป็นความหวังให้พวกเรา ขึ้นมาอีกนิดครับ ในการนำรถเข้า หวังว่าจะได้เจอกันเร็วๆนี้นะครับ ยินดีด้วยที่นำของรักกลับมาสำเร็จ .....อิอิ ปล. ตอนนี้พี่ตุ้มมี 4ag turbo ตัวแรงของพี่เค้า ยกออกมาวางอยู่หลังบ้าน อยากได้ก้อลองจีบเอานะครับ อิอิ
ขอบคุณคับคุณมาย ต้องได้เจอกันแน่คับ ที่เขียนไปก็เป็นสิ่งที่เจอกับตัวคับ เลยอยากให้คนอื่นรู้ก่อนจะเดินเรื่องคับ จิงๆแล้วเอาเข้าได้คับ คนละ1คันเท่านั้น ส่วนภาษีก็อยู่ที่ใครจะรับได้คับ 86เดิมๆภาษีถูกกว่าพวกsilvia, skylineหลายเท่าคับ
-------- ------------------เยี่ยมเลยครับ สำหรับข้อมูล ผมกำลังจะนำรถที่ใช้แล้วในUSA เข้า มาพอดี ไม่รู้จะปรึกษาใครดี อ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นเยอะเลย ขอบคุณมากๆ ปล. ใครที่มีความรู้การนำเข้ารถจากUSAมาไทย ช่วยบอกผมบ้างนะครับ หรือ t.080-0872322 KNIGHT
ขอทราบ ภาษี ที่ต้องจ่าย คร่าวๆ ได้ไหมครับ สนใจเอากลับอยู่เมหือนกันครับ แล้ว ราคากลาง นี่เค้าตีประมาณเท่าไหร่หรอครับ ทราบไหมเอ่ย
ขอถามคุน ปันปันคับ คือที่ผมไปถามที่ กรมศุล นะครับ ยกตัวอย่างในการ คิดภาสี ที่เค้าบอกผมมานะครับ ค่ารถ + ค่าส่ง = total * ราวๆ 300% สมมุติว่าคิดค่า รถ 50,000 ค่าส่งจาก USA 75,000 total : 125,000 ภาสี เป็น 375,000 total ??? โทดทีคับ I just got this on top of my head, ps, Thanks p'pecx for info ขอบคุนล่วงหน้าครับ
ถ้าภาษี300%ก็ใช่คับ เครื่อง2.4หรือ 220แรงม้าจะคิดแบบนี้คับ ถ้าเครื่องเล็กกว่า2.4 หรือแรงม้าน้อยกว่าจะคิด188% คับ
ขอโทษนะครับไม่ทราบว่าราคาสุทธิทั้งหมดโดนไปเท่าไหร่หรอครับ pm มาบอกจะขอบพระคุณอย่างสูงเลยครับ เพราะว่ามก็จะนำเข้ารถ skyline r31 gts-r เหมือนกันครับ เมื่อไปอยู่ที่นั่นแล้ว หาบทความนี้พอดีแล้วมาเจอครับ รบกวนด้วยครับ หรือรบกวนขอ email ด้วยครับ
รบกวนถามค่ะ อ้างถึง ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice ตงนี้มานคือประกันของรถเราหรือ ว่าประกันค่าระวางระหว่างส่งของคะ แล้วไม่ทราบว่าเวลาไปยื่นต้องยื่น เป็น cer หรือว่าใบเสร็จรับเงินคะ ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ แล้วรบกวนถามอีกอย่างคะ ถ้ารถตอนนี้ไม่มีประกัน เนืองจากว่าหมดประกันนานแร้วไม่ได้ต่อค่ะ จะมีผลไรมั้ยคะ รบกวนช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยนะคะว่าตอนยื่นเอกสาร ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoi ตอนนั้นยื่นใบไหนค่ะ อยากเอารถกลับไทยม๊ากๆๆเรยค่ะ ใช้มานาน เสียดายค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
สวัสดีคับ Insurance Premium Invoice น่าจะเป็นใบแจ้งยอดประกันของรถคับ (น่าจะไว้ใช้เป็นหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของรถ) แต่ไม่จำเป็นเท่าไร ถ้าคุณกิฟท์ มีหลักฐานอื่น เช่นใบโอนรถ คับ เพราะผมก็ไม่มี ใช้แต่ ใบโอนรถ กับ ใบแจ้งเสียภาษี ซึ่งใบพวกนี้จะระบุ รายละเอียดพอควรคับ เอกสารตรงนี้จะไว้ใช้ขอใบอนุญาตการนำเข้า คับ ส่วนค่าประกันระวางระหว่างส่งของ จะรวมอยู่ใน CIF คับ เรื่องต่อประกันนี่ ไม่จำเป็นนะคับถ้าคุณกิฟท์มีหลักฐานอื่น เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของรถเกิน1.5ปีแล้ว แต่ถ้าไม่มีก็ควรต่อแล้วเก็บหลักฐานไว้ แต่ทะเบียนควรจะมีอยู่นะคับ อย่าให้อายุขาดนะคับ ทะเบียนรถผมมีอยู่จนส่งรถเข้าตู้container คับ แล้วไปตัดเพือขอเงินคืนค่าทะเบียนที่เหลือ แต่ไม่ได้บอกทางกรมศุล ว่าทะเบียนขาดแล้ว แต่ก็ไม่มีใครถามนะ คงเพราะอายุทะเบียนมันเขียนถึงปลายปี แล้ว plate no. ก็แปะอยู่กับรถ (อันนี้ไม่แนะนำเพราะผมไม่ชัวร์ แต่เล่าให้ฟังเผื่อมันจะทำได้จิงๆ) ขอบคุณคับ ยินดีช่วยเต็มที่คับ ปัน ว่าแต่เป็นรถอะไรหรอคับ ??
ขอบคุณม๊ากๆๆเรยค่ะ ตอบกระทู้ได้ทันใจม๊ากค่ะ เอกสารอย่างอื่นมีครบหมดแร้วค่ะ ยกเว้นก็แต่เรื่องที่ถามไปค่ะ ส่วนรถเป็นรถมินิ ออสติน รบกวนอีกเรื่องค่ะ เนื่องจากยังไม่ค่อยเข้าใจ ในส่วนนี้ค่ะ ส่วนค่าประกันระวางระหว่างส่งของ จะรวมอยู่ใน CIF คับ แปลว่า เราจำเป็นต้องทำประกันค่าระวางระหว่างส่งรถมาใช่มั้ยคะ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งค่ะ
อ่านเยอะปวดตา เอาง่ายๆเลยนะครับถ้าสมมุติว่า คันล่ะ50000บาทเงินไทย ที่ญึ่ปุ่นเราจะนำเข้ามาใช้ในประเทสไทยเนี้ยเราต้องเสียเงินเบ็ตเสร็จแล้วรวมค่ารถที่โน่นด้วย50000บาทแล้วเนี้ยเท่าไหร่ครับช่วยคำนวณให้หน่อยครับว่าประมาณเท่าไหร่
http://vi.ebaydesc.com/ebaymotors/ws/eBayISAPI.dll?ViewItemDesc&s1=2&item=200296683786&t=1229375166000&seller=omni1971&js=e583:1&hr=http://cgi.ebay.com/ebaymotors/ws/eBayISAPI.dll?ViewItem&viewitemdesc=&seller=omni1971&ebaydesc=1&_trksid=p3907.m263&_trkparms=algo%3DSI%26its%3DI%26itu%3DUCI%26otn%3D15%26po%3DLVI%26ps%3D54&js=e583%3A1&item=200296683786,200296683786&t=1229375166000&s1=2&category=6445&viewitem=&hr=http%3A%2F%2Fcgi.ebay.com%2Febaymotors%2Fws%2FeBayISAPI.dll%3FViewItem ซื้อจาก Ebay แล้วต้องทำไงต่อ ถ้าจะเอาน่ะครับ ถามเป้นความรุ้หน่อยครับ
ถ้าซื้อแล้วนำเข้ามาเลยนี่ ผมว่าจดทะเบียนเป็นรถนั่งส่วนบุคคลไม่ได้นะคับ แต่ก็ไม่แน่ว่าอาจจะทำได้ คงต้องซิกแซกหน่อย แต่ถ้ามีรถแล้วก็ ติดต่อขอใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เลยครับ ถ้าใบใกล้จะออกแบบชัวร์แล้วก็ ส่งรถกลับมาได้เลยคับ พอรถมาถึงก็ไปทำเรื่องเสียภาษี แล้วก็ทำเรื่องออก ก็จบครับ ก่อนทำเรื่องก็ลองโทรไปถามข้อบังคับต่างๆก่อนก็ดีคับ เผื่อจะมีอะไรตกค้าง
ผมกำลังจะเอาเข้ามาครับ แต่เอามาใส่บอดี้ของ TE71 เพื่อให้ได้ทะเบียนแท้ครับ บอกคร่าวๆก่อนนะครับต้นทุน ค่ารถ ค่านำเข้า ค่าประกอบและเก็บงาน อยู่ที่ 350,000 ครับ มโหฬารเหมือนกัน ถ้ารถมาแล้วจะอัพรูปให้ดูครั + อ้างถึง ตอบกลับ